31 ธันวาคม 2552 22:27 น.
คนกุลา
วสันตดิลก แปลว่า รอยแต้มที่กลีบเมฆในใบไม้ผลิ (ไทย
หมายถึงฤดูฝน) อันน่าจะหมายถึง ฉันท์อันมีลีลาว่าฤดูฝนได้เริ่มต้น
แล้ว
ฉันท์นี้มักใช้บรรยายหรือพรรณนาความ ๒ แบบ คือ
๑. ใช้ชมธรรมชาติ ชมความงามของสถานที่ เช่น บ้านเมือง
ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกซาบซึ้งตรึงใจในภาพลักษณ์อันงดงามที่กวี ได้
พรรณนาออกมา
๒. ใช้แต่งพรรณนาความเพื่อให้เห็นภาพลักษณ์อย่างเด่นชัด เช่น
อารมณ์รัก อารมณ์ เศร้าโศก เสียใจ รำพึงรำพันถึงความหลัง เป็นต้น
ลักษณะทางฉันทลักษณ์
คณะและพยางค์
๑.ฉันท์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคต้นมี ๘ คำ
วรรคท้ายมี ๖ คำรวมทั้งบาทมี ๑๔ คำ จึงได้ชื่อว่าวสันตดิลกฉันท์ ๑๔
๒.สัมผัสบังคับดูได้จากแผนผัง ที่แสดงการสัมผัส และจากตัวอย่างคำ
ที่ สัมผัสกันใช้เครื่องหมาย (๐)-(๐) และ ((๐))-((๐))
โดยมีรายละเอียดดังนี้
สัมผัสภายในบท
คู่ที่ ๑. คำสุดท้าย ของวรรคที่ หนึ่ง สัมผัสกับคำที่ สาม ของ
วรรคที่ สอง แทน ด้วย (ค)-(ค)
คู่ที่ ๒. คำสุดท้าย ของวรรคที่ สอง สัมผัสกับคำที่ สุดท้าย ของวรรคที่
สาม แทนด้วย ((ค))-((ค))
สัมผัสระหว่างบท
มีการบังคับสัมผัส ระหว่าง คำสุดท้ายของบท จะไปสัมผัส
กับ คำสุดท้าย ของวรรคที่ สอง ของฉันท์ ในบทถัดไป แทนด้วย
(((ค)))-(((ค)))
คำครุ ลหุ บังคับ ครุ และลหุ ตามที่เขียนไว้ในแผนผัง
แผนผัง วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
ค ค ล ค ล ล ล(ค) ล ล (ค)ล ค ((ค))
ค ค ล ค ล ล ล((ค)) ล ล ค ล ค (((ค)))
ค ค ล ค ล ล ล ค ล ล ค ล ค (((ค)))
ค หมายถึง คำครุ
ล หมายถึง คำลหุ
ตัวอย่าง ที่.๑
เชิญเรียนและตั้งกมลเพียร เถอะนะเรียนจะเห็นผล
ใฝ่หาวิชาจะชนะตน บมิต่ำถลำตัว
เปรื่องปราชญ์ฉลาดนรขยาด จะประมาทก็เกรงกลัว
ก่อเกียรติศักดิ์สินะจะมัว เงอะงะโง่จะดีหรือ
ชาติไทยไฉนจะละอุสา- หะมิกล้าจะฝึกปรือ
ปราศวิทย์เพราะปราศวิริยะคือ ติณแห้งพินิจเห็น
เกิดมาก็มีสริระพร้อม ฤจะยอมจะยากเย็น
ทุกวันเถอะเพียรพิริยะเพ็ญ นิจกาลก็ชินเคย
บางคนสิท้อเพราะดนุโง่ อะพิโธ่พิถังเอ๋ย
ปล่อยใจไถลเละเทะเลอะเลย ก็ประสบวิบัติพลัน
ตัวอย่าง ที่.๒
สามยอดตลาดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย
รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศะสุขอร่ามใส
กาญจน์แกมมณีกนกะไพ ฑุริย์พร่างพะแพรวพราย
บานบัฏพระบัญชระสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย
เพดาลก็ดารกะประกาย ระกะดาดประดิษฐ์ดี
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ - ชิต บุรทัต
............
แหล่งอ้างอิง
http://guru.sanook.com/enc_photo.php?pic
http://www.kruwallapa.com/unit4/unit40104.html
www.prakan.ac.th/Link-Data/e-learning-51/orapin-3.ppt
http://www.st.ac.th/bhatips/chan_poem.html
...........
คนกุลา (เรียบเรียง)
ในเหมันต์
31 ธันวาคม 2552 21:24 น.
