3 กุมภาพันธ์ 2553 16:02 น.

..สงคราม รบฆ่ากัน...นั้นแฝงไว้ซึ่งสิ่งนี้....เชิญทัศนา

กิ่งโศก

13-1.gif
วันนี้..อยากนำบทเพลง ที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ..ในชื่อหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ผู้ประพันธ์ เขียนนวนิยายแนวจินตนิยม ของท่านด้วยวัยเพียง สิบหก ปี...กับสามารถสร้างชื่อเสียงให้ท่านโลดแล่นอยู่ในบรรณาภิภพ..
..พนมเทียน...นามปากกา นี้ ที่เขียนนวนิยาย..ผจญภัย เช่นพระอุมา..จนข้าพเจ้าติดงอมแงม..รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ แนว ชมภูทวีป..เช่นศิวาราตรี  ปฐพีเพลิง..และ จุฬาตรีคูณ..
  กิ่งโศก มีหนังสือ ของ คุณลุงพนมเทียน เกือบครบทุกเรื่อง หุหุ...
23-1.gif
..เอา ละ เกริ่นกันมาพอสมควร..เข้าสู่บทเพลง..ในเรื่อง จุฬาตรีคูณ..มีอยู่ประมาณ 5 เพลง ช่วงนั้น ..ที่ติดหู มากๆ 
ใต้ร่มมลุลี.. จุฬาตรีคูณ..เจ้าไม่มีศาล..อ้อมกอดพี่..ปองใจรัก
...ขอหยิบ..จุฬาตรีคูณ..มาเล่าก่อน ..มาดูเนื้อร้อง..ที่ครูแก้ว และครูเอื้อ ร่วมกันเสกสรร..จากเนื้อหา ของคุณลุงพนมเทียน ที่..เชิงภาษาศาสตร์ ผมว่าท่านก็เอกอุ..ท่านหนึ่งเลยแหละ..
16-1.gifct1.jpg


เพลง จุฬาตรีคูณ
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล เอื้อ สุนทรสนาน
ผู้ขับร้องคนแรก มัณฑนา โมรากุล

ข้าแต่คงคา จุฬาตรีคูณ
ดวงใจข้าอาดูร หนักเอย
ความงามวิไล ข้ามิได้ปรารถนา
ข้าชังหนักหนา เจ้าเอย
เพราะชนนีข้าวิไล
จึงถูกสังเวยเสียในสายชล ด้วยรักเอย
จุฬาตรีคูณ ชนนีชีพสูญ
ในสายจุฬาตรีคูณ นี่เอย
ดารารายเลิศโสภา
ข้าไม่นำพา เพราะกลัวว่าจะถูกสังเวย
โปรดสาปสรร ขอให้โฉมอันน่าเชย
สิ้นสวยเลย ไร้ค่า
ให้ข้าน่าชัง สิ้นหวังชื่นชม
ขอให้ไร้ผู้นิยม นำพา
ขอให้สมใจ ในปรารถนา
นะจุฬาตรีคูณ เจ้าเอย
35-1.gif
..เรื่องนี้แม้นจบด้วย..แบบโศกสลด..แต่กินใจนักละครับ..บทเพลง แม้ผู้เขียน( คุณลุงพนมเทียน) ท่านอาจจะไม่ใคร่.ยินดีนัก แต่ผมว่าเพลงที่ติดหูคน ย่อมส่งถึงเนื้อหา ด้วย..อริยวรรษ...แล ..ดารารายพิลาศ..เกี่ยวพรรณกับเพลงนี้...ส่วนเพลงใต้ร่มมลุลี..นั้น เป็นบทรำพัน ของพระรอง และนางรอง..( ขัติยะราเชนทร์   กับ อภัสรา)  อิอิ
38-2.gif
....ที่มาเพลงนี้ ...

