22 พฤศจิกายน 2566 15:38 น.

วิธีคัดคน

คีตากะ

ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ผอ.โรงเรียนได้เชิญครูจบใหม่ท่านหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาบรรจุที่โรงเรียนได้ไม่กี่เดือนขึ้นไปพบ
ที่ห้อง ครูบรรจุใหม่สอนอยู่ชั้นอนุบาลหนึ่งมีชื่อว่าครูอิ้งรูปร่างหน้าตาสะสวย โดยภาพรวมแล้วน่าจะไปเป็นดารา
นักแสดงมากกว่าจะมาเป็นครูสอนเด็กปฐมวัยที่พูดจาไม่รู้เรื่องและยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อีกด้วย 
การสนทนาระหว่าง ผอ.กับครูอิ้งเป็นดังนี้
ผอ. : ผอ. ตรวจสมุดประเมินพัฒนาการของครูแล้ว ปรากกฎว่าเด็กอนุบาลหนึ่งทุกคนได้เกรดเท่ากันหมด 
หมายความว่าอย่างไรครับครู?
ครูอิ้ง : หนูคิดว่าเด็กอนุบาลหนึ่งอายุ 3- 4 ขวบเอง เราไม่ควรจะใช้เกรดมาตัดสินเด็กค่ะ เพราะไม่ใช่เด็ก
วัยเรียน แต่นี่คือเด็กวัยเล่นค่ะ ก็เลยให้คะแนนเด็กทุกคนเท่ากัน
ผอ. : ผมเข้าใจครูนะ แต่หลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาที่เขากำหนดให้ใช้กันทั่วประเทศ ครูในฐานะที่เรียนมา
ทางด้านนี้ ก็เข้าใจดีอยู่แล้ว ครูจะว่าอย่างไร?
ครูอิ้ง : แม้หลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาของเด็กปฐมวัยจะกำหนดมาเป็นแนวทางให้ใช้ในการจัดการเรียน
การสอนก็จริง แต่สำหรับเด็กปฐมวัยการเรียนการสอนไม่จัดเป็นรายวิชาเหมือนระดับประถมหรือมัธยม หลักการ
ก็คือส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาเป็นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการ
บูรณาการผ่านการเล่นทั้งสิ้น หนูเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับเด็กที่วัยนี้ต้องมาวัดกันที่เกรดหรือคะแนนตามหลัก
วิชาการค่ะ
ผอ. : ครูเรียนจบมาทางด้านการศึกษา เรื่องการประเมินผลเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไรครับ?
ครูอิ้ง : ตามความเข้าใจหนู ก็เพื่อวัดผลการศึกษาของเด็ก ระดับพัฒนาการของเด็ก ความสามารถในการ
ถ่ายทอดความรู้ของครู บรรยากาศในชั้นเรียน สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน การบริหารจัดการสถานศึกษา 
รวมถึงความใส่ใจของผู้ปกครอง และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กค่ะ
ผอ. : ครูลืมไปเรื่องหนึ่ง
 
ครูอิ้ง : เรื่องอะไรค่ะ ผอ.?
ผอ. : การปรับปรุงพัฒนา!
ครูอิ้ง : อ๋อค่ะ
ผอ. : การวัดผล การประเมิน หรือให้คะแนนนั้น เป็นการวัดตามมาตรฐานที่กำหนดมา นั้นคือตามหลักสูตร
เขากำหนดชัดเจนแล้วว่าเด็กวัยนี้ อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ แต่ครูมีหน้าที่เตรียมความพร้อมเด็กจากวัยเล่น
ไปสู่วัยเรียนไม่ใช่หรือ? การวัดผลเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาเด็กจากที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น 
ถ้าครูให้คะแนนเด็กเท่ากันหมด แล้วครูจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กคนไหนควรปรับควรแก้อย่างไร มีพัฒนาการสมวัย
หรือเปล่า? รวมถึงภาพรวมตามที่ครูบอกมาทั้งหมดนั้นแหละ จะปรับจะแก้อย่างไร? ถ้าทุกคนคะแนนเต็มเท่ากัน?
