ผมไม่เข้าใจว่าลำนำต้องเขียนอย่างไรครับ ลักษณะคำประพันธ์เป็นอย่างไร วอนผู้รู้ช่วยเถลงไข และยกตัวอย่างให้ผมได้อ่านสักหน่อยครับ ผมจะต้องส่งวันพรุ่งนี้แล้วยังคิดไม่ออกเลย..
17 มิถุนายน 2551 22:35 น. - comment id 21024
http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/klon/lumnum/index.html
17 มิถุนายน 2551 22:51 น. - comment id 21025
"ลำนำ" ที่จะแต่งส่งครู ก็จำเป็นจะต้องแต่งในแบบที่ครูคนนั้นสอน เพราะไม่แน่ใจว่าถ้าชี้แนะไปเป็นอย่างอื่น ไม่ตรงกับที่ครูรู้และเข้าใจ มันก็อาจมีปัญหากับคะแนน หรือการยอมรับของครู ทั้งนี้ก็เพราะคำว่า "ลำนำ" ไม่ใช่รูปแบบที่มาใน "แบบฉบับ" ดั้งเดิมของลักษณะคำประพันธ์ไทยนั่นเอง เอาเป็นว่าจะยังไม่ขอตอบเรื่องนี้ นะครับ
17 มิถุนายน 2551 23:25 น. - comment id 21026
ขอบคุณคุณห้วงคำนึง และคุณครูกานท์มากนะครับ "ลำนำ"ที่อาจารย์ผมให้แต่ง ฟังจากที่เค้ายกตัวอย่างมา มีลักษณะคล้ายกับกลอนเปล่าครับ แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจ ว่า ลำนำมันแตกต่าง จากกลอนเปล่าอย่างไรอะครับ เพราะผมแต่งออกมาแล้วมันดูเป็น กลอนเปล่ามากกว่าลำนำ
18 มิถุนายน 2551 07:41 น. - comment id 21029
เอาเว็บมาฝากนะคะ http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/klon/lumnum/index.html ไม่รู้จะทันเปล่า... ไม่เคยแต่งเหมือนกัน ไว้จะหาโอกาสลองดู โชคดีนะ
18 มิถุนายน 2551 07:43 น. - comment id 21030
กลอนลำนำ กลอนลำนำ คือ กลอนที่ใช้ ขับ ร้อง สวด ให้มีทำนองต่างๆ แบ่งออกเป็น 5 ชนิด 1. กลอนบทละคร มีลักษณะพิเศษตรงที่มี บังคับคำขึ้นต้นในวรรคแรกของแต่ละตอนตั้งแต่ 2-4 คำ ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบได้แก่ เมื่อนั้น จะใช้กับตัวละครที่มีศักดิ์เป็นเจ้าเมือง กษัตริย์ตัวละครสำคัญของเรื่องหรือของตอน พระเอก นางเอก เทวดา ฯลฯ บัดนั้น จะใช้กับตัวละครที่ไม่ค่อยสำคัญ ได้แก่ พวกเสนา อำมาตย์ หรือคนสามัญ มาจะกล่าวบทไป ใช้ทั่วๆไป ตัวอย่างคำประพันธ์ บัดนั้น ลูกพระอาทิตย์ฤทธิ์กล้า แว่วเสียงหนุมานเรียกมา ก็ผวาตื่นขึ้นทันที ตกใจนิ่งขึงตะลึงคิด ร้อนจิตดังหนึ่งเพลิงจี้ อารมณ์ไม่เป็นสมประดี ขุนกระบี่ก็รีบไปพลับพลา จาก...รามเกียรติ์ : รัชกาลที่ 1 2. กลอนสักวา มีลักษณะพิเศษตรงที่มี บังคับคำขึ้นต้นในวรรคแรก ของแต่ละตอน ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า สักวา และลงท้ายด้วยคำว่า เอย ตัวอย่างคำประพันธ์ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย จาก...สักวา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ 3. กลอนเสภา ลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพทั่วไป แต่อาจใช้คำได้ตั้งแต่วรรคละ 7-10 คำ สุดแต่จะเหมาะสม เพราะเสภาเป็นกลอนขับเล่าเรื่องอย่างเล่านิทานเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้นในแต่ละวรรคอาจใช้คำไม่เท่ากัน แต่ละตอน มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ครานั้น... จะกล่าวถึง... ตัวอย่างคำประพันธ์ ครานั้นท่านยายทองประศรี กับยายปลียายแปลอยู่เคหา ให้พวกเหล่าบ่าวไพร่ไปไร่นา ตามประสาเพศบ้านกาญจน์บุรี แต่ขุนแผนแสนสนิทต้องติดคุก ไม่มีสุขเศร้าหมองทองประศรี จนซูบผอมตรอมใจมาหลายปี อยู่แต่ที่ในห้องนองน้ำตา จาก...เสภาขุนช้างขุนแผน (ตอนพลายงามพบพ่อ): หอสมุดแห่งชาติ 4. กลอนดอกสร้อย ลักษณะพิเศษคือ ใช้คำขึ้นต้น 4 คำ คือเอาคำ 2 คำมาเป็นตัวตั้งแล้วเขียนคำหน้าซ้ำกัน 2 หน เอาคำ เอ๋ย แทรก ลงในระหว่างกลาง เช่น ความเอ๋ยความรัก วันเอ๋ยวันนี้ ไก่เอ๋ยไก่แก้ว เป็นต้น และตอนจบต้องใช้คำว่า เอย ตัวอย่างคำประพันธ์ แมวเอ๋ยแมวเหมียว รูปร่างประเปรียวเป็นหนักหนา ร้องเรียกเหมียวเหมียวเดี๋ยวก็มา เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง ค่ำค่ำซ้ำนั่งระวังหนู ควรนับว่ามันกตัญญู พอดูอย่างไว้ใส่ใจเอย จาก...