เอ่ ... เอ สงสัยแดดเช้าคงต้องกลับไปอ่านทบทวนวิชา วรรณคดีวิจารณ์ สมัยที่เรียนหลักสูตรปริญญาตรีซะใหม่แล้วละมั้ง ..... เนื่องจาก เห็นใครบางคนที่ใช้ชื่อว่า "นักวิจารณ์" มาวิจารณ์แบบไม่ตรงหลักที่เคยร่ำเรียนมาเลย หรือแดดเช้าจะต้องคืนเกรดอาจารย์ไปให้หมด แล้วลงทะเบียนเรียนใหม่ ที่เคยร่ำเรียนมา อาจารย์ท่านเป็นราชบัณฑิตย์ ท่านสอนวิชานี้อย่างง่ายๆ แล้วเข้าใจได้ไวมาก และแดดเช้าก็นำหลักนี้มาเป็นหลักใช้สำหรับประเมินงาน ตัดสินงาน และอ่านงานมาโดยตลอด แต่มีผู้รู้ที่ใช้นามว่า นักวิจารณ์ มาวิจารณ์กลอนของใครๆ ซึ่งบางคนได้คะแนนเต็ม 10 แล้วบอกว่า ไม่มีที่ติเลยนั้น ยิ่งทำให้แดดเช้าเกิดอาการสนเท่ห์ยิ่งนัก นักวิจารณ์สำนักใดกันละเนี่ย แล้วเกณฑ์ของเขาคืออะไรกันหนอ .... ขุดคุ้ยหาหลักที่เขาใช้วิจารณ์ ค้นตำราแล้วค้นตำราอีก ไม่เห็นมีปรากฏ ... ประเมินค่าวรรณกรรมร้อยกรอง ... ท่านสอนให้ไม่ด่วนสรุป ประเมินงาน ท่านให้ดูคุณค่า ทั้งทางสังคม ทั้งทางวรรณศิลป์ แต่ท่านนักวิจารณ์ในบ้านกลอนไทย กลับประเมินเพียงในแง่ของ "การใช้คำ" เท่านั้น แถมใช้คำแบบอ่านแล้วนั่งตีลังกาหลายตลบอ่าน ยังไม่เข้าใจสิ่งที่เขาเขียน แล้วยังให้คะแนนเต็มนี่ หมายถึงอะไรหนอ? แดดเช้าสนใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ใครกันนะที่ให้ความสำคัญกับบุคคลนี้ ถึงขนาดที่เขากล้าบอกในกระทู้ของแดดเช้า กระทู้ ขอเป็นนางเอก ว่า ใครได้รับคำวิจารณ์ ถือว่า โชคดี .... แดดเช้าว่า โชคร้ายซะมากกว่า คนที่เขียนไม่ดีอยู่แล้ว ได้รับคำวิจารณ์อย่างมั่วๆ ไร้หลักการ แล้วให้คะแนนเต็ม ทำให้เขาขาดการพัฒนา ถือว่าตัวเองถึงที่สุดแล้ว คนที่พยายามสื่อสารคุณค่าให้ถึงจุดหนึ่ง ให้เกิดคุณค่าทางวรรณศิลป์ ซึ่งอาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่หลักการของเขามิได้เป็นหลักการที่สมควร มาประเมินค่างานชิ้นนั้นอย่างขาดความเข้าใจ แสดงภูมิสติปัญญาของ นักวิจารณ์ ได้อย่างเห็นชัด ... ถ้าเขายึดหลักการมั่วๆ อันนั้น ก็ทำให้งานถดถอยลงไปได้ หาแนวทางไม่เจอ หรือ อาจจะเป็นปัญหาของแดดเช้าเองก็ได้นะ แดดเช้าคงต้องขอตัวหลบไปอ่านตำราวิจารณ์วรรณกรรม เงียบๆ สักพักหนึ่งแล้วละ ... เผื่อจะได้ค้นหาเจอว่า คุณนักวิจารณ์ผู้อาจหาญ อ้างตำราของท่านใด เอ... หรือแดดเช้าจะติดต่ออาจารย์ที่เป็นราชบัณฑิตย์ท่านนั้น เชิญให้มาอบรมสอนวิชาวรรณคดีวิจารณ์แดดเช้าอีกสัก 10 รอบ ไปดีกว่าค่ะ ... เข้ามาบ่นเฉยๆ อิอิ
17 พฤศจิกายน 2548 21:21 น. - comment id 12352
เอ่อ ... คุณรดา ความจริง แดดเช้าไม่ได้อยากจะสืบรู้ว่า คุณนักวิจารณ์คือใครหรอกนะคะ เพียงแต่อยากให้เขายุติพฤติกรรมอันก่อความน่ารำคาญบ้าง เลยตั้งกระทู้ขึ้นมา ถ้าเป็นเรื่องใหญ่อย่างนั้น สงสัยกระทู้นี้ คงไม่สนุกซะแล้ว .... ว่าจะเลกเชอร์กันต่ออีกสักหน่อย เพราะมีหลายคนบอกว่า เขาค้านความเห็นของแดดเช้าในบางเรื่อง แดดเช้ายินดีค่ะ ถ้าจะเอาความรู้เชิงวิชาการมาแลกเปลี่ยนกัน เพราะนักวิจารณ์ย่อมมีหลายสำนัก แต่ทันทีที่งานวิจารณ์ออกสู่สายตาใครๆ ย่อมสะท้อนให้เห็น \"หลักคิด\" ของคนๆ นั้นด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ คุณรดา : )
17 พฤศจิกายน 2548 22:52 น. - comment id 12353
คงต้องขอแจ้งให้คุณรดา ณ ที่นี้ด้วยว่า แดดเช้าขอใช้สิทธิ์ลบความคิดเห็นของคุณ เนื่องจากไม่ตรงจุดประสงค์ที่แดดเช้าตั้งกระทู้นะคะ เพราะว่า ถ้าหากประเด็นกระทู้เบี่ยงไปไกล จะเกิดปัญหาวุ่นวายหลายอย่างตามมา ต้องการสร้างสิ่งประเทืองปัญญา ต้องการให้เกิดการวัฒนะทางปัญญาค่ะ ถ้าความคิดเห็นของคุณรดา หายไป ขอให้เข้าใจจุดประสงค์ของแดดเช้าด้วยนะคะ : )
19 พฤศจิกายน 2548 11:43 น. - comment id 12358
หวัดดีคับ เห็นหัวข้อน่าสนใจเรยเข้ามาดู...อื้อหือ น่าสนใจกว่าที่คิดนะคับ แต่ผมก็ไม่มีความรู้เรื่องวิจารณ์บทประพันธ์เอาซะเรยคับเอาแค่หลักการเขียนกลอนที่ถูกต้องยังไม่มีเรยคับ ที่เขียนออกมาได้ใช้ความมั่วล้วนๆคับ อิอิอิ ... แต่ถ้าถามว่าผมเขียนกลอนออกมาแล้วถูกวิจารณ์...ไม่ค่อยชอบอะคับ คือ...ผมเข้ามาก็เพราะอยากเขียนกลอนอยากแบ่งปันประสบการณ์ อยากหาคนที่คุยเรื่องกลอนกับเราแล้วรู้เรื่องกันอะคับ แค่นั้นเองครับ ไม่ได้กะว่าจะส่งกลอนเข้าประกวดชิงรางวัลดีเด่นแห่งชาติซักก่าหน่อยอะ...ถึงขนาดต้องมานั่งวิจารณ์กันเรยเหรอเนี่ยกลอนของใครใครก็ต้องว่าเพราะแหละคับ ... ใครไม่รู้สึกไม่เปงไรแต่เราแต่งของเราเองเป็นความภูมิใจส่วนตัวเท่านั้นเองครับ...แต่อย่างว่าเนอะแต่งเก็บไว้ดูคนเดียวมันไม่เวิร์คครับเรยอยากหาคนร่วมชื่นชมด้วยซ้าหน่อย ( อิอิ คุยไปคุยมาก็เข้าข่ายอยากโชว์ซะอย่างงั้นนิ) แค่นั้นเองคับ ไม่ได้กะว่าต้องมีคนเข้ามาชมเป็นล้านชื่นชมกันเป็นแสน แค่รู้ว่ามีคนเข้ามาอ่านก็ปลื้มแย้วววววววววววว... แต่เข้ามาอ่านกระทู้นี้แล้วได้ความรู้เรื่องการวิจารณ์ขึ้นเยอะคับ กระทู้หน้าขอเป็นเกร็ดความรู้พื้นฐานเรื่องการแต่งกลอนยังไงให้เพราะๆได้ไหมคับ อิอิ ป.ล. อยากแต่งเก่งๆเหมือนคนอื่นบ้างคับ
18 พฤศจิกายน 2548 23:34 น. - comment id 12364
