อาจารย์เสถียร เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยท่านหนึ่ง ท่านเคยเป็นอาจารย์บรรยายวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามหายาน อยู่ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นเวลา ๑๖ ปี ระหว่าง พ.ศ.
๒๔๙๔ - ๒๕๐๙ ได้ใหความเห็น หรือทัศนะถึงสาเหตุที่พระพุทธศาสนาเสื่อมหายไปจากอินเดียไว้อย่างดีว่า
@ปัญหานี้ ได้นำความประหลาดใจอย่างใหญ่หลวงให้เกิดแก่นักประวัติศาสตร์มาแล้วว่า เหหตุใดพระพุทธศาสนา
ซึ่งอุบัติขึ้นในประเทศอินเดีย มีประชากรที่นับถือติดต่อกันมาถึง ๑๗ ศตวรรษ แต่แล้วกลับไม่ปรากฎแม้แต่เพียงในความฝันของชาวอินเดียยุคต่อมาเลย ชาวอินเดียมองพระพุทธศาสนาอย่างคนแปลกหน้า อะไรเป็นสาเหตุให้เป็นเช่นนั้น ความข้อนี้มีผู้วินิจฉัยต่าง ๆ แต่สำหรับมติส่วนตัว เห็นว่าเหนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
๑ ในขณะที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุด แม้ในสมัยพุทธกาลเอง ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังนับถือศาสนาพราหมณ์
อยู่อย่างมั่นคง ศาสนาพราหมณ์ไม่ได้เสื่อมไปเพราะความเจริญของพระพุทธศาสนา
๒ ในสมัยหลังพุทธกาล แม้จะมีพระมหากษัตริย์ เช่นพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดขึ้น แต่ก็คงรักษาแนวของพระพุทธองค์ คือการไม่เบียดเบียนศาสนาอื่น พระพุทธเจ้าทรงตั้งศาสนาขึ้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อล้มล้างศาสนาพราหมณ์ คติข้อนี้ทำให้พระพุทธศาสนาไม่สามารถจะทำให้มีอำนาจเด็ดขาดทางการเมือง แล้วใช้อิทธิพลทางการเมืองนั้น ฝังรากศาสนาลงในใจประชาชนทั้งหมด ซึ่งต่างจกาศาสนาคริสเตียน หรือศาสนาอิสลาม เมื่อแผ่ไปที่ไหน ก็ใช้อิทธิพลทางการเมืองกำจัดศาสนาตรงกันข้าม เพราะฉะนั้น ประเทศที่ไม่เคยนับถือ ๒ ศาสนานี้มาก่อนเลย เมื่อถูก
ครอบงำจาก ๒ ศาสนานี้ทางการเมือง ศาสนาเดิม วิฒนธรรมเดิมจึงถูกถอนรากถอนโคน ผิดกับพระพุทธศาสนา เมื่อแพร่เข้าไปประเทศที่เขามิได้นับถือมาก่อน ก็อะลุ้มอล่วยปรองดองกับศาสนาท้องถิ่น เกลือกกลั้วผสมผสาน
กันไป