ครูอิ้ง : ครูผู้สอนก็รู้จักเด็กทุกคนดีอยู่แล้วค่ะ และสนิทกับผู้ปกครองของเด็กด้วย เพราะเด็กวัยนี้มาโรงเรียนเอง
ไม่ได้ จำเป็นต้องมีผู้ปกครองมารับ มาส่งด้วยทุกครั้ง ครูจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ปกครองของเด็กมากกว่าเด็ก
ที่โตแล้ว เรื่องการปรับปรุงแก้ไขครูก็ดำเนินกันอยู่แล้วค่ะ ไหนจะมีโครงการเยี่ยมบ้าน ที่ครูต้องลงพื้นที่
ไปพบผู้ปกครองของเด็กทุกคน ก็เพื่อเก็บข้อมูล และร่วมมือกับผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กค่ะ
ผอ. : แต่หลักฐานล่ะ? โอเครในส่วนโครงการเยี่ยมบ้าน ผมก็เห็นรายงานผลโครงการอยู่ แต่โรงเรียนเรา
จัดโครงการนี้ปีหนึ่งไม่เกิน 2 ครั้ง หรือเทอมละครั้ง คงไม่ทันกับการส่งเสริมพัฒนาเด็ก! อีกอย่างตามหลักสูตร
เขาก็กำหนดชัดเจนแล้วว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สภาพที่พึงประสงค์ คือสิ่งที่นักวิชาการทั้งหลายร่วมกัน
คิดมาแล้วว่าต้องการให้เด็กวัย 3 ขวบทำอะไรได้บ้าง เราเรียกมันว่ามาตรฐาน ครูก็แค่ให้คะแนนไปตามนั้น 
เช่น เด็กชาย ก สามารถกระโดดสองขาขึ้นลงอยู่กับที่ได้ ครูก็ให้คะแนนไปซิ ดี พอใช้ หรือปรับปรุง
เกรด 1 2 หรือ 3  ไม่เห็นจะยากเลย? หรือครูเกรงใจผู้ปกครอง?
ครูอิ้ง : เปล่าค่ะ เพียงแต่ครูอาจจะใช้การสังเกตเด็กแต่ละคนเป็นหลัก เห็นว่าพอทำได้ก็ให้คะแนนเต็มไปเลย 
ส่วนใหญ่จะอยู่ในดุลยพินิจของครูเองด้วยล่ะค่ะ แต่หนูก็คิดว่าที่ ผอ.พูดก็มีเหตุผลค่ะ เพียงแต่การวัดผล
เด็กเล็กนี้ไม่สามารถนั่งทดสอบกลางภาคหรือปลายภาคเหมือนเด็กโตได้ เพราะเนื่องจากยังไม่ใช่วัยที่อ่านออก
เขียนได้ จึงต้องใช้การทดสอบแบบส่งเสริมพัฒนาการที่ต้องใช้อุปกรณ์ในแต่ละด้าน เช่น ด้านร่างกาย 
การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ก็ต้องให้เด็กทดลองร้อยลูกปัดให้ดูแล้วจึงจะประเมินได้ ว่าดี พอใช้ หรือปรับปรุง 
ซึ่งก็คงต้องแยกเป็นเรื่องของการประเมินโดยเฉพาะ ถ้ามองว่าเป็นการวัดระดับพัฒนาการของเด็กเพื่อการ
ปรับปรุง พัฒนา หรือฝึกฝนให้ดีขึ้น หนูก็เห็นว่าตามที่ ผอ.พูดก็ถูกต้องค่ะ!
