พี่ๆ หรือเพื่อนๆรู้จักร่ายยาวไม๊คะ ช่วยนัสแต่งร่ายยาวหัวข้อ ศีลธรรมที่ควรปฏิบัติหน่อยดิคะ เร็วๆๆๆที่สุดเรย พลีสสส!!!
2 กรกฎาคม 2548 14:09 น. - comment id 11199
อ้าวๆ แก้เป็น หัวข้อ อบรมสั่งสอนศีลธรรมที่พึงปฏิบัติของนักเรียน ช่วยนู๋หน่อยน๊า.. .. เป็นพระคุณอย่างรุนแรงเลยค่ะ แง๊...งานท่วมหัวแว้ววว
2 กรกฎาคม 2548 17:44 น. - comment id 11200
ร่ายยาว การแต่งร่ายยาว ต้องรู้จัก เลือกใช้ ถอยคำ และสัมผัสใน ให้มีจังหวะ รับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้ว ให้เกิด ความรู้สึก มีคลื่นเสียง เป็นจังหวะๆ อย่างที่เรียกว่า \"เสียงดิ้น\" หรือ \"เสียงมีชีวิต\" และจำนวนคำ ที่ใช้ ในวรรคหนึ่ง ก็ไม่ควรให้ยาว เกินกว่าช่วง ระยะหายใจ ครั้งหนึ่งๆ คือ ควรให้อ่าน ได้ตลอดวรรค แล้วหยุดหายใจได้ โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ ในหนังสือ เวสสันดรชาดก ร่ายยาวนี้ ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่า เป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ และเทศน์ธรรมวัตร เป็นต้น เมื่อจบความ ตอนหนึ่งๆ มักลงท้ายด้วย คำว่า นั้นแล นั้นเถิด นี้แล ฉะนี้แล ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นแล นิยมใช้เมื่อ สุดกระแสความตอนหนึ่งๆ หรือจบเรื่อง เมื่อลง นั้นแล ครั้งหนึ่ง เรียกว่า \"แหล่\" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อ มาจากคำ นั้นแล นั่นเอง เพราะเวลาทำนอง จะได้ยินเสียง นั้นแล เป็น นั้นแหล่
3 กรกฎาคม 2548 08:57 น. - comment id 11206
อยกช่วยใจแทบขาด แต่ไม่รู้จักครับ เพราะเป็นผู้ผ่านทาง ไม่ใช่คนแถวนี้ ๚ะ๛ size>
3 กรกฎาคม 2548 13:07 น. - comment id 11207
..โห้ยย ..แล้ว..พี่เรนจะช่วยนัดได้อย่างไร.. เกาหัวฟู.. ด้วยดิคะ .... พี่เรน..ก็เหมือน..คนบนนู้นน.. อิอิอิ .. พี่เรน .. แวะมาบอกนัสจัง .. พี่เรน.. คิดถึงนะคะ ..
3 กรกฎาคม 2548 13:57 น. - comment id 11208
อยากช่วยนะคะ แต่ว่ามันไม่ยากเกินความสามารถน้องหรอกเนอะ เชื่อพี่เถอะค่ะ ^_^
3 กรกฎาคม 2548 15:05 น. - comment id 11209
...แป้งรู้จักน้า...ร่ายยาวเนี่ย.... ...ก็ตอนนี้อาจารย์ให้ท่องอยู่.... แต่แป้งแต่งไม่เป็นอ่ะเลยช่วยนัสไม่ได้.... ...ขอโทษน้า...จะเป็นกำลังใจให้ละกัน... ...อาจารย์ของนัสโหดจังเนอะ... เค้าไม่สอนก่อนหรอ...อยู่ๆก็ให้แต่งเลย... ใครจาไปแต่งได้เล่า....ปวดหัวแทนเลย... เออ...จะบอกว่าร่ายยาวอ่ะมันก็คล้ายๆกลอนแหละ... แต่มันจะติดกันยาวๆๆๆๆ...เวลาอ่านก็ออกเสียงเหมือนเอื้ยนกลอนแหละ... แต่จะเร็วๆนิดนึง...สัมผัสก็มีแต่ไม่รู้อ่ะ... เอางี้ลองอ่านร่ายยาวที่แป้งท่องอยู่ดูละกัน.... ....ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร... ....ของ เจ้าพระยาพระคลังหน..... โส โพธิสัตโต ปางนั้นสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ ตรัสได้ทรงฟังพระลูกน้อยทรงกับแสง ทูลละห้อยวันนั้น กลั้นพระโศกมิได้ละอายพระทัยแก่เทพยดา ................... ประมาณนี้แหละ...คือมันยาวๆๆๆๆมาก.... ...........สู้ๆนู๋นัส..........
