19 มกราคม 2553 21:05 น.
คนกุลา
ผมเคยแลกเปลี่ยน กับบรรดาท่านนักกลอนในบ้านกลอนไทย ว่า ผู้ที่
สนใจกลอนในบ้านกลอน และเว็บอื่นๆ จากที่ผมสังเกตุอาจจะจำแนก
ออกได้เป็น สี่กลุ่มตามบทกลอนที่ผมเขียนไว้ หลายเดือนก่อน ดังนี้
๐ คนรักกลอนตอนนี้มีหลายแบบ
บ้างมาแอบตามอ่านงานสร้างสรรค์
อ่านทุกบทพจนาสารพัน
เพื่อปลอบฝันวันเหงาใต้เงาใจ
๐ บ้างก็มีที่เม้นท์เห็นอยู่บ้าง
มิอำพรางตอบถ้อยคอยอาศัย
อ่านจบบทรจน์ชอบก็ตอบไป
ไม่คิดไกลเขียนเฟื่องเป็นเรื่องราว
๐ มีบางพวกเฝ้าเขียนวนเวียนหวัง
เพื่อประทังใจตนวันหม่นหนาว
หรืออยากร่ายหมายบ่งบอกเรื่องราว
ระยะยาวมิไช่หวังได้ดี
๐ มีเพียงน้อยคอยหวังตั้งใจหมาย
หวังผลร่ายกลอนกลบนวิถ๊
เฝ้าฝึกเพียรเรียนหวังดังกวี
มุ่งชีวีตั้งใจในกาพย์กลอน
๐ คนสี่กลุ่มทุ่มใจในโคลงฉันท์
สารพันกวีท่านมีสอน
และน้ำใจใสเรื่อเอื้ออาทร
ใช้บทกลอนกล่อมใจไม่เท่ากัน
ซึ่งพอสรุปเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้
1.ผู้อ่านกลอน อย่างเดียว
2.ผู้อ่านและวิจารณ์กลอนออกมาเป็นบทร้อยกรอง ตามอารมณ์
ที่ตนสนใจ หลังจากที่อ่านบทกลอนจบลง
3.นักกลอนที่แต่งกลอนเพื่อตอบสนองต่อ อารมณ์และความสนใจของ
ตน
4.ผู้ที่สนใจจะเอาดีทางกลอน หมายถึงผู้ที่พยายามพัฒนาตนเองไปสู่
การเป็นกวี
ภายหลังผมได้ไปลองค้นคว้า ในเรื่องนี้ว่าผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่าไว้อย่างไรบ้าง
มีบางท่านบอกว่า นักกลอนและกวี นั้นมีอยู่ 3 ระดับ
1.นักกลอนมือใหม่ คือ ผู้ที่แต่งได้ หมายถึงแต่งได้นะ ไม่ใช่แต่งเป็น
เขียนกลอนเพื่อรับใช้ตัวเอง สนองอารมณ์ของตัวเองเท่านั้น
2.นักกลอน สูงขึ้นมาอีกหน่อย คือพวกที่เขียนกลอนเป็น มองโลก
กว้างขึ้นนิดหนึ่ง แต่ก็ยังคงเขียนกลอนรับใช้ตัวเองอยู่ รับใช้มุมมอง
ที่ตนเองสนใจ ตนเองคิด
3.กวี เขียนกลอนเป็น เขียนด้วยความเข้าใจความเป็นไปของโลก
รับใช้ความจริง สะท้อนชีวิต กวีนี่คงจะเป็นขั้นสุดยอดของนักกลอน
อีกทีหนึ่ง มั๊งครับ
ขณะที่บางท่านบอกว่า
นักกลอน หมายถึง ผู้ที่อยากเขียน ผู้อยากแต่ง ผู้อยากบอก เรื่องโน่น
เรื่องนี้ ตามที่ตนเองได้เห็น ได้พบ เกิดความประทับใจและอยากเขียน
บอกผู้อ่าน ดังนั้นในความหมายนี้ นักกลอนคือ คนที่แต่งกลอนออกมา
ให้มันดูเป็นกลอน ได้ถูกฉันทลักษณ์และสละสลวย ลีลาภาษาไพเราะ
เสนาะหู แต่ไม่เข้าถึงอารมณ์และความรู้สึกเมื่อยามอ่าน คือยังขาดจิต
วิญญาน ขาดความเข้าใจในเรื่องนั้นโดยถ่องแท้ เมื่อคิดว่าเราแต่งกลอน
ได้ แต่งกลอนเป็น แต่งกลอนได้เพราะ แล้วก็เลยขยันแต่งบทกลอนออก
มาเสียมากมาย คนที่เป็นนักกลอน มักจะไม่ได้คำนึงถึงอารมณ์ ภาพ
และความรู้สึกที่แท้จริงของบทกลอนนั้นเท่าที่ควร ทำให้การสื่ออารมณ์
และความรู้สึกถึงผู้รับสารขาดความสมบูรณ์ไปอย่างน่าเสียดาย
ส่วน นักกวี นั้นท่านนี้ว่า หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และสามารถสื่อ
สารสิ่งเหล่านั้นออกมาให้ผู้อ่าน สัมผัสได้ ดังนั้นคนที่จะเป็นกวีได้ ต้อง
เป็นผู้ที่สามารถสื่ออารมณ์จากบทกลอนให้เร้าความรู้สึกของผู้อ่านจน
คล้อยตาม และมองเห็นภาพ ได้อารมณ์ความรู้สึก ให้มากที่สุด จนผู้
อ่านสามารถร้องไห้ เมื่ออ่านกลอนเศร้าๆ หัวเราะ หรือ ยิ้ม ไปกับบท
กลอนสนุกๆ ตลกขบขัน, เคลิบเคลิ้ม จนกระทั่งแอบ ฝันหวาน เมื่อได้
อ่านกลอนรักและโรแมนติค เป็นต้น
ท่านยังยกตัวอย่าง เช่นหากใครเคยอ่านงานกวีจีนที่เป็นงานแปล เช่น
งานกวีจีนของหลี่ไป๋ งานท่านฮั่นซาน งานเหล่านี้พอถูกถ่ายทอดเป็น
ต่างภาษาหรือแม้แต่ในภาษาจีนที่ต่างสำเนียง ก็จะเสียรูปแบบของ
สัมผัสและฉันทลักษณ์บางส่วนหรือทั้งหมด แต่งานเหล่านี้เราก็สัมผัสได้
ถึงภาพ ความรู้สึก และตัวตนของกวีในงานก็ยังชัดมากๆ(ซึ่งอันนี้ก็ขึ้น
กับประสบการณ์ผู้อ่านงานและผู้แปลด้วย)
งานบางอย่างไม่ได้เขียนเป็นกลอนฉันทลักษณ์ หากเขียนเป็นร้อยแก้ว
แต่ก็เรียกว่าบทกวี เช่นงานของ คาริล ยิบราน เป็นงานกวีร้อยแก้วที่
ไพเราะมากๆ
คาริล ยิบรานเอง ท่านเคยกล่าวว่า กวีคือผู้ย่างก้าวระหว่างโลกแห่งจิต
วิญญาณและโลกความจริง ซึ่งโลกแห่งจิตวิญญาณของท่านอาจหมายถึง
นามธรรมความรู้สึกอันละเอียดอ่อน ซึ่งกวีมีความสามารถที่จะถ่ายทอด
ออกมา
ส่วนบางท่านก็ว่า
"นักกลอน" เป็นคำเรียกหนุ่มสาวนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่มี
ใจรักและมีฝีมือในการแต่งบทร้อยกรอง ถอยหลังกลับไปในอดีต พศ.