คนกุลา
วิชชุมมาลา แปลว่า ระเบียบสายฟ้า วิชชุมมาลาฉันท์ จึงหมายถึง "
ฉันท์ที่มีลีลาอย่างสายฟ้าแลบ"
คณะและพยางค์ ในฉันท์บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรควรรคละ ๔
คำ ๒ วรรคเป็น ๘ คำ จึงเขียน ๘ หลังชื่อวิชชุมมาลาฉันท์
วิชชุมมาลาฉันท์นี้คล้ายกาพย์สุรางคนางค์เพียงแต่เพิ่มวรรคต้นขึ้นอีก ๑
วรรคเท่านั้น รวมทั้งบทมี ๔ บาท ๘ วรรค ส่วนกาพย์สุรางคนางค์มีเพียง
๗ วรรค
สัมผัส สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตามเส้นโยงสัมผัส และจากตัวอย่างคำที่
สัมผัสกันใช้วงกลมสีเข้ม
คำครุ คำลหุ บังคับครุ ล้วนทุกวรรค
วิชชุมมาลา แปลว่า ระเบียบสายฟ้า หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างสายฟ้า
แลบ
คณะและพยางค์
ฉันท์บทหนึ่งมี 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ 2 วรรคเป็น
8 คำ จึงเขียน 8 หลังชื่อวิชชุมมาลาฉันท์
วิชชุมมาลาฉันท์นี้คล้ายกาพย์สุรางคนางค์เพียงแต่เพิ่มวรรคต้นขึ้นอีก 1
วรรคเท่านั้น รวมทั้งบทมี 4 บาท 8 วรรค ส่วนกาพย์สุรางคนางค์มี
เพียง 7 วรรค
สัมผัส สัมผัสบังคับดูได้จากแผนการแสดงการสัมผัส และจากตัวอย่าง
คำที่ สัมผัสกันใช้เครื่องหมาย (๐)-(๐) และ ((๐))-((๐))
โดยมีรายละเอียดดังนี้
สัมผัสภายในบท
คู่ที่ ๑. คำสุดท้าย ของวรรคที่ หนึ่ง สัมผัสกับคำที่ สอง ของ
วรรคที่ สอง แทน ด้วย (ค)-(ค)
คู่ที่ ๒. คำสุดท้าย ของวรรคที่ สอง สัมผัสกับคำที่ สุดท้าย ของวรรคที่
สาม แทนด้วย ((ค))-((ค))
คู่ที่ ๓. คำสุดท้าย ของวรรคที่ สี่ สัมผัสกับคำที่ สุดท้าย ของวรรคที่ หก
แทนด้วย (((ค)))-(((ค)))
คู่ที่ ๔. คำสุดท้าย ของวรรคที่ ห้า สัมผัสกับคำที่ สอง ของวรรคที่ หก
แทนด้วย (ค๒)-(ค๒)
คู่ที่ ๓. คำสุดท้าย ของวรรคที่ หก สัมผัสกับคำที่ สุดท้าย ของวรรค
ที่ เจ็ด แทนด้วย (((ค)))-(((ค)))
สัมผัสระหว่างบท
มีการบังคับ ระหว่าง คำสุดท้ายของบท (วรรคที่ ๘) จะไปสัมผัส
กับ คำสุดท้าย ของวรรคที่ สี่ ของฉันท์ ในบทถัดไป แทนด้วย
((((ค))))-((((ค))))
คำครุ คำลหุ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ บังคับใช้คำครุล้วนทุกวรรค
แทนด้วย ค
แผนผัง วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
ค ค ค(ค) ค(ค)ค((ค))
ค ค ค((ค)) ค ค ค (((ค)))
ค ค ค(ค๒) ค(ค๒)ค(((ค)))
ค ค ค(((ค))) ค ค ค ((((ค ))))
ค ค ค ค ค ค ค ค
ค ค ค ค ค ค ค ((((ค))))
ค ค ค ค ค ค ค ค
ค ค ค ค ค ค ค ค
ตัวอย่าง
แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู้
หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่มี
หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี
นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป
ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง
กับหมู่ชาวเมือง ฉันท์อัชฌาสัย
เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ
จำเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน
เขาแสนสมเพช สังเกตอาการ
แห่งเอกอาจารย์ ท่าทีทุกข์ทน
ภายนอกบอกแผล แน่แท้ทุพพล
เห็นเหตุสมผล ให้พักอาศัย
............
แหล่งอ้างอิง
http://guru.sanook.com/enc_photo.php?pic
http://www.kruwallapa.com/unit4/unit40104.html
www.prakan.ac.th/Link-Data/e-learning-51/orapin-3.ppt
http://www.st.ac.th/bhatips/chan_poem.html
...........
คนกุลา (เรียบเรียง)
29 ธันวาคม 2552 16:33 น.