สวัสดีค่ะ คุณบินเดี่ยว มีคนเขาแซวว่า แดดเช้าแก่จนอยู่ตัวอยู่แล้ว อิอิ ยังไงช่วยตีความให้หน่อยดิ น้องเจลใส พี่รุ่งอยากสร้าง \"วัฒนธรรมการวิจารณ์\" ขึ้นมาจังเลย อยากยกเอากลอนที่ประทับใจเขียนวิจารณ์ แล้วให้เพื่อนๆ ช่วยกันอ่านบทวิจารณ์ แล้วเกิดการ \"วิจารณ์ซ้อนวิจารณ์\" เพื่อให้เกิดการ \"ต่อยอด\" ความรู้ความคิดขึ้นมา แต่พี่รุ่งยังไม่กล้าทำหรอกค่ะ เพราะยังต้องเรียนรู้อีกเยอะ จะมีใครสักคนไหมหนอ เริ่มต้นทำขึ้นมาสักหน่อย โดยที่ไม่ต้องไปเที่ยวให้คะแนนตามกระทู้ของเขา ทำให้ครบถ้วน และเป็นเรื่องเป็นราว เป็นหลักเป็นการ เลยน่ะค่ะ .... ถ้าเริ่มได้ก็น่าจะดี เราวิจารณ์กันที่ \"เนื้อหา\" ตัวงานกันจริงๆ จังๆ เลย โดยที่ผู้วิจารณ์อยู่ในฐานะ \"นักอ่าน\" มิใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้กำลังเรียนรู้ ไม่มีการให้คะแนนกัน แต่มีการแสดงความคิดเห็น ยกอ้างเหตุผล ข้อมูล น่าจะสร้างสังคมวรรณกรรมขึ้นมาได้อีกสังคมหนึ่งนะเนี่ย เป็นสังคมที่เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองกันอย่างแท้จริง ที่ไม่มีผู้ใดตั้งตัวเป็นอาจารย์ เป็นผู้รู้ แต่เราร่วมกันคิดค้น เพื่อการพัฒนางาน และพัฒนาตัวเอง เป็นการพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้วยแหละค่ะ แต่ ... \"วัฒนธรรมการวิจารณ์\" ของสังคมไทยเข้มแข็งแค่ไหน เป็นเรื่องที่เราต้องทำการศึกษาดูกันต่อไป ได้แค่คิด .. แค่ฝัน อิอิ หรือใครจะมีไอเดียดีๆ มั่ง
18 พฤศจิกายน 2548 08:58 น. - comment id 12365
คุณแดดเช้า...ผมก็คนหนึ่งนะที่ชอบวิจารณ์.. วิจารณ์ พลฤทธิ์ ที่ได้เหรียญทองมวยโอลิมปิคไง..อิอิ...อย่าเครียดน๊าเด๋วแก่ไว..ไปหละ ไปคุยกับบางใครก่อนนะ...บาย..
18 พฤศจิกายน 2548 16:02 น. - comment id 12366
ถ้าถามเจลว่าคิดยังไงหรือกับการถูกวิจารณ์ (ไม่ใช่วิจารณ์ พลฤทธิ์นะคะ กลัวโดนน็อคค่ะ) เจลยินดีให้วิจารณ์ ติชมได้ค่ะแต่ควรเป็นการติเพื่อก่อนะคะ เจลรู้สึกดีหากมีใครติ เพื่อเป็นความรู้แก่เรา แต่ก็อยากให้เปิดเผยตัวด้วย ไม่ใช่แอบๆ หลบๆซ่อนๆ อย่างเจลคุยกับพี่รุ่ง พี่รุ่งวิจารณ์งานเขียนของเจล เจลก็ไม่โกรธนะคะ ผู้น้อยด้อยความรู้ ความสามารถ ควรน้อมรับคำติชมของผู้ใหญ่ค่ะ ขอบคุณกระทู้นี้ที่ทำให้เจลรู้อะไรอีกหลายๆอย่างค่ะ สำหรับนักวิจารณ์อยากฝากว่า ถ้าจะวิจารณ์ใครขอให้เป็นไปด้วยจิตบริสุทธิ์ ไม่ต้องกลัวใครโกรธหรอกค่ะ ถ้าจะเผยตัวจริง....เอาเป็นว่า เราอ่านงานใครแล้วรู้สึกดีก็บอกเขา หากไม่ชอบใจหรือติดขัดตรงไหน ไม่ลื่นตาที่ใดก็บอกเขาดีกว่า การให้คะแนนไม่ได้ทำให้กลอนนั้นมีคุณค่ามากขึ้นหรอกค่ะ ถ้าเกิดจากการให้คะแนนไปแบบมั่วๆ
16 พฤศจิกายน 2548 17:59 น. - comment id 12371
กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกก พี่เมกนึกไว้แร้น นักวิจารณ์ต้องโดนแน่ จิ๊จิ๊ เข้ามาอ่านเลยนะท่านนักวิจารณ์ ฮิๆๆ ผิดถูกยังไง ก็วิจารณ์ให้เมกอ่านด้วยนะ เด๋วจะเข้ามาอ่าน ฮิๆๆ +-*-+-*-+ +-*-+-*-+ YoU dOn\'t knOw +-*-+-*-+ +-*-+-*-+
17 พฤศจิกายน 2548 08:22 น. - comment id 12387
..งานเขียน.. ..มาตรว่าผู้เขียนมีความสุข ..อาจจะเชื่อมโยงไปให้ผู้อ่านมีความสุขไปด้วย ..และสิ่งที่ผู้เขียนได้พรรณาความในใจ ..อาจจะทำให้ผู้อ่านซึมซาบสะท้อนในอารมณ์ ..บางคนเมื่อได้อ่านงานเขียนแล้ว .. ..ก็อดไม่ได้ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับตนเอง ..หลายๆครั้ง ก็ดูเหมือนว่างานเขียนนั้นแทงใจดำเหลือเกิน ..และหลาย ๆ ครั้งก็สัมผัสได้ถึงอรรถรสที่แท้จริง ..วินาทีแรกที่หยิบดินสอขึ้นมาร่างโครงคร่าวๆ ..และจนถึงวินาทีสุดท้ายที่งานเขียนเสร็จสมบูรณ์ ..ได้ผ่านกระบวนการมากมาย ..ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ เจตนาที่จะสื่อ ..และถึงแม้ว่าจะน้อยคนนักที่เข้าใจจุดมุ่งหมายนั้น ..ผู้เขียนก็ตระหนักดีเสมอ ว่า ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นย่อมเป็นที่สุด ..สภาวะแตกต่างดังกล่าว ทำให้เกิดชั้นลดหลั่นของระดับงานเขียน ..สำหรับผู้เขียนแล้ว มิต้องการเทียบวัดกับผู้ใด ..คุณค่าของงานเขียน ย่อมปรากฏต่อผู้ที่เข้าใจกัน รับสัมผัสกันได้ ..และงานเขียนนั้น จะหาค่ามิได้เลย ถ้าหากมิได้เกิดจากใจตนเอง ..กวี คือคำที่ผู้อื่นตั้งสมญานามให้ โดยให้คำนามหรู ..กวี ผู้ซึ่งต้องรับผิดชอบในตัวอักษรที่เขียนลงไป ..หากกวีเป็นเพียงผู้ที่ฝากตัวอักษรให้ปรากฏแด่สายตาสาธารณชน ..แต่มิไยดี ต่อความผลสะท้อนกลับมา ..คำว่ากวี ก็จะไม่ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป ..ขอเป็นเพียงแค่คนเขียน ..คนอยากเจียรความอ่อนไหว ..ขอแค่ตีแผ่หัวใจ ..กลั่นอารมณ์ให้เป็นบทความ ..ขอเป็นเพียงเศษกวี ..ซึ่งมากมีคนเหยียดหยาม ..ถึงแม้นหลากคำประณาม ..ก็มิคร้ามคำวิจารณ์ใคร ..๏ เศษแก้วแม้บาดเนื้อ........เพียงใด ไม่เท่าคำเสียดใจ.................เจ็บกลั้น เผาวอดดุจกองไฟ................เกินคิด ดับนา ลามมอดจนร่างนั้น..............ดับสิ้นวิญญ์สูญ ๚ ..๏ เศษกวีมิเพริศแพร้ว.......อักษร เทียมปราชญ์วิทยาธร..........เก่งกล้า ประดุจเต่าเขย่งตอน...........เตาะแตะ เพียงคืบยังย่างช้า................แข่งโต้กระต่ายขำ ๚ะ๛ .. แด่สหายทุกท่าน .. อัลมิตรายินดีรับคำวิจารณ์ หากคำวิจารณ์นั้นเกิดจากเจตนาที่บริสุทธิ์และมีคุณภาพ มิตรภาพตราบสิ้นฟ้า..
