ข้อปฏิบัติประจำวัน
กันนาเทวี
แบบฝึกหัดเพื่อการลดกิเลสทีรบกวนใจ
ในวันหนึ่งหนึ่ง ขอให้นึกคำอื่น ๆ
ที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำที่เป็น “กิเลส”
เช่น “ความโกรธ” “ความโมโห”, “ความขุ่นข้องหมองใจ”,
“ความรำคาญใจ”, “ความหงุดหงิด” และ
“ความอึดอัด” (ไม่ได้ดั่งใจ) เป็นต้น
คำที่เหมือนกับ “ความกลัว” เช่น “ความตื่นตระหนก”,
“ความวิตกกังวล”, “การตั้งป้อมเกินเหตุ” (เพื่อป้องกันตัวเองจากเรื่องร้ายเกินจริง)
หลังจากนั้น ในช่วงเวลาตลอดทั้งวัน
ให้เราคอยสังเกตและพิจารณาว่า
ลักษณะของกิเลสต่างๆ เหล่านี้
เกิดขึ้นในตัวเราได้อย่างไร ?
เมื่อเกิดขึ้นแล้วเรามีพฤติกรรมอย่างไรต่อไป ?
อะไรทำให้มันคลี่คลายหายไป ?
และเมื่อหายแล้วเรารู้สึกอย่างไร ?
เช่น โกรธที่โดนเพื่อนว่า
พฤติกรรม หน้างอ ไม่พูดไมจา
พอฟังเพลงโปรด แล้วคลายใจ หายโกรธได้
หายแล้ว โล่ง สบายใจ
หากมีเวลาก็จดบันทึกวัน หากไม่มีเวลา
ก็ทบทวนจดบันทึกวันละครั้งก่อนนอน
ก็ยังดี เราจะรู้จักตัวเราดีขึ้น
ชีวิตประจำวันเราจะดีขึ้น
การปรับปรุงตนเพื่อเข้ากะคนอื่นๆ
จะดีขึ้น เพราะ เรารู้จักตัวเราเอง
จากบันทึกการทบทวนตนเอง
เป็นแบบฝึกหัดที่น่าสนใจ
ดีทีเดียว
กันนาเทวี
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒
นำข้อคิดมาฝาก ขยายความจาก
คำสอนของท่านสันติกโรภิกขุ
เรื่อง แบบฝึกหัดการค้นหาตนเอง
สมาคมนพลักษณ์แห่งประเทศไทยค่ะ