2500 มาจนถึงช่วง พศ.2516 มหาวิทยาลัยที่มีนักกลอนชุมนุม
กันมากที่สุดคือ ธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถ้าเป็นสมัยนี้ "นักกลอน" ก็คือคำที่เราเรียกกันทั่วไปสำหรับคน
เขียนกลอนว่า "กวี" แต่ในสมัยโน้น กวีหมายถึงสุนทรภู่ ศรีปราชญ์
นายนรินทร์ธิเบศร์ หรืออย่างใหม่ที่สุดคือนายชิต บุรทัต
หนุ่มสาวที่เดินถือตำราเข้าประตูมหาวิทยาลัย ยังไม่อหังการ์ถึงกับเรียก
ตัวเองว่า "กวี"ทั้งๆฝีมือหลายคนในที่นั้น ถ้าอยู่ในสมัยนี้ ก็เรียก
อย่างอื่นไม่ได้นอกจาก"กวี"
เช่นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น"นักกลอน"ที่รู้จักเลื่องลือ ใน
นาม "สี่มือทอง"คือ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ทวีสุข ทองถาวร นิภา
บางยี่ขัน และดวงใจ รวิปรีชา
ในวันนี้ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ที่มีสมญาว่า "กวีรัตนโกสินทร์"
เป็นกวีซีไรต์ เป็นศิลปินแห่งชาติ แต่ย้อนหลังไปสี่สิบกว่าปี เขาเป็น
"นักกลอนมือทอง" ของธรรมศาสตร์ ที่ขึ้นชื่อลื่อเลื่องในแวดวงคน
รักวรรณศิลป์ในยุคนั้น วรรณกรรมเพื่อชีวิตยังไม่เกิด กลอนเป็นที่
นิยมกันยิ่งกว่าคำประพันธ์แบบอื่น หัวข้อที่นิยมที่สุดคือการแสดง
อารมณ์ส่วนตัว เน้นความอ่อนไหว พริ้งพรายในลีลาภาษา และสะท้อน
อารมณ์รักของวัยหนุ่มสาว
อย่างบทกลอนที่ชื่อ "บนลานอโศก" ที่มีภาษาสวยงามเหมือนแก้ว
เจียระไน ที่ว่า
หยาดน้ำแก้วเกาะกลิ้งกิ่งอโศก
โลกทั้งโลกลอยระหว่างความว่างเปล่า
มีความรื่นร่มเย็นแผ่เป็นเงา
ลมแผ่วเบาบอกลำนำคำกวี
เราพบกันฝันไกลในความรัก
เริ่มรู้จักซึ้งใจในทุกที่
มีแต่เรามิมีใครในที่นี้
ใบไม้สีสดสวยโบกอวยชัย
อยากให้รู้ว่ารักสักเท่าฟ้า
หมดภาษาจะพิสูจน์พูดรักได้
เต็มอยู่ในความว่างกว้างและไกล
คือหัวใจสองดวงห่วงหากัน
หลับตาเถิดที่รักเพื่อพักผ่อน
ฟังเพลงกลอนพี่กล่อมถนอมขวัญ
ใจระงับรับใจในจำนรรจ์
ต่างแพรพันผูกใจห่มให้นอน
โอ้ดอกเอ๋ยดอกโศกตกจากต้น
เปียกน้ำฝนปนทรายปลายเกษร
โศกสำนึกหนาวกมลคนสัญจร
นกขมิ้นเหลืองอ่อนจะร่อนลง
เมตตาแล้วแก้วตาอย่าทิ้งทอด
ช่วยให้รอดอย่าปล่อยบินลอยหลง
จะหุบปีกหุบปากฝากใจปลง
จะเกาะกรงแก้วกมลไปจนตาย
งามเอยงามนัก
แฉล้มพักตร์ผ่องเหมือนเมื่อเดือนฉาย
งามตาค้อนคมเยื้องชำเลืองชาย
ลักยิ้มอายแอบยิ้มงามนิ่มนวล
จะห่างไกลไปนิดก็คิดถึง
ครั้นดื้อดึงโดยใจก็ไห้หวน
ถนอมงามห้ามใจควรไม่ควร
ให้ปั่นป่วนไปทุกยามนะความรัก
ผีเสื้อทิพย์พริบพร้อยลอยแตะแต้ม
เผยอแย้มยิ้มละไมใจประจักษ์
ทุกกิ่งก้านมิ่งไม้เหมือนทายทัก
ร้อยสลักใจเราให้เฝ้ารอ
ฝันถึงดอกบัวแดงแฝงผึ้งภู่
คล้ายพี่อยู่เป็นเพื่อนในเรือนหอ
ชื่นเสน่ห์เกษรอ่อนละออ
โอ้ละหนอหนาวนักเอารักอิง
ในห้วงความคิดถึงซึ่งเงียบเหงา
ใจสองเราเลื่อนลอยอย่างอ้อยอิ่ง
คอยคืนวันฝันเห็นจะเป็นจริง
โลกหยุดนิ่งแนบสนิทในนิทรา
ร่มอโศกสดใสในความฝัน
ร่มนิรันดร์ลานสวาทปรารถนา
ร่มลำธารสีเทาเจ้าพระยา
และร่มอาณาจักร.....ความรักเรา
ส่วนบางท่านก็แสดงทัศนว่า โดยยกเอาคำของ กรมหมื่นนราธิป
พงศ์ประพันธ์ ที่ท่านว่า มีการสำคัญผิดอยู่บ้างว่า กวีนิพนธ์ได้แก่การ
เรียงร้อยถ้อยคำให้ถูกฉันทลักษณ์ แต่การเรียงร้อยถ้อยคำให้ถูก
ฉันทลักษณ์เป็นแต่เพียงการร้อยกรอง ยังไม่ใช่กวีนิพนธ์ ถ้าจะให้ถึง
ขีดกวีนิพนธ์ ผู้ประพันธ์ต้องแสดงความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง และยิ่งกว่านั้น
ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตามไปด้วย
คนเขียนกลอนได้ถูกต้องและไพเราะ ถ้าผลงานชิ้นนั้นยัง
ไม่สามารถสื่อความลึกซึ้งให้ผู้อื่นรู้สึกตามได้ ก็เป็นเพียงนักกลอน แม้จะ
เขียนถูกฉันทลักษณ์ ตามรูปแบบและเสียงที่นิยมกันว่าไพเราะสุด ๆ
แล้วก็ตาม ในทางกลับกันผลงานบางชิ้นอาจจะดูขัด ๆ ตาในทางรูปแบบ
ในบางจุด แต่สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ลึกซึ้งจับใจก็ถือว่าเป็นบทกวี (
กลอนเปล่าหลายชิ้นจึงเป็นบทกวี แม้จะไม่มีรูปแบบฉันทลักษณ์
มาตรฐาน) อย่างที่ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าสัมผัสใจ
ได้แล้วละก็ สัมผัสคำถือเป็นเรื่องรอง
อย่างไรก็ตามถ้าเขียนแล้วสัมผัสใจก็ได้ และยังสัมผัสคำได้
ดีอีกด้วยก็น่าจะถือว่าเป็นบทกวีที่สมบูรณ์ยิ่งอีกระดับหนึ่ง เหมือนภา
พขียนอันวิจิตรบรรจงถึงระดับงาน ศิลปะแม้จะอยู่ในกรอบที่แสน
จะธรรมดา แต่ก็ยังเปล่งประกายศิลป์ออกมาจนสัมผัสได้ด้วยใจและจิต
วิญญาณ ยิ่งถ้าได้กรอบทองอย่างดีก็ยิ่งขับเน้นความเด่นของภาพขึ้นไป
อีก ผิดกับภาพเขียนดาด ๆ ในกรอบทองหรูหรา ทำอย่างไรภาพนั้นก็
ไม่สามารถเป็นงาน ศิลปะได้อย่างที่ควรจะเป็น
อีกประการหนึ่งน่าจะเป็นนิยามของกวีที่ยังคลุมเคลืออยู่
ผู้ใด คือ ผู้เหมาะสมที่จะให้นิยามของการเป็นกวี นั้นใครจะเป็นผู้เรียก
ขาน ถ้าให้ผู้อ่านเป็นผู้กำหนด หากผู้อ่านท่านนั้นมีความรู้สึกด้าน
อารมณ์ และ ประสบการณ์ที่ยังด้อยอยู่ เมื่อได้อ่านบทกวีชิ้นหนึ่งแต่ก็มิ
ได้มีความเข้าใจกับมันและไม่สามารถซึมซับคุณค่าของมันได้ ท่านผู้
อ่านท่านนั้นยังจะเรียกงานชิ้นนั้นว่าเป็นบทกวีอยู่อีกหรือ
และถ้าหากเป็นผู้อ่านที่ได้ผ่านประสบการณ์ทางด้าน
อารมณ์ และ ความรู้สึกมามากมาย เมื่อเขาอ่านได้บทกวีชิ้นหนึ่งแล้ว
รู้สึกว่ามันไม่ได้เพิ่มเติมอะไรใหม่ๆให้กับชีวิตของเขาผู้นั้น เขาจะยัง
เรียกงานเขียนชิ้นนั้นว่าเป็นบทกวีอยู่อีกหรือไม่
หรือ ถ้าให้ ผู้เขียนเป็นผู้นิยาม เขาผู้นั้นจะทราบได้เมื่อ
ไรว่างานของเขาเข้าขั้นบทกวีแล้ว วันหนึ่งเมื่อเขาตื่นขึ้นมา เขาพร้อม
จะพูดกับตัวเองเลยไหมว่า "บัดนี้ เราคือกวีแล้ว"
หรือจะให้มีสถาบันใด สถาบันหนึ่งที่ประกอบด้วยท่านผู้รู้
ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกวีนิพนธ์ มีอารมณ์ซึมซับ
บทกวีได้เป็นอย่างดี เป็นผู้ตัดสิน กำหนดให้ว่าใครควรเป็นกวี และใคร
ไม่ใช่ แล้วเราจะหาจุดลงตัวของนักกลอนบางท่านที่เป็นที่นิยมของผู้อ่าน
แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรืองานบางชิ้นที่เป็นที่ยอมรับ
ของผู้ทรงคุวุฒิ แต่ผู้อ่านทั่วไปไม่สามารถเข้าถึง ไว้ที่จุดตรงไหน
ผมเองคงไม่มีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้หรอกครับ
เพียงแต่สนใจใคร่รู้ เลยไปอ่าน ค้นคว้า มาเรียบเรียง ให้อ่านกัน เพลินๆ
หากใครจะนำไปพิจารณาตนเอง ว่าตน หรือใครเป็นกวี เป็นนักกลอน
หรือไม่ อย่างไร ก็เชิญตามอัธยาศัย ของแต่ละท่าน นะครับ.... ส่วนผมเองนั้น คงเป็นได้แค่ผู้สนใจเขียนกลอน..เท่านั้นเอง มั๊ง ครับ
.............
http://wannasilp.bravehost.com/link1/history.htm
http://www.trytodream.com/topic/2038
http://dek-d.com/board/view.php?id=565418
........................
คนกุลา(เรียบเรียง)
ในเหมันต์
12 มกราคม 2553 13:41 น.
คนกุลา
จากการไปอ่านค้นคว้าเรื่องนามปากกา ก็ได้แง่คิดหลายอย่าง
เช่น นักเขียนนั้นอยากมีนามปากกาที่จะอยู่กับตัวไปตลอดมานานแล้ว
แต่ไม่ทราบว่าจะทำยังไงดี เพราะรู้สึกไม่มั่นใจว่านามปากกา ที่ตนชอบ
นั้นจะพอใช้ได้ไหม หรือ นามปากกา ควรสื่อถึงอะไรบ้าง?
บ้างก็ไม่แน่ใจว่าชื่อแบบไหน ควรจะสื่อถึงบทกลอนหรือข้อ
เขียนแนวไหน เพราะคนรุ่นใหม่ๆ มักจะไม่ค่อยใส่ใจเรื่องนามปากกา
ของคนเขียนเลย ว่าให้ความรู้สึกเกี่ยวกับข้อเขียนเรื่องนั้นๆยังไง ส่วน
ใหญ่ก็จะดูที่ชื่อเรื่องก่อน ตามด้วยการอ่านเนื้องาน ส่วนนามปากกา
หรือชื่อคนแต่งจะดูก็ต่อเมื่อเนื้อความ หรือบทกลอนที่อ่านถูกใจ
มากๆ...