17 พฤศจิกายน 2548 00:03 น. - comment id 12388
แหะ แหะ ขอปรู๊ฟ คำผิดหน่อย ราชบัณฑิต นะคะ ไม่ใช่ ราชบัณฑิตย์ อายจัง .... เดี๋ยวอาจารย์สอนภาษาไทยต้องยึดเอาเกรดคืนแน่เลย
17 พฤศจิกายน 2548 08:28 น. - comment id 12391
สวัสดีค่ะ พี่เมกกะ ถ้า คุณนักวิจารณ์ เข้ามาก็ดีสินะคะ จะได้ไขข้อข้องใจสักหน่อย เผื่อจะได้ความรู้ใหม่ๆ สวัสดีค่ะ คุณอิม อาจารย์ท่านบอกว่า หน้าที่ของนักวิจารณ์ก็คือ เป็นสื่อระหว่างนักอ่านกับนักเขียน การสร้างงานวรรณกรรม จะออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยมสามมุม คือ นักวิจารณ์ นักอ่าน นักเขียน ท่านให้อ่านงานให้ละเอียด ในครั้งแรกจะอ่านแบบกวาดสายตา แล้วค่อยๆ อ่านละเอียด ถึงสามครั้งขึ้นไป ในเบื้องปลายก็คือการสรุปและประเมินงาน งานที่ประเมินคุณค่า ก็ออกมาหลายด้านด้วยกันว่า งานนั้นมีคุณค่าด้านไหน เช่น ด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านปรัชญา ด้านวรรณศิลป์ แต่ท่านไม่เคยให้คะแนน นอกจากให้ชี้จุดออกมาเลยว่า มีคุณค่าเนื่องจากที่ใด ประโยคใด วรรคตอนใด จึงชัดยิ่งนักที่จะหยิบยกออกมาเป็นหลักฐาน และไม่ได้กล่าวอ้างอย่างลอยๆ ด้วย นักอ่าน ... อาจจะอ่านหนังสือเยอะก็จริง แต่ไม่อาจจะมีโอกาสสื่อสารกับนักเขียนได้เลย ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมี \"หลักการ\" ให้นักเขียนได้รับรู้ได้เลยว่า เสพงานเขียนนั้นแล้วเป็นอย่างไร นักวิจารณ์ จึงทำหน้าที่ตรงนี้ ... ซึ่งนักวิจารณ์จะต้องนั่งในใจนักอ่าน และนักเขียนได้ แต่ถ้าทำยังไม่ได้ถึงจุดนั้น งานวิจารณ์ก็จะเป็นงานเลื่อนลอย นักเขียนไม่สามารถพัฒนางานของตนไปได้ถึงขีดสุด และนักอ่านก็จะไม่มีผู้ใดสื่อสารความในใจถึงนักเขียนได้อย่างตรงใจ นักวิจารณ์ เป็นผู้สร้างนักเขียน แต่ถ้านักวิจารณ์วิจารณ์งานอย่างไร้สติ หรือขาด \"วิจารณญาณ\" (พิจารณา + ความหยั่งรู้) ก็จะเกิดผลเสียอย่างมากมาย เช่น นักเขียนได้รับการชม แล้วหลงตนคิดว่า สร้างงานถึงขีดสุดแล้ว นักเขียนได้รับการตำหนิ (ที่มิใช่ ติเพื่อก่อ) ก็จะหาแนวทางของตัวเองไม่เจอ การรับบทบาทเป็นนักวิจารณ์จึงเป็นบทบาทที่หนักหน่วงยิ่งนัก ... ต้องรับผิดชอบต่อเส้นทางการสร้างงาน และเส้นทางวรรณกรรมของสังคม แหะ แหะ จำขี้ปากครูบาอาจารย์มาเขียนค่ะ ..... แดดเช้าเองก็ใช่ว่าจะเก่งนักหรอก แต่จำๆ ได้ ก็มาถ่ายทอด เผื่อจะเป็นประโยชน์ ไว้พบกันในภาคต่อไปนะคะ ยังมีหลักวรรณกรรมวิจารณ์ อีก ถ้าค้นได้ (เตรียมเลกเชอร์นะคะ) จะมาถ่ายทอดให้อ่านกันค่ะ เผื่อเป็นแนวทางในการอ่านงานดีๆ สักชิ้น หรือเป็นแนวทางสร้างนักวิจารณ์รุ่นใหม่ขึ้นมา สำหรับแดดเช้า .... งานวิจารณ์ เป็นเพียงภาพฝันที่สักวันจะเป็นนักวิจารณ์ที่ดี แต่อาจไม่ใช่ในวันนี้ค่ะ
17 พฤศจิกายน 2548 16:02 น. - comment id 12393
เจลก็ถูกวิจารณ์ และก็คิดเหมือนพี่อิมค่ะ เจลไม่รู้ถึงหลักหรอกนะคะ แต่ว่าหากมีเจตนาดี ก็น่าจะเปิดเผยตัวได้ เจลคิดว่าคนที่ถูกวิจารณ์ทุกคน เขาคงน้อมรับคำวิจารณ์นั้นได้ค่ะ
17 พฤศจิกายน 2548 17:54 น. - comment id 12394
สวัสดีค่ะ น้องเจล ยินดีที่น้องเจลเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นนะคะ อยากกระซิบถามความรู้สึกสักคำหน่อยค่ะ ... รู้สึกอย่างไรบ้างที่ คุณนักวิจารณ์ เข้ามาวิจารณ์งานของเจล หลายคนอาจจะรู้สึกตรงกันว่า \"รำคาญ\" ... ซึ่งคนที่มีเจตนาบริสุทธิ์ หากเข้าไปวิจารณ์งานใคร คนๆ นั้นย่อมรู้สึกยินดีใช่ไหมคะ ถ้าเกิดความรู้สึก \"ระอา\" หรือ \"รำคาญ\" นั่นก็หมายถึงว่า ลึกลงไปภายในจิตใจของเขาคง \"เรียกร้อง\" เอาอะไรบางอย่างของเรา ไม่เป็นความศรัทธา ความนับถือ ก็เป็นความสนใจ เอาเป็นว่า ... ละเว้นประเด็นจุดประสงค์ที่คุณนักวิจารณ์เข้ามาเที่ยววิจารณ์งานใครต่อใครดีกว่า พี่รุ่งจะเลกเชอร์หลักสูตรวรรณกรรมวิจารณ์ต่อ เพื่อที่ว่าจะได้เป็นประโยชน์ เห็นว่า น้องเจลไม่เคยรู้หลักใดๆ มาก่อนเกี่ยวกับการวิจารณ์ พี่รุ่งพอรู้อยู่บ้าง แต่เป็นแค่จำขี้ปากอาจารย์มาถ่ายทอด คิดว่าเกิดประโยชน์จึงนำมาบอกเล่าสู่กัน ถือว่า เป็นวิทยาทานนะคะ ไม่ใช่ต้องการอวดภูมิรู้แต่อย่างไร (เพราะจริงแล้ว พี่รุ่งไม่มีภูมิรู้ใดมาแสดงหรอกค่ะ) น้องเจลจำได้ไหมว่า วันนั้นพี่รุ่งแนะหลักการวิจารณ์เรื่องสั้นไว้ 5 ขั้นตอน คนอ่านดูอะไรจากเรื่องสั้นเรื่องนั้นบ้าง 1. การปูพื้นเรื่อง 2. การดำเนินเรื่อง 3. การผูกปมปัญหา 4. การคลายปมปัญหา 5. การสรุปจบเรื่อง นี่คือโครงเรื่องธรรมดาๆ ค่ะ ... น้องเจล เหมือนคนอ่านทั่วๆ ไปที่เขาต้องการให้ทั้ง 5 องค์ประกอบนี้กลมกลืนกัน นักวิจารณ์ก็ดูให้ครบทั้ง 5 องค์ประกอบ การอ่านกวีนิพนธ์ก็ไม่ต่างกัน วิธีการพิจารณางานกวีนิพนธ์ เท่าที่พี่จำได้ อาจารย์ท่านบอกว่า (ขออนุญาตมาแจกแจงเป็นข้อๆ จะได้จำกันง่ายๆ) 1. อ่านกวาดสายตา เอาเรื่องราวก่อน 1 รอบ 2. อ่านละเอียด 3. ตีความ 4. ประเมินค่างานวรรณกรรม (สังคม, การเมือง, ปรัชญาความเชื่อ, ค่านิยม, บริบทต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกวีนิพนธ์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขทางกาลเวลา หรือ สังคม) 5. ตัดสินงาน จะเห็นได้ว่า กว่าจะตัดสินงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้ ต้องผ่านกระบวนการอ่านมากกว่า 3 รอบขึ้นไป และต้องตีความอย่างละเอียด ไขกุญแจทางภาษาให้แจ่มชัดว่า คนเขียนต้องการสื่ออะไร ไม่ใช่มั่วๆ บอกว่าใช้คำดี ดำเนินเรื่องดี โดยที่ไม่ได้เข้าไปนั่งในหัวใจคนเขียนเลย เราต้องเข้าไปนั่งในหัวใจคนเขียนว่า เหตุใดจึงใช้คำๆ นี้ บางคนอาจจะฝีมือไม่ถึง นึกคำใดไม่ออก เราก็เข้าใจเขาได้ว่า งานเขาอยู่ในระดับใด บางคนอาจจะมีสำนวนของตัวเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง อันเกิดจากความชำนาญในการใช้ภาษา (สองสิ่งนี้ บางทีเราแทบแยกกันยาก แต่ต้องอ่านบริบทให้ชัดอีกที จะเข้าใจถ่องแท้ว่า เขายืนอยู่ในจุดใด) การวิจารณ์งานเป็นงานที่สนุกมากๆ พี่รุ่งชอบเรียนวิชานี้ที่สุดเลย และคิดว่า จะทำให้เรามีสติพอที่ได้รับการวิจารณ์ใดๆ จากใครด้วย เจตนาของผู้วิจารณ์ มีหลากรูปแบบ บางคนวิจารณ์เพื่อแสดงความ \"กร่าง\" บางคนวิจารณ์ด้วยเมตตา บางคนวิจารณ์เพื่ออยากถ่ายทอดความรู้ บางคนวิจารณ์เพื่อทำลายนักเขียน เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง จำไม่ได้ว่าเป็นบทความจากช่อการะเกดหรืออะไรไม่อาจหยิบยกมาอ้างอิงได้นะคะ เขาบอกว่า นักเขียนตายเพราะนักวิจารณ์ค่อนข้างมาก เพราะนักวิจารณ์ขาดจุดยืนในบทบาทของตัวเอง นักวิจารณ์ เป็นผู้สร้างนักเขียน และทำให้นักเขียนเกิด เติบโต ได้ แต่นักวิจารณ์บางคนฆ่านักเขียนจนตายจากวงวรรณกรรม ... น่าเสียดายนักทีเดียว น้องเจล ... ขอให้เรามั่นคงนะคะ อย่าให้ใครมา \"ฆ่า\" เราให้ตายได้ เราต้อง \"อหังการ์\" พอที่จะยืนหยัดแนวทางของเรา ใครบางคนอาจจะต้องการอะไรมากกว่าความหวังดีต่อคนอื่น แต่ถ้าเรามีสติพอ เราจะสามารถรู้ได้ว่า เขาต้องการมาเอาอะไรจากเรา ครูกลอนในบ้านกลอนไทยหลังนี้ท่านหนึ่ง บอกว่า การจะสร้างงานดีๆ ได้นั้นต้องอาศัยทั้ง \"ความรู้และทักษะ\" ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย พี่รุ่งเคยแย้งท่านว่า ทักษะสำคัญกว่า แต่ท่านบอกว่า ต้องมีความรู้ด้วย มิฉะนั้นเราก็สร้างงานอย่างไร้ทิศทาง .... ถึงแม้ในใจลึกๆ ตอนนี้พี่รุ่งจะคิดว่า ทักษะเป็นสิ่งสำคัญทำให้เกิดความรู้ แต่พี่ก็ต้องพยายามทบทวนคำของท่านให้จงหนักว่า อันที่จริงความรู้ก็สำคัญพอกัน ก็พี่รู้สึกว่า การที่มีความรู้มากๆ มันปิดกั้นทักษะ ทำให้เราสร้างงานอย่างติดขัด เพราะติดความรู้อันมากมายของตัวเอง แต่คนที่ไม่มีความรู้ใดๆ เลย ลงมือทำไป กลับเห็นของจริงมากขึ้น เอาเป็นว่า ... ใครจะเลกเชอร์หลักสูตรวรรณกรรมวิจารณ์จากแดดเช้าแล้วนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ก็ขออนุโมทนาด้วยนะคะ และถ้าผู้รู้ท่านใด ต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ นำมาถ่ายทอดสู่กันอ่าน ถือว่าเป็นการสร้างบุญอันใหญ่ ก็ขออนุโมทนาด้วยค่ะ รออ่านความรู้จากท่านอื่นๆ ค่ะ .... เพื่อที่จะได้สร้างสรรค์วงวรรณกรรมให้ก้าวหน้าต่อไป ใช่ว่าย่ำย้ำอยู่เพียงที่เดิม ในยุคสมัยแห่งกลยุทธ์การตลาดปัจจุบันนี้ น่าเป็นห่วงหนังสือทรงคุณค่าเหลือเกิน คนอ่านหนังสือกันเพียงกระแส หมดสิ้นกระแสไป หนังสือก็ถูกทิ้ง .... จะหาหนังสือที่ทรงคุณค่าพอเมื่อ 10 ปี ผ่านไปแล้วคนยังกล่าวขวัญถามหาอยู่ยากเต็มที ระบบนายทุนต้องการสร้างหนังสือออกมาราวกับออกจากโรงงาน นึกแล้วน่าอนาถใจ อยากจะร่ำรวยสักที จะได้เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์กับเขาบ้าง : )
17 พฤศจิกายน 2548 18:38 น. - comment id 12395
อืมมม พอดีไม่ได้เห็นต้นเหตุที่ว่านะ สำหรับพี่ ไม่วิจารณ์งานใคร เวลาถูกใจคืออ่านรอบแรกแล้วโดน ก็แค่นั้น คนบางเหล่า เก่งทฤษฎีนะ แต่ปฏิบัติไม่รู้นะ พี่จบมาทางวรรณคดีอังกฤษ แต่ภาษาไทยก็ไม่น้อยหน้าใครนะ มีอาจารย์พี่ท่านหนึ่งที่เคยสอนพี่ จนวันนี้พี่เห็นท่านเสมอ ๆ ในสังคมวรรณกรรมวิจารณ์ แต่พี่ไม่เคยเห็นคล้อยตามท่านสักที เอาเป็นว่าอยากเขียนอะไรก็เขียนไปแล้วกันนะ อย่าไปใส่ใจทฤษฎีนัก เอาความรู้สึกตัวเองเป็นหลักเถอะ ถ้ารักจะเขียนนะ ถ้าเขียนไม่ออก ก็ไม่ต้องเขียน
17 พฤศจิกายน 2548 19:08 น. - comment id 12396