3 กรกฎาคม 2548 17:55 น. - comment id 11211
อยากช่วยเหมือนกันนะครับ.. แต่ทำไมต้องจำเพาะเรื่องศีลธรรมด้วยน้า..
3 กรกฎาคม 2548 18:03 น. - comment id 11212
พระยาอุปกิตศิลปสาร อธิบายความว่า ร่ายยาวคือร่ายที่นิยมสัมผัสส่งท้ายวรรคและรับต้นวรรค คำใดๆ ก็ได้ เป็นสัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ แม้สัมผัสจะ ไม่เที่ยง จะรับที่ไหนก็ได้ แต่ให้ห่างสัมผัสส่งต่อไปยิ่งมากก็ ยิ่งดี แต่ส่งกับรับจะเป็นคำร่วมกันไม่ได้ ส่วนวรรณยุกต์เช่น เอกรับเอก โทรับโท ฯลฯนั้น ก็นิยมด้วย แต่ไม่เคร่งครัดอย่าง ร่ายอื่นๆ คำในร่ายยาวนั้น วรรคหนึ่งๆ จะใช้ 5-6 คำ หรือ 6-7 คำหรือ มากกว่านั้น แล้วแต่จะเหมาะ ข้อสำคัญของการประพันธ์ร่ายยาว ไม่ได้อยู่ที่ข้อบังคับตาม แผนที่ว่าไว้ แต่ขึ้นอยู่ที่ใช้สัมผัสอักษรใช้ถ้อยคำให้เหมาะแก่ เนื้อเรื่องเช่น โศก เศร้า โกรธและเหมาะแก่ฐานบุคคลในเรื่อง ซึ่งเป็นศิลปะการประพันธ์อีกแผนกหนึ่ง ซึ่งต่างจากโคลงสุภาพทั้งหลายที่มีกำหนดคำในวรรคหนึ่งๆ ไว้ชัดเจน และมีสัมผัสวรรณยุกต์ถูกต้องดังแผนที่วางไว้ ตัวอย่างร่ายยาวที่คุ้นหู กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิ ลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ บอกหลักการแล้ว มันก็เป็นแค่การเล่นคำคล้องจองระหว่าง วรรคต่อวรรค..เท่านั้นเอง คิดว่า เล่นไม่ยากถ้าอยากจะเล่น size> มาช่วยในมาดของนักวิชาการ
3 กรกฎาคม 2548 22:02 น. - comment id 11215
เฮ้อนัสสสสส..... คิดถึงนัสจังเลยยย... ว่าแต่ ร่ายยาว.. แตงยังไม่ได้เรียนเลยอ่ะ ก็เลยช่วยไม่ได้อ่ะจ๊ะ โทษทีน๊า นัสสู้ๆ
3 กรกฎาคม 2548 22:49 น. - comment id 11216
ความหมาย ร่ายยาว คอลัมน์ รู้ไปโม้ด โดย น้าชาติ ประชาชื่น อยากรู้ว่าคำว่า \"ร่ายยาว\" ที่ใช้เวลาคนบ่นว่ายาวๆ เป็นชุด มาจากอะไร เป็นคำประพันธ์ร่ายที่ยาวๆ หรือเป็นสำนวนเฉยๆ หวังว่าจะไม่รอคำตอบนานเป็นปีนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบ ขอให้น้าชาติมีเงินทองใช้เยอะๆ/FAB ตอบในเมื่อเรื่องนี้ต้องร่ายยาว ยกตำรามาตอบจะดีกว่า \"หลักภาษาไทย\" ของพระยาอุปกิตศิลปสาร ระบุไว้ว่า ร่ายยาวคือร่ายที่นิยมสัมผัสส่งท้ายวรรคและรับต้นวรรคคำใดๆ ก็ได้เป็นสัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ ส่วนวรรณยุกต์เช่น เอกรับเอก