คนกุลา
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลา
อย่างเพชรของพระอินทร์ บางท่านก็บอกว่าหมายถึง "ฉันท์ที่มีลีลา
ดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มักใช้
เป็นบทชมธรรมชาติ หรือพรรณนาความเศร้าโศก
มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันเพียงที่ว่า
อินทรวิเชียรฉันท์นี้มีข้อบังคับ ครุและลหุ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑. คณะและพยางค์
ฉันท์บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทละ ๒ วรรควรรคต้นมี ๕ คำ วรรค
ท้ายมี ๖ คำ รวมบาทละ ๑๑ คำ จึงเขียน ๑๑ ไว้ท้ายชื่อฉันท์
๒. สัมผัส
สัมผัสระหว่างวรรค มีสัมผัส ๒ คู่ คือ
คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับ คำที่สามของวรรคหลัง แทน
ด้วย เครื่องหมาย (๐) ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
คำสุดท้ายของวรรคที่สอง สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สาม
แทนด้วยเครื่องหมาย ((๐)) ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
สัมผัสระหว่างบท มี ๑ คู่ คือ
คำสุดท้ายของแต่ละบท สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคที่สองของ
บทที่ตามมา แทนด้วยเครื่องหมาย (((๐))). ในแผนภาพโครงสร้างด้านล่าง
สัมผัสระหว่างวรรค
สรุปว่าใน ๑ บท มีสัมผัส ๒ คู่ สังเกตจากแผนผังและตัวอย่าง (คำ
สัมผัสในที่นี้คือสัมผัสสระ ) สัมผัสบังคับดูได้จากแผนตาม เครื่องหมาย
() หรือ(()) บอกสัมผัส
ส่วน คำครุ คำลหุ บังคับครุ ลหุ ตามที่เขียนไว้ในแผน และตาม
ตัวอย่าง
ค ค ล ค (ค) ล ล (ค)ล ค ((ค))
ค ค ล ค ((ค)) ล ล ค ล ค (((ค)))
ค ค ล ค (ค) ล ล (ค)ล ค (((ค)))
ค ค ล ค (((ค))) ล ล ค ล ค ค
ค เท่ากับ คำครุ
ล เท่ากับ คำลหุ
ตัวอย่างบทประพันธ์ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ธมฺโม หเว รกฺ- ขติ ธมฺมจารึ
ชนใดหทัยอิง สติยึดประพฤติธรรม
ซื่อสัตย์วิรัติชั่ว บมิกลั้ว ณ บาปกรรม
เว้นทิฏฐิสารัม ภกิเลสและโทษผยอง
พร้อมกายวจีจิตร สุจริตพินิจตรอง
ธรรมแลจะคุ้มครอง นรนั้นนิรันดร
ให้ปราศนิราศทุกข์ ประลุสุขสโมสร
หลักฐานสถาพร ธุระกอบก็เกิดผล
ธรรมแลจะแผ่กั้น และก็กันมิให้ตน
ตกต่ำถลำจน เจอะอบายวิบัติเขว
ฉตฺต มหนฺต วิย วสฺสกาเล
เหมือนเมื่อวสันต์เท ชลหลั่งถะถั่งสาย
ร่มใหญ่ผิกางกั้น จะประกันมิเปียกกาย
ธรรมดุจร่มหมาย เฉพาะธรรมจารี
เหตุนี้ประชาชาติ ละประมาทประพฤติดี
ยึดธรรมประจำชี วิตเถิดประเสริฐแล
(โดย วัลภา เทียนดำรง)
ตัวอย่างบทประพันธ์ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
แลหลังละลามโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย
ตัวอย่าง อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
๏ พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา
สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
๏ บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
๏ แลหลังละโลมโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย
๏ เนื่องนับอเนกแนว ระยะแถวตลอดลาย
เฆี่ยนครบสยบกาย สิรพับพะกับคา
(สามัคคีเภทคำฉันท์)
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ชื่อ เล็บนาง
๏ พี่บอกจะขอยล นฤมลนขาเชย
สั่นเทิ้มมิคุ้นเลย อุระไหวระส่ำกาย
๏ ลูบไล้ ณ นิ้วนวล กลชวนภิรมย์หมาย
สัมผัส มิเสียดาย ดรุณีสิลืมตน
๏ ล่วงกาลมินานนัก นขลักษณ์ก็ฝากผล
ชายชัง ก็ล่องหน นฤมลก็หมองมัว
๏ เล็บนาง ก็กางร่าย สติชายสะพรึงกลัว
เล็บนาง สะกิดทั่ว ปริรอยประทับตรา
(โดย หมูอ้วน)
หมายเหตุ:
ครุ คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก
ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
และสระเกินทั้ง ๔ คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา
และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น
ลหุ คือพยางค์ที่มีเสียงเบา
ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงสั้น (รัสสระ) ที่
ไม่มีตัวสะกด
............