สวัสดีค่ะ พี่จิ๋ง หนูก็ไม่ค่อยวิจารณ์งานใครค่ะ ... ถ้าจะเห็นก็น้อยมากเลย ส่วนใหญ่ถ้าจะวิจารณ์ ก็จะทำให้เขาเห็นตัวเองและเห็นทางออก และออกมาในรูปแบบของการแสดงความคิดเห็นมากกว่า การแนะนำ แต่เรื่องของเรื่องที่ทำให้หนูหงุดหงิดใจนะพี่จิ๋ง พี่จิ๋งอาจจะไม่รู้ แต่หลายคนเขาประสบเหตุการณ์ซ้ำๆ ตรงนี้ก็คือ ท่านผู้รู้ท่านหนึ่งใช้นามว่า \"นักวิจารณ์\" เที่ยวไปให้คะแนนใครต่อใคร ทำให้หนูเริ่มกลับมาขบคิดอย่างหนักว่า คะแนนที่เขาให้นั้น เขาใช้เกณฑ์ใดบ้าง ก็เลยไปค้นตำรามาเพื่อหาความรู้ค่ะ พี่จิ๋ง ... ก็ไม่มีปรากฏ เพราะมันมั่วๆ มากยังไงไม่รู้ กับความเห็นของนักวิจารณ์บางท่านที่ปรากฏอยู่ในสังคมวิจารณ์วรรณกรรม รุ่งเองก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับหลายท่าน แต่ดีที่ได้มุมมองในมุมที่ท่านมอง เพราะว่า ท่านเองยืนหยัดในการวิจารณ์ตามแต่ประสบการณ์ของท่าน นักวิจารณ์บางท่าน อาจจะเป็นนักอักษรศาสตร์ ก็ใช้มุมมองทางวรรณศิลป์ บางท่านเป็นศิลปินทางด้านใดด้านหนึ่ง ก็ใช้มุมมองนั้นๆ บางท่านเป็นนักสังคมศาสตร์ ก็ยืนหยัดในการมองงานในแง่มุมทางสังคม ก็แล้วแต่ประสบการณ์และจุดยืนของท่านนั้นๆ แต่สำหรับท่านผู้รู้ผู้ใช้นามว่า \"นักวิจารณ์\" ในบ้านกลอนไทยนั้น รุ่งอ่านความคิดเห็นของเขาแล้ว เหมือนมันกลวงๆ และพื้นความรู้ไม่ลึกพอ (ขออภัยค่ะ ... แสดงความคิดเห็นตามความรู้สึก มิได้จาบจ้วงล่วงเกินโดยเจตนาใดๆ) แสดงท่าทีเหมือนคนทรงภูมิ ต้องการให้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ใครๆ ต้องฟัง แต่ฟังไม่ขึ้นน่ะค่ะ จุดประสงค์การตั้งกระทู้นี้ เจตนาหลักคือ อยากให้เขาละการกระทำอันก่อให้เกิดความรู้สึกรำคาญใจหรือเป็นเหตุนำพาให้คนหลงผิดไปเสีย มิฉะนั้นจะก่อบาปแก่ผู้ไม่รู้อีกมากมาย และจุดประสงค์รองก็คือ รุ่งต้องการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้สนใจวรรณกรรม และรักวรรณกรรมในเชิงวิชาการจริงๆ ถ้าไม่มีเหตุใดจำเป็น รุ่งก็จะไม่พูดคุยอะไรทำนองนี้เลย เพราะผลดีแทบจะน้อยเต็มทีเมื่อเทียบกับประโยชน์แล้ว อาจจะทำให้จิตใจของรุ่งเฟื่องฟูหลงตนด้วยทิฐิมานะ ด้วยความรู้ ด้วยความเห็น แล้วเกิดอาการ กร่าง กดข่ม ผู้อื่น จมไม่ลง อื่นๆ อีกมากมาย ที่อันตรายต่อสภาพจิตใจที่นิ่งสงบเรียบง่ายของตนเอง คนเราความทะยานอยากไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ ... โดยเฉพาะความติดกับดักวิชาความรู้เป็นอันตรายอันพึงระวัง สำคัญที่สุดตรงที่ ความรู้ทั้งหลายจะกลายมาเป็น \"กะลา\" ครอบ โดยไม่รู้ตัว สำคัญว่าตัวเองเป็นสัพพัญญูแล้ว ไหนๆ ก็มีกระทู้เกี่ยวกับวรรณกรรมวิจารณ์แล้ว ท่านผู้รู้ท่านใดพอมีความรู้จะมาแลกเปลี่ยนกัน ก็เชิญเลยนะคะ ... เพื่อที่จะได้ \"ต่อยอด\" ความรู้อันมีอยู่แล้วให้ขยายกว้างไกลต่อไป เป็นสิ่งจริงตามที่พี่จิ๋งบอกว่า ใช้ความรู้สึกในการรับอรรถรสบทกวี เพราะ สิ่งสำคัญนั้นเห็นได้ด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยตา อนุโมทนาสำหรับวิทยาทานของทุกๆ ท่านนะคะ ขอบคุณที่ให้ความสนใจ แดดเช้าอยากเห็นวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วรรณกรรมไทย ก้าวไปข้างหน้า ไม่ได้วนเป็นวงกลม ซึ่งถ้าไม่มีใครช่วยกันกระตุ้นให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่คิด แล้ว วรรณกรรมอันเป็นศิลปะแห่งความรู้ ความคิด จินตนาการ ก็คงก้าวย่ำอยู่กับที่ อยากให้ทุกคนรักวรรณกรรม เหนือกว่าที่แดดเช้ารัก หรือเทียมเท่าที่แดดเช้ารัก ขอบคุณค่ะ : )
17 พฤศจิกายน 2548 20:03 น. - comment id 12398
ขอโทษนะเรามาในบานะมุมชองนักอ่านนะ เราต้องขอยืมประโยคนี้หน่อยนะ \"สิ่งสำคัญนั้นเห็นได้ด้วยใจ ไม่ใช่ด้วยตา\"นี่แหละครับผมจึงชอบอ่านกลอน การวิจารณ์มันอยู่ที่ว่าวิจารณ์เพื่ออะไร แต่มุมมองของนักอ่านที่ดีจะพูดแบบตรงๆๆเลยว่าดีหรือไม่ดี ไม่ใช่พูดว่า\"ดีไม่มีอะไรต้องติเลย อาจจะมีบ้างบางวรรคที่ไม่รื่นเท่าไหร่และบางคำยังเรียงไม่สละสลวย\"มันทะแม่งนะคุณนักวิจารณ์ ผมว่าคุณลองเขียนสักบทซิแล้วผมจะลองวิจารณ็ดูคุณจะรู้ว่าหนุกหนานไหม ไปหละ
17 พฤศจิกายน 2548 19:39 น. - comment id 12399
ได้คำคมๆ มาประโยคนึง อดไม่ได้ เอามาแบ่งปันกันดีกว่า .... ถ้าคำวิจารณ์ไม่สะท้อนสิ่งที่ถูกวิจารณ์ มันก็จะสะท้อนคุณภาพของผู้วิจารณ์แทน คำวิจารณ์จึงเป็นกระจกสะท้อนทั้งผู้วิจารณ์และผู้ถูกวิจารณ์ ... เห็นด้วยค่ะ : ) ใครมีอะไรมาแบ่งปันอีก เชิญค่ะ
17 พฤศจิกายน 2548 20:13 น. - comment id 12400
สวัสดีค่ะ คุณดินถล่ม แดดเช้าก็กำลังรอคุณ นักวิจารณ์ เข้ามาอยู่เนี่ย ปล่อยให้แดดเช้าตัดสินงานวิจารณ์ของเขาอยู่ฝ่ายเดียวมานานแล้ว บางที หลักวิชาก็สำคัญ เริ่มเห็นด้วยกับคุณครูแล้วค่ะ เพราะถ้าขาดหลักงานก็ก้าวหน้าไปไม่ได้จริงๆ ทักษะอย่างเดียว คงยังไม่พอหรอกค่ะ ... แดดเช้าว่านะคะ ไม่อาจก้าวล่วงไปแตะต้องกระทู้กลอนอื่นๆ ที่คุณนักวิจารณ์ไปวิจารณ์ได้ นอกจากวิจารณ์คำวิจารณ์ของคุณนักวิจารณ์ ... เพราะกลอนแต่ละบทรจนาขึ้นมา ผู้เขียนมีความตั้งใจ แดดเช้าเชื่อเช่นนั้น มิใช่แต่งขึ้นมาเพื่อให้ใครมาให้คะแนน ไม่ใช่แต่งขึ้นมาเพื่อให้ใครมาตัดสินงานแล้วจัดระดับงาน เวทีแห่งบ้านกลอนไทย เป็นเวทีแห่งความหลายหลากแห่งจินตนาการ คุณนักวิจารณ์ ... อยากให้คุณทบทวนบทบาทตัวเอง อยากให้คุณเข้าใจตัวเองสักนิดว่า สิ่งที่คุณเที่ยวไปตัดสินงานใครๆ เพื่ออะไร เพื่อเรียกความเคารพนับถือ หรือ เพื่อปรารถนาอันบริสุทธิ์ หากปรารถนาอันบริสุทธิ์จริงแล้ว ไม่ต้องไปทำวิธีการเช่นนั้นก็ได้นะคะ ... มันน่ารังเกียจพอสำหรับปัญญาชนผู้พบเห็นค่ะ มัน \"สื่อสาร\" และ \"สะท้อน\" ภูมิปัญญาที่คุณนักวิจารณ์มี ขออภัย ... แดดเช้าพูดตามความรู้สึกนะคะ ตามเหตุผลที่แดดเช้าพอจะหยิบยกมาคัดค้านการกระทำของคุณทั้งสิ้นทั้งปวง