มีผู้อ่านบางรายบอกว่าอ่านบทกลอนหรือเนื้อเรื่องแล้วพอใจ
มากๆ แต่พอไปดูนามปากกา แล้วรู้สึกว่าขัดทำให้หมดอารมณ์ที่กำลัง
ประทับใจเลยก็มี ดังนั้น นามปากกาควรจะไปในโทนเดียวกันกับเนื้อ
เรื่อง หรือแนวกลอน สังเกตจากนักเขียนดังๆหลายท่านยังนิยมมี
หลายๆนามปากกาเพื่อให้ตรงกับแนวเรื่องที่ตนเองเขียน
แต่บางท่านบอก บางนามปากกา ดูแล้วไม่เหมาะสม(ในความ
เห็นของผู้อ่านบางคน) ก็มีความเห็นว่าอาจจะมาจากว่าคนแต่งอาจ
จะลืมคิดมาแต่ต้นก็เป็นได้ แล้วพอเหตุการณ์ผ่านไป เวลาล่วงไป ข้อ
เขียนมีคนนิยมขึ้นมา ผู้อ่านส่วนหนึ่งจดจำ นักแต่งในนามปากกานั้นได้
ก็เลยต้องใช้ชื่อที่ติดมีคนรู้จักแล้ว แบบต้องเลยตามเลยไปเลย
บางความเห็นที่น่าสนใจจากนักอ่านเกี่ยวกับ-นามปากกา-
โดยเป็นมุมมองจาก กรรมวิธีการอ่านงานเขียน
1.เดินเข้ามา กวาดตาดูทั่วๆ ไปที่หน้าตา ชื่อเรื่องก่อน
2.เริ่มเปิดดูเนื้อหาด้านใน ชิมๆสำนวนซักพัก..
3.หาก..สำนวนงามพอไปได้ ก็ดูว่านักเขียนนาม
ปากกาอะไรนะ..
4. หากนามปากกาไม่น่าประทับใจ ก็อาจจะไม่สนใจอ่านอีก
ประสบการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมากกับนักอ่านจำนวนมาก จน
บอกว่าบางผลงานเนื้อหาดี แต่ไม่ชอบนามปากกาก็เลยไม่ประทับใจไป
เลย ก็มี
บางคน มีนามปากกาหลากหลายมาก โดยใช้เป็นนามแฝง
เพราะปลอมตัวอยู่ในหลายๆ เว็บบอร์ด ชื่อแรกที่ใช้ บางทีก็เป็นชื่อเล่น
จริงๆ นี่แหละ ไม่ได้คิดอะไรมาก เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น จึงคิด
เรื่องนามปากกาจริงๆจังๆ
ฉะนั้นถ้าจะว่าไป นามปากกา ก็สำคัญมากๆ เพราะนาม
ปากกามันก็เหมือนกับชื่อตัวของเรานั่นแหละค่ะ นักเขียนดังๆถึงขนาด
เปิดตำรา คิดหากันหลายตลบ เพื่อให้ได้ชื่อที่ดี อ่านง่าย จำติดหูความ
หมายงาม จนกระทั่งบางท่านมองไปถึงว่า การตั้งนามปากกานั้นควร
ต้องใส่ใจ เพราะแสดงถึงการให้เกียรติทั้งงานของเราเอง และการให้
เกียรติผู้อ่านด้วย
สำหรับเรื่องการตั้งนามปากกา จากการอ่านๆมานั้นพอจะสรุป
ได้ ดังนี้
1."นามปากกา" ในการเขียนงาน ใช้เป็นชื่อเรียกขาน
เสมือนกับเป็นชื่อเล่นอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งอาจจะกลายเป็นชื่อเรียกติดปาก
ของคนที่เข้ามาอ่านผลงานของเรา จนแทบอยากจะเปลี่ยนชื่อจริงให้
เป็นชื่อเดียวกับนามปากกาเลยก็ได้ ดังนั้น ก่อนที่จะใช้นามปากกา
ควรวางแผนให้รอบคอบว่า นามปากกาที่เหมาะกับตัวเองควรจะเป็น
อะไร หลักการง่ายๆฝากไว้เป็นข้อคิด ดังนี้
ก่อนตั้งนามปากกาต้องคิดว่า "ฉันคือใคร"สอดคล้องกับ
แนวของเราหรือไม่ แล้วตั้งนามปากกา ให้ตรงตามต้องการ เพราะ
หากตั้งชื่อแทนตัวเรา ที่ให้เขาไว้เรียกขานต้องเปลี่ยนใหม่อาจเสียกาล
คนเขาจำเป็นคนละคน
2. เป็นชื่อที่อ่านออกเสียงง่าย ไพเราะ ไม่เพี้ยนเสียงจน
ความหมายอาจจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นที่มันไม่เป็นมงคล
3. ตัวอักษรที่เขียน สวย เก๋ เพื่อความสะดุดตา และเป็น
คำที่มีความหมาย (คือแปลได้ความ)จำติดหู ติดตา ความหมายงาม
4.นามปากกาน่าจะเป็นชื่อที่ตนเองชอบ หรืออาจจะเป็น
ชื่อของแรงบันดาลใจอะไรที่ทำให้อยากเป็นนักเขียนชอบชื่อแบบไหน
ก็เอาแบบนั้น เพราะนามปากกาเป็นชื่อที่เราเลือกเอง เพื่อใช้สำหรับงาน
เขียนที่เราชอบ เป็นตัวของเราเอง แต่ต้องอย่าให้มันน่าเกลียดจนเกินไป
ไม่งั้นคนอ่านก็อาจจะเปลี่ยนใจเพราะนามปากกานี่แหละ
5.เป็นกลางๆ สามารถใช้กับนิยายได้หลายประเภท ทั้งนี้
เพราะสำหรับนักเขียนใหม่นั้น ไม่ควรจะใช้นามปากกาหลากหลายนัก
อย่างน้อยเพื่อให้คนอ่านได้จำได้ และหากติดใจก็จะติดตามผลงานเล่ม
ต่อไปได้ ยกเว้นมันไม่เข้ากับประเภทผลงานที่แต่งอีกเรื่องหนึ่งจริงๆ
หรือเจตนาจะให้คนอ่านลืมนามปากกาเก่า เพื่อเปิดตัวกับนิยายแนวใหม่
จะได้ไม่ฝังใจกับสไตล์เดิมที่เคยเขียน
6.นามปากกา เหมือนด่านแรก เหมือนกับการพบกันครั้ง
แรก สำหรับ คนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน หน้าตาและบุคลิกภายนอก
ย่อมมีผลต่อการเข้ามาติดต่อปฏิสัมพันธ์ เหมือนกับเวลาไปสมัครงาน
เขาก็จะดูที่บุคลิกท่าทาง นิสัย การพูดจา ตัดสินกันเป็นด่านแรก ก่อน
จะเปิดการสัมภาษณ์ซักถาม ดูประวัติ คุณสมบัติ และความสามารถ ถ้า
หน้าตาดูดี บุคลิกการแต่งตัวดูดี เหมาะสมกับงาน แรกเห็น คนเขาอาจ
จะเลือกเลย นามปากกาก็เป็นแบบนั้น
7.นอกจากนี้ บางท่านก็บอกว่า มันเป็นความเชื่อ คือ
ชื่อคนมันควรจะดวงสมพงษ์กับเจ้าตัว จะขับหรือจะส่ง จะมากจะน้อย
ก็ย่อมมีผลต่อชะตาชีวิต เหมือน นามปากกาซึ่งจะส่งผลกับงานเขียน
ของเขา ซึ่งอันนี้ อาจเป็นของนักเขียนบางกลุ่ม ที่เชื่อเรื่องนี้จะไป
พิจารณาดูนะครับ
ปัญหาของนักเขียนใหม่ในเว็ปมักประสบก็คือขณะที่สมัคร
เป็นสมาชิก วันแรกผู้สมัครต้องใส่ นามปากกา ทันที จึงไม่มีเวลาคิด
มากนัก
วิธีแก้แก้คือ ท่านที่ต้องการสมัครสมาชิก เว็ปใดๆ ควรเตรียม
ตัวล่วงหน้าใช้เวลาคิดหานามปากกาที่เหมาะกับตัวเอง เหมาะกับแนว
การเขียนหรือ เหมาะกับบุคคลิก ตัวตนของตัวเอง (ที่ท่านแสดงออก
ในการเขียน ) หาชื่อให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ของท่าน ให้
เหมาะกับความสนใจ หรือเป็นสิ่งที่ท่านชอบ ที่ท่านต้องการ ให้เหมาะ
กับเนื้อหาที่ท่านต้องการเขียน หรือแสดงในความคิดเห็น
แต่โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าจะอ่านงานของนักกลอน ก็จะดูที่หัวข้อ
ว่าตรงตามความสนใจ ความพอใจของตัวเองมากกว่า ส่วนนามปากกา
นั้นจะดูก็เพื่อให้รู้ว่าใครแต่ง และจะจำก็ต่อเมื่อรู้สึกชอบงานของนัก
กลอนคนนั้นๆ เป็น พิเศษนะครับ
อยากจะบอกว่า นามปากกาแม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่นั่นเป็นตอน
เปิดตัวผลงานครั้งแรกกับผู้อ่าน หากเมื่อผลงานได้รับการยอมรับแล้ว
ชื่อไหนอย่างไร ก็ไม่สำคัญ(สักเท่าไหร่) อีกแล้วละครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการเขียนงานและนามปากกาของ
ท่านนะครับ
ปล: ขอแถม 96 นามปากกานักเขียน (นักประพันธ์) ไทยและ
ชื่อจริง
1. ก. ศยามานนท์ เป็นนามปากกาของ... กาญจนา ศยามา
นนท์
2. ก. สุรางคนางค์ , รสมาลิน เป็นนามปากกาของ... กัณ
หา เคียงศิริ
3. กฤษณา อโศกสิน เป็นนามปากกาของ... สุกัญญา ญา
ณารนพ
4. กระแซ่ , สีสด , สีเสียด เป็นนามปากกาของ... ประสาน
มีเฟื่องศาสตร์
5. กาญจนา นาคนันท์ เป็นนามปากกาของ... นงไฉน ปริญญา
ธวัช
6. กุลทรัพย์ รุ่งฤดี เป็นนามปากกาของ... กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ
7. แก้วเก้า เป็นนามปากกาของ... คุณหญิง รศ.ดร.วินิตา
ดิถียนต์ (วินิจฉัยกุล)
8. แก้วฟ้า เป็นนามปากกาของ... แก้ว อัจฉริยกุล
9. ไก่อ่อน เป็นนามปากกาของ... บรรเจิด ทวี
10. ไก่เขียว เป็นนามปากกาของ... พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว
11. กิ่งฉัตร เป็นนามปากกาของ... ปาริฉัตร ศาลิคุปต (ปุ้ย)
