เมื่อเกิดทราบว่า ตนเองเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ เป็นต้น ในระยะแรกวินิจฉัย เราจะช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติ
6 ธันวาคม 2550 07:41 น. - comment id 19731
1. ศึกษาและทำความเข้าใจกับโรคนั้น ๆ 2. ช่วยเหลือดูแล เพื่อมิให้กระจายโรค 3. เอาใจใส่ผู้ป่วย ให้กำลังใจ
6 ธันวาคม 2550 14:20 น. - comment id 19736
อย่าทำเหมือนเค้าเป็นคนป่วยค่ะ ทำตัวปกติ...เค้าจะได้ไม่มีความรู้สึกแปลกแยกแตกต่าง และเห็นด้วยกับ อัลมิตราด้วยค่ะ
6 ธันวาคม 2550 20:25 น. - comment id 19745
โรคบางโรคสามารถรักษาหายได้ในระยะเริ่มต้นค่ะ เช่น มะเร็งในมดลูก - ควรให้กำลังใจผู้ป่วย..พาไปเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ใหญ่และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค - ควรบอกให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคอะไรจะได้ทำใจตั้งแต่ต้น -ควรศึกษาโรคที่เป็นอย่างละเอียดเพื่อหาวิธีรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่ต้นค่ะ.. *ขอให้หายป่วยนะคะ*
6 ธันวาคม 2550 20:34 น. - comment id 19748
http://www.mahidol.ac.th/mahidol/ra/rapc/s12.html ผู้ป่วยที่รอคำวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคร้ายแรง จะค่อนข้างมีความวิตกกังวล หวาดกลัว และคาดเดา เหตุการณ์ล่วงหน้าไปต่างๆ นานา ช่วงรอนี่ก็มีความเครียดมากที่ระดับหนึ่ง ต้องการกำลังใจจาก คนใกล้ชิดพอสมควร คนที่ป่วยเป็นโรคต่างกัน ความเครียดและปฏิกิริยา อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยภาพรวมจะแสดงออกมาเป็นระยะ ๆ ปฏิกิริยาการแสดงออกและการดูแล จะต่างกันไปตาม ระยะนี้ด้วย ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็น สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการปรับตัวของเขา ระยะต่างๆ ประกอบด้วย ๑. ระยะช็อคและปฏิเสธ เมื่อทราบการวินิจฉัย ผู้ป่วย (รวมทั้งครอบครัวและ/หรือคนใกล้ชิด) จะตกใจมาก หรืออาจมีอาการช็อค วิตกกังวล สับสน เศร้าซึม หรือตกใจ เอะอะโวยวาย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ในระยะนี้ผู้ป่วยจะปฏิเสธความจริง ปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นโรคนั้นๆ อาจโทษว่าแพทย์ตรวจผิด บางรายอาจพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อลบล้าง ผลการตรวจครั้งนั้น หรือไปหาแพทย์หลายคนเพื่อให้ยืนยันว่าตนไม่ป่วย ๒. ระยะวิตกกังวลและโกรธ เมื่อไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ต่อไปอีก เขาจะเริ่มมีความกังวลมาก ความคิดสับสน รู้สึกอึดอัดและหา ทางออกไม่ได้ รู้สึกโกรธที่ตนต้องเผชิญกับปัญหาที่ร้ายแรง อาจโทษว่าเป็นความผิดของผู้อื่น บางรายอาจ แสดงวาจาหรือกิริยาที่ก้าวร้าว มีการต่อต้าน การตรวจและคำแนะนำของแพทย์ โกรธญาติและคนอื่นๆ
6 ธันวาคม 2550 20:36 น. - comment id 19749
