26 กรกฎาคม 2553 10:46 น.
ทรายกะทะเล
ขอเขียนเป็นร้อยแก้ว
คนที่อยู่กรุงเทพฯถือโอกาสกลับบ้านไปต่างจว.ตามชายแดน พูดภาษา ต่างๆ และกลับไปหาทางทำบัตรประชาชนไทย เค้าก็เอา ชื่อไปสวมคนตายแล้วหรือไม่ก็มีวิธีอย่างอื่น อยากให้คนไทยเรากันเองรักกัน
เพื่อถวายพ่อหลวงของเรา
อย่าให้คนอื่นหรือมือที่สามเข้ามาแทรก
คนไทยหลายร้อยคนต้องตกงานเพราะไม่มีงานจะทำเพราะ ก้วนแก้งแรงงานต่างด้าว
พวกมันร้ายมากกว่าที่คิด.............
คนไทยกันเองต้องรักกัน สาม้คคีกันให้มากๆ ดูอย่างอเมริกาสิ จะเข้าประเทศเค้าทีต้องสแกนทั้งตาทั้งนิ้วเลย
ดูอย่างออสเตรเลีย เครื่องบินจอด เค้ายังไม่ให้คนในเครื่องลงนะเพราะกลัวเชื้อโรคไปติดในประเทศเค้า เค้ามีstaffs ขึ้นมาสเปร์บนเครื่องทั้งคนด้วยก่อนเลยกันเชื้อโรคเข้าประเทศเค้า
เป็นนโยบายที่ดี....................
ยังมีจุดไม่ดีมากมาย ช่วยกันเปลี่ยน จากจุดไม่ดีเป็นดี อย่าให้กรุงเทพฯต้องสูยเสียไป.......แล้วคนไทยจะเหลืออะไรหากไม่หัวใจ............
แก้ไขทันไม่ใช่เหรอ?????????????ทำไมไม่รับทำตั้งแต่ตอนนี้ล่ะ
26 กรกฎาคม 2553 07:27 น.
ทรายกะทะเล
ถึงแม้นว่าฉันอาจจะต้องจากโลกนี้ไป
ก็เป็นเพราเค้าทำให้ฉันเบื่อโกไปเอง
ไม่ใครมาอยู่ที่นี่ได้สีกคน
มีแต่อยู่กับเค้าแล้วเค้าก็ไท้รู้จักดูคน
คนที่ฉันรัก...เค้า...ต้องเป็นคนที่ห่วงใยฉันจริงๆ
สัญญา เป็นสัญญาต่อกันแลกดกัน
ผ่ดก๊ยู้.................................................
ฉันคิดถึงเธฮ
26 กรกฎาคม 2553 07:20 น.
ทรายกะทะเล
มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)
หลักธรรมในพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีจุดเด่นคือเน้นทางสายกลาง ให้มนุษย์มองโลกตามความเป็นจริง (แก้ทุกข์ที่ใจ) เพื่อพบกับความสุขที่ยั่งยืนกว่าสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมเทศนาต่อมาคือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ หลังจากทรงกล่าวปฏิเสธแนวทางพ้นทุกข์แบบเดิม ๆ แล้ว ได้ทรงแสดงเสนอแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติที่ไม่สุดตึงด้านใดด้านหนึ่ง อันได้แก่การดำเนินตามมรรคมีองค์ 8 ซึ่งควรพิจารณาจากข้อความจากพระโอษฐ์โดยตรง ดังนี้
"ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ 8 นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1"
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
[แก้] อริยสัจสี่
สุดท้ายทรงแสดงสิ่งที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้ คือทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ และ "กิจ" ที่ควรทำในอริยสัจ 4 ประการ เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยแก้ที่สาเหตุของทุกข์ กล่าวคือ ทุกข์ ควรรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ลงมือปฏิบัติ
โดยข้อแรกคือ ทุกข์ ในอริยสัจทั้งสี่ข้อนั้น ทรงกล่าวถึงสิ่งเป็นความทุกข์ทั้งปวงในโลกไว้ดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ การเจอสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าการ ยึดถือ ในสิ่งทั้งปวงนั่นเองเป็น "สาเหตุแห่งความทุกข์" คือ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ "ตัณหา" อันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา."
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าทุกข์สามารถดับไปได้ โดยการ ดับที่ตัวสาเหตุแห่งทุกข์ คือ ไม่ยึดถือว่ามีความทุกข์ หรือเราเป็นทุกข์ กล่าวคือ สละถอนเสียซึ่งการถือว่ามีตัวตน อันเป็นที่ตั้งของความทุกข์ (เมื่อไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในใจว่าตนนั้นมี "ตัวตน" ที่เป็นที่ตั้งของความทุกข์ ทุกข์ย่อมไม่มีที่ยึด จึงไม่มีความทุกข์[47]) ดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ "หมดราคะ" "สละ" "สละคืน" "ปล่อยไป" "ไม่พัวพัน"."