19 พฤศจิกายน 2548 14:58 น. - comment id 12693
สวัสดีค่ะ คุณปักษาวายุ แดดเช้ากลับรู้สึกว่า ชอบให้คนวิจารณ์งานนะคะ เพราะมันสะท้อนภาพของตัวเองได้ชัดดี แต่กระจกนั้นต้องเป็นกระจกจริงๆ ไม่ใช่วัตถุสร้างคล้ายกระจก บ้านกลอน ... คิดเหมือนแดดเช้าเลยค่ะว่า ที่นี่ไม่ใช่เวทีประชันขันแข่งที่จะส่งการบ้านให้ใครตรวจ แล้วให้คะแนน ถ้าคุณอยากแนะนำก็ควรแนะนำเป็นการส่วนตัว อย่ามาอวดโอ้ให้คนเห็นภูมิของคุณในที่สาธารณะ เหมือนทำตัวให้เป็นที่สนใจยังไงก็ไม่รู้ หรือถ้าคันไม้คันมือ คุณก็ยกบทกวีสักบทที่คุณประทับใจ แล้วตั้งกระทู้เขียนบทความวิจารณ์แบ่งปันความรู้ให้เป็นเรื่องเป็นราวซะ เจ้าของชิ้นงานชิ้นนั้น คงประทับใจที่ผลงานของเขาเข้าตากรรมการ มีคนหยิบยกขึ้นมาพูดถึง คนอ่านพลอยได้เรียนรู้ไปด้วย แต่การที่เที่ยวไปสร้างความรำคาญทำกระทู้ใครเลอะเทอะเช่นนั้น แดดเช้าว่า เป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจและน่ารำคาญยิ่งน่ะค่ะ อิอิ อดไม่ได้ ต้องตอดๆ ซะหน่อย เพราะเจ้าตัวยังไม่ยอมมาแก้ต่าง ทนเป็นจำเลยอยู่ได้ คุณปักษาวายุ แดดเช้าเองก็ยังไม่ค่อยเก่งอะไรสักเท่าไหร่ ที่ตั้งกระทู้นี้ ก็เป็นการหัดๆ เอาค่ะ เอาเลกเชอร์มาเผยแพร่ เผื่อจะทบทวนความรู้ได้มั่ง แล้วก็ได้ประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย เราได้รับการวิจารณ์ ใช่ว่า เราจะต้อง เออ ออ ตามเขาทั้งหมด เราต้องกลับมาไตร่ตรองด้วยใจอันเป็นธรรม (ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง) ด้วยว่า สิ่งที่เขาพูดนั้น สะท้อนอะไร สะท้อนตัวเขาว่ามองในมุมไหน สะท้อนงานเรายังไงให้เขาเห็นเช่นนั้น แล้วเราควรปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการคิด กระบวนยุทธ์ อย่างไร งานต้องมีการพัฒนาค่ะ อยากให้เรามาช่วยกันนะคะ ... เพราะถ้าปราศจาก \"วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์\" ซะแล้ว อะไรๆ ก็ขับเคลื่อนไปได้ยากยิ่ง แต่ต้อง วิจารณ์ อย่างมี วัฒนธรรม ด้วยนะคะ ไม่ใช่วิจารณ์เพื่อก่อเกิดความถือตัว เกิดกิเลส เกิดความหลงลาภสักการะ ต้องวิจารณ์เพื่อวัฒนะจิตวิญญาณ ด้วยความเคารพ และเพื่อการพัฒนาตัวเอง เคารพในทุกประสบการณ์การอ่านของทุกท่านค่ะ .... แดดเช้ายังอ่านหนังสือน้อย อ่านละเอียดไม่พอ หลายครั้งที่อ่านแล้วตีความพลาด การอ่านเป็นรากฐานแห่งปัญญา และนำไปสู่การวิจารณ์ที่ดี นักวิจารณ์ที่ดี ต้องเป็นนักอ่านที่ดี ซึ่งแดดเช้ากำลังฝึกหัดและเรียนรู้อยู่ -- เรามาเรียนรู้ด้วยกันดีไหมคะ ด้วยมิตรภาพและความเคารพ
19 พฤศจิกายน 2548 15:56 น. - comment id 12695
แต่เข้ามาอ่านกระทู้นี้แล้วได้ความรู้เรื่องการวิจารณ์ขึ้นเยอะคับ กระทู้หน้าขอเป็นเกร็ดความรู้พื้นฐานเรื่องการแต่งกลอนยังไงให้เพราะๆได้ไหมคับ อิอิ ป.ล. อยากแต่งเก่งๆเหมือนคนอื่นบ้างคับ ปักษาวายุ 19 พ.ย. 48 - 11:43 IP 202.57.143.14 ...... แหะ แหะ คงไม่ไหวหรอกมั้ง คุณปักษาวายุ สำหรับกระทู้กลอน คงต้องให้คนอื่นเขาแนะแล้วแหละ เพราะแดดเช้าเองก็ยังต้องฝึกหัดอีกเยอะ มีคนบอกว่า แดดเช้าเป็นนารีไร้ (ลมหาย) ใจ เขียนกลอนไร้ชีวิต ไม่สามารถดึงใจคนอ่านให้ติดตรึงได้เลย ฉากอะไรก็ไม่มี กลอนอัดแต่เนื้อหาจนคนอ่านจะติดคอตายอยู่แล้ว ฮาๆๆๆ เรามาเรียนรู้ร่วมกันดีกว่า ... ไม่มีใครเก่งกว่าใคร ทุกคนต่างประสบการณ์กัน ฝึกฝนได้ เรียนรู้ได้ ตกลงไหมคะ? คุณปักษาวายุ มีความรู้ ความคิดเห็น อะไร เรามาคุยกัน เผื่อจะได้ได้รู้อะไรใหม่ๆ ร่วมกัน แดดเช้าก็มีแต่มาแบ่งปันค่ะ มิอาจเอื้อมจะแนะนำหรือจะเป็นครูบาอาจารย์ผู้ใดได้ รู้อะไรแล้วพอถ่ายทอดได้ ก็ถ่ายทอด ไม่รู้ว่าจะเป็นการถ่ายทอดแบบ สอนจระเข้ว่ายน้ำ หรือ สอนหนังสือสังฆราช หรือเปล่านะคะ แต่ด้วยใจบริสุทธิ์ค่ะ ... เพราะท่านผู้รู้จริงๆ ท่านก็คงไม่เข้ามาตอบ ไม่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ไม่มาพร่ำบ่นอะไรเยอะๆ แบบแดดเช้าเลย ท่านก็คงนิ่งอ่านเงียบๆ หรืออาจจะแอบหัวเราะหึ หึ ... เจ้าเด็กนี่ มันเล่นอะไร อิอิ เอาเป็นว่า ... ถ้าไม่จำเป็น แดดเช้าก็จะไม่ตั้งกระทู้ในลักษณะนี้เลย เพราะ \"กลัวใจตัวเอง\" จะเหิม ค่ะ บางคนเคยเตือนแดดเช้าว่า ลักษณะการพูดของแดดเช้าต้องระวัง เพราะเหมือนเป็นการอวดรู้ เหมือนเป็นการสั่งสอน ซึ่งเป็นสิ่งที่แดดเช้าไม่รู้ตัว และทำให้ใครหลายๆ คนขุ่นเคืองถึงขนาดเขม่นเอาเลย ... (อันตรายนะเนี่ย อยู่กับคนเนี่ย หนีไปอยู่ในป่าดีกว่า) อาจเป็นเพราะแดดเช้าชอบวงการวิชาการที่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันเช่นนี้ก็ได้ ด้วยทำให้ลดอัตตามานะลงเยอะ ลดความถือตนในเรื่องอาวุโสลง และลดความถือตัวในเรื่องวุฒิภาวะอะไรนั่นลงเยอะเลย เพราะเราคุยกันด้วยเหตุผลนะคะ ไม่ได้ใช้อารมณ์และความปรารถนาส่วนตัว ฉะนั้น ... เรื่องกระทู้ต่อไปให้เป็นกระทู้แนะนำกลอนนั้น แดดเช้าขอเชิญท่านอื่นเถอะค่ะ มิอาจเอื้อมแนะนำใครต่อใครได้ ขอพัฒนาตัวเองเงียบๆ ลำพังดีกว่า ด้วยมิตรภาพและความเคารพ