ดอกสร้อยสุภาษิตของเก่า วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล แลทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวดาย 5. กลอนขับร้อง กลอนขับร้อง ก็ คือ กลอนสุภาพนั่นเอง แต่แต่งขึ้นเพื่อใช้ขับร้องหรือร้องส่งให้เข้ากับเครื่องดนตรีปี่พาทย์ มีชื่อและทำนองต่างๆ เช่น สมิงทอง สามไม้ ปีนตลิ่ง ลีลากระทุ่ม เชิดนอก นาคเกี้ยว เทพทอง พม่าเห่ เขมรไทรโยค เป็นต้น เหตุที่ต้องมีชื่อแตกต่างออกไปก็เพราะมีทำนองร้องแตกต่างกัน แผนผังนั้นดูได้จากกลอนสุภาพ แต่ทำนองนั้นต้องฝึกหัดกับผู้รู้เป็นพิเศษ แหล่งที่มา - http://www.writesara.com/ShowOff/showoff_chantarak_verse.asp
18 มิถุนายน 2551 09:25 น. - comment id 21032
"ลำนำ" ตามที่คุณ โคลอน ยกมานั้น เป็น ลำนำ ในความหมายของการ "ขับลำนำ" คือนำเอากลอนชนิดต่างๆ มาขับร้อง เรียกว่า ขับลำนำ หรือ ขับร้อง เพื่อก่อให้เกิดความเพลิดเพลินในการฟัง ซึ่งต่างกับ ลำนำ ที่น้องเขารับโจทย์มาจากครู ผมเข้าใจแล้ว... ลำนำ ที่คุณครูของน้องเขาต้องการก็คือ "กลอนเปล่า" นั่นเอง กลอนเปล่า หรือ ลำนำ ในความหมายนี้ คือการแต่งคำประพันธ์อีกอย่างหนึ่ง ที่เกิดมีขึ้นในระยะหลัง หลังจากยุคร้อยกรองแบบฉบับ (กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ฯลฯ) บางท่านเรียกคำประพันธ์อย่างใหม่นี้ว่า กลอนเปล่า บางท่านเรียกว่า ลำนำ และก็มีอีกบางท่านไปเรียกโดยจำแนก ว่า กลอนเปล่า เป็นอย่างหนึ่ง ลำนำ เป็นอีกอย่างหนึ่งก็มี อย่าไปจำแนกอย่างนั้นเลย เดี๋ยวจะใส่ใจกับรูปแบบมากกว่าเนื้อหา ตัวอย่าง กลอนเปล่า หรือ ลำนำ ที่ผมเคยเขียนไว้ ในหนังสือกวีนิพนธ์ "กระจกสีขาว" ขอยกมาให้พิจารณาดู ดังนี้ *************** หนังสือเล่มนั้น วันวานอ่านแล้ว หนังสือเล่มนั้น วันนี้อ่านอีก หนังสือเล่มนั้น วันพรุ่งนี้ต้องอ่านใหม่ หนังสือเล่มนั้น อ่านไม่รู้จบ ศิวกานท์ ปทุมสูติ ************************** จะเห็นว่าลีลาของคำประพันธ์นี้ แม้ว่าจะไม่มีสัมผัส ก็ไม่เหมือนร้อยแก้ว แต่จะมีท่าทีกระชับคำ ซ่อนความ แฝงนัย ตัดทอนบริบทของการอธิบาย ชวนให้ขบคิด เป็นศิลปะในการประพันธ์อีกแบบหนึ่ง ที่ไทยรับอิทธิพลมาจากต่างประเทศครับ "ครูกานท์"
18 มิถุนายน 2551 16:04 น. - comment id 21037
ขอบคุณนะคะ ครูกานท์ โคลอนเพิ่งรู้ว่า ลำนำกลอนเปล่าก็ได้ด้วยนะคะ ปล.ไม่รู้ป่านนี้เป็นยังไงมั่งนะคะ
18 มิถุนายน 2551 17:32 น. - comment id 21041
ขอบคุณครูกานท์มากครับ
18 มิถุนายน 2551 17:35 น. - comment id 21042
ขอบคุณโคโลนด้วยครับ นายธนาแต่งมั่วๆส่งไปเรียบร้อยละครับ
18 มิถุนายน 2551 20:45 น. - comment id 21044
อีกนิดหนึ่งนะครับ ที่ โคลอน ตอบขอบคุณ ครูกานท์ มาว่า "เพิ่งรู้ว่า ลำนำกลอนเปล่าก็ได้ด้วยนะคะ" นั้น ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจตรงกันหรือเปล่า คือถ้าเข้าใจว่า "ลำนำกลอนเปล่า" หมายถึง "ขับลำนำกลอนเปล่า" ละก็ ไม่ใช่นะครับ ความหมายที่ ครูกานท์ กล่าวถึงคือ "กลอนเปล่า" เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ลำนำ" ก็ได้ครับ
19 มิถุนายน 2551 07:57 น. - comment id 21049
ป่อยยยยย ชัดแจ้งแล้วค่ะ...แหะ ขอบคุณมากนะคะ...ครูกานท์ ปล่อยไก่ตัวเบ้อเร่อเลย
25 มิถุนายน 2551 10:07 น. - comment id 21079
ลำนำ ก็เป็นคำประพันธ์แบบหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีสัมผัสนอก แต่งตามหัวข้อ เช่น ธรรมชาติ ความรัก หรือว่า ให้กำลังใจ คล้ายบทเพลง ครับ หวังว่าคงจะส่งไปแล้วนะน้อง