20 กันยายน 2548 14:51 น.
ธรรม ทัพบูรพา
ขณะ เสียงจักรกลนั้นอื้ออึง
ยังมีหนึ่งดวงใจ..ที่หยุดนิ่ง
ขณะ เธออิงพักพนักพิง
รถยังวิ่งบึ่งบ้า..ชะตากรรม
ขณะ หยุดแยกใหญ่มีไฟแดง
ยังมีผู้เบียดแย่ง..เซถลำ
ขณะ เมืองหายใจเป็นควันดำ
อีกมากมายคราคร่ำ..อย่างจำนน
ขณะ จุดมุ่งหมายคือปลายทาง
เธอยังคงอ้างว้าง..กลางถนน
ขณะ หนีบ้านเกิดที่ยากจน
เธอยังคงดิ้นรน..เพื่อปากท้อง
ฯลฯ
...........................
รามอินทรา/กท.
05/04/48
20 กันยายน 2548 14:49 น.
ธรรม ทัพบูรพา
แต่ละนาทีที่มีค่า
แต่ละพิจารณามีความหมาย
สุดจะเห็นช้อนจับหรือกลับกลาย
สู่ความหมายนัยซ้อนซ่อนกำแพง
แต่ละบาทต่อบทดั่งสดกลั่น
แต่ละถ้อยรำพันดังขันแข่ง
แต่ละถ้อยแต่ละหว่านการแสดง
ตอบสนองสิ่งสำแดงแสดงภัย
เนินอยู่บนอารมณ์ที่บ่มคำ
นานอยู่ใจเป็นประจำจนสั่นไหว
ว่ายอยู่เวียนคุ้งคลองข้องภายใน
วนอยู่เจียนหายใจเป็นความคิด
รักที่เธอเดียวดายและง่ายงาม
รักบนความพยายามอันสุจริต
หากรักแล้วอย่างไรอยากใกล้ชิด
คงไม่ผิดใดนักหากรักเธอ
ผลสำเร็จใดใดในนามหวัง
จะนำฉันเยือนฝั่งแห่งเธอเสมอ
จะสวมแหวนแห่งศักดิ์นักละเมอ
ว่าพบเจอบางอย่างเข้าบ้างแล้ว
.
13/08/48
19 กันยายน 2548 13:01 น.
ธรรม ทัพบูรพา
สักแต่ว่า บางวันมันแปรเปลี่ยน
สักแต่ว่า ว่ายเวียนความรู้สึก
สักแต่ว่า บางใจมันอยู่ลึก
สักแต่ว่า เรานึกปรุงแต่งไป
จิตไหวดวงใจหวั่น-พเนจร
จะสร้างรวงรังนอน ณ แห่งไหน
ตุ๊กตาเฝ้าฝันปั้นอย่างไร
จะยอมอยู่หรือไป-พเนจร
ณ จุดนั้นมีนิรันดร์-อันมิสุด
มีอะไรรอมนุษย์เพื่อผัดผ่อน
พบภาวะแห่งใจในอาวรณ์
จากผิดหวังรุ่มร้อนจนเยือกเย็น
สงบกลางกังวลผลพลอยได้
สงบงามทำลายดวงตาเห็น
มีนัดเธอ รู้สึก อยู่เช้า - เย็น
แต่ออกไปเดินเล่นกับปัญญา
......................................................
*ความรู้จากความรู้สึก คือ ปัญญา
17 กันยายน 2548 12:15 น.
ธรรม ทัพบูรพา
เรียน ท่านพ่อตาที่เคารพ
ผมไม่เคยคบหาลูกสาวทั่น
ยังไม่เคยบอกรักรู้จักกัน
แต่จะมาขอหมั้นแม่ขวัญตา
เรียน ท่านพ่อตาที่เคารพ
อย่าให้เรื่องตอนจบมีปัญหา
เพียงผมอยากได้เธอเป็นภรรยา
ด้วยสินสอดหอบมาสองพันล้าน
รับประกันปลอดภัยลูกสาวพ่อ
เพราะเมียหลวงผมรออยู่ที่บ้าน
แต่ก็หวังลูกเต้าไว้ใช้งาน
สงวนสิทธิ์แอบคลานเป็นกรณี
ให้เธอมีกิ๊กได้ไม่เป็นไร
ผมจะไม่กวนใจเหมือนทวงหนี้
ไม่ต้องซื่อถือตรงต่อสามี
ทำหน้าที่หญิงงามเช่นตามเคย
อย่ามากเรื่องเปลืองความเถิดตามว่า
อย่ารีรอชักช้าอยู่เฉื่อยเฉย
อย่าหลบขุนข้างโคนพ่อตาเอย
อย่าอ้างเอ่ยแขวนไว้ - แล้วไม่ขาย
..............................................