๓. ระยะต่อรอง ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่มสงบลง แต่เริ่มต่อรองว่าตนอาจจะไม่เป็นโรคร้ายแรง อาจจะกลับไปสู่ระยะปฏิเสธความจริง อีกครั้ง อาจสร้างความรู้สึกมีความหวังว่าจะมีการตรวจละเอียดที่พบว่าตนไม่เป็นโรคร้ายหรือเป็นชนิดที่ ไม่มีอันตรายและรักษาได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความหวังให้กับตนเองและยึดเวลาก่อนที่จะยอมรับความจริงไปอีก สักระยะหนึ่ง ๔. ระยะเศร้า และหมดหวัง ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกหมดหวังและเศร้าโศกเสียใจเมื่อเริ่มยอมรับความจริงของการเป็นโรคร้าย หลังจากที่ การปฏิเสธและการต่อรองไม่เป็นผลสำเร็จ ผู้ป่วยจึงต้องยอมจำนนด้วยเหตุผล แต่จิตใจของผู้ป่วยยังไม่ สามารถยอมรับได้ มีอารมณ์ซึมเศร้าต่อการสูญเสีย มีความรู้สึกผิดรู้สึกอ้างว้าง พูดและทำสิ่งต่างๆ น้อยลง แยกตัว ชอบอยู่คนเดียว เหม่อลอย กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาจมีความรู้สึกอยากตาย หรือถ้าอาการรุนแรง อาจมีประสาทหลอน หูแว่ว ระแวงได้ และ ๕. ระยะยอมรับความจริง ระยะต่อมาผู้ป่วยยอมรับความจริงที่ตนหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการเศร้าลดลง มีการซักถามถึงรายละเอียด ของโรคที่เป็นและวิธีรักษา แต่ในบางรายอาจเฉยๆ และแสดงความไม่สนใจ ปล่อยให้เป็นหน้าที่และ ความรับผิดชอบของแพทย์และญาติในเรื่องการรักษา ต่อจากนี้ผู้ป่วยก็เริ่มปรับตัวต่อการรักษาและการ ดำเนินชีวิตต่อไป ผู้ป่วยเริ่มรับฟังคำแนะนำของแพทย์ ให้ความร่วมมือในการักษาและร่วมรับผิดชอบ ตนเองมากขึ้น พยายามหาวิธีและแนวทางในการดำเนินชีวิต การปรับตัวต่อครอบครัวและผู้ร่วมงาน ตลอดจนการติดต่อกับแพทย์และพยาบาลผู้ให้การรักษาเตรียมตัว เผชิญกับความทุกข์ทรมานทั้งทางกาย และทางใจ และเผชิญกับตายในที่สุดหากโรคนั้นรักษาไม่หาย การแสดงออกของผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับขั้นตอนดังกล่าวนี้เสมอไป อาจจะข้ามขั้นตอน หรือมีการแสดงออกเพียงบางขั้นตอนเท่านั้นก็ได้ เดี๋ยว ป เอามาลงต่อให้นะคะ ยังไม่หมดค่ะ
7 ธันวาคม 2550 08:18 น. - comment id 19760
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของผู้ป่วย การปรับตัวของผู้ป่วยในด้านจิตใจและพฤติกรรมนั้นมีปัจจัยที่มีความสำคัญอยู่ ๓ ประการคือ ๑. ปัจจัยเกี่ยวกับโรค ได้แก่ โรคที่เป็น อาการ ตำแหน่งของโรคและระยะของโรค เหมือนที่เรา รับรู้ว่าคนรับรู้ว่าติดเชื้อเอดส์ จะตกใจมาก บางรายถึงกับช็อคเสียชีวิตไปเลยก็มีมาแล้ว, การรักษา และผลการรักษา ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง อาจต้องผ่าตัด หรือ แค่ได้รับยา การตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้จะต่างออกไป, การสูญเสียอวัยวะ สมรรถภาพ เช่น ต้องผ่าตัดเต้านม ตัดอวัยวะบางส่วนทำให้พิการ หรือเสียภาพลักษณ์, และความช่วยเหลือ และท่าทีของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ๒. ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย ได้แก่ บุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัวและแก้ปัญหา ความรู้, วัยของผู้ป่วย ความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว, และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๓. ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม เช่น สภาพเศรษฐกิจ แหล่งประโยชน์ ความช่วยเหลือจาก ครอบครัวและผู้อื่น รวมทั้งค่านิยม ประเพณี และสิ่งแวดล้อมด้านความเชื่อ ยังมีต่อจ้า