ก็คงสรุปง่าย ๆ ว่า บทเพลงนำมาจาก นวนิยาย เรื่อง จุฬาตรีคูณ..เล่มเล็กๆ ..ที่ครูแก้ว อัจฉะริยะกลุ  ผู้ประพันธ์เพลงมือทอง  และครูเอื้อ ที่เป็นเจ้าของวงดนตรีสมัยนั้น จัดทำรายละคร วิทยุ..เรื่อง จุฬาตรีคูณ..แล้ว หาเพลงประกอบละคร ด้วย..จึงทำให้..นำเรื่องราว ในเนื้อหา มาจับเป็นบทเพลงๆ ต่าง ๆ ตามที่คิดว่า เป็นช่วงสำคัญ ๆ และทำให้ ..เพลงเหล่านั้นกับดังเป็นพลุแตก เลย..
...ขอ ยก เกร็ด คำว่า จุฬาตรีคูณ..เพิ่มเติมสักนิดนะครับ....ณ..ดินแดนชมพูทวีป.. จุฬาตรีคูณ เป็นชื่อของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง เป็นที่ๆแม่น้ำสามสายไหลมาบรรจบรวมกัน มีความเชื่อกันว่า เมื่ออธิษฐานขอสิ่งใดจากจุฬาตรีคูณแล้วจะได้สมปรารถนาชื่อ "จุฬาตรีคูณ" เป็นชื่อของจุดศูนย์รวมของแม่น้ำ ยมุนา  คงคา รวมกับแม่น้ำอีกสายหนึ่งคือ แม่น้ำ สรัสวดี ที่มุดแผ่นดินมาโผล่ ณ ศูนย์รวมแม่น้ำนี้ กลายเป็นวังน้ำวน ที่เรียก ว่า จุฬาตรีคูณ..ฉะนี้แล
42-1.gif				
2 กุมภาพันธ์ 2553 13:19 น.

คนกล้าของไทย...เสียชีพ พึงรักษาสัตย์ยิ่งชีพ..นี่คือที่มาบทโศกเพลงนี้

กิ่งโศก

nn73.gif
.... น้ำตา...ฮึม.. ฮือๆ...อาบแก้ม...เสียงขับขาน เคล้าทำนองชวนโศกแผ่วนี้ กิ่งโศกเปิดเพลง  น้ำตาแสงใต้  ขับร้องโดย คุณชรินทร์ นันทนาคร...ฟังแล้วเยือกเย็น แกมเศร้า แลไพเราะ...ทำให้กิ่งโศกต้องย้อนภาพ เช่นละครที่เคยแสดงในทีวี
....ภาพ..ที่บังเกิดขึ้นในจินตนาการ ตามบทเพลง ..... สิน  หรือ นายท้ายเรือของสมเด็จพระเจ้าเสือ..นามพันท้ายนรสิงห์ ..ที่ทำให้การเสด็จทางชลมารค ต้องหยุดชงัก ..ณ. คลองโคกขาม..
..ภาพต่อมา..คือ สำแดงความเสียชีพอย่าเสียสัตย์ ตราไว้ให้บรรดา ลูกหลานไทยควรจดจำยิ่ง..ด้วยการยอมให้ถูกประหาร โดยการตัดคอ ..ตามกฏ..ในสมัยนั้น แม้นว่า เจ้าอยู่หัวของเจ้าสิงห์ จะ ให้ตัดหัวแบบจำลอง..แต่นายพันท้ายคนนี้กลับ.มิยินยอม...นี่คือ..ความเป็นคนไทยแท้ยิ่ง..
..ภาพที่ แม่ศรีนอน..ที่เข้ามาดู ณ..ลานประหาร ริมคลองโคกขามนั้น...น้ำตาแม่หลั่งไหลเป็นสาย..
แก้มแม่..ชุ่มไปด้วยหยาด ชลนัยน์...ยามต้องแสงสว่าง จากไฟ ที่จุดปัก ด้วยไต้ ...สะท้อน ใจ เจ้าสิน..ยิ่ง..
ลาก่อน ...ศรีนวล...ยอดดวงใจ..
nn23.gif
..วันนี้ขอมาในแนวเศร้า..มาดูเนื้อหา ของบทเพลง..ก่อนนะครับ
v-norasing.JPG
   
น้ำตาแสงไต้
นวลเจ้าพี่เอย
 คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถ้อยคำเหมือนจะชวน
 ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย
น้ำตาอาบแก้ม
เพียงแซมเพชรไสว
แวววับจับหัวใจ
เคล้าแสงไต้งามจับตา
นวลแสงเพชร
เกล็ดแก้วอันล้ำต่า
คราเมื่อแสงไฟส่องมา
วับวาวชวนชื่นชม
น้ำตาแสงไต้
ดื่มใจพี่ร้าวระบม
ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์
จำใจข่มใจไปจากนวล
li40.gif
...........................................................
..........กิ่งโศก หาที่มาของเพลง ที่แต่งมาจาก พงศวดารไทย..หรือเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย..ว่ากว่าจะได้เป็นเพลงนี้ ขึ้นมา....มาจาก..วงเหล้า ครับ  หุหุ...ตามมาครับทุกท่าน