19 พฤศจิกายน 2548 21:23 น. - comment id 12700
เคยอ่านความคิดเห็นของนักเขียนต่างชาติคนหนึ่งว่า หากท่านปรารถนาจะเขียนอะไรแล้ว อย่าไปคำนึงผลตามมา... คิดว่าคนเขียนนั้นคงหยั่งการณ์ได้ ปล่อยวางได้...ไม่วิตกสิ่งที่เรียกว่าปฏิกิริยากระมัง วิจารณ์เถอะ .เขียนมาเถอะ ใครก็ตาม คนอ่านคนวิจารณ์ .แม้แต่คนเขียนเอง ความรักในการเรียนรู้และพัฒนาตน ยกระดับงานเป็นเรื่องปกติวิสัยในแวดวงหนังสือทั้งคนอ่านและคนเขียน. . คนทุกคนมีภูมิเรียนรู้ รับรู้ มีความคิดรู้สึกไปตามโอกาส ตามจังหวะชีวิตแตกต่างกันไป.. ทุกเรื่องราวล้วนมีค่ามีผลสะเทือนในการนำเสนอ ด้วยรูปแบบเนื้อหา วิธิการใดก็ตาม ... แม้แต่หนังสือมอหกหรือที่เรียกว่าวรรณกรรมพิมพ์ดีดสมัยหนึ่งก็ยังอ่านได้คุยได้เลย อย่าว่าหนังสือหรืองานเขียนที่ได้เรื่องไม่ได้เรื่อง หากจะประเมินค่าก็ต้องถามว่าเพื่ออะไร อย่างไรและเพื่อใครอีก .ไม่เอ่ยถึงระดับสติปัญญา ปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ...มากเรื่องไปอีก เป็นปัญหาประเมินคุณค่า สารพัดเรื่อง ข้อสำคัญเห็นว่าทุกเรื่องมีสาระทั้งสิ้นแหละนะ มีด้านตรงด้านกลับให้มองให้คิดให้เรียนรู้..พัฒนาการของคนไม่ต่างจากสรรพสิ่ง ล้วนมีการเกิดขึ้น ดำรงอยู่เปลี่ยนแปลงและคลี่คลายไปเสมอ...สังคมจะประเมินคุณค่าตัดสินมันเองว่าดีหรือเลวในที่สุด... ฉะนั้น คำกล่าวของนักเขียนข้างต้นก็น่าคิดนะ หากไปหลงใหลได้ปลื้มหรือจริงจังกับผลตามมามากมาย ก็มากเรื่องจริง ๆ... ให้สังคมและยุคสมัยตัดสินประเมินคุณค่ากันเถอะ ยิ่งการศึกษาเป็นอยู่แบบนี้ วัฒนธรรมการคิด การเรียนรู้ การทำงาน หรือการอยู่ร่วมในสังคมที่แตกต่างกัน มีความหลากหลาย ปัญหาหรือคำถามไม่เคยจบสิ้น หาข้อยุติยากโดยเฉพาะความหลง ความรู้ในอัตตาของคน พุทธะมิได้เกิดได้ในทุกคนนี่น่ะ .... อย่างไรก็ดี ขอบคุณที่นำเสนอสิ่งดีๆในแวดวงคนเขียนคนอ่านให้มีพัฒนาการก้าวหนึ่งได้ นับเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งตั้งแต่ที่ได้ผ่านมาเห็นมาเขียนในที่นี้....กระทู้นี้ดั่งประกายไฟลามทุ่งได้ดีทีเดียว... ทำได้ดีสมที่ได้เรียนมาและนำมาใช้ประโยชน์จริง ชอบครับและไม่คิดอะไรมากมาย.. .คนเราพบเพื่อจากกัน ไม่ได้จีรังแน่นอนอะไร ความเป็นเลิศหรือไม่ วิเศษหรือไม่ จะเอาอะไรกันนักหนา..อยากถามว่าประชาชนคนยากจนได้อะไรดีกว่า.. จริงไหม.
19 พฤศจิกายน 2548 21:50 น. - comment id 12702
สวัสดีค่ะ คุณ plaing_piu ค่า ... แดดเช้าเคยคิดว่า คุณเป็นผู้หญิงซะอีกนะเนี่ย ยินดีที่เข้ามาพูดคุยกัน ชื่นชอบงานของคุณอยู่เหมือนกันนะคะ แต่ ... แดดเช้าก็ยังไม่แกล้วกล้าพอที่จะแตะต้องงานใคร ไม่แกล้วกล้าพอที่จะ \"สื่อสาร\" และ \"สะท้อน\" ตัวเองออกมา แต่นับว่า คุณเข้ามาจุดไฟให้แดดเช้าเกิดความแกล้วกล้าขึ้นมาอีกนิดเดียว ... แต่ได้แค่นิดเดียวจริงๆ นะคะ เพราะยังไม่มีผู้ริเริ่มเลย อืม .. ถ้าไม่มีผู้ลงมือทำ ฤๅทุกสิ่งจะถูกเสกสร้างขึ้น ขอบคุณค่ะ ที่สะกิดใจให้ข้อคิด เข้ามาคุยกันอีกนะคะ : ) ด้วยความยินดีในมิตรภาพค่ะ
20 พฤศจิกายน 2548 08:58 น. - comment id 12708
เจ้าตัวดี...ที่แสนน่ารัก ลูกเป็ดตัวน้อยแสนน่ารัก ใยเจ้าจักอยากกินแมลงวัน แหนในแอ่งกินง่ายง่ายออกอย่างนั้น ไม่สนมันบ้างหรือเจ้าตัวดี กระโดดโลดไล่ไขว่คว้า แมลงวันหาญกล้าบินหนี เจ้าตัวเล็กยอมเหนื่อยกายี หมายลิ้มรสชาติยี้ยี้...แมลงวัน มีเวลานิดหน่อย แวะมาคุยต่อ แล้วก็ยกกลอนที่ไม่เชิงเป็นกลอนข้างบนมาให้อ่าน รู้ไม๊ เป็นบททีพี่ชอบมาก พี่ใช้เวลาเขียนแป๊บเดียว แต่เขียนด้วยรู้สึกอยากเขียน รู้ตัวว่าต้องการสื่ออะไร แก่นของมันคืออะไร ถ้าเข้าใจ ก็จะอ่านได้ไม่รู้เบื่อ สรุปตรงนี้ คือ งานของใครก็ตาม เจ้าตัวย่อมรู้ว่าต้องการสื่อถึงอะไร ภาษาจะงดงามหรือง่าย ๆ ถ้าสื่อให้คนเข้าใจได้ ถือว่างานชิ้นนั้นประสบความสำเร็จ หนังสือรางวัลซีไรท์หลายเล่ม ไม่ใช่หนังสือที่มีหลักการเขียนครบถ้วนตามทฤษฎี แต่ก็โดนใจกรรมการได้ เพราะฉนั้น พี่ว่า คนวิจารณ์งานทั้งหลาย ก็ไม่ใช่จะยึดความถูกต้องตามทฤษฎีทั้งหมด ความชอบ ทัศนะส่วนตัวของใครของมันต่างหาก เพราะไม่เช่นนั้น หนังสือรางวัลซีไรท์บางเรื่องคงไปไม่ถึงดวงดาว วันนี้ไปละ ขอให้สนุกกับการสร้างงานต่อไปนะ รุ่ง
20 พฤศจิกายน 2548 22:18 น. - comment id 12714
อัลมิตราไม่เคยเรียนหลักวรรณคดีวิจารณ์มา แต่ที่รู้ ..จากหัวใจของตนเองพบว่า หนังสือหรือกวีนิพนธ์บางชิ้น .. ถึงแม้ว่าจะได้รางวัลมา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า .. อัลมิตราจะอ่านแล้วจะเข้าใจ สรุปว่า อัลมิตราอาจจะยังเข้าไม่ถึงแก่นของอักษรพวกนั้น หรือว่า อักษรพวกนั้นยังไม่เป็นที่ประทับใจของอัลมิตรา กันนะ .. และเท่าที่อัลมิตราเคยเขียนเกี่ยวกับบทเพลงที่ถอดความมาเขียนร้อยกรอง หรือไม่ก็เล่าเรื่องภาพยนตร์ ที่มีบางตอนประทับใจ นั่นก็เป็นสิ่งที่เกิดจากการที่หัวใจของอัลมิตรากลั่นกรองเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะเห็นเป็นแบบเดียวกันหมด นั่นสิ .. วิจารณ์อย่างไร ให้เป็นมาตรฐาน คนที่จะเป็นมาตรฐานนั้น .. เป็นเช่นไร ในเมื่อแต่ละคน ถูกหล่อหลอมต่างกัน