แหล่งอ้างอิง
http://guru.sanook.com/enc_photo.php?pic
http://www.kruwallapa.com/unit4/unit40104.html
www.prakan.ac.th/Link-Data/e-learning-51/orapin-3.ppt
http://www.st.ac.th/bhatips/chan_poem.html
...........
คนกุลา (เรียบเรียง)
ในเหมันต์
29 ธันวาคม 2552 15:13 น.
คนกุลา
ฉันท์ เป็นคำประพันธ์ร้อยกรองลักษณะหนึ่งในภาษา
ไทย โดยแต่งกันเป็นคณะ มีการกำหนด ครุ และลหุ และสัมผัส กัน
อย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความไพเราะ ฉันท์ในภาษาไทยได้ถ่าย
แบบมาจากคำประพันธ์ของประเทศอินเดีย ตามตำราที่เขียนถึงวิธีแต่ง
ฉันท์ไว้ เรียกว่า "คัมภีร์วุตโตทัย" ซึ่งแต่เดิมฉันท์จะแต่งเป็นภาษา
บาลีและสันสกฤต ต่อมา เมื่อเผยแพร่ในประเทศไทย จึงเปลี่ยนแบบมา
แต่งเป็นภาษาไทย โดยเพิ่มเติมสัมผัสต่างๆ เข้ามา แต่ยังคงคณะ (
จำนวนคำ) และเปลี่ยนลักษณะ ครุ ลหุ แตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย
รวมทั้งได้เติมความไพเราะเพราะพริ้ง ในแบบของภาษาไทยลงไปให้
มากยิ่งขึ้น
การแต่งฉันท์
การแต่งฉันท์ ต้องบรรจุคำให้ครบ ตามจำนวนที่ระบุไว้
ตามฉันทลักษณ์ จะบรรจุคำให้เกินกว่ากำหนด เหมือนการแต่ง โคลง
กลอน และกาพย์ ไม่ได้ เว้นไว้แต่อักษรนำ อนุญาตให้เกินได้บ้าง แต่
ปัจจุบันนี้ ไม่ใคร่นิยมแล้ว คำใดที่กำหนดไว้ว่า เป็นครุและลหุ จะต้อง
เป็น ครุและลหุจริงๆ และเป็นได้ แต่เฉพาะตำแหน่ง ตรงที่บ่งไว้ เท่านั้น
จะใช้ครุและลหุ ผิดที่ไม่ได้ คำ บ ก็ดี คำที่ประสมด้วย สระอำ ในแม่ ก
กา ก็ดี เดิมทีสามารถใช้เป็น คำลหุได้ แต่ในปัจจุบัน คำที่ประสมด้วย
สระอำ ไม่ใคร่นิยมใช้ เพราะถือว่าเป็นเสียงที่มีตัวสะกดแฝงอยู่ด้วย
1. ฉันท์ชนิดต่างๆ ฉันท์มีหลายชนิด โดยจำแนกได้ดังนี้
1.1 ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
1.2 มาณวกฉันท์ ๘
1.3 มาลินีฉันท์ ๑๕
1.4 มหาประชาฤทธีฉันท์
1.5 วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
1.6 วังสัฏฐฉันท์ ๑๒
1.7 วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
1.8 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
1.9 สัทธราฉันท์ ๒๑
1.10 สาลินีฉันท์ ๑๑
1.11 สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘
1.12 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
1.13 อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒
1.14 อิทิสังฉันท์ ๒๐
1.15 อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
1.16 อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
การฝึกแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์
1.ศึกษาฉันทลักษณ์ของฉันท์
2.เลือกฉันท์ที่แต่งง่าย ครุ ลหุ ไม่ซับซ้อน - วิชชุมมาลาฉันท์
3.เลือกหัวข้อง่ายๆ เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา การสนทนา
4.ไม่ควรใช้คำยาก ใช้คำง่ายๆมาเรียงให้ได้จังหวะหนักเบา
5.เลือกฉันท์ให้เหมาะสมกับเนื้อความ โดยต้องเลือกให้เหมาะกับ
วัตถุประสงค์หรือเนื้อเรื่องที่จะเขียน เช่น
5.1.การแต่งบทไหว้ครู บทนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์
บทสรรเสริญพระเกียรติ บทที่มีความขลัง ควร
ใช้ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์หรือสัทธราฉันท์
5.2.บทพรรณนา บทชม คร่ำครวญ บทเล่าเรื่อง
บทชม คร่ำครวญ นิยมใช้ อินทรวิเชียรฉันท์
หรือวสันดิลกฉันท์
5.3.บทแสดงอารมณ์รุนแรง โกรธ ตื่นเต้น บท
แสดงอารมณ์รุนแรง เช่นโกรธ ตื่นเต้น วิตก
กังวล หรือบรรยายความในใจเกี่ยวกับความ
รักที่ต้องการให้เห็นอารมณ์สะเทือนใจอย่าง
มากนิยมใช้ อิทิสังฉันท์ ซึ่งเป็นฉันท์ที่สลับ
เสียงหนักเบา
5.4.บทร่าเริง สนุกสนาน ตื่นเต้น บทพรรณนา
โวหารหรือบรรยายข้อความที่น่าตื่นเต้น หรือ