เบาๆรับข่าวดี เรื่องหุ้นครับ
(ขออภัยฉันทลักษณ์โทท้ายวรรครับ)
16/09/48
กรุงเทพฯ
16 กันยายน 2548 10:20 น.
ธรรม ทัพบูรพา
จะขึงผึ่งแดนดินเป็นแดนแดด
สุริยาเผาแผดระเหยหาย
เสียหมดสิ้นภักษาอีกาตาย
ให้กอบกินหินทรายสักเจ็ดปี
จงจำวันสูเจ้าลืมกราบกราน
ลืมเมตตาหยดทานวสันต์ศรี
จะปิดฟ้ากั้นดินสิ้นปราณี
ให้สมความอวดดีที่เนรคุณ
โพธิสัตว์องค์ใดจุติหล้า
จึงแห่แหนลืมข้าฯบิดาขุน
ใครสางสูฟายเฟือเคยเจือจุน
สู่ใบบุญคันคากจะมากภัย
อำนาจพลล้นฟ้ามหาสมุทร
จะหยุดสรงองค์พญานาคาใหญ่
ให้คันคากพรากฝนจนสาใจ
แผ่นดินร้อนเป็นไฟไม่ประมาณ
ด้วยมูลเหตุโกรธาพญาแถน
สะเทือนทั่วเขตแดนวัฏสงสาร
ผู้นองเลือดรบพุ่งนรการ
บริวารบริกรรมย้ำเภทภัย
ด้วยมูลเหตุโกรธาพญาแถน
จุดบั้งไฟหมื่นแสนนาคาใหญ่
เป็นเสียงเตือนสัญญาว่าคราใด
จะยอมให้ฝนแพ้แก่ชาวดิน
ด้วยมูลเหตุโกรธาพญาแถน
จึงเกิดถิ่นดินแดนผู้ทุศีล
ผู้อิ่มท้องผองภัยไม่ใคร่ยิน
อยากแยกดินแยกฟ้าฆ่ากันเอง
.
คันคาก - คางคก
ในที่นี้หมายถึงพญาคางคกในตำนาน ซึ่งคนอีสานถือเป็นชาดก
14/08/48
........................................
บางท่านอาจไม่เคยฟังตำนานนี้ จึงขอเล่าพอสังเขป
..ในตำนานความเชื่อว่าพญาแถนเป็นผู้สร้างมนุษย์และเป็นผู้ประทา นฝนลงมาสู่โลกทุกปี
ในเวลานั้นพระโพธิสัตว์ได้อวตารลงมาเป็นพญาคันคาก (คางคก) บุตรกษัตริย์ ด้วยรูปร่างที่น่าเกลียดภายนอกแต่ได้ถูกทำนายโดยโหรว่าภายหน้าจ ะเป็นผู้มีคุณแก่บ้านเมือง ...
..ต่อมาด้วยบุญญาธิการพญาคางคกก็กลับกลายร่างเป็นบุรุษผู้เพียบ พร้อม และได้รับศรัทธาจากพสกนิกรของพระองค์ไม่เว้นแม้เทวดาที่มาฟังธร รมกราบไหว้สักการะ..
..พญาแถนจึงพิโรธหาว่ามนุษย์เทวดาเหล่านั้นเนรคุณไม่กราบไหว้ส่ งสิ่งเซ่นไหว้บรรณาการดังเดิม ..ในตำนานเล่าถึงการเกิดฝนว่า เกิดจากพญานาคจากโลกบาดานขึ้นไปสรงน้ำที่บ่อทิพย์ในเมืองฟ้าพญา แถนจนน้ำกระเซนลงมาสู่โลกเป็นฝน..
พญาแถนจึงงดให้ฝนกับมนุษย์ผู้เนรคุณ เป็นเวลาเจ็ดปี ......ต่อมาจึงเกิดการรบพุ่งขึ้นระหว่างพญาคางคกกับพญาแถนสรุปว ่าพญาแถนแพ้ จึงมีข้อตกลงจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ว่า
1 .เมื่อใดที่มนุษย์จุดบั้งไฟที่มีพญานาคใหญ่นั่งอยู่บนหัวบั้งไฟ ขึ้นไป พญาแถนจะต้องยอมให้ฝนตก
2.เมื่อฝนตกแล้วจะมีสัญญาณจากเสียง กบ เขียด ส่งไปบอกพญาแถน
3.เมื่อมนุษย์ต้องการให้ฝนหยุดตกเพื่อเก็บเกี่ยว จะส่งเสียงสนู (ว่าวธนู) เป็นสัญญาณ
............