 คุณบูรพา  อารัมภีร์ ...บุตรของครู สง่า อารัมภีร์..ได้ เล่าบันทึกเกี่ยวกับเพลงนี้
พ่อเล่าว่า ก่อนจะแต่งเพลง น้ำตาแสงไต้ ได้เมื่อปลายปีพ.ศ.๒๔๘๗นั้นได้เขียนเนื้อเพลงมาก่อนแล้ว ซึ่งเพลงแรกที่แต่งขึ้นในชีวิตก็คือ บัวงาม หรือ บุปผาไทย แต่งตอนที่น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปีพ.ศ.๒๔๘๕ เวลาผ่านมานานตอนนี้จำเนื้อทำนองไม่ได้แล้ว เป็นการเขียนให้กับกองดุริยางค์ทหารอากาศ
ครั้งนั้นกองดุริยางค์ทหารอากาศมีนักประพันธ์ที่พ่อถือเป็นครู เป็นแบบอย่างในการแต่งเพลงคือ ครูโพธิ์ ศานติกุล(โพธิ์ดำ) และ ครูโพธิ์ ชูประดิษฐ์(โพธิ์ขาว) สำหรับคำร้องนั้นคือ เรืออากาศโททองอิน บุญยเสนา มีนามปากกาว่า เวทางค์ พ่อชอบให้พวกลูกๆเรียกว่า ลุงผี (แต่ตัวพ่อเองเรียกว่า พี่อิน ไม่ยักเรียกว่า พี่ผี) พ่อพูดเสมอว่า ลุงผีนี่เป็นเสมือนครูแห่งชีวิต คบหากันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนสงครามเลิกเรื่อยมาจนพ่อมาอยู่กับคณะละครเวที ศิวารมณ์ ส่วนลุงผีรับราชการทหาร แล้วต่อมาขอลาออกจากราชการมามีอาชีพเขียนหนังสือขายอย่างเดียว เคยแต่งละครให้คณะศิวารมณ์แสดงด้วยเรื่อง มณฑาทิพย์ ดำรงประเทศ และฟ้าประกาศิต ผมรู้ว่าพ่อกับลุงผีสนิทกันมากเพราะชอบบางอย่างเหมือนกัน นั่นคือตั้งวงเสวนาแกล้มสุราด้วยกันเป็นประจำ และลุงผีนี่เองที่เป็นพ่อสี่อให้พ่อ ชักนำทุกอย่างให้พ่อกับแม่ของผมได้มาอยู่กินด้วยกันตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙o โน่น ผมจำได้ว่าตัวท่านนั้นมีรูปร่างผอม ๆ ดำ ๆ ตัวเล็กๆหน้าเหลี่ยม คิ้วดกดำ เวลาพูดมีเสียงดัง ชอบออกท่าทางไปด้วย และที่ผมจำได้มาตลอดคือ ท่านชอบทำหน้าทำตาหลอกล้อเด็กที่อยู่ใกล้ ๆ ให้กลัวสมกับชื่อของตัวเองที่ว่า ผี นั่นแหละ
li40.gif
พ่อบอกว่าปีนั้นละครศิวารมณ์กำลังซ้อมละครเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ อยู่ที่ศาลาเฉลิมกรุง มี สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แสดงเป็นพระเอก สุพรรณ บูรณะพิมพ์ แสดงเป็นนางเอก มี ครูเนรมิต และ ครูมารุต เป็นผู้กำกับละคร ตอนนั้นพ่อเป็นนักเปียโนประจำคณะละครนี้ ต้องเล่นดนตรีให้นาฏศิลป์ซ้อมและต่อเพลงให้นักร้อง พ่อบอกว่าช่วงนั้นเล่นเปียโนจนเมื่อยนิ้วไปหมด จนเหลือเวลาอีก ๔-๕ วันก่อนละคร พันท้ายนรสิงห์ จะแสดงจริง และทุกๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการแสดง ตัวละคร ฉาก นาฏศิลป์ พร้อมที่จะแสดงได้แล้ว ขาดแต่เพลงเองของเรื่องคือ น้ำตาแสงไต้ ทำนองยังไม่เสร็จ เพราะคณะศิวารมณ์สมัยนั้นมีผู้แต่งเพลงให้คือ คุณประกิจ วาทยากร และ ครูโพธิ์ ชูประดิษฐ์ แต่ทำนองเพลงที่ทั้งสองท่านส่งมายังไม่เป็นที่ถูกใจ เจ้าของเรื่องและผู้กำกับที่ต้องการให้เป็นเพลงที่มีสำเนียงไทยแท้ มีวิญญาณไปในทาง หวานเย็นและเศร้า ยิ่งใกล้วันแสดงเข้ามา ทำนอง น้ำตาแสงไต้ ก็ยังไม่เสร็จ ทำให้เจ้าของเรื่อง ผู้กำกับและผู้ร่วมงานต่าง ๆ อึดอัดใจไปตาม ๆ กัน