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงผลของการปฏิบัติกิจในศาสนาแล้ว จึงได้ตรัสแสดงมรรค คือวิธีปฏิบัติตามทางสายกลางตามลำดับ 8 ขั้น เพื่อหลุดพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง คือ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
โดยสรุป พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียงวิธีแก้ทุกข์ โดยแสดงให้เห็นปัญหา (ทุกข์) สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) และจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาคือการดับทุกข์ (นิโรธ) โดยทรงแสดงวิธีปฏิบัติ (มรรค) ไว้ท้ายสุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ทราบจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติก่อน เพื่อการเข้าใจไม่ผิด และจะได้ปฏิบัติโดยมุ่งไปยังจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้โดยไม่คลาดเคลื่อน
[แก้] การประกอบพิธีอาสาฬหบูชาในประเทศไทย
[แก้] การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย
พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) ผู้เสนอให้มีการจัดงานวันอาสาฬหบูชาเป็นครั้งแรกในประเทศไทยวันอาสาฬหบูชา ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรี (มหาเถรสมาคม) ในสมัยนั้น ได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา (ในประเทศไทย) ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) [48] โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้น เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[5]
ไม่ปรากฏหลักฐานในประเทศไทยว่าในสมัยก่อน พ.ศ. 2501 เคยมีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชามาก่อน ทำให้การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของสำนักสังฆนายกในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดแบบแผนการประกอบพิธีนี้อย่างเป็นทางการ โดยหลังจากปี พ.ศ. 2501 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการรณรงค์ให้มีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมใจกันประกอบพิธีนี้กันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายไปทุกจังหวัด จนกลายเป็นพิธีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทยตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จึงได้ลงมติให้ประกาศกำหนดเพิ่มให้วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีไม่มีอธิกมาส) และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หลัง (ในปีมีอธิกมาส) เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีก 1 วัน[1] เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับวันสำคัญยิ่งของชาวพุทธนี้และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนที่จะไปประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยอีกประการหนึ่ง
26 กรกฎาคม 2553 07:13 น.
ทรายกะทะเล
อันคนเรา เกิดมานั้น หลายหลาก
บ้างลำบาก บ้างสบาย หลาย คนเล่า
เกิดมาแล้วสบาย ก็เป็น บุญค้ำจุนเรา
เกิดมาแล้วลำบากเล่าไม่ ทำงาน
ความขยันแม้นไม่หนักขอหลักไว้
ให้เป็นชัยปราการในทุกด้าน
ขอให้เป็นเช่นเห็นมาผ้าประทาน
กล่ววสาบาน รักษา บุพการี
หากฉันขาดท่านแล้ว ไม่มีสุข
มัแต่ทุกข์ จะอยู่ได้อย่างไรก็จะหนี
หากท่านอยู่ ยังให้เราแต่สิ่งดีดี
โอ้ชาตินี้ขอจงรักภักดี.......ตลอดกาล
22 กรกฎาคม 2553 00:49 น.
ทรายกะทะเล
ทุกต่ำตืนกลืนกล้ำกันเงียบกลิบ
แสงระยิบระยับไม่หลับฝัน
ยืนสงบนั่งสงัดเดียวดายพลัน
เหงามันผันให้เลื่อน ลอยตามเดือน
หลับกันหมดสลดหดหู่โอ้ใจหนอ
เสียงกรนกรอให้สว่างไม่มีเหมือน
กรนเสียงดังลั่นประสานเสียงคอยเตือน
ให้มีลมเฉื่อยเฉื่อยเป็นเพื่อนทุกค่ำคืน
อยู่อยู่ก็มีน้ำตาไหลพรากหน้า
ไม่มียาอะไรรักษาความขมขื่น
เงียบสงัดตัดอาวรณ์ถอนกล้ำกลืน
เขามีอื่นทิ้งเราตามลำพัง
ทนทุกอย่างเหมือนสะพายให้เขาข้าม
เจ็บไม่จำขำเหมือนควายแล้วถอยหลัง
พอเดินถึง ฝั่งสำเร้๗ตัดเราเดินตามลำพัง
ไม่หันหลังเหลียวแลโอ้แชเชือน
ร่อนี้ไปในเดียว ที่เพื่อนรัก
โอ้สันัข แสนซื่อสัตย์ ไม่กัดหลัง
ไม่ทิ่มแทงแกร่งแย่งให้เราพัง
เดินหน้ามา เลียน้ำตา ซบตัวเรา
หากน้องหมา พูดได้ ใครรู้บ้าง
โอ้อ้างว้างพี่จ๋า อย่าสนเขา
พี่ใจดีกับคนนั้นไม่เบา
อ่ย่าเงียบเหงาอยู่คนเดียวเปลี่ยวใจเลย
ถามใจตนผิดไหมที่มีเพื่อน
ไม่เคยเปื้อนปะปนมั่วแล้วเย
ไม่ตอแหลตีหน้าเซ่อเอ่ยทรามเชย
อยากเผยว่า ใครทำฉันก่อนนั้น...ช่วยตอบที....