12. ครูเทพ , เขียวหวาน เป็นนามปากกาของ... เจ้าพระยา
ธรรมศักดิ์มนตรี หรือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
13. คิดลึก เป็นนามปากกาของ... ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
14. งาแซง , แมวคราว เป็นนามปากกาของ... อุทธรณ์ พล
กุล
15. เจ้าเงาะ เป็นนามปากกาของ... ชิต บุรทัต
16. แจ๋ว วรจักร เป็นนามปากกาของ... สง่า อารัมภีร์
17. จิ๋ว บางซื่อ เป็นนามปากกาของ... พ.ญ.โชติศรี ท่าราบ
18. ชัยคุปต์ เป็นนามปากกาของ... ชัยวัฒน์ คุประตกุล
19. ช่อลัดดา เป็นนามปากกาของ... กาญจนา เพชรมณี
20. ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เป็นนามปากกาของ... ชอุ่ม แย้มงาม
21. ชาตรี , ธม ธาตรี เป็นนามปากกาของ... เชิด ทรงศรี
22. ดอกไม้สด เป็นนามปากกาของ... ม.ล. บุปผา นิมมาน
เหมินทร์
23. ท. เลียงพิบูลย์ เป็นนามปากกาของ... ทองหยก เลียง
พิบูลย์
24. ทมยันตี , โรสลาเรน , ลักษณวดี , กนกเรขา ,
มายาวดี เป็นนามปากกาของ... วิมล ศิริไพบูรณ์
25. ทีปกร เป็นนามปากกาของ... จิตร ภูมิศักดิ์
26. ทวีปวร เป็นนามปากกาของ... ทวีป วรดิลก
27. น. ณ ปากน้ำ เป็นนามปากกาของ... ประยูร อุลุชาฎะ
28. น้อย อินทนนท์ , ผสุดี , มณโฑ , แม่อนงค์ , เรียมเอง
เป็นนามปากกาของ... มาลัย ชูพินิจ
29. นาคะประทีป เป็นนามปากกาของ... พระสารประเสริฐ
30. นายผี เป็นนามปากกาของ... อัศนี พลจันทร
31. น.ม.ส. เป็นนามปากกาของ... กรมหมื่นพิทยาลง
กรณ์หรือหม่อเจ้ารัชนี แจ่มจรัส
32. นายรำคาญ เป็นนามปากกาของ... ประหยัด ศ. นาคะ
นาค
33. บุษยมาศ เป็นนามปากกาของ... สมนึก สูตะบุตร
34. โบตั๋น เป็นนามปากกาของ... สุภา ลือศิริ
35. ป. ชื่นประโยชน์ เป็นนามปากกาของ... เปรื่อง ชื่น
ประโยชน์
36. ป. ณ นคร , นายตำรา ณ เมืองใต้ เป็นนามปากกา
ของ... เปลื้อง ณ นคร
37. ปณิธาน เป็นนามปากกาของ... ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
38. ป. อินทรปาลิต เป็นนามปากกาของ... ปรีชา อินทรปา
ลิต
39. ปิยะพร ศักดิ์เกษม เป็นนามปากกาของ... นันทพร ศานติ
เกษม
40. ประสก เป็นนามปากกาของ... จำรัส ดวงธิสาร
41. ประเสริฐ อักษร เป็นนามปากกาของ... กรมพระนราธิป
ประพันธ์พงศ์
42. ปรู๊บ บางกอก เป็นนามปากกาของ... ณรงค์ วงษ์สวรรค์
43. เปี๊ยกโปสเตอร์ เป็นนามปากกาของ... สมบูรณ์สุข นิยมศิริ
44. พ.ษ. , พ. เนตรรังสี เป็นนามปากกาของ... พัฒน์
เนตรรังสี
45. พ.ณ. ประมวลมารค เป็นนามปากกาของ... ม.จ.
จันทร์จิรายุ รัชนี
46. พงษ์เพชร เป็นนามปากกาของ... ยศ วัชรเสถียร
47. พนมเทียน เป็นนามปากกาของ... ฉัตรชัย วิเศษ
สุวรรณภูมิ
48. พร น้ำเพชร เป็นนามปากกาของ... ไพจิตร ศุภวารี
49. พรพิรุณ เป็นนามปากกาของ... สุคนธ์ โกสุมภ์
50. พราวพัชระ เป็นนามปากกาของ... พราวพัชระ ศักดา
ณรงค์
51. พราน ชมพู เป็นนามปากกาของ... สุเทพ เหมือนประสิทธิ
เวช
52. พรานบูรพ์ เป็นนามปากกาของ... จวงจันทร์ จันทร์คณา
53. พันธุ์ บางกอก เป็นนามปากกาของ... สมพันธุ์ ปานะถึก
54. แพร่ เป็นนามปากกาของ... อาจินต์ ปัญจพรรค์
55. แพร ชมพู เป็นนามปากกาของ... รัชนี บุษปะเกศ
(จันทร์รังษี)
56. มลฤดี เป็นนามปากกาของ... กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และ
กัณหา เคียงศิริ
57. มอญฟรี เป็นนามปากกาของ... เรวัต สนธิขันธ์
58. ไม้เมืองเดิม เป็นนามปากกาของ... ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา
59. มัลลิกา เป็นนามปากกาของ... กุหลาบ มัลลิกะมาส
60. แมน สุปิติ เป็นนามปากกาของ... นพคุณ จิตตยะโสธร
61. แม้นมาส สีละหุต , โรจนากร เป็นนามปากกาของ...
แม้นมาส ชวลิต
62. แม่วัน เป็นนามปากกาของ... พระยาสุรินทราชา นามเดิม
นกยูง วิเศษกุล
63. แม่สาย เป็นนามปากกาของ... จอมพลแปลก พิบูลสงคราม
64. ม. ชูพินิจ , เรไร, , อาตมา , ลดารักษ์, นาย
ดอกไม้, อุมา , นายฉันทนา เป็นนามปากกาของ...
มาลัย ชูพินิจ
65. แมลงหวี่ เป็นนามปากกาของ... ม.ร.ว. เสนีย์
ปราโมช
66. รพีพร , สันติ ชูธรรม เป็นนามปากกาของ... สุวัฒน์
วรดิลก
67. เรือใบ , สนทะเล เป็นนามปากกาของ... สนิท เอกชัย
68. ยาขอบ เป็นนามปากกาของ... โชติ แพร่พันธุ์
69. ว. ณ ประมวลมารค เป็นนามปากกาของ... ม.จ.
วิภาวดี รังสิต
70. ว. ณ เมืองลุง เป็นนามปากกาของ... ชินบำรุงพงศ์
71. ว. วินิจฉัยกุล , รักร้อย, ปารมิตา, วัสสิกา,
อักษรานีย เป็นนามปากกาของ... คุณหญิง รศ.ดร.วินิตา
ดิถียนต์(วินิจฉัยกุล)
72. ไววรรณ เป็นนามปากกาของ... พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรม
หมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
73. ศรีบูรพา เป็นนามปากกาของ... กุหลาบ สายประดิษฐ์
74. ศรีอยุธยา เป็นนามปากกาของ... พระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
75. ศุขเล็ก เป็นนามปากกาของ... ประยูร จรรยาวงษ์
76. ส. พลายน้อย , โสมทัต เทเวศณ์ เป็นนามปากกาของ...
สมบัติ พลายน้อย
77. ส. ศิวรักษ์ เป็นนามปากกาของ... สุลักษณ์ ศิวรักษ์
78. ส. อาสนจินดา เป็นนามปากกาของ... สมชาย อาสน
จินดา
79. สันต์ เทวรักษ์ เป็นนามปากกาของ... สันต์ ท. โกมลบุตร
80. สันตสิริ เป็นนามปากกาของ... สงบ สวนสิริ
81. สีน้ำ เป็นนามปากกาของ... มานิต ศรีสาคร
82. สีฟ้า เป็นนามปากกาของ... ม.ล. ศรีฟ้า มหาวรรณ
83. สุนทราภรณ์ เป็นนามปากกาของ... เอื้อ สุนทรสนาน
84. สุวรรณี , สุวรรณี สุคนธ์ทา เป็นนามปากกาของ...
สุวรรณี สุคนเที่ยง
85. โสภาค สุวรรณ เป็นนามปากกาของ... รำไพพรรณ
ศรีโสภาค
86. อรวรรณ เป็นนามปากกาของ... เลียว ศรีเสวก
87. อ. สนิทวงศ์ เป็นนามปากกาของ... อุไร สนิทวงศ์
88. อ.น.ก. , อนึก คำชูชีพ , อุนิกา เป็นนามปากกา
ของ... พระยาอุปกิตศิลปะสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
89. อมราวดี เป็นนามปากกาของ... ลัดดา ถนัดหัตถกรรม
90. อสิ รุ่งชล เป็นนามปากกาของ... ถาวร สุวรรณ
91. อ้อย อัจฉริยากร เป็นนามปากกาของ... ฉัตร บุณยศิริชัย
92. อาษา เป็นนามปากกาของ... อาษา ขอจิตต์เมตต์
93. อิงอร เป็นนามปากกาของ... ศักดิ์เกษม หุตาคม
94. อุษณา เพลิงธรรม เป็นนามปากกาของ... ประมูล อุณหธูป
95. แอลกอฮอล์ , ฮิวเมอริสต์ เป็นนามปากกาของ... อบ
ไชยวสุ
96. อัศวพาหุ , น้อยลา , นายแก้ว-นายขวัญ , พันแหลม
เป็นนามปากกาของ... พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัว
...........
แหล่งอ้างอิง:
www.jj-book.com/jjtalk1/view.php?qs_qno=379
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=242977
www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/...
http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=885.0
...........
คนกุลา (เรียบเรียง)
ในเหมันต์
12 มกราคม 2553 12:20 น.
คนกุลา
"นามปากกา นี้ ท่านได้แต่ใดมา ?" และ
"นามปากกานั้นสำคัญไฉน?"
