ต่อเนื่องค่ะ

สุชาดา โมรา

เรื่องแรก : กฎเกณฑ์การพิจารณาของสำนักพิมพ์ 
มีดังนี้ค่ะ
1. ผลงานเขียนควรจะมีความเป็นเอกภาพ
คือเนื้อเรื่องเป็นไปในทางเดียวกัน ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง สำหรับนวนิยาย
หรือเรื่องสั้นนะคะ แต่ถ้าเป็นบทความหรือสารคดี
ก็ต้องมีประเด็นที่เด่นชัดเจนเช่นเดียวกัน
2. ควรจะมีความแปลกใหม่ ทันสมัย มีความคิดสร้างสรรค์
หรือแสดงให้เห็นได้ว่า ผลงานเรื่องนี้มีลักษณะเด่นจากผลงานของคนอื่น
หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือ มีเอกลักษณ์ของตนเอง
แม้จะมีอิทธิพลความคิดมาจากผู้อื่นบ้าง
แต่ก็ไม่ควรเป็นลักษณะของการลอกผู้อื่นมา
3. ภาษาราบรื่น อ่านง่าย เข้าใจง่าย อ่านแล้วไม่สะดุด
มีเทคนิคว่า หากท่านอยากรู้ว่า ภาษาของท่านดีหรือไม่
ให้ลองอ่านด้วยปากเปล่าดังๆ แล้วฟังเสียง ถ้าฟังราบรื่นดีก็แสดงว่า
ภาษาใช้ได้ค่ะ แต่ถ้าไม่ราบรื่นก็ควรเก็บไว้สัก 2-3 วัน
แล้วลองนำกลับมาแก้ไขใหม่
สำหรับบางท่านอาจจะบอกว่า ภาษาต้องวิจิตร อลังการ
ไพเราะเพราะพริ้ง หรือไม่ ดิฉันขอตอบว่า ไม่จำเป็นเสมอไปค่ะ
(เว้นไว้แต่ท่านจะเขียนบทกวี) จำไว้ว่า ภาษา คือเครื่องมือในการสื่อสาร
เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดคือ
ต้องสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ด้วยความชัดเจน เคลียร์
ไม่กำกวม และเหมาะสมกับเรื่อง หรือสถานการณ์ในเรื่องค่ะ
สำหรับคำหยาบ ดิฉันอยากแนะนำว่า
ใช้ได้เฉพาะในบทสนทนาที่ต้องการความเถื่อน
หรือเป็นภาษาพูดทั่วไปที่อยู่ในบทสนทนา
แต่ไม่เห็นด้วยกับการนำมาใช้อย่างพร่ำเพรื่อ เพราะเราต้องไม่ลืมว่า
ผู้อ่านก็ต้องการอ่านสิ่งดีๆ เราก็ควรจะหยิบยื่นสิ่งดีๆ ให้เขา
ดังนั้นภาษาก็ควรจะเป็นภาษาที่ฟังเพราะด้วย จริงไหมคะ
4. ความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องก็สำคัญค่ะ
พฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัวควรจะมีการกระทำที่เป็นเหตุเป็นผล
คือผู้อ่านสามารถรู้ได้ว่าทำไม ตัวละครถึงตัดสินใจกระทำลงไปแบบนั้น ไม่ใช่จู่ๆ
เขาก็ทำอย่างนั้นขึ้นมาดื้อๆ โดยไม่รู้ตัว แบบนี้ผู้อ่านงงแน่นอน
บรรณาธิการก็งง ผู้เขียนก็อาจจะงงเองด้วยเหมือนกันนะคะ
5. สิ่งที่สำคัญมากๆ ที่เราไม่ควรลืมก็คือ
งานเขียนนั้นเมื่อเราเขียนออกมาแล้วต้องการเผยแพร่ให้กับผู้อื่นได้อ่าน
เป็นการนำเสนอสู่สังคม
ดังนั้นงานของเราก็ต้องคำนึงถึงเรื่องของการดูแลสังคมด้วย
สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ งานเขียนควรจะมีความถูกต้องทางศีลธรรม
ไม่ใช่ว่านึกอยากจะเขียนอะไรก็เขียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เขียนแล้วมันส์ขอเขียนไว้ก่อน แบบนี้อันตรายค่ะ
เราต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วย เพราะทุกวันนี้สังคมก็วุ่นวายสับสนมากพออยู่แล้ว
เราอย่าเป็นผู้เพิ่มสิ่งไม่ดีให้กับสังคมเลย มาเขียนงานสร้างสรรค์ที่ให้อะไรดีๆ
กับสังคมดีกว่านะคะ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากกว่า และก็เป็นผลดีต่อตัวเราเอง
(เอ๊ะ! ดิฉันกำลังบ่นอะไรหรือเปล่าเนี่ย)
6. ก่อนอื่น อยากให้นักเขียนทุกท่าน เขียนเรื่องที่เราคิดว่า
นำเสนอออกไปแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นก่อนนะคะ เป็นสิ่งแรก
ในส่วนของค่าตอบแทนนั้น เมื่อเราเขียนดี เขียนเก่งแล้ว ได้รับการตีพิมพ์
มีค่าตอบแทนกลับมาให้เราคุ้มค่าเหนื่อยแน่นอน อย่าได้คิดว่า