เป็นที่ประทับใจ นิยมใช้ ภุชงคประยาตฉันท์
5.5.บทบรรยายเหตุการณ์รวดเร็ว สนุกสนาน บท
สนุกสนานขบขัน หรือคึกคักสับสน ให้
เหตการณ์บรรยายไปอย่างรวดเร็วจะนิยมใช้
โตฏกฉันท์ มาณวกฉันท์ จิตรปทาฉันท์
5.6.บทบรรยายความเป็นไปอย่างเรียบๆ บท
บรรยายความ นิยมใช้ อุเปนทรวิเชียรฉันท์
อินทวงสฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ หรือสาลินีฉันท์
5.7.บทบรรยายเรื่องสับสน มักนิยมใช้ มาลินีฉันท์
5.8 บทที่เน้นเสียงเป็นจังหวะทุกระยะ มักใช้ อีทิสัง
ฉันท์
6. ตัวอย่างฉันท์ที่มีการนิยมแต่งกันโดยทั่วๆไป ได้แก่
6.1 ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
มีความหมาย "งูเลื้อย" มีทำนองที่สละสลวย มักใช้แต่งกับเนื้อหาที่มี
การต่อสู้ บทสดุดี บทชมความงาม บทถวายพระพร และบทสนุกสนาน
นอกจากนั้นยังสามารถใช้แต่งบรรยายความให้รวดเร็วได้
ตัวอย่างคำประพันธ์
มนัสไทประณตไท้ นรินทร์ไทยมิท้อถอย
มิผูกรักมิภักดิ์บร มิพึ่งบารมีบุญ
ถล้นจ้วงทะลวงจ้ำ บุรุษนำอนงค์หนุน
บุรุษรุกอนงค์รุน ประจญร่วมประจัญบาน
อนงค์เพศมนัสพี- รชาติศรีทหารชาญ
มิได้ดาบก็คว้าขวาน มิได้หอกก็คว้าหลาว
จาก ฉันท์ยอเกียรตินครราชสีมา โดย พระยาอุปกิตศิลปสาร
6.2 มาณวกฉันท์ ๘ มาณวกฉันท์ ๘ มีความหมายว่า
"ประดุจเด็กหนุ่ม" จึงมักใช้แต่งบรรยายความที่รวดเร็ว
ตัวอย่างคำประพันธ์
เธอจรตาม พราหมณไป
โดยเฉพาะใน ห้องรหุฐาน
จึงพฤฒิถาม ความพิสดาร
ขอ ธ ประทาน โทษะและไข
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต
6.3 วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มี
ความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดังจอมเมฆในฤดูใบไม้ผลิ (ของไทย
หมายถึง ฤดูฝน)" เป็นหนึ่งในฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด เนื่องจาก
อ่านแล้วฟังได้รื่นหู รู้สึกซาบซึ้งจับใจ มักใช้แต่งชมความงาม และสดุดี
ความรักหรือของสูง
ตัวอย่างคำประพันธ์
สามยอดตลาดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย
รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศะสุขอร่ามใส
กาญจน์แกมมณีกนกะไพ ฑุริย์พร่างพะแพรวพราย
บานบัฏพระบัญชระสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย
เพดาลก็ดารกะประกาย ระกะดาดประดิษฐ์ดี
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต
6.4 วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ มี
ความหมายว่า "ระเบียบแห่งสายฟ้า" ประกอบด้วยครุล้วน จึงใช้
บรรยายความอย่างธรรมดา
ตัวอย่างคำประพันธ์
แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนห่างผู้
หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่มี
หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี
นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต
ุ6.5 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ มีความหมายว่า "เสือ
ผยอง" ใช้แต่งบทไหว้ครู บทโกรธ และบทยอพระเกียรติ
ตัวอย่างคำประพันธ์
พร้อมเบญจางคประดิษฐ์สฤษฎิสดุดี
กายจิตวจีไตร ทวาร
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต
6.6 สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ มีลักษณะการแต่งคล้าย
กับกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แต่ต่างกันที่มีข้อบังคับ ครุ ลหุ เพิ่มขึ้นมา ทำ
ให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับข้อความที่คึกคัก สนุกสนาน
โลดโผน ตื่นเต้น
ตัวอย่างคำประพันธ์
สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง
ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด
ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา
สิมากประมาณ
นิกายเสบียง ก็พอก็เพียง