ต้องขอขอบคุณและขออนุญาต กระทู้ เปิดเวทีถามไถ่ หัวข้อ
"นามปากกา"นี้ไซร้ท่านได้แต่ใดมา...ของ ชาวบ้านกลอนไทย
ที่ทำให้ผมนึกสนุก และอยากรู้ เลยไปค้นคว้าหาอ่าน และเก็บ
ความมาเขียนกระทู้ นี้ขึ้น
ก่อนอื่นต้องกล่าวสวัสดีปีใหม่กับชาวบ้านกลอนไทยทุกท่าน ขอให้
มีความสุขสันต์กันถ้วนหน้า ในปี ๒๕๕๓ นะครับ
คำว่านามปากกา หากไปเปิดดู พจนานุกรมฉบับ ราช
บัณฑิตยสถาน จะบอกไว้อย่างนี้ ครับ
นามปากกา น. ชื่อแฝงที่นักเขียนหรือนักประพันธ์ใช้แทนชื่อ
จริงของตน
คำใกล้เคียงคือ คำว่า
นามแฝง น. ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อพรางหรือแทนชื่อจริง
สำหรับชาวบ้านกลอนไทย ให้เหตุผลว่าจากการที่เปิดมาได้สักสิบ
ปีแล้ว มีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บ้างก็อยู่มาตั้งแต่เปิดบ้านใหม่ จน
กระทั่งถึงทุกวันนี้ก็มี บ้างก็ล้มหายตายจาก? บ้างก็พึ่งมาร่วมเรือน
หลังงาม ณ ที่แห่งนี้
เนื่องด้วยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บางคนเดินผ่านกันไปมา
อาจจะยังไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนามของกันและกัน ว่าเป็นมาอย่างไร จึง
เปิดเวที ถามไถ่ นามปากกาอันงดงามนี้ไซร้ ท่านได้แต่ใดมา?
จากการเปิดเวทีถามไถ่...นามปากกานี้ไซร้ ท่านได้แต่ใด
มา... ก็มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็น ยี่สิบกว่า ท่าน ดังนี้
ความคิดเห็นที่ 1 :
เรา "ชาวบ้านกลอนไทย"
ก็เพราะใช้ชื่อบ้านนี้เป็นที่พัก
ร่วมจับมือเกี่ยวก้อยร่วมร้อยรัก
ร่วมสลักมธุรสเป็นบทกลอน
ความคิดเห็นที่ 2
มาจากคำว่า "butterfly effect"
ผีเสื้อขยับปีกเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
ผีเสื้อกระพือปีก
ความคิดเห็นที่ 3 :
"ยาแก้ปวด"ชื่อนั้นฉันได้มา
เพื่อรักษาเพื่อนกลอนตอนหวลไห้
ไร้สาระบันเทิงระเริงใจ
เมาที่ไหนที่นั่นคือฉันเอง....
ความคิดเห็นที่ 4
จากแรกเริ่มเดิมทีไม่มีชื่อ
อาศัยสื่อนามแฝงแต่งภาษา
จวบเมื่ออ่านหนังสือที่ซื้อมา
จึงบังเกิด"อัลมิตรา"ในครานั้น
ชื่ออัลมิตรา มาจากหนังสือปรัชญาชีวิต ของคาลิล ยิบรานห์ ชาว
เลบานอน ค่ะ
ความคิดเห็นที่ 5
นาม"เฌอมาลย์"ไร้ที่มาและที่ไป
ตั้งตามใจบ้าดารามานานเนิ่น
ชอบชื่อพลอยเฌอมาลย์นานเหลือเกิน
ไม่เคอะเขินล็อคอินเดี๋ยวชินเอง...
ความคิดเห็นที่ 6
"เฌอแก้ปวด"นามนี้มีเฉพาะกิจ
เกิดเพราะฤทธิ์แอลกอฮอร์หนอชื่อฉัน
ยามเราสองปรองดองฉลองกัน
แสนเมามันส์อักษราภาษาเมา.....
ความคิดเห็นที่ 7
นาม"เทียนหยด"ที่ใช้เพราะใจชอบ
จึงขอตอบทันใดมิใช่ฝัน
เป็นไม้ดอกที่ปลูกจึงผูกพัน
ในทุกวันนั่งชมภิรมย์เพลิน
เป็นคนชอบสีม่วงค่ะ..และดอกเทียนหยด
ที่ปลูกไว้ก็เป็นสีม่วง.. เลยนำมาตั้งเป็น
นามปากกาซะเลย..ถูกใจสุดๆชื่อนี้
ความคิดเห็นที่ 8
= สิ้ น ฝั น = ใช่ฉันจะสิ้นชื่อ
ใช้ยึดถือเอาไว้สอนใจฉัน
ให้อยู่แต่แค่ในปัจจุบัน
ไม่เพ้อฝันหรืออาลัยในวันวาน
ความคิดเห็นที่ 9 :
"สุรศรี"มีที่มา
คือผู้กล้าทำความดี
หลายคนนั้นอาจมี
แต่ไม่กล้าที่จะทำ
สุรศรี
ความคิดเห็นที่ 10
"ลูกหว้า"นามนี่มีที่มา
เดิมนาสมัยเป็นstudent
ยืนเคารพธงชาติหน้าทะเล้น
เจ้าลูกหว้าหล่นเต้นกระทบเสื้อ
เสื้อขาวเปื้อนสี..
สีหน้าเริ่มเจื่อนหมอง
ใจข้าเริ่มติตรอง
ลูกหว้าตีตราจองบนเสื้อขาว..
...ซักไม่ออกเศร้าใจเอย
**********************
เหอๆก้อตอนแรกนึกว่าใครบังอาจมาปาหลัง
ทำเอาจุกเลย...เสื้อขาวก้อเปื้อน
จำติดใจเลยลูกสีม่วง..
เด้งกระทบหลัง..หน้าเสาธงรร.เก่า(สทช.)
ต้นหว้าบานจะไท
...ก้อเลยหยิบมาใช้
ความคิดเห็นที่ 11
นามปากกานี้ได้มาโดยบังเอิญ
ณ ห้องสมุดอันกว้างใหญ่ไพศาล
ล้านหนังสือก่ายกองดุจขุนเขา
ฉันเดินเข้าไปในมุมสงบเงียบ ไร้ผู้คน
หนังสือเล่มหนึ่งปรากฏแก่สายตา
ฉันหยิบขึ้นมา และเปิดไปหน้าหนึ่ง
นำมาซึ่งนามนั้น ....."ธันวันตรี"
ความคิดเห็นที่ "12"
นาม"เรริน" ชื่อนี้มีที่มา
คือฉายาคนรักสลักหมาย
อยากให้ฉันพากเพียรเขียนนิยาย
วาดฝันปลายเฟื่องฟุ้งดุจรุ้งงาม
สรุปว่า....คุณแฟนตั้งให้...
ความคิดเห็นที่ 13
"เอื้องอังกูร"..ก่อเกิดกำเนิดสร้าง
มิใช่นางแต่เป็นายมิหน่ายหนี
ชื่อว่าเอื้องประหนึ่งว่าสตรี
อังกูรมี หน่อเนื้อ หญิงเหนือเอย
เอื้อง...เป็นสัญลักษณ์ของหญิงเหนือ
อังกูร..คือเลือดเนื้อเชื้อไข
เอื้องอังกูรคือ..ลูกของแม่ญิงคนเมือง
สรุปก้อคือลูกคนเหนือคับ..
ลูกป้อจายข้าวนึ่งคับ
ความคิดเห็นที่ 14
ยิปซี...เพราะเป็นเหมือนคนเร่ร่อน
ไร้เสื่อหมอนนอนไหนใจแสวง
เดินทางทั่วไทยเท่าใจมีแรง
ใจแสวงไขว่คว้าหาเพื่อทำกิน
(มาจากชนเผ่าเผ่าหนึ่งในการ์ตูน..ฟอสทีน..)
โฟว์..คือเลข 4 ที่ชอบมาก
และนายมาร์คลอว์เรนสันเขาใส่อยู่
วันนั้นดูฟุตบอลในจอตู้
มาร์คทำประตูชัยให้ลิเวอร์พูลชนะเอย
"ยิปซี4"..ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่สมัยเรียนครับ
30 กว่าปีแล้ว..เพื่อนรุ่นน้องเขาบอกว่าเหมาะดีเพราะเป็น
คนที่เดินทางไม่สิ้นสุดและชอบเลข 4กับสีม่วงเป็นชีวิตจิตใจครับ
ความคิดเห็นที่ 16 :
**.. อักษรย่อ ก.ไก่ ในนามนี้
ชื่อจริง-เล่น ล้วนมี ที่ขึ้นต้น
อาจเรียก ก้อง หรือ เกรียงไกร ตามใจดล
ใช้ปะปน ไม่เน้น ไม่เป็นไร..
**.. ชื่อ ประแสร์ แลคือ ชื่อบ้านเกิด
ถือกำเนิด ชายคา พักอาศัย
คนเมืองแกลง เชื้อกวี ล้วนมีไฟ
สุนทรภู่ ครูใหญ่ ในเชิงกลอน..
**.. ศิษยาพร นามฤๅ คือลูกศิษย์
ผู้มีจิต เข้มขลัง ดังเก่าก่อน
น้อมรำลึก พระองค์เจ้าอาภากรฯ
กรมหลวงชุมพร ชนโจษจัน..
**.. แลต่อมา จิตตระหนัก เป็นนักกฎหมาย
ศรัทธาหนึ่ง พร่างพราย ใจยึดมั่น
อุทิศใน องค์รพี ฝากชีวัน
ยุติธรรม์ จึงฝากฝัง ยังโลกา..
**.. นาม รพี แลนาม อาภากร
คือ อาทิตย์ รังสิธร ตอนเจิดจ้า
นิยามสอง เป็นหนึ่งเดียว เกี่ยวข้องมา
ศิษยาพร คือศิษยา สองพระองค์
**.. คือนามหลัก จารลง ผจงเขียน
หวังแนบเนียน ถ้อยความ ตามประสงค์
หวังร้อยกรอง ของไทย ให้ดำรง
จิตยังคง ชื่นรส บทกวี...