ทำอย่างไรผลงานของเราจะขายดี ติด best seller เมื่อเห็นว่าเรื่องอะไรที่ขายดี
ก็เขียนเรื่องแบบนั้น แบบนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องค่ะ
เพราะหนังสือที่ขายดีบางเล่ม ก็ไม่ใช่หนังสือที่ดี
เป็นแต่เพียงอาศัยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก
แล้วคนก็แห่กันไปซื้อเท่านั้น ดังนั้น เขียนเรื่องที่เราสบายใจ อ่านแล้วชื่นใจ
เขียนแล้วมีความสุข เมื่อเขียนเสร็จเราก็ภูมิใจแบบนี้ดีกว่าค่ะ
7. รูปแบบของการเขียนยังมีอีกมากมายนะคะ ไม่ว่าจะเป็น สารคดี
บทความ กวี บันทึก จดหมาย เราสามารถเขียนได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะบทความ
เรื่องต่างๆ ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันสามารถนำมาเขียนได้ทั้งนั้น
บางท่านอาจจะลืมไป ก็เลยมุ่งแต่จะเขียน นวนิยาย หรือเรื่องสั้น อย่างเดียว
ลองเปลี่ยนรูปแบบใหม่ๆ ดูค่ะ
ไม่แน่บางท่านอาจจะค้นพบความสามารถของตัวเองอย่างแท้จริงก็ได้
เรื่องต่อมา : มองให้กว้าง!! การโฆษณานิยายอย่างจริงใจด้วยไมตรี!!!
โอ้... เนื้อหามันช่างยาวเหลือหลาย ดิฉันจะขอสรุปให้ฟังสั้นๆเลยนะเจ้าคะ เพื่อความสะดวก
กล่าวโดยรวมแล้วก็คือการโฆษณานิยายนั้นเราไม่ควรทำเพียงผ่านๆลวกๆ เช่น การใช้คำพูดแบบขอไปที ไม่จริงใจ เป็นเพียงข้อความสั้นๆ "เรื่องของเธอสนุกจังอ่ะ แต่น่าเสียดายนะที่เรายังไม่ได้อ่าน ยังไงก็ฝากเรื่องของเราด้วยล่ะ...(จากนั้นก็แปะลิงค์ลงไป)" > นอกจากจะสร้างความรำคาญแก่เจ้าของนิยายแล้วยังทำให้เป็นการเสียความรู้สึกอีกด้วยนะคะ
อันนี้ขอแนะนำการโพสต์เพื่อโฆษณางานเขียนนะคะ
การที่เราจะฝากโฆษณานั้น ควรจะมีมารยาทที่ดีต่อเจ้าของนิยาย คือ ควรจะอ่านเรื่องของเขาเสียก่อน จากนั้นก็แนะนำ เสนอ ติชมเขาก่อนที่จะฝากเรื่องของเรา ไม่ควรจะไปโพสสุ่มสี่สุ่มห้า ประมาณว่าคลิกเข้ามาทั้งๆที่ชื่อเรื่องก็ยังไม่ได้ดูเลย แล้วไปโพสโฆษณาทันที (แบบนั้นไม่ดีนะคะ)
นอกจากนี้แล้ว เจ้าของนิยายก็ควรจะเอื้อเฟื้อ มีน้ำใจแก่เขาด้วยนะคะ ไม่ใช่ว่าพอเค้ามาโพสปุ๊บเราก็ลบปั๊บ แต่หากคุณไม่ชอบจริงๆก็ต้องดูแลเองแล้วล่ะ เพราะเราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปห้ามเขา
และท้ายสุดเราเองก็ไม่ควรไปคิดว่าทำไมไม่มีคนมาอ่านเรื่องเราบ้าง(นั่นแหละ) แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นก็น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะเริ่มโฆษณานิยายตัวเอง โดยคุณวาโดอิจิได้เปรียบเทียบระหว่างสองการณ์กระทำว่า...
วันแรก ลองโพสแค่ฝากลิงค์และชื่อเรื่องไปที่นิยาย10เรื่อง โดยไม่ต้องไปอ่านของเขา
วันที่สอง โพสโฆษณาเรื่องตัวเอง10โพสเช่นกัน แต่วิจารณ์ให้คนที่เราจะไปโพสก่อน ซัก5บรรทัดขึ้นไป...
ในวันที่สอง 1ใน10คน ต้องมีซักคนแหละที่มาอ่านเรื่องของคุณ...
สรุปการโฆษณา
1. โฆษณาอย่างจริงใจ อ่านของเขาก่อน แล้วค่อยฝากเรื่องของเรา
2. ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ
3. เวลาโฆษณา อย่าเชิญชวนแบบขอไปที ควรใช้วิธีเชิญชวนอย่างดูดี เพราะคนอ่านจะได้รู้สึกว่าคนเขียนคนนี้เขียนโฆษณาได้น่าสนใจ บางทีนิยายของเขาอาจจะสนุก (ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องไปบอกเขาเลยว่าสนุก)
4. การอัพบ่อยๆ เป็นการโฆษณาอย่างหนึ่ง ควรอัพอย่างน้อยวันละครั้ง แม้ว่าเราจะไม่ได้เพิ่มเนื้อหาก็ตาม อย่าให้เรื่องเราตกไปอยู่หน้าหลังๆ				
comments powered by Disqus

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน