17 เมษายน 2550 19:57 น.
ถนปายี
สามีเป็นผู้ให้ครับ ภรรยาเป็นผู้เก็บ ( นี่จึงเป็นสิ่งที่ครอบครัว ทุกครอบครัวต้องมี ) แล้วชีวิตแห่งคู่สมรสจึงจะ สมบูรณ์ ที่สุดครับผม สิ่งที่ควรจะให้ มี 4 ข้อ คงจะตรงกันข้ามกับการเก็บของสาว ๆ เลย ดีไหมครับ หุหุหุ
1. ให้ เรื่องการเงินแก่ครอบครัว ตามความสามารถของตัวเอง ( ให้ภรรยาควบคุมด้านการเงินของครอบครัวทั้งหมด ) และเราขอเงินไปทำงานวันละ 20 บาทไง หุหุหุ ( แบบสามีที่ดี เขาทำกัน )
2. ให้ เรื่องเวลา แก่ครอบครัว เมื่อครอบครัวต้องการตัวสามี ................ ( ไม่ต้องอธิบายนะ ) ก็เวลาเขาเรียกใช้เมื่อไร ก็รีบ ๆ มาให้เขาใช้เป็นพอ ไม่ว่า อบ ซัก รีดเสื้อผ้า เก็บกวาดความสะอาดบ้าน ทำอาหาร และ สำคัญ ( ช่วยเลี้ยงลูกด้วยจ้า )
3. ให้ เรื่องการยอมรับในสังคมแก่ครอบครัว แสดงว่าเวลาจะไปไหน ต้องมีภรรยาเป็นตุ๊กตาหน้ารถเสมอ ห้ามหนีไปไหน ๆ คนเดียวเด็ดขาด หุหุหุ
4. ให้ เรื่องไว้วางใจ การเปิดเผยในการสอบถามหาข่าว หาความของภรรยา ( ข้อนี้เพื่อให้เขาไม่มีความระแวง ) และยอมรับการตามล่าตามล้าง ตามผลาญ ของภรรยาได้ ทุกเมื่อเชื่อวัน หุหุหุ แบบ ......ไปตีกอล์ฟ มาจ้า 55555555 ก๊าก กกกกกกก
*-* หุหุหุ นี่เป็นสามีที่ดีที่สุด ในโลกใบนี้จ้า เหมือน ๆ ภรรยาที่ดีที่สุดในโลก ต้องเก็บได้ 4 อย่างเหมือนกัน 55555555 ใครเอย จะทำหรือ ผม หรือคุณ เขา หรือเธอ หรือ หล่อน นะยะ จะทำ
17 เมษายน 2550 19:56 น.
ถนปายี
1. ต้องเก็บเงินได้ ถ้าสามี ให้ เงินมา แล้วเก็บไม่เป็น บริหารการเงินไม่เป็น ในจังหวะชีวิต ช่วงใดช่วงหนึ่งเกิดตกงาน หรือ ไม่มีอาชีพ เราก็สามารถที่จะนำเงินที่เก็บสะสมไว้ หรือมีการจัดการบริหารการเงินที่ดีไว้ ( ถ้ามัวแต่เอาเงินไปเล่นการพนัน จนหมดตัว ทำไง ) *-* เพื่อนำมาเป็นทุนรอนในการหางาน หรืออาชีพใหม่ หากพบจังหวะทางออกที่ดีอาจนำมาลงทุนเป็นเจ้าของกิจการตัวเองได้ ............
2. ต้องเก็บคำพูดได้ ถ้าสามี หรือในครอบครัวทำอะไรหรือมีอะไร ( ทะเลาะกันหรือมีปัญหาเรื่องอะไร ) ชาวบ้านหรือคนที่รู้จัก จะรู้หมดทุกเรื่องที่เกิดขึ้น หุหุ เที่ยวโพทนา ว่าร้าย กล่าวหา และหาพรรค หาพวก ประจาน สามี หรือ ครอบครัวของสามีไป ................... *-* เวลาดีกัน หรือ เหตุการณ์ปกติขึ้นมา ตัวเองไม่ทราบเอาหน้าไปซุกไว้ตรงไหนดี *-* ทำลายเครดิสสามีตัวเอง ทำให้ โอกาสในการที่จะทำการอาชีพ ไม่ประสพความสำเร็จ เพราะปากคำจากภรรยานั่นเอง
3. ต้องเก็บตัวเองได้ มีสามีแล้วยังทำเป็นคนเปิด ใครชวนไปไหนไปหมด ชายใดหรือคนไหนมาพูดมาจีบ ก็ยิ้ม เสนอหน้ารับ และ ประเภทเหงาปาก เหงาใจ เที่ยวโทรคุยชาวบ้านทุกวันดึกดื่น ................ *-* สามีไม่เป็นอันทำมาหากิน เพราะมัวแต่ระแวงตามล้างตามผลาญ ไม่ก็ต่างคนต่างมีใหม่ให้มันรู้แล้วรู้รอด สร้างความกดดันแก่ครอบครัว และลูกเต้า น่าอับอายประชาชี ( สำคัญเวลาเจอโจทย์ แบบรถไฟชนกัน เวลาไปเจอสามี หรือเวลาควงสามีไปเจอคนอื่น หุหุหุ ) น่าละอายหน้าตัวเอง หน้าจะระบาดทุกข์
4. ต้องเก็บสามีให้ได้ มีสามีแล้ว เวลามีปัญหากัน ก็ยึดจุดเดินมาเป็นจุดยืน ( จุดยืนที่ว่ารักกันมานะ ลืมหมด ) เอาศักดิ์ศรี หน้ามืด คิดแต่เอาชนะ ไม่สนใจอนาคต คิดแต่จะไล่ไป ( แบบเก็บเสื้อผ้าสามี โยน และไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น ) สะใจ แบบนี้เขาเรียกไล่สามีครับ ไม่ใช่เก็บสามี *-* ไม่ว่าไรเขาเป็นสามีเรา เราต้องมีหน้าที่เก็บเขาไว้อยู่กับเราให้ได้ เพราะเราเลือกเขาเป็นสามีนี่ ต่อให้ผิดยังไง ก็ต้องไปเอากลับมาเก็บไว้เป็นสามีเหมือนเดิม นะแหละ ( คิดให้เป็น และเข้าใจว่าจะ อภัย และ เก็บเขาให้เขาอยู่และเป็นสามีของเรายังไง ไม่ใช่ ไล่ ๆ ๆ ๆ ) แบบนั้นไม่ใช่เก็บสามี พอสามีไป คุณก็ถูกคนมองว่าไม่มีฝีมือ สามีคนเดียวเก็บไว้ไม่ได้ ( สู้ไม่ได้แม้แต่ นักร้อง หรือ เด็กเสริฟ รีเชพชั่น ที่ มากผัวหลายสามี หุหุหุ ) น่าอับอายขายขี้หน้า กับการแพ้แบบ สะใจ หุหุหุ ( สมน้ำหน้าดีไหม )
จบแระ ไม่จบมีหวัง โดนยิงตายตั้งแต่ ไม่ทันเห็นตะวันขึ้น หุหุหุ
5 เมษายน 2550 14:21 น.
ถนปายี
ผู้อาวุโส คือใคร...
หากมีใครถาม เราคงตอบว่า...ก็ผู้ที่มีอายุมากแล้ว หรืออย่างน้อย ๆ ก็ต้องอายุมากกว่าเรา
แต่ในภาษาบาลี ไม่ใช่นะ...ท่านเรียกผู้น้อยว่า "อาวุโส" ส่วนผู้ใหญ่เรียก "ภนฺเต" (ภันเต--ข้าแต่ท่านผู้เจริญ)
หากได้อ่านเรื่องราวในพระไตรปิฎกฉบับแปล เราจะพบบ่อย ๆ คือ คำว่า ...ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำนี้แหละครับมาจากภาษาบาลีว่า ภนฺเต ซึ่งเป็นคำที่ผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่ที่ตัวเองนับถือ
พระผู้บวชภายหลัง เรียกผู้บวชก่อน ก่อนทูลถามปัญหาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ใช้คำว่า ภนฺเต -- ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เช่นเดียวกัน
ส่วน "อาวุโส" เป็นไปในทางตรงกันข้าม เป็นคำที่ผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย ภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าเรียกผู้มีพรรษาอ่อนกว่า จะเรียกว่า "อาวุโส" แปลว่า ดูก่อน ผู้มีอายุ
นี่เป็นคำหนึ่ง ที่ภาษาบาลีกับภาษาไทยใช้แตกต่างกัน แม้ว่าจะแปลเหมือนกัน
ดังนั้น หากได้ยินพระภิกษุกล่าวถึงพระภิกษุผู้เป็นอาวุโส แสดงว่าท่านหมายถึง พระภิกษุที่บวชภายหลังท่านนะครับ ไม่ใช่ ผู้บวชก่อน เพราะท่านเรียกผู้บวชก่อนว่า ภนฺเต (ภันเต)
ไวยากรณ์วันนี้ง่ายครับ....เป็นเรื่องนิบาตบอกอาลปนะ (คำร้องเรียก) แค่ 2 คำเอง