ความคิดเห็นที่ 17
** ประทับตรา ตรึงไว้ ในดวงจิต
เทพนิมิต สรวงสวรรค์ สุดหรรษา
งามจาตุ มหา ราชิกา
คือที่มา...แห่งนาม เมื่อยามยล.....ฯ
ในช่วงหนึ่งของชีวิต...ได้ไปปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐาน...ในนิมิตที่เห็น...
พบตนเอง..อยู่บนสถานทิพย์วิมานแห่งหนึ่ง...
ซึ่งมีชื่อว่า...จาตุมหาราชิกา...
จึงกลายเป็นที่มา..ของนามปากกา.."ราชิกา"..ค่ะ
ความคิดเห็นที่ 18
นาม"ดอกบัว"มิมัวแถมชัวร์ชื่อ
นามนี้หรือพ่อแม่แปลมาใช้
ดอกบัวอยู่หนองบึงพึ่งแนวไพร
อยู่ตามไร่คูคลองหนองกลางนา
จากบ้านป่าชนชานบ้านท้องทุ่ง
มีผักบุ้งเคียงคล้องตามหนองป่า
นามง่ายง่ายแม่หมายให้ยายตา
เรียกหลานย่าป่าพงดงดอกบัว
ความคิดเห็นที่ 19
o กิ่ง เพียงเสี้ยวหนึ่งก้าน......กุมใบ
โศก แค่เศษพงไพร......พุ่มต้น
ทุกข์เทวษเกินใด..........ดูเทียบ
รวมรากดอกเต็มล้น.....ร่างสิ้นกลบฝัง ฯ
..เสี้ยวหนึ่งของชีวิตที่เผชิญ ชะตาในเมืองหลวง
ความทรหดอย่างเดียวที่พยุงร่างแลหัวใจให้คงมั่น
อย่างลำบากลำบน...นับเป็นความทุกข์ทรมานยิ่ง
แต่ก็ปลุกปลอบตัวเองเสมอมาว่า นี่เพียงส่วนหนึ่ง
เท่านั้น..หากเปรียบความทุกข์ คือต้นไม้ใหญ่
สิ่งที่เราได้รับ มันเป็นเพียง ส่วนหนึ่ง หรือกิ่งเล็กๆ
ของทั้งต้น เท่านั้นเอง
.."กิ่งโศก"..ที่รอโศกเต็มต้น หรือ จะรอ..
อโศก..นามนี้จึงอุบัติขึ้น..
ความคิดเห็นที่ 20
ข้าพเจ้า นามว่า.."เสียงหัวเราะ"...ชีวิตมิค่อยมี
เสียงหัวเราะเท่าใดนัก แต่จักแลมีเสียงหัวเราะใน
ความเงียบบ้าง....นานทีปีหนจึงมีร้อยเรียงกลอน
มาให้อ่าน เพราะมีภาระกิจมากมายหลายสถาน....
กว่ายี่สิบปีที่เกิดมา...ยังมองหาความสุขที่แท้จริง
มิได้เลย...ยังหาผู้ใดสักคน..มาคอยเติมเต็ม
ชีวิตที่ขาดหายไป....
ความคิดเห็นที่ 21
๐ "คนกุลา"คราก่อนรอนแรมฝัน
ในทุ่งอันใหญ่กว้างและร้างแล้ง
แดดระยิบพริบพรายสายลมแรง
ท่ามชนแกร่งแล้งฝน"คนกุลา"
มาจากตำนานของชาวกุลา และทุ่งกว้าง
แห่งอดีตอันแล้งร้าย นามทุ่งกุลาร้องไห้
นะครับ
ความคิดเห็นที่ 22
"อนงค์นาง"... นามนี้ชอบนักหนา
มีทีมาที่ไปในความหลัง
ชอบนิยายอ่านได้ทุกวันจัง
เรื่องหนึ่งยังจำได้..ใช่เลยคุณ
ตอนวัยรุ่นชอบอ่านนวนิยายค่ะ
เป็นชื่อนางเอกนิยายเรื่องหนึ่ง
ชอบมากเพราะฟังดูหวานเป็นผู้หญิงจัง
ความคิดเห็นที่ 23
กุ้ง=ชื่อเล่น
หนามแดง=ที่พำนัก
"กุ้งหนามแดง"
:) แค่นี้แหละไม่ซับซ้อน..
ความคิดเห็นที่ 25
เคยใช่นามบากกาว่า.......
แต่มิอาจหวานได้ดังใช้ชื่อ
เมื่อเริ่มเขียนเรื่องสั้นหมั่นฝึกปรือ
จึงใช้ชื่อ "วงศ์ตะวัน" แต่นั้นมา
ความคิดเห็นที่ 26
"น้ำตาลหวาน" ห่างไกลจากตัวฉัน
เหตุชอบนั้นอยากหวานนานหนักหนา
เป็นสาวห้าว เรียบร้อย ด้อยหวานมา
นามปากกา มาจากใจ ก็ใจอยากเป็น
เป็นคนบุคคลิกเรียบร้อยแต่ไม่อ่อนหวาน
ก็อยากจะหวานๆมั่งค่ะ
ความคิดเห็นที่ 27
"Golden Snitch" is the name of a
small bird from "Harry Potter"
also part of the popular game
"Quidditch"
but, personaly I like silver much
more than gold
then, I changed from "Golden
Snitch" to ""Silver Snitch"
catch me if you can !!
bye
หลังจากอ่านกระทู้ของชาวบ้านกลอนไทยแล้ว ก็ได้ลองเข้าไป
ค้น สารพันข้อสังเกตเกี่ยวกับ เรื่อง นามปากกา ในเว็ปอื่นๆ ก็ได้เห็น
แนวทางในการตั้งนามปากกาเพิ่มเติม ทั้งในแง่นามปากกาของนัก
กลอนและนามปากกาของนักเขียนอื่นๆ ซึ่งผู้เรียบเรียงขอเรียงลำดับ
ความเห็นต่อไปเลยเพื่อสะดวกในการอ่าน ดังนี้นะครับ
ความเห็นที่ 28 ...โดย จินตานุภาพ
เมื่อก่อนนี้ก็ไม่คิดว่านามปากกาจะเป็นเรื่องจริงจังขนาดนี้ แค่คิดว่า
เป็นชื่อที่เราชอบและแสดงถึงตัวตนของเราก็พอ แต่พอมาอ่านความ
เห็นของทุกๆคนดูแล้ว ก็เห็นความสำคัญของนามปากกาขึ้นมาทันที
และก็รู้สึกว่า เป็นคำแนะนำเบื้องต้นของการตั้งนามปากกาได้เลย
ความเห็นที่ 29 ...โดย ปอฝ้าย
" ปอฝ้าย " นี่ก็นามปากกาของฝ้ายเอง ฝ้ายคิดว่าหากเรา
อยากจะตั้งนามปากกาของตัวเอง ฝ้ายก็จะนำแรงบันดาลใจที่ทำให้เรา
อยากเขียนหนังสือมาเรียงเรียง เป็นชื่อที่เราอยากตั้ง อาจจะให้ชื่อ
แหวกแนวบ้าง ก็ดูดีมีสไตล์ของแต่ละคน อย่างฝ้าย " ปอฝ้าย "
เนี่ย ก็เกิดจากแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นนักเขียนและชื่อของตัว
เองเข้ามาผสมกัน ทำให้เกิด " ปอฝ้าย " เดินทางอยู่บนเส้น
ทางนักเขียนอีกคน...........
ความเห็นที่ 30 ...โดย ทอฝัน
ทอฝันมาจากว่า ในเมื่อเราจะแต่งเรื่องซักเรื่องควรจะลองคิดสรรหา
นามปากกาให้คนสนใจ ฝันแต่งเรื่องจากความฝัน (อาจจะงง ก็คือฝัน
(ประธาน) ฝัน (กิริยา) ถึงพล๊อตเรื่อง ว่าตัวเองจะวางแนว
ไหนอย่างไร แล้วมันก็กลายมาเป็นเช่นนี้) ทอฝันมันก็ออกภาษาพื้นๆ
ซึ่งถูกใจฝันเป็นที่สุด
ความเห็นที่ 31 ...โดย หนุ่มขี้เหงา
ที่ใช้นามปากกาว่า 'หนุ่มขี้เหงา' ก็เพราะ ได้แรงบันดาลใจมาจาก
ภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
ความเห็นที่ 32 ...โดย ชายช่างภวนา
เมื่อก่อนผมไม่ค่อยพอใจกับชื่อจริงที่พ่อแม่ตั้งให้เลย ผมรู้สึก
ว่ามันโหลและดูไม่ไพเราะเมื่อเทียบกับชื่อของคนอื่น ๆ ในเมื่อชื่อเพราะ
ๆ และคำไทยอีกมากมายที่ดูสละสลวยความหมายดีซึ่งดูหรูหราและ
ธำรงความไพเราพได้ครบถ้วนกว่าชื่ในปัจจุบัน แต่พอต้องมาตั้งชื่อ
นามปากกาของตัวเองถึงได้รู้ว่าการตั้งชื่อไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างการตั้งชื่อ
สัตว์เลี้ยงเลย ธรรมชาติของผมบอกว่าชื่อที่ให้ก็ให้เป็นชื่อที่เราเป็น เรา
อยู่กับตัวเองมาตั้งครึ่งชีวิตแล้วในตอนนี้ ดังนั้นการตั้งนามปากกาน่าจะ
เน้นความเป็นตัวเองภายในออกมา ส่วนความไพเราะนั้นค่อยว่ากันที
หลังก็ยังไม่สายนี่นา..