พโลปการ และสัตถภัณ
ฑสรรพภาร จะยุทธราญ
กะเรียกระดม
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ โดย ชิต บุรทัต
6.7 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ มี
ความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่
นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11
แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์นี้มีข้อบังคับ ครุและลหุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
ยลเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
แลหลังละลามโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย
จาก สามัคคีเภทคำฉันท์ - ชิต บุรทัต
6.8 อิทิสังฉันท์ ๒๐ อีทิสังฉันท์ ๒๐ เป็นฉันท์ที่มี
จังหวัดกระแทกกระทั้น ฉะนั้นจึงใช้แต่งบรรยายความรัก ความวิตก
และความโกรธ
ตัวอย่างคำประพันธ์
อ้าอรุณแอร่มระเรื่อรุจี
ประดุจมโนภิรมย์ระตี ณ แรกรัก
แสงอรุณวิโรจน์นภาประจักษ์
แฉล้มเฉลาและโศภินัก ณ ฉันใด
หญิงและชาย ณ ยามระตีอุทัย
สว่าง ณ กลางกมลละไม ก็ฉันนั้น
จาก มัทนะพาธา ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
6.9 อุปชาติฉันท์ หมายถึง ฉันท์ที่แต่งประสมกันระ
หว่างอุเปนทรวิเชียรฉันท์กับอินทรวิเชียรฉันท์ ในการแต่งจึงต้องอย่าง
น้อยสองบท เพราะกำหนดให้บาทที่หนึ่งของบทแรก กับบทที่สองเป็นอุ
เปนทรวิเชียร และให้บาทที่สองของบทแรกกับบทที่สองเป็นอินทร
วิเชียรฉันท์
สำหรับรายละเอียด ฉันทลักษณ์ และแผนผังโครงสร้าง
ของฉันท์ ชนิดที่นิยมแต่งกันโดยทั่วไป ผมจะทยอย ค้นคว้ามาเรียบเรียง
ลงกระทู้ ต่อๆไป ตามกำลังและเวลาที่มี นะครับ
...........
แหล่งอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/watc haree-w/matana/chan4.htm
http://www.st.ac.th/bhatips/
.............
คนกุลา(เรียบเรียง)
ในเหมันต์
............
หมายเหตุ: ผมเรียบเรียงเรื่องฉันท์ ขึ้น เพราะตนเองไม่มีความรู้ใน
เรื่องนี้ หลังจากไปค้นคว้า หาอ่านดู พบว่าน่าสนใจมาก จึงเรียบเรียง
เขียนขึ้น เผื่อว่าจะมีประโยชน์ กับท่านอื่นๆที่สนใจเรื่องนี้ สำหรับค้น
คว้าและช่วยกันเขียนคำประพันธ์ ประเภทนี้ให้มากขึ้นนะครับ
23 ธันวาคม 2552 18:21 น.
คนกุลา
กาพย์สุรางคนางค์ จัดเป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ที่มีลักษณะ
เฉพาะของตนเอง ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียด ต่อไป
กาพย์สุรางคนางค์นี้ ใน หนังสือจินดามณี เรียกว่า สุราง
คณาปทุมฉันท์กลอน ๔
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ นี้ เป็นกาพย์ที่มีเค้ามาจาก กาพย์กากคติ
ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินี และมาจากกาพย์ทัณฑิกา ในกาพย์คันถะ
และยังมีผู้รู้บางท่านมีความเชื่อมั่นว่า มาจาก ฉันท์ชื่อวิสาลวิกฉันท์
ซึ่งมีที่มาจากคำบาลี ที่ขึ้นต้นด้วยบทว่า
สุราคณา สุโสภณา รปิรโก
สมานสิ ภวนฺทโน สเรนโก รตฺตินฺทิวา
ฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นลักษณะข้อบังคับในการแต่งกาพย์สุรางคนางค์(๒๘)
มีดังนี้
๑. คณะ
คณะของกาพย์สุรางคนางค์มีดังนี้
กาพย์หนึ่งบท มี ๒ บาท บาทแรกมี ๓ วรรค บาทที่สอง มี ๔
วรรค รวมเป็น ๗ วรรค วรรคหนึ่ง มี ๔ คำ ในหนึ่งบท ถ้านับคำได้
เป็น ๒๘ คำ ด้วยเหตุนี้ จึงเรียก กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ (คล้ายกับ
กลอนสี่ที่ไม่มีวรรคที่หนึ่ง) กาพย์สุรางคนางค์สามารถเรียงตาม
แผนได้ดังนี้
๐ ๐ ๐ ก ๐ ๐ ๐ ก ๐ ๐ ๐ ข
๐ ๐ ๐ ค ค หรือ ค ๐ ข ๐ ๐ ๐ ข ๐ ๐ ๐ ง
๐ ๐ ๐ จ ๐ ๐ ๐ จ ๐ ๐ ๐ ง
๐ ๐ ๐ ฉ ฉ หรือ ฉ ๐ ง ๐ ๐ ๐ ง ๐ ๐ ๐ ๐
๒.สัมผัส มีหลักดังนี้เกี่ยวกับสัมผัสของกาพย์สุรางคนางค์ ทั้งนี้
โดย พิจารณาตามแผนผังด้านบน และตัวอย่างบทประพันธ์ ที่ ๑.
ด้านล่างดังนี้
ก. สัมผัสนอก (บังคับ) โปรดสังเกตสัมผัสในบทที่ ๑
๑) ในบทที่ ๑ คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของ
วรรคที่ ๒ (ใช้แทนด้วย อักษร ก.)(นางค์-วาง)
๒) คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๕ (
ใช้แทนด้วยอักษร ข.)(ธี-สี่)
๓) คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือคำที่ ๒ ของ
วรรคที่ ๕ (ใช้แทนด้วยอักษร ค.)(หลัก-วรรค)
๔) คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๕ สัมผัสกบคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๖ (
ใช้แทนด้วยอักษร ข.)(สี่-มี)ซึ่งเป็นสัมผัส ที่ส่งมาจาก ข้อ ๒.
๕) คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๗ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของวรรคที่ ๓ ใน
บทที่ ๒ (ใช้แทนด้วยอักษร ง.)(จำ-ขำ)
ถ้าแต่งต่อไปอีกกี่บทก็ตาม ให้ถือหลักการสัมผัสอย่างนี้ไปจน
จบเนื้อความตามต้องการ ดังแผนผังการสัมผัส ดังที่ได้กล่าวไป
ข. สัมผัสใน (ไม่บังคับ) โปรดสังเกตคำสัมผัสสระในบทที่ ๒
ของบทประพันธ์ ตัวอย่างที่ ๑.ด้านล่าง
๖) สัมผัสในชนิดสัมผัสสระ ในบทที่ ๒ได้แก่ สม-คม (
วรรคที่ ๓) นึก-ตรึก (วรรคที่ ๔) เพราะ-เสนาะ (วรรคที่ ๗)
๗) สัมผัสในชนิดสัมผัสอักษร ในบทที่ ๒ ได้แก่ แต่ง-ตัว (
วรรคที่ ๒) คม-ขำ (วรรคที่ ๓) ตรึก-ตรา (วรรที่ ๔) สอด-
เสียง-สูง(วรรคที่ ๖)
ตัวอย่างคำประพันธ์ ที่ ๑.
๏ สุรางคนางค์
เจ็ดวรรคจัดวาง ให้เห็นวิธี
สัมผัสมีหลัก คำวรรคละสี่
ยี่สิบแปดมี ครบบทจดจำ
๏ สุรางคนางค์
แต่งเป็นตัวอย่าง เหมาะสมคมขำ
คิดนึกตรึกตรา เลือกหาถ้อยคำ
สอดเสียงสูงต่ำ ฟังเพราะเสนาะแล
ตัวอย่างคำประพันธ์ ที่ ๒.
๏ สุรางคนางคนางค์ เจ็ดวรรคจัดวาง ให้ถูกวิธี
วรรคหนึ่งสี่คำ จงจำให้ดี บทหนึ่งจึงมี ยี่สิบแปดคำ
๏ หากแต่งต่อไป สัมผัสตรงไหน จงให้แม่นยำ
คำท้ายวรรคสาม ติดตามประจำ สัมผัสกับคำ ท้ายบทต้นแล
ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ ๓
๏ กราบครูอาจารย์ ที่ได้สืบสาน ร้อยกรองของไทย
ศิษย์มาสานต่อ ขอกำลังใจ ICT สื่อใหม่ ได้สัมฤทธิ์ผล
๏ เด็กเรียนเด็กรู้ เมื่อได้ฝึกดู แต่งได้บัดดล
เทคโนโลยี ที่ได้คิดค้น ขอเด็กทุกคน ตั้งใจใฝ่เรียน
ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ ๔
๏ ขอเชิญเด็กไทย นึกถึงต้นไม้ ในด้านคุณค่า
ปลูกเพื่อประดับ ตกแต่งเคหา กันแสงสุริยา ด้วยเงาร่มเย็น
๏ ปลูกเพื่อใช้ไม้ ใช้ฟืนก็ได้ หุงต้มจำเป็น
เพื่อได้ไม้ขาย กั้นเขตให้เห็น ป้องกันลำเค็ญ ขโมยลักของ
๏ บ้างปลูกกันลม กันดินล่มจม ก็สมใจปอง
รากยึดเหนี่ยวดิน ถิ่นน้ำลำคลอง มิให้ลอยล่อง ตามน้ำเซาะพัง
ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ ๕