li40.gif
พ่อเล่าว่า เย็นวันหนึ่งหลังจากเลิกซ้อมดนตรีแล้ว ลงมาด้านหน้าของศาลาเฉลิมกรุงก็ได้ยินเสียงเรียกชื่อตัวเอง คนที่เรียกก็ไม่ใช่ใคร ลุงผี นั่นเองยืนยิ้มอยู่ หลังจากทักทายปราศรัยกันแล้วก็ชวนกันไปที่ร้านโว่กี่ (เดี๋ยวนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้) เพื่อตั้งวงเสวนาแกล้มสุรากันให้ครึกครื้นอย่างที่เคยปฏิบัติมา สุรายี่ห้อ แมวคู่ ที่สั่งมาครั้งแรกหมดไปแล้วหนึ่งขวดพร้อมกันแกล้มและโซดา แมวคู่ ขวดที่สองก็ตามมาอยู่บนโต๊ะ การเสวนาเริ่มออกรสชาติ ลุงผีถามพ่อถึงกิจการของคณะศิวารมณ์ พ่อตอบว่า ตอนนี้ทุกๆคนเป็นห่วงทำนองน้ำตาแสงไต้ เพราะผู้แต่งส่งมาให้ยังไม่เป็นที่พอใจของผู้กำกับและเจ้าของเรื่อง เพราะต้องการสำเนียงไทยแท้และมีวิญญาณเพลงทางหวานเย็นและเศร้า ลุงผีบอกว่า เพลงไทยนั้นมีเยอะแต่ที่หวานเย็นและเศร้านั้นมีน้อย แต่ที่อั้วชอบมีสองเพลงคือ เขมรไทรโยค และ ลาวครวญ เท่านั้น ไม่ทันขาดคำก็ร้องเพลง เขมรไทรโยค ให้ฟัง ร้องยังไม่ทันจบเพลงก็ขึ้นเพลง ลาวครวญ สลับกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ ลุงผีร้องเสียงดังและทำท่าทางประกอบด้วย เป็นที่ฮือฮาของคนในร้านหลายๆโต๊ะ พอเห็นคนหัวเราะแกก็หยุดร้อง เมื่อแมวคู่ขวดที่สองหมดลงต่างคนต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ลุงผีนั่งสามล้อไปทุ่งมหาเมฆ ส่วนพ่อกลับมาศาลาเฉลิมกรุง แล้วคืนนั้นก็นอนหลับอยู่ที่นั่น พ่อเล่าว่า ฝันเห็นคนสี่คน เป็นผู้หญิงหนึ่ง ผู้ชายสาม ผู้ชายคนแรกได้เล่นเปียโนเพลง เขมรไทรโยค ให้อีกสามคนฟัง เมื่อเพลงจบผู้หญิงก็เล่นเปียโนเพลง ลาวครวญ ให้ฟัง ต่อจากนั้นผู้ชายคนที่สองได้เล่นเปียโนโดยรวมเอาวิญญาณของ เขมรไทรโยค และ ลาวครวญ มาคลุกเคล้ากันจนเกิดเป็นเพลงใหม่ขึ้นมา มีความไพเราะมากอีกเพลงหนึ่ง สำหรับชายคนที่สามยืนฟังเพลงด้วยความพอใจ
li40.gif
พ่อถูกคนทำความสะอาดปลุกขึ้นมาในเช้าวันรุ่งขึ้น รีบกลับบ้านไปเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าและจะกลับมาซ้อมดนตรีใหม่ แต่พอถึงบ้านก็เกิดอาการแฮงค์โอเวอร์ ต้องนอนต่ออีกจนเกือบเที่ยง ตื่นมาอีกทีพอหายสร่างจากฤทธิ์ แมวคู่ ก็ตรงไปศาลาเฉลิมกรุง เมื่อไปถึงก็ถูกต่อว่าเป็นการใหญ่ เพราะไปทำงานสายและใครๆเขาก็รออยู่ เมื่อซ้อมดนตรีให้นาฏศิลป์และละครจนเลิกแล้ว ตอนนั้นเป็นเวลาบ่ายสามโมง มีคนเหลืออยู่สี่คนคือ ครูเนรมิต ครูมารุต สุรสิทธิ์ และพ่อ ครูเนรมิตบ่นเรื่องทำนองเพลง น้ำตาแสงไต้ จะไม่ทันวันแสดงละครเพราะเหลือเวลาน้อยเต็มที แล้วตอนนั้นเองพ่อหันไปดีดเปียโนทำนองเพลงขึ้นเพลงหนึ่ง ก็คือเพลงที่ได้ยินมาจากเมื่อคืนที่นอนหลับนั่นเอง ครูเนรมิตถามว่า สง่า นั่นเล่นเพลงอะไร พ่อถามว่า เพราะหรือครับ ครูเนรมิตพยักหน้า และเมื่อพ่อดีดเปียโนจนจบเพลงทั้งครูเนรมิตและครูมารุตก็พูดว่า นี่แหละ น้ำตาแสงไต้ พ่อรีบจดโน้ตเป็นการใหญ่และประพันธ์คำร้องกันเดี๋ยวนั้น ครูมารุตขึ้น นวลเจ้าพี่เอย ครูเนรมิตต่อว่า คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ พอจบประโยคแรก สุรสิทธิ์ก็ร้องเกลาทันที ร่วมกันสร้างเพลงไม่ถึง ๒o นาทีก็สำเร็จ พ่อบอกว่าเมื่อละคร พันท้ายนรสิงห์ แสดงมาถึงฉากสุดท้ายและทำนองเพลง น้ำตาแสงไต้ ดังขึ้น คนที่เข้ามาดูละครร้องไห้กันทั้งโรงเลย สำหรับ ลุงผี เมื่อพ่อแต่งเพลงสำเร็จสามารถเกิดในวงการเพลงได้แล้ว มักจะพาพ่อไปเจอใครต่อใครทั้งละครต่างคณะหรือพวกนักเขียนสมัยนั้น แล้วจะแนะนำว่า นี่แหละสง่าคนแต่งเพลงน้ำตาแสงไต้น้องชายอั้ว อยู่เสมอ
ผู้ขับร้องเพลง น้ำตาแสงไต้ คนแรกคือ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แต่ไม่มีการบันทึกเสียง ต่อมามี ฉลอง สิมะเสถียร, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, ชรินทร์ นันทนาคร, ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นำไปขับร้อง พร้อมกับได้บันทึกเสียงไว้ด้วย ครั้งที่ศาลาเฉลิมไทยได้นำละคร พันท้ายนรสิงห์ แสดงเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนที่โรงจะถูกทุบทิ้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ศรันยู วงศ์กระจ่าง ก็ได้ร้องเพลงนี้ด้วยเช่นกัน
ที่มา...ของเนื้อหา...คุณไพวรินทร์ขาวงาม เขียนถึงเพลงนี้เพื่อไว้อาลัยครูสง่า อารัมภีร์ ในคอลัมน์ จากคอนโดมีเนียมชานกรุง วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๒
li40.gif
...........................................................................................................................................................
  วัดพันท้ายนรสิงห์ อยู่ไม่ไกล จากกรุงเทพ หากใครจะไป แปบเดียวครับ เพียงแต่ อาจต้องบุกทุ่งนาไปหน่อย..มีป้ายบอกเป็นระยะ..ที่นั่น  ศาลพันท้าย นรสิงห์ และ ศาลแม่ศรีนวล รอท่าน มาเยี่ยมอยู่..
 และเชิญชวนทุกท่าน...มาดื่มด่ำ รสบทเพลงแห่งกาลเวลา..กันเถิด
li32.gif				
1 กุมภาพันธ์ 2553 09:33 น.