ความเห็นที่ 33 ...โดย maichan
เรื่องนามปากกาก็มีปัญหาเหมือนกันค่ะ เพราะยังไม่มีนิยายที่ได้รับ
การตีพิมพ์ก็เลยไม่รู้จะใช้อะไรจะใช้ maichan ก็ดูเด็กไป เพราะ
ใช้ชื่อนี้เขียนอะไรเล่นๆตั้งแต่สมัยเรียน
ตอนนี้ชอบชื่อ โมไนย เพราะมีความหมายที่ดีมาก คิดว่าชื่อนี้น่าจะใช้
ได้หลายแนวแต่ไปๆมาๆ ก็อยากเปลี่ยนเสียแล้ว
เป็นคนหลายใจมากมายอ้อ...พูดถึงนามปากกาที่ชอบ
ชอบชื่อนี้จัง "เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย"จำได้ติดใจเลยล่ะค่ะ
ช่วงนี้ก็เลยเสาะหานามปากกาไปเรื่อยๆจนกว่าจะถูกใจนั่นแหละ
ความเห็นที่ 34 ...โดย นักเขียนไร้สมอง
มีปัญหาเหมือนกันค่ะ เรื่องนามปากกา เมื่อก่อนเคยใช้ว่า
Black_Witch แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็น ~นักเขียนไร้สมอง~
ไม่รู้ว่าจะเข้ากับแนวที่แต่งมั้ยเหมือนกัน เพราะจากที่อ่านความเห็น
ต่างๆ มา ส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่า แนวแฟนตาซีควรใช้เป็นภาษา
อังกฤษ
ความเห็นที่ 35 ...โดย ตะวันสีรุ้ง
ตั้งชื่อที่ตัวเองชอบอาจจะมีความหมายอ้อนเพื่อไม่ให้ใครรู้
ว่าเราเป็นใครหรือไม่ก็ใช้การแปลหลายๆชั้น เช่น ชื่อฟ้า ก็ นภา
อะไรอย่างนี้ก็เพราะไปอีกแบบ
เขียนไปเขียนมา ชักจะยาว จึงขอจบแนี้ก่อน แล้วจะมาต่อตอนจบ
ใน ตอนหน้านะครับ
............
แหล่งอ้างอิง
www.jj-book.com/jjtalk1/view.php?qs_qno=379
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=242977
www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/...
http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=885.0
http://www.thaipoem.com/forever/ipage/board6545.html
..........
คนกุลา (เรียบเรียง)
ในเหมันต์
มีต่อตอนสอง(จบ)
7 มกราคม 2553 10:30 น.
คนกุลา
วรรณกรรมไทย จากการค้นคว้าศึกษา ผมพบว่า
ในแต่ละยุคสมัย มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งบางคราวก็มีความเห็นที่แตกต่างกันจนกระทั่ง
มีการกล่าวหา กันว่าการประพันธ์
บางอย่าง เป็นการทำลายวรรณกรรม ไปโน่น..!!
ชาวบ้านกลอนไทย ในฐานะผู้สนใจ อนุรักษ์ และ
สืบสาน พัฒนา งานวรรณกรรมไทย กลุ่มหนึ่ง ที่
ต่อเนื่อง นับสิบปี มีประสบการณ์ และความคิดเห็น
ในเรื่อง นี้อย่างไรบ้าง ครับ ลองแลกเปลี่ยนกันดู
นะครับ...!!!
...........
คนกุลา
ในเหมันต์
5 มกราคม 2553 18:48 น.
คนกุลา
กาพย์เห่เรือ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทย แต่งไว้สำหรับขับ
ร้องเห่ในกระบวนเรือ โดยมีทำนอง เห่ที่สอดคล้องกับจังหวะการพาย
ของฝีพาย ว่าช้า หรือเร็ว มักจะมีพนักงานขับเห่หนึ่งคนเป็นต้นเสียง
และฝีพายคอยร้องขับตามจังหวะ พร้อมกับการให้จังหวะจากพนักงาน
ประจำเรือแต่ละลำ
กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11
และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดย
มักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบ
ตอนหนึ่งๆ ในบางกรณี อาจจะจบลงด้วยโคลงอีกหนึ่งบทก็ได้ แต่ไม่
ค่อยเห็นบ่อยนัก เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท
แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรม
ธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา
ตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และ
ชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากี
สันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกล
ในแม่น้ำลำคลอง แต่ในภายหลังคงมีแต่งใช้แต่เจ้านายหรือพระ
ราชวงศ์ชั้นสูง และสุดท้ายมีใช้แต่ในกระบวนเรือของพระเจ้าแผ่นดิน
เท่านั้น
กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำ
ประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวน
พยุหยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่ง
กาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล
มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
กาพย์เห่เรือที่ปรากฏเป็นที่แพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ นิยมใช้เห่ในกระบวน
เรือหลวงจนถึงปัจจุบัน
กาพย์เห่เรือ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ชมเครื่องคาวหวาน และผลไม้)
กาพย์เห่เรือ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ชมสวน ชมนก ชมไม้ และชมโฉม)
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ชมเรือ)
กาพย์เห่เรือ พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ชมเรือ ชมพระนคร ชมปลา เห่ครวญ เป็นต้น)
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
(ทรงพระนิพนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระ
ราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์)
กาพย์เห่เรือ นิพนธ์ โดย นายฉันท์ ขำวิไล ในวาระฉลอง 25 พุทธ
ศตวรรษ
กาพย์เห่เรือ นิพนธ์ โดย นายหรีด เรืองฤทธิ์ ในวาระฉลอง 25 พุทธ
ศตวรรษ
กาพย์เห่เรือ ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย กระบวนพยุห
ยาตราทางชลมารค ในงานเอเปค ๒๕๔๖
๑. ขอโหมโรงด้วยการอัญเชิญ กาพย์เห่เรือ เห่ชมเครื่องคาวหวาน
ซึ่งป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(รัชกาลที่ ๒)
เห่ชมเครื่องคาว
โคลง
๏ แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย
หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน
ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา
แรงอยากยอหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง ๚
กาพย์
๏ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
๏ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ
๏ ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำสมโรยพริกไทย
โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง
๏ หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
พิศห่อเห็นรางชาง ห่างหอหวนป่วยใจโหย
๏ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ
๏ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์
๏ ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม
กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น
๏ ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น
ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ
๏ เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ
รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม
๏ ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์
๏ ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน
๏ เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง
๏ รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
๏ ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ใบโศกบอกโศรกครวญ ให้พี่เศร้าเจ้าดวงใจ
๏ ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน
ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนางฯ
...........
๒. กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร
เห่ชมเรือกระบวน
โคลง
๏ ปางเสด็จประเวศด้าว ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานชัย กิ่งแก้ว
พรั่งพร้อมพวกพลไกร แหนแห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว เพริศพริ้งพายทอง
กาพย์
พระเสด็จโดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอน สาครลั่นครั่นครื้นฟอง
เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร
สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
คชสีห์ทีผาดเผ่น ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง
เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกัน
นาคาหน้าดังเป็น ดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าวาสุกรี
เลียงผาง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี
เห่ชมปลา
โคลง
พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คลึงกัน
ถวิลสุดาดวงจันทร์ แจ่มหน้า
มัตสยาย่อมพัวพัน พิศวาส
ควรฤพรากน้องช้า ชวดเคล้าคลึงชม
กาพย์
พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์
มัตสยายังรู้ชม สาสมใจไม่พามา
นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย
เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม
แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
ปลาทุกทุกข์อกกรม เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง
น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง
ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี**
ปลากรายว่ายเคียงคู่ เคล้ากันอยู่ดูงามดี
แต่นางห่างเหินพี่ เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร
หางไก่ว่ายแหวกว่าย หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
คิดอนงค์องค์เอวอร ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