ผอ. : ผอ. ไม่ซีเรียสเรื่องผลการเรียนของเด็กวัยนี้อะไรนักหรอก เพียงแต่การที่เด็กชั้นเดียวกันคะแนนเท่ากัน
หมดทุกคน มันขัดกับความรู้สึกในเรื่องการประเมินผล เรามีมาตรฐานการศึกษา มีหลักสูตร มีกฎ มีระเบียบ 
ก็เพื่อคัดกรองคน วัดระดับสติปัญญา ทักษะ ความรู้ พฤติกรรม เจตนาก็เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุง
พัฒนาให้ดีขึ้น ถ้าเราไม่รู้ว่าปัจจุบันเรายืนอยู่ตรงไหน? แล้วเราจะเดินต่อไปในทิศทางไหน? เราจึงต้องมี
เป้าหมายที่ชัดเจน มีตัวชี้วัดความสำเร็จ เพื่อให้เรารู้จักตัวเอง จะได้แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาให้ดีขึ้น 
นี่คือกระบวนการวิเคราะห์ เราไม่ได้ให้เกรดเด็กเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่นกัน หรือใครเก่งกว่าใคร 
บางคนอาจเก่งในการเรียน แต่อาจล้มเหลวในชีวิตครอบครัว หรือชีวิตทำงาน บางคนไม่เก่งในการเรียน
แต่ชีวิตกลับประสบความสำเร็จ สรุปก็คือ วัด ก็เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาหรือแก้ไขให้ดีขึ้นแค่นั้น!
ครูอิ้ง : เข้าใจแล้วค่ะ ผอ. เดี๋ยวหนูจะไปแก้ไขสมุดพัฒนาการเด็กแต่ละคนใหม่ ประเมินตามความเป็นจริง 
และวัดด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแค่การสังเกตค่ะ
ผอ. : เฮ้อ! มันก็คือการคัดกรองเด็ก แยกแยะ วัดระดับ ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา โดยมีมาตรฐานเป็นตัวกำหนด
ปริมาณวัดง่าย คุณภาพวัดยาก ในโรงงานการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตเป็นสิ่งสำคัญมาก 
ตัวเลขทุกตัวสำคัญ ยิ่งถ้าเป็นการผลิตอาหารและยา ถ้าวัดคุณภาพผิดพลาด ผู้บริโภคนำไปบริโภคแล้วเสียชีวิต 
โรงงานก็อาจถูกสั่งปิดได้ง่ายๆ โรงงานก็มีมาตรฐานของโรงงาน บ้านเมืองก็มีกฎหมายควบคุมพฤติกรรม
กี่มาตราล่ะ ใครทำผิดก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมายแพ่งหรืออาญา ทุกอย่างเป็นการคัดคน คนดี(ตามกฎหมาย)
ก็ใช้ชีวิตอิสระเสรี คนไม่ดีก็อยู่ในคุก ในเรือนจำ กฎระเบียบก็ล้วนแล้วแต่มีไว้ปราบพวกทะลึ่ง กฎสวรรค์ 
คือกฎแห่งกรรมก็เป็นเหมือนกัน ใช้สำหรับคัดกรองคน พวกคนบาปก็ไปเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย 
และสัตว์เดรัจฉาน พวกคนดีมีศีลธรรมก็ไปแดนทิพย์แดนธรรม สวรรค์ นิพพาน เป็นต้น ถ้าเป็นปัจจุบันที่เขา
จะคัดคนที่คู่ควรกับโลกนี้เอาไว้ แล้วจัดการกำจัดพวกขยะออกไปล่ะ ใครควรอยู่ใครควรไป?...
1.ห้ามฆ่าและจ้างวานฆ่า 2.ห้ามลักทรัพย์ 3.ห้ามประพฤติผิดในกาม 4.ห้ามพูดเท็จ 5.ห้ามดื่มสุราและ
ของมึนเมา....
ครูอิ้ง : ผอ.ค่ะเป็นอะไรไปค่ะ ?
ผอ.พูดจบก็พล็อยหลับไปคล้ายเมามายไม่ได้สติ อาจเป็นเพราะเมื่อคืนดึกไปหน่อยไม่ได้นอน 
คงตรวจสมุดพัฒนาการของครูอิ้งจนรุ่งสาง ครูอิ้งเห็นแบบนั้นจึงเก็บสมุดของเด็กทั้งหมด นำกลับไปแก้ไข
ตามคำสั่ง ผอ. โดยค่อยๆ ย่องออกจากห้องแบบเงียบที่สุด เกรงว่า ผอ.จะตื่นขึ้นมาอีกครั้ง..........
Be Vegan Make Peace
www.supreme MasterTV.com
ไม่มีข้อความส่งถึงคีตากะ