21 พฤศจิกายน 2548 09:22 น. - comment id 12715
สวัสดีค่ะ พี่จิ๋ง และ คุณอิม ตอบพร้อมกันเลยดีกว่านะคะ : ) วรรณกรรม ไม่มีการตัดสินว่า ดีหรือไม่ดี ระดับใดหรอก แต่มีการวัดคุณภาพ \"ความคิด-ความฝัน\" ศิลปะ กับ อนาจาร มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุใดกัน? หากแต่ไม่มีสิ่ง \"ขีดคั่น\" ความเป็นศิลปะ และ อนาจาร อันสื่อจากใจ คือ เจตนาของผู้สร้างงาน ใช่ไหมคะ เช่นกัน ... อย่างที่แยกแยะบทบาทหน้าที่ของ \"นักวิจารณ์\" ไว้ชัดเจนแล้วว่า นักวิจารณ์ไม่ใช่ \"ผู้พิพากษา\" ในการที่จะตัดสิน ชี้เป็นชี้ตายงาน แต่นักวิจารณ์ทำหน้าที่ \"สื่อสาร\" และ \"สะท้อน\" ภาพของงานที่แสดงออกมา หากแต่ไม่มีนักวิจารณ์แล้ว เรามิอาจแยกแยะอะไรออกมาเป็นระบบได้เลย คนเขียนกลอนรัก ก็พร่ำเพ้อกลอนรักไป ไม่มีคนจำแนกความรักจากงานเขียน คนเขียนกลอนอกหัก ก็พร่ำเพ้อไปตามประสา ไม่มีคนมาจำแนกสิ่งที่เกิดขึ้น และไม่มีคนมาทำความเข้าใจงาน อ่านแล้วผ่านเลยไป ไม่มีคนมาเสพอย่างอย่างใช้ วิจารณญาณ ใครๆ อาจมองว่า นักวิจารณ์อยู่คนละด้านกับผู้สร้างงานก็จริง แต่หากทว่า วันหนึ่ง ใครสักคนไปดูหนังมา แต่ไม่รู้จักการวิจารณ์ ก็ไม่สามารถสื่อเล่าให้คนที่ยังไม่เคยไปดูหนังเรื่องนั้นรู้ได้ว่า หนังนั้นเป็นยังไง มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร หนังนั้น ก็ขาดคุณค่า คุณสมบัติของนักวิจารณ์ มีอยู่ในตัวคนทุกคน แล้ววัดคุณภาพออกมาว่า คนนั้นสามารถมีสติปัญญาในการมองงานได้อย่างไร คนสร้างงานคนหนึ่ง อาจจะสร้างงานสื่อสารได้อย่างดี แต่อีกคนหนึ่งบอกว่า อ่านไม่เข้าใจ เนื่องจาก \"พื้นฐานการอ่าน\" ของคนอ่านน้อย จึงไม่อาจจะเข้าใจใน \"สาร\"ของผู้สร้างงานได้ นี่คือการวัดระดับของนักวิจารณ์ ถ้านักวิจารณ์ที่มีพื้นฐานแน่นดีแล้ว วิจารณ์งานเขียนงานหนึ่งในสายตาและประสบการณ์ของเขาเอง ก็คือ สะท้อนภาพของทั้งงานเขียนและการวิจารณ์ การวิจารณ์ ไม่ใช่การติ อย่างเดียว แต่เป็นการ \"สะท้อน\" และ \"สื่อสาร\" อย่างที่ย้ำแล้วหลายครั้งแล้วนั้น ขอให้อ่านที่แดดเช้าเขียนอีกหลายๆ รอบนะคะ แล้วลองทำความเข้าใจดู โดยภาพรวม ใครๆ มักมองภาพ \"นักวิจารณ์\" ในเชิงลบ แต่แท้แล้ว การวิจารณ์คือ วัฒนธรรม ที่ดีงามค่ะ ซึ่งเรายังขาดความเข้าใจ : )
21 พฤศจิกายน 2548 23:27 น. - comment id 12721
อื่ม... ปกติแล้วไม่ค่อยได้อ่านพวกงานวรรณคดีวิจารณ์เท่าไรเลย \"คำนิยม\" มันเหมือนกันมั้ยเนี่ยะ จะอ่านพวกคำนิยมแบบเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นเอง แบบว่าเกลียดพวกคำวิจารณ์แรงๆ (ของผมนี่ในแง่ลบก็ ถือว่าแรงแล้ว แต่ไม่ตอบโต้) แบบเหมือนจะหมายมาทำร้ายน้ำใจคนสร้างสรรค์งานก็ไม่ไหวเหมือนกัน จะพลอยให้เกลียดขี้หน้าผู้นั้นไปชั่วชีวิต ผมอาจจะไม่ใจกว้างพอนะครับ ดังนั้นก็เลยอยู่แบบ \"แบนๆ\" ดีกว่า ปล่อยให้นักวิจารณ์(ทั่วไป) เค้าไปเติมเต็มเป็นรูปสามเหลี่ยมกับคนอื่นเค้า รักษ์รัก..ลักจ๊วบ ป.ล. เนื้อความวกวนต้องขออภัย
21 ธันวาคม 2548 13:57 น. - comment id 12933
อาจจะช้าไปหน่อย แต่ขอแสดงความคิดเห็นบ้างน่ะค่ะ อ่านความเห็นของแต่ละคนเรียงลงไป ก็คล้อยตามทุก ๆ คนไปหมด เพราะทุกคนก็มีเหตุผลของตนเองกันทั้งนั้น สนุกดีนะคะ ที่เราได้วิจารณ์งาน หรือได้อ่านการวิจารณ์ของใคร แต่คำวิจารณ์เค้าต้องไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งทำได้ค่อนข้างยากในคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน การวิจารณ์ ก็ต้องฝึก ก็ต้องเรียนกันน่ะค่ะ แน่นอนว่า ทำงานกันแล้ว ไม่รู้จะไปเรียนกันที่ไหน ก็คงต้องเรียนรู้จากการฝึก และทดลอง บางคนอาจจะไปอ่านงานวิจารณ์คนอื่น ว่าเค้าวิจารณ์งาน ฉันทลักษณ์ วิจารณ์อารมณ์กันอย่างไร แต่เท่าที่เราชอบก็คืองานวิจารณ์บทกลอน ของกวีหลาย ๆ คน หรือที่เรียกว่า \"บทวิพากย์ \" นั่นเอง บทวิพากย์จะมีทั้งจับจุดที่ถูกใจมาชม และจับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจมาเปรียบเทียบ และบอกผู้อ่านอย่างแยบยล โดยให้ตีความเอง ว่าดีหรือไม่ดีในความรู้สึกของตนอีกที ซึ่งถ้าไปอ่านงานวิจารณ์ บ่อย ๆ แล้วจะเป็นลักษณะ ลูบหัว ตบหัว แล้วลูบหลังมากกว่า คือจะมีการชม สลับกับติ ต่อ ๆ ไป แต่สุดท้าย แล้วทุกอย่างก็ก่อให้เกิดผลดี อะไรที่ดีอยู่แล้วก็ได้รับคำชม อะไรที่ไม่ดี ก็ได้รับคำติเพื่อพัฒนาขึ้น แต่คนวิจารณ์ก็ต้องเป็นคนที่ ผู้เขียนเคารพด้วยอีกที ถ้าไม่เคารพกันแล้ว ก็คือการดุด่า กันนี่เอง ดังนั้นก็งี้ล่ะคะ จะมาวิจารณ์เค้าได้ เค้าต้องชื่นชมเราก่อน แต่ก็อย่างที่กล่าวในข้างต้น เพราะว่าเราไม่ได้เรียนจากที่ไหนไงคะ ว่าวิจารณ์กันอย่างไร คุณนักวิจารณ์ ก็เลยฝึกวิจารณ์ตามกระทู้ซะเลย