ลั่นกลองรบ...แลเผาเมือง...นี่คือที่มาของอมตะเพลงนี้

กิ่งโศก

nn73.gif


..........จากเคยได้ลุ่มหลงสำนวน ของท่านยาขอบ ในนิยายที่ยืมมาจาก 
พงศดาร ไม่กี่บรรทัด..นำมาใส่จินตนาการ..จนยุคหนึ่งถือว่า เป็นยุคทอง 
ของท่านยาขอบเลยที่เดียว.. ผู้ชนะสิบทิศ สำนวนแปลก ..เสียดายที่ท่าน
เขียนเรื่องนี้ไม่จบ...แต่ความโด่งดังนอกจากหนังสือ แล้ว ละคร  และ บท
เพลง ก็ยังลือลั่น.โครมคราม..

....ณ.คาบนี้ จักขอกล่าวเฉพาะ บทเพลง..ที่ทุกยุค สมัย ยังคงได้ยินบทเพลงนี้
ไม่สร่างซา  โดยเฉพาะ รุ่นที่ มีความอาวุโส  นิดๆ  ปานกลาง จนถึงขั้นมาก 555  ...

วันนี้ขอเสนอ ที่มา ของบทเพลง...บุเรงนองรำลึก...อาจไม่คุ้นชื่อ...แต่ ตามมาเถอะ ...มาดูเนื้อเพลงก่อน

1_display.jpg

                                        บุเรงนองรำลึก
คำร้อง ทำนอง : สไล ไกรเลิศ 
ขับร้อง : ชรินทร์ นันทนาคร

     ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างเวหา

     ข้ามาทำศึกลำเค็ญ ไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา

     ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้เชิดชูดวงแด

     ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเฝ้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย

     เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ

แต่ ต่อมามีการปรับปรุงเนื้อหา เพลงนี้ และให้ชื่อว่า... ผู้ชนะสิบทิศ  อันนี้คิดว่าคงคุ้นหู กันนะครับ


120667-30.jpg
                                        ผู้ชนะสิบทิศ
 ขับร้อง : ชรินทร์ นันทนาคร
คำร้อง ทำนอง : สไล ไกรเลิศ 

     ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างไสว
เสียงคลื่นเร้าฤดีคืนนี้ข้าเปลี่ยวใจ
เหน็บหนาวทรวงใน...แปลกไฉนข้าเศร้าวิญญา
     ข้ามาทำศึกลำเค็ญ เหนื่อยแสนยากเย็นไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา
     ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักต่อกันมิ่งขวัญจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้ชื่นชูดวงแด
     ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเศร้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย
     เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ


p-ph1.jpg

(รูปจะเด็ด)จะเด็ด-ชรินทร์ นันทนาคร และ ตะละแม่กุสุมา-สวลี ผกาพันธ์
จากละครเพลงผู้ชนะสิบทิศ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม พศ. 2504
 
...มาดูที่มาของเพลงกันก่อนนะครับ อันที่จริง ก็มาจากนิยาย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ
 นั่นแหละครับ เพียงแต่ กว่าจะได้ มาเป็นเพลงนี้...ลองอ่านคำให้สัมาภษณ์ 
ของคุณชรินทร์ นันทนาคร ดูนะครับ...
nn23.gif

อิระวดี..อยู่ที่ครัววังหน้านี่ละ"
..เล่าถึงครูไสล
ปกติครูเป็นคนแต่งเพลงไม่เป็นที่ 
ท่านจะนั่งรถเมล์สายถนนตกหลักเมือง หลักเมืองถนนตก ผมก็ต้องไปนั่งกะครู
ก็นั่งขึ้นไปขึ้นมา ท่านบอกว่า รถเมล์คือที่ชุมนุมของชีวิตทั้งหลาย
ท่านเห็นประสบการณ์ของผู้คนบนรถเมล์ มีรัก มีโศก มีโลภ มีโกรธ มีนักล้วง มีสารพัดอย่าง
ครูอาศัยรถเมล์เป็นที่เขียนบทเพลง
				
Calendar
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 2 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกิ่งโศก