ความยุติธรรมของชีวิตอยู่ที่ไหน มีใครบอกให้กระจ่างที เผื่อวันนี้จะได้ไม่ระคายใจ?
17 สิงหาคม 2548 21:56 น. - comment id 11633
ความยุติธรรมของชีวิต อยู่ที่ทุกคนให้เกียรติและ เคารพสิทธิความเป็นมนุษย์ ของกันและกัน ใช่ป่าว ไม่รู้ ดิ ว่าถูกจ๋ายเจ้าบ้านป่าว
19 สิงหาคม 2548 23:46 น. - comment id 11700
หลักการและระเบียบในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน หลักการดำเนินคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึง การคุ้มครองเด็ก สวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชน โดยการแก้ไข บำบัด และฟื้นฟู ยิ่งกว่าการลงโทษ ตามนัยระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ข้อ 111 ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชน เป็นไปตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 112 และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกเป็นคราว ๆ ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน \"เด็ก\" หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ \"เยาวชน\" หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนฯ มาตรา4) ข้อสังเกต 1. กรณีเด็กอายุไม่เกิน 7 ปีกระทำความผิดอาญา ไม่ต้องรับโทษ 2. กรณีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นเยาวชน การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ 1 แห่งเดือนนั้น เป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน (วันที่ 1 มกราคม) ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16) การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชนให้ถืออายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่ใช่เจ้าพนักงานจับกุมแจ้งข้อหา) ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน 18 ปี แต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน 18 ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสอบสวนจะต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ทวิ) พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ต้องเป็นพนักงานสอบสวนต้องมีเขตอำนาจการสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18-21 การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนในกรณีที่ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 12 ทวิ, 133 ทวิ ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนาย (ที่ปรึกษากฎหมาย) หรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ทวิ การถามปากคำ (คำให้การ) ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการโดยแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสภาพที่เหมาะสม และมีพนักงานอัยการ ทนายความ (ที่ปรึกษากฎหมาย) แต่หากเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษ จำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และถ้าผู้ต้องหาร้องขอ ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วยเสมอ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ตรี และนำมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม) ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กร้องขอหรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ โดยแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และมีพนักงานอัยการ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอร่วมถามปากคำด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ) ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำพร้อมกันได้ พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ วรรคท้าย ในคดีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน ชี้ตัวผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ตรี และนำมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ การดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.2543 ข้อ 11-15 การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ การพิจารณาและสั่งคดี การพิจารณาสั่งคดีในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหานั้น จะต้องตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบ จะต้องพิจารณาสั่งคดีให้ทันภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 หากเป็นคดีความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 จะต้องนำรายงานการสืบเสาะของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มาประกอบการพิจารณาด้วย จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษ ต้องพิจารณาของกลาง และขอให้ผู้ต้องหาคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 พิจารณาประวัติการเคยกระทำความผิดและเคยต้องโทษของผู้ต้องหาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ให้มีคำสั่งและขอให้ศาลสั่ง กรณีสั่งฟ้อง เมื่อตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งฟ้อง กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องใช้ความเห็น \"เห็นควรสั่งฟ้อง\" ในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 32 และก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หากพิจารณาพยานหลักฐานและพยานหลักฐานยังไม่แน่ชัด ก็ต้องสั่งสอบสวนเพิ่มเติมตามรูปคดีตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 35 กรณีสั่งไม่ฟ้อง เมื่อในกรณีพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดรอบคอบดังกล่าวแล้ว คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง หรือการฟ้องคดีใดจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ (ระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 51) พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง (กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง) แล้วจึงเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี การขออนุญาตฟ้อง และการผัดฟ้อง คดีขออัยการสูงสุดอนุญาตฟ้อง ได้แก่ คดีที่ยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลไม่ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคดีว่าขาดผัดฟ้อง ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ขาดผัดฟ้องมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน หรือในชั้นพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี การดำเนินคดีในชั้นศาล การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาโดยเคร่งครัด และให้ใช้ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ง่าย กับต้องให้โอกาสจำเลยรวมทั้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องด้วย แถลงข้อเท็จจริง ความรู้สึก และความคิดเห็น ตลอดจนระบุและซักถามพยานได้ไม่ว่าในเวลาใดๆ ในระหว่างที่มีการพิจารณาคดีนั้น (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ พ.ศ.2534 มาตรา 77) ศาลที่มีอำนาจรับพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชน การที่จะฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น แม้เด็กหรือเยาวชนขณะกระทำความผิดมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่ได้หลบหนีไปจนมีอายุเกิน 18 ปี เช่น หลบหนีไป 10 ปี จนอายุถึง 28 ปี ก็นำมาฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัว (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ พ.ศ.2534 มาตรา 5) จะต้องเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวมีเขตอำนาจพิจารณาคดีในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติเท่านั้น (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 58) ในกรณีที่ท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว แต่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวที่ความผิดได้เกิดขึ้นในเขตมีอำนาจพิจารณาคดี สำหรับกรณีมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ และในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชน ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ด้วย ถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชน ไม่ใช่ถือตามท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน แต่ถือตามท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีที่พักอาศัยเป็นปกติ (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1382/2523) ข้อสังเกต 1. กรณีไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา (ศาลจังหวัด ศาลแขวง) มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 58 (4)) 2. ในกรณีที่ผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ กระทำผิดและอยู่ในอำนาจของศาลธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตวิสัย เห็นว่าบุคคลดังกล่าวนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ให้ศาลมีอำนาจโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถืว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ พ.ศ.2534 มาตรา 61) บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี ผู้พิพากษา มี 2 ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 16 พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด และต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 66 จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 83 การสืบพยานในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด ในคดีที่พยานเป็นผู้ใหญ่ การสืบพยานจะเป็นแบบคดีปกติธรรมดา พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และมาตรา 172-181 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 และระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 73-88 การสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปี ตามปกติห้องที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ ก็ให้ใช้ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 72 และพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี และก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 (1) และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.2543 ข้อ 26-29) การพิจารณาลับ การพิจารณาคดีที่ศาลให้กระทำเป็นการลับ พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 73 และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 73 (1)-(7) กำหนดเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้และการพิจารณาจะต้องกระทำต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 90 รวบรวมโดย ว่าที่ร.ต.ศุภเสฏฐ์ รวีภัคพงศ์ ผู้พิพากษาสมทบ ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครนายก กระทรวงยุติธรรม chpu@thaimail.com
20 สิงหาคม 2548 04:15 น. - comment id 11702
ความยุติธรรมของชีวิตจะเกิดขึ้นได้ไม่ใช่ด้วยการแสวงหา หากแต่อยู่ที่การวางใจให้เป็นธรรม
20 สิงหาคม 2548 20:32 น. - comment id 11709
ความยุติธรรมของชีวิต อยู่ที่การที่เรากำหนดมันขึ้นมาว่าจะให้มันเป็นอย่างไร