๏ เดินดงพงไพร เยือกเย็นเป็นใจ ที่ใดเปรียบปาน
เสียงไก่ก้องป่า ขันลาวันวาน เสียงนกร้องขาน สำราญหัวใจ
๏ เสียงเขียดเสียงกบ เสียงดังฟังครบ บรรจบขานไข
นกยูงกระยาง เดินย่างไวไว ดูสวยสดใส ยวนใจผู้คน
๏ เห็นกวางย่างเดิน มองดูเพลิดเพลิน จำเริญกมล
กระแตไต่ไม้ เพื่อได้กินผล ทุกตัวทุกตน บนต้นไม้งาม
๏ เถาวัลย์พันต้น ใบไม้คลุมบน เขียวมากหลากหลาม
บางพุ่มคลุมปก ร่มรกรุ่มร่าม แต่ดูสวยงาม ไปตามดงไพร
๏ ยังมีน้ำตก ยั่วยวนเย้านก เสียงดังหลั่งไหล
กระทบภูผา ไหลมาดูใจ ไม่เลือกหน้าใคร เย็นสุขทุกคน
๏ เย็นน้ำสามเขา ไม่สู้ใจเรา เย็นทุกแห่งหน
จะอยู่ที่ไหน หัวใจสุขล้น ให้ทุกผู้คน สุขล้นทั่วกัน
๏ น้ำตกไหลเย็น กระทบหินเห็น มองดูสุขสันต์
น้ำตกทบหิน ไม่สิ้นชีวัน เพราะสิ่งสร้างสรรค์ หินมันแข็งแรง
๏ ส่วนคนเดินดิน ทำใจเหมือนหิน อดทนเข้มแข็ง
โลกธรรมกระทบ ตะลบตะแลง จิตไม่แสดง โต้ตอบอารมณ์
๏ ให้เย็นเหมือนน้ำ หินเปรียบเทียบความ ช่างงามเหมาะสม
หินไม่หวั่นไหว น้ำไม่ชื่นชม กระทบเหมือนลม ผ่านมาผ่านไป
๏ ทั้งน้ำทั้งหิน ไม่มีราคิน กระทบแล้วไหล
เปรียบดังอารมณ์ เหมาะสมภายใน ไหลมาแล้วไป ทำใจเป็นกลาง
๏ คนเราเกิดมา ไม่เร็วก็ช้า ต้องมาละวาง
ทิ้งทรัพย์สมบัติ เซซัดหนทาง นอนตายกายห่าง ทุกร่างทุกคน
๏ จงดูโลกนี้ พิเคราะห์ให้ดี มีแต่สับสน
กิเลสตัณหา ชักพาฝูงชน ให้หลงลืมตน เกลือกกลั้วโลกีย์
๏ เดินเที่ยวในป่า อารมณ์ชมมา สุขาวดี
ลืมทุกข์โศกเศร้า เคยร้าวราคี มาจบลงที่ กลางดงพงไพร
๏ สุขสันต์ทั่วหน้า เมื่อได้ชมป่า จิตใจสดใส
เสียงนกนางร้อง ดังก้องพงไพร ส่งเสียงใกล้ไกล ให้ใจเพลิดเพลิน
๏ ร่มเย็นเห็นไม้ ทุกคนที่ได้ เหมือนนกเหาะเหิน
บินหาลูกไม้ กินได้ให้เพลิน พบหนทางเดิน ไม่เกินดงไพร
๏ เป็นสุขจริงจริง ทั้งชายและหญิง ยิ่งเดินป่าไป
ชมธรรมชาติ สะอาดหมดภัย ทุกหนแห่งไหน ให้ใจสุขเอย.
ผมเองไม่เคยเขียนกาพย์ สุรางคนางค์ ๒๘ ด้วยตัวเองมาก่อน
เคยก็แต่อ่านผ่านตา แต่ก็ไม่มีความรู้ ว่าเป็นบทประพันธ์ ชนิดอะไร
ที่ค้นคว้ามาเขียน คราวนี้ก็เพราะอยากเรียน อยากรู้ ผิดพลาดประการ
ใด ท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ แต่เมื่อพอรู้แล้วก็ทำให้รู้สึกอยากเขียน
หวังว่าในโอกาส ต่อๆไปผมคงจะได้แต่งบทประพันธ์ ชนิดนี้กับเขาบ้าง
นะครับ
..........................
ขอบพระคุณท่าน ผู้เขียน ทุกท่าน ในเว็ป อ้างอิง ต่อไปนี้นะครับ
http://gotoknow.org/blog/phetroong/137940
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.radompon.com/resourcecenter/?q=node/36
http://www.st.ac.th/bhatips/
http://www.kusolsuksa.com/webboard/index.php?topic=451.0
http://guru.sanook.com/search
http://www.kroobannok.com/16412
.....................
คนกุลา
ในเหมันต์