7 ธันวาคม 2550 17:25 น. - comment id 19777
จากรายละเอียด...ที่คุณปราณรวี...นำมาเสนอให้ทราบนั้น...ถูกต้องทั้งหมดค่ะ...ตามหลักวิชาการ....ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้อง..ในการที่จะแจ้งข่าวร้ายกับผู้ป่วย... ...แต่ในทางปฏิบัติ...อาจจะค่อนข้างยาก..ขึ้นอยู่กับ..ประสบการณ์ของแพทย์..และพยาบาล...แต่ละบุคคลที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย....ในฐานะที่..ราชิกา..เป็นพยาบาล..และพอจะมีประสบการณ์ด้านนี้บ้าง..ก็อยากจะขอ Share Idea เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วยค่ะ... 1. สิ่งแรก...ต้องประเมินสภาวะของผู้ป่วยก่อน..ทั้งร่างกาย..และจิตใจ...ว่าอยู่ในระดับใด ( ตามที่คุณปราณรวีเสนอไว้ ) 2. การให้การดูแลรักษา..ต้องสอดคล้องกับสภาวะนั้นๆ....สิ่งสำคัญคือ...การให้กำลังใจ..แก่ผู้ป่วยและญาติ...ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม 3. พยายามให้ความรัก..ความอบอุ่น...ความเมตตาแก่เขาให้มาก...พร้อมที่จะเป็นที่พึ่ง..และมีความจริงใจเป็นที่ตั้ง...อย่าทำ..เพียงเพื่อ..หน้าที่...แต่ขอให้ทำ..ด้วยชีวิตและจิตวิญญาณ..ของการเป็น..พยาบาล...เข้าถึงจิตใจของเขา...และเป็นผู้ให้..อย่างแท้จริง... 4. หากอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม...ขอจงอยู่เคียงข้างผู้ป่วย..และญาติ...เป็นที่พึ่งของเขาและเป็นกำลังใจ...จนถึงวินาทีสุดท้าย..ของชีวิต.... 5. อย่าละทิ้งผู้ป่วยและญาติ....การพูดคุย...ของพยาบาลที่มีความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง....การรับรู้ความทุกข์ที่เขามี..และวางแผนในการแก้ปัญหาร่วมกับบุคลากรอื่น...จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 6. เมื่อนำแนวทางแก้ไขปัญหาไปปฏิบัติแล้ว ต้องมีการประเมินผล ทบทวนสิ่งที่ทำไปแล้ว เพื่อหาจุดบกพร่อง และวางแผนเพื่อแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นต่อไป สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ...คำพูด..ท่าที...ความจริงใจ...น้ำใจที่ให้กับผู้ป่วยและญาติ...ซึ่งจะต้องมีอย่างต่อเนื่องและเสมอต้นเสมอปลาย..... ..ผลจากการปฏิบัตินี้...ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจมาก...และเข้าใจในวิธีการรักษาพยาบาล...ให้ความร่วมมือดีมาก..กรณีที่เริ่มเป็น..ก็สามารถกลับไปบ้านได้..ลดความวิตกกังวล...กรณีที่เป็นรุนแรง..ก็ยอมรับสภาพและทำใจได้และเสียชีวิต..ด้วยความสงบโดยมีเราอยู่เคียงข้าง..จนถึงวินาทีสุดท้ายของชีวิต.......... ...สิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์ที่อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านค่ะ...
7 ธันวาคม 2550 20:56 น. - comment id 19784
แต่ละโรค การช่วยเหลือคนป่วย กับการอยู่ร่วมกับคนป่วย ไม่เหมือนกันนะครับ ต้องบอกมาเลยว่าเป็นโรคอะไร จะได้แนะนำได้ถูก เพราะเอดส์ก็ต้องแนะนำอย่างหนึ่ง มะเร็งก็ต้องแนะนำอย่างหนึ่ง นะครับ หมอบัญชา ban.char@hotmail.com
12 ธันวาคม 2550 18:14 น. - comment id 19856
ขอโทษด้วยค่ะเข้ามาตอบช้า ขอบคุณคุณราชิกามากนะคะ ที่มาเฉลยคำตอบตอนจบให้ เจ้าของกระทู้ดูรายละเอียด จากคุณราชิกาค่ะ