โทรับโท ฯลฯ นั้น ก็นิยมด้วย แต่ไม่เคร่งครัดอย่างร่ายอื่นๆ ร่ายยาวมีลักษณะคล้ายคลึงกับร่ายโบราณมาก ต่างแต่ร่ายโบราณนั้นแต่งเข้ากับโคลงสุภาพทั้งหลายที่มีกำหนดคำในวรรคหนึ่งๆ ไว้ชัดเจน และมีสัมผัสวรรณยุกต์ถูกต้องดังแผนที่วางไว้ ขณะที่ร่ายยาวเป็นคำกานท์ ซึ่งใช้ร้องและแต่งเป็นคำสวดเรื่องต่างๆ เพื่ออ่านสู่กันฟัง อย่างคำร้องเพลงหรือคำกล่อมลูก เป็นต้น คำในร่ายยาวนั้น วรรคหนึ่งๆ จะใช้ 5-6 คำ หรือ 6-7 คำ หรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะเหมาะ แม้สัมผัสก็ไม่เที่ยง จะรับที่ไหนก็ได้ แต่ให้ห่างสัมผัสส่งต่อไปยิ่งมากยิ่งดี แต่ส่งกับรับจะเป็นคำร่วมกันไม่ได้ นามประตู นามเมือง นามขุนนางที่เป็นชุดกัน หรือแม้จนพระปรมาภิไธยพระเจ้าแผ่นดิน ก็ผูกให้คล้ายกัน เป็นแบบร่ายยาวนี้เป็นพื้น ว่าแล้วลองดูตัวอย่าง เริ่มจากนามประตู \"วิเศษชัยศรี มณีนพรัตน์ สวัสดิโสภา เทวาพิทักษ์\" หรือไม่ใกล้ไม่ไกล ชื่อเมืองหลวง \"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์\" ส่วนนามขุนนางที่วางเป็นชุดกัน เช่น \"ประกอบวุฒิศาสน์ ประกาศวุฒิสาร ประการวุฒิสิทธิ์ ประกิตวุฒิสนธิ์\" ร่ายยาวที่แต่งเป็นเรื่องใหญ่คือ \"ร่ายยาวมหาชาติ ๑๓ กัณฑ์\" ที่พระท่านเทศน์อยู่ทุกวันนี้ ข้อสำคัญของการประพันธ์ร่ายยาวไม่ได้อยู่ที่ข้อบังคับตามแผนที่ว่าไว้ แต่อยู่ที่ใช้สัมผัสอักษรใช้ถ้อยคำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่อง เช่น โศก เศร้า โกรธ และเหมาะแก่ฐานบุคคลในเรื่อง ซึ่งเป็นศิลปะการประพันธ์อีกแผนกหนึ่ง ดังนั้น ถ้าจะร่ายยาวใครก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เวลาจะร่ายต้องมีสัมผัสด้วย ได้มาเท่านี้ครับ จาก มติชนจาก มนัส manus_d4d@hotmail.com
4 กรกฎาคม 2548 00:05 น. - comment id 11217
นัส พี่อยากช่วย แต่จนด้วยปัญญา
4 กรกฎาคม 2548 13:35 น. - comment id 11220
ลองหยิบ ลิลิตพระลอ มาดูตัวอย่างร่าย ก็ได้นะ
28 สิงหาคม 2550 11:10 น. - comment id 12530
นัสจ๊ะเรากำลังหาร่ายยาวอยู่ พอดีหาดูใน www.google.co.th
9 กรกฎาคม 2550 09:22 น. - comment id 18501
รักคนอ่าน
3 มิถุนายน 2551 18:14 น. - comment id 20967
ยังกต่งไม่ได้เหมือนกัน
15 กุมภาพันธ์ 2554 17:12 น. - comment id 23874
เค้ากะอยากช่วยนะตัว แต่เค้าทำมะเปงงะ sorry