ปลาสร้อยลอยล่องชล ว่ายเวียนวนปนกันไป
เหมือนสร้อยทรงทรามวัย ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย
ใครต้องข้องจิตชาย ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
ปลาเสือเหลือที่ตา เลื่อนแหลมกว่าปลาทั้งปวง
เหมือนตาสุดาดวง ดูแหลมล้ำขำเพราคม
แมลงภู่คู่เคียงว่าย เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
คิดความยามเมื่อสม สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
หวีเกศเพศชื่อปลา คิดสุดาอ่าองค์นาง
หวีเกล้าเจ้าสระสาง เส้นเกศสลวยรวยกลิ่นหอม
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ ชะวาดแอบแปบปนปลอม
เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฏบังอร
พิศดูหมู่มัจฉา ว่ายแหวกมาในสาคร
คะนึงนุชสุดสายสมร มาด้วยพี่จะดีใจ
เห่ชมไม้
โคลง
เรือชายชมมิ่งไม้ มีพรรณ
ริมท่าสาครคันธ์ กลิ่นเกลี้ยง
เพล็ดดอกออกแกมกัน ชูช่อ
หอมหื่นรื่นรสเพี้ยง กลิ่นเนื้อนวลนาง
กาพย์
เรือชายชมมิ่งไม้ ริมท่าไสวหลากหลายพรรณ
เพล็ดดอกออกแกมกัน ส่งกลิ่นเกลี้ยงเพียงกลิ่นสมร
ชมดวงพวงนางแย้ม บานแสล้มแย้มเกสร
คิดความยามบังอร แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม
จำปาหนาแน่นเนื่อง คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม
คิดคะนึงถึงนงราม ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
ประยงค์ทรงพวงร้อย ระย้าย้อยห้อยพวงกรอง
เหมือนอุบะนวลละออง เจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม
พุดจีบกลีบแสล้ม พิกุลแกมแซมสุกรม
หอมชวยรวยตามลม เหมือนกลิ่นน้องต้องติดใจ
สาวหยุดพุทธชาด บานเกลื่อนกลาดดาษดาไป
นึกน้องกรองมาลัย วางให้พี่ข้างที่นอน
พิกุลบุนนาคบาน กลิ่นหอมหวานซ่านขจร
แม้นนุชสุดสายสมร เห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย
เต็งแต้วแก้วกาหลง บานบุษบงส่งกลิ่นอาย
หอมอยู่ไม่รู้หาย คล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตาตรู
มะลิวัลย์พันจิกจวง ดอกเป็นพวงร่วงเรณู
หอมมาน่าเอ็นดู ชูชื่นจิตคิดวนิดา
ลำดวนหวนหอมตรลบ กลิ่นอายอบสบนาสา
นึกถวิลกลิ่นบุหงา รำไปเจ้าเศร้าถึงนาง
รวยรินกลิ่นรำเพย คิดพี่เคยเชยกลิ่นปราง
นั่งแนบแอบเอวบาง ห่อนแหห่างว่างเว้นวัน
ชมดวงพวงมาลี ศรีเสาวภาคย์หลากหลายพรรณ
วนิดามาด้วยกัน จะอ้อนพี่ชี้ชมเชย
เห่ชมนก
โคลง
รอนรอนสุริยโอ้ อัสดง
เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว
รอนรอนจิตจำนง นุชพี่ เพียงแม่
เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว
กาพย์
เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ
สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตาตรู
เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
เห็นฝูงยูงรำฟ้อน คิดบังอรร่อนรำกราย
สร้อยทองย่องเยื้องชาย เหมือนสายสวาทนาดนวยจร
สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร
แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ
นางนวลนวลน่ารัก ไม่นวลพักตร์เหมือนทรามสงวน
แก้วพี่นี้สุดนวล ดั่งนางฟ้าหน้าใยยอง
นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
เหมือนพี่นี้ประคอง รับขวัญน้องต้องมือเบา
ไก่ฟ้ามาตัวเดียว เดินท่องเที่ยวเลี้ยวเหลี่ยมเขา
เหมือนพรากจากนงเยาว์ เปล่าใจเปลี่ยวเหลียวหานาง
แขกเต้าเคล้าคู่เคียง เรียงจับไม้ไซ้ปีกหาง
เรียมคะนึงถึงเอวบาง เคยแนบข้างร้างแรมนาน
ดุเหว่าเจ่าจับร้อง สนั่นก้องซ้องเสียงหวาน
ไพเราะเพราะกังวาน ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย
โนรีสีปานชาด เหมือนช่างฉลาดวามแต้มลาย
ไม่เท่าเจ้าโฉมฉาย ห่มตาดพรายกรายกรมา
สัตวาน่าเอ็นดู คอยหาคู่อยู่เอกา
เหมือนพี่ที่จากมา ครวญหาเจ้าเศร้าเสียใจ
ปักษีมีหลายพรรณ บ้างชมกันขันเพรียกไพร
ยิ่งฟังวังเวงใจ ล้วนหลายหลากมากภาษา
เห่ ครวญ
โคลง
เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงใด
เสียงนุชพี่ฤๅใคร ใคร่รู้
เสียงสรวลเสียงทรามวัย นุชพี่ มาแม่
เสียงบังอรสมรผู้ อื่นนั้นฤๅมี
กาพย์
เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงแก้วพี่หรือเสียงใคร
เสียงสรวลเสียงทรามวัย สุดสายใจพี่ตามมา
ลมชวยรวยกลิ่นน้อง หอมเรื่อยต้องคลองนาสา
เคลือบเคล้นเห็นคล้ายมา เหลียวหาเจ้าเปล่าวังเวง
ยามสองฆ้องยามย่ำ ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
เสียงปี่มี่ครวญเครง เหมือนเรียมคร่ำร่ำครวญนาน
ล่วงสามยามปลายแล้ว จนไก่แก้วแว่วขันขาน
ม่อยหลับกลับบันดาล ฝันเห็นน้องต้องติดตา
เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา
อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล
เวรามาทันแล้ว จึงจำแคล้วแก้วโกมล
ให้แค้นแสนสุดทน ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย
งามทรงวงดั่งวาด งามมารยาทนาดกรกราย
งานพริ้มยิ้มแย้มพราย งามคำหวานลานใจถวิล
แต่เช้าเท่าถึงเย็น กล้ำกลืนเข็ญเป็นอาจิณ
ชายใดในแผ่นดิน ไม่เหมือนพี่ที่ตรอมใจ
โคลง
เรียมทนทุกข์แต่เช้า ถึงเย็น
มาสู่สุขคืนเข็ญ หม่นไหม้
ชายใดจากสมรเป็น ทุกข์เท่า เรียมเลย
จากคู่วันเดียวได้ ทุกข์ปิ้มปานปี
.....................
๓. กาพย์เห่เรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในงานเอเปค
๒๕๔๖ ประพันธ์โดย นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
บทที่ ๑
ชมเรือ
ลอยลำงามสง่าแม้น มณีสวรรค์
หยาดโพยมเพียงหยัน ยั่วฟ้า
สายชลชุ่มฉ่ำฉัน เฉกทิพย์ ธารฤา
ไหลหลั่งโลมแหล่งหล้า หล่อเลี้ยงแรงเกษม
เรือเอยเรือพระที่นั่ง พิศสะพั่งกลางสายชล
ลอยลำงามสง่ายล หยาดจากฟ้ามาโลมดิน
สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
โอดโฉมโสมโสภิน ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
นารายณ์ทรงสุบรรณ ดังเทพสรรเสกงามสม
ปีกป้องล่องลอยลม ดุจเลื่อนฟ้ามาล่องลอย
กระบี่ศรีสง่า งามท่วงท่าไม่ท้อถอย
เรือครุฑไม่หยุดคอย ยุดนาคคล้อยลอยเมฆินทร์
อสุรวายุภักษ์ ศักดิ์ศรีคู่อสุรปักษิน
พายยกเพียงนกบิน ผินสู่ฟ้าร่าเริงบน
เรือแซงแข่งเรือดั้ง พร้อมสะพรั่งกลางสายชล
เรือชัยไฉไลล้น ยลเรือกิ่งพริ้งเพราตา
ยักษ์ลิงกลิ้งกลอกกาย แลลวดลายล้วนเลขา
รูปสัตว์หยัดกายา พาโผนเผ่นเป็นทิวธาร
นาวาสถาปัตย์ เชิงช่างชัดเชี่ยวชาญฉาน
ท่อนไม้ไร้วิญญาณ ท่านเสกสร้างเหมือนอย่างเป็น
ฝีมือลือสามโลก ดับทุกข์โศกคลายเคืองเข็ญ
ยิ่งยลยิ่งเยือกเย็น เห็นสายศิลป์วิญญาณไทย
เจ้าเอยเจ้าพระยา ถั่งธารามานานไกล
เอิบอาบกำซาบใจ หล่อเลี้ยงไทยแผ่นดินทอง
รวงทองเหลืองท้องทุ่ง แดดทอรุ้งเหนือเขื่อนคลอง
ข้าวปลามาเนืองนอง เรือขึ้นล่องล้วนเริงแรง
วัดวาทุกอาวาส พุทธศาสน์ธรรมทอแสง
น้ำใจจึงไหลแรง ไม่เคยแล้งจากใจไทย
เกลียดใครไม่นานวัน แต่แรกนั้นนานกว่าใคร
เจ้าพระยาหยาดยาใจ คือสายใยหยาดจากทรวง
เห่เอยเห่เรือสวรรค์ เพลงคนธรรพ์ลั่นลือสรวง
ฝากหาวเดือนดาวดวง อย่าลับล่วงอยู่นิรันดร์เทอญ.
บทที่ ๒
ชมเมือง
สยามเอยอุโฆษครื้น คุณขจร
สุขสถิตสถาพร ผ่านฟ้า
ไตรรงค์ลิ่วลมสลอน อวดโลก
ตราบเมื่อนี้เมื่อหน้า เมื่อโน้นนิรันดร์เกษม
สยามเอย สยามรัฐ งามร่มฉัตรทัดเทียมโพยม
กิตติศัพ์ขับประโคม โคมครืนครั่นลั่นหน้าคง
สุโขทัยไกลสุด ถึงอยุธยายง
ธนบุรีลอยฟ้าลง ทรงศักดิ์ฟื้นคืนคุณขจร
รัตนโกสินทร์ศิลป์ สืบระบิลอันบวร
แม่นแม้นแดนอมร ถอนจากฟ้ามาเมืองดิน
เจ้าเอย เจ้าพระยา ถั่งธารามาเรื่อยริน
ทวยไทยได้อาบกิน ลินลาศลุ่มขุมกำลัง
งามเอย งามระยับ แวววาววับวัดเวียงวัง
ย่ำค่ำย่ำระฆัง วังเวงหวานซ่านซึ้งเสียง
เจดีย์ศรีสูงเหยียด เสียดยอดท้าฟ้ารายเรียง
ปรางค์ยอดทอดเงาเคียง เลี้ยงตาเมืองเรื้องเรืองรมย์
พืชพันธุ์ธัญญาผล เลี้ยงชีพชนดลอุดม
นาสวนชวนชื่นชม ร่มรื่นไม้ไพรพฤกษ์มี
รอยยิ้มพิมพ์ใจสวย ชนรุ่มรวยด้วยไมตรี
เสน่ห์ประเพณี ศรีสง่ามานิรันดร์
น้ำใจไม่เคยจืด อยู่ยาวยืดยิ้มยืนยัน
ต่างเพศต่างผิวพรรณ แต่ใจนั้นไม่ต่างใจ
แขกบ้านแขกเมืองมา ไทยทั่วหน้าพาสดใส
ท่านมาจากฟ้าไกล อยู่เมืองไทยไร้กังวล
เทคโนอาจน้อยหน้า แต่ข้าวปลาไม่ขัดสน
สินทรัพย์อาจอับจน แต่ใจคนไม่จนใจ
บ้านเรือนไม่หรูหรา แต่สูงค่าปัญญาไทย
หนทางอาจห่างไกล แต่หัวใจใกล้ชิดกัน
ศาสนาสถาพร ประชากรเกษมสันต์
ร่มธรรมฉ่ำชีวัน ฟั้นฝึกใจใฝ่ความดี
ราชันขวัญสยาม ปิ่นเพชรงามปักธานี
ร่มพระบารมี ศรีไผทฉัตรชัยชน
ไตรรงค์ธงชัยโชค ลอยอวดโลกโบกลมบน
ขวัญฟ้าขวัญตายล ล้นเลิศหล้าศักดิ์ศรีสยาม
เมื่อนี้ตราบเมื่อหน้า คงคู่หล้ากล้าเกียรติงาม
ใครบุกรุกเขตคาม ตามหาญหักรักษ์แผ่นดิน
ฟ้าเอย ฟ้าสยาม งามกว่าฟ้าทุกธานินทร์
เพลงสยามทุกยามยิน วิญญาณปลื้มดื่มด่ำเอย.
http://golfroses.spaces.live.com/blog/cns!DFF90E439FD8A19F!474.entry
http://www.st.ac.th/bhatips/chan_poem.html
http://www.thaiwashington.org/node/185
http://www.konmun.com/Article/id5221.aspx
...........
คนกุลา (เรียบเรียง)
ในเหมันต์
ปล.รวบรวมและเรียบเรียง เพราะอยากทบทวนความรู้ในเรื่องนี้นะครับ