2 กุมภาพันธ์ 2553 13:19 น.

คนกล้าของไทย...เสียชีพ พึงรักษาสัตย์ยิ่งชีพ..นี่คือที่มาบทโศกเพลงนี้

กิ่งโศก

nn73.gif
.... น้ำตา...ฮึม.. ฮือๆ...อาบแก้ม...เสียงขับขาน เคล้าทำนองชวนโศกแผ่วนี้ กิ่งโศกเปิดเพลง  น้ำตาแสงใต้  ขับร้องโดย คุณชรินทร์ นันทนาคร...ฟังแล้วเยือกเย็น แกมเศร้า แลไพเราะ...ทำให้กิ่งโศกต้องย้อนภาพ เช่นละครที่เคยแสดงในทีวี
....ภาพ..ที่บังเกิดขึ้นในจินตนาการ ตามบทเพลง ..... สิน  หรือ นายท้ายเรือของสมเด็จพระเจ้าเสือ..นามพันท้ายนรสิงห์ ..ที่ทำให้การเสด็จทางชลมารค ต้องหยุดชงัก ..ณ. คลองโคกขาม..
..ภาพต่อมา..คือ สำแดงความเสียชีพอย่าเสียสัตย์ ตราไว้ให้บรรดา ลูกหลานไทยควรจดจำยิ่ง..ด้วยการยอมให้ถูกประหาร โดยการตัดคอ ..ตามกฏ..ในสมัยนั้น แม้นว่า เจ้าอยู่หัวของเจ้าสิงห์ จะ ให้ตัดหัวแบบจำลอง..แต่นายพันท้ายคนนี้กลับ.มิยินยอม...นี่คือ..ความเป็นคนไทยแท้ยิ่ง..
..ภาพที่ แม่ศรีนอน..ที่เข้ามาดู ณ..ลานประหาร ริมคลองโคกขามนั้น...น้ำตาแม่หลั่งไหลเป็นสาย..
แก้มแม่..ชุ่มไปด้วยหยาด ชลนัยน์...ยามต้องแสงสว่าง จากไฟ ที่จุดปัก ด้วยไต้ ...สะท้อน ใจ เจ้าสิน..ยิ่ง..
ลาก่อน ...ศรีนวล...ยอดดวงใจ..
nn23.gif
..วันนี้ขอมาในแนวเศร้า..มาดูเนื้อหา ของบทเพลง..ก่อนนะครับ
v-norasing.JPG
   
น้ำตาแสงไต้
นวลเจ้าพี่เอย
 คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ
ถ้อยคำเหมือนจะชวน
 ใจพี่หวนครวญคร่ำอาลัย
น้ำตาอาบแก้ม
เพียงแซมเพชรไสว
แวววับจับหัวใจ
เคล้าแสงไต้งามจับตา
นวลแสงเพชร
เกล็ดแก้วอันล้ำต่า
คราเมื่อแสงไฟส่องมา
วับวาวชวนชื่นชม
น้ำตาแสงไต้
ดื่มใจพี่ร้าวระบม
ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์
จำใจข่มใจไปจากนวล
li40.gif
...........................................................
..........กิ่งโศก หาที่มาของเพลง ที่แต่งมาจาก พงศวดารไทย..หรือเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย..ว่ากว่าจะได้เป็นเพลงนี้ ขึ้นมา....มาจาก..วงเหล้า ครับ  หุหุ...ตามมาครับทุกท่าน

 คุณบูรพา  อารัมภีร์ ...บุตรของครู สง่า อารัมภีร์..ได้ เล่าบันทึกเกี่ยวกับเพลงนี้
พ่อเล่าว่า ก่อนจะแต่งเพลง น้ำตาแสงไต้ ได้เมื่อปลายปีพ.ศ.๒๔๘๗นั้นได้เขียนเนื้อเพลงมาก่อนแล้ว ซึ่งเพลงแรกที่แต่งขึ้นในชีวิตก็คือ บัวงาม หรือ บุปผาไทย แต่งตอนที่น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปีพ.ศ.๒๔๘๕ เวลาผ่านมานานตอนนี้จำเนื้อทำนองไม่ได้แล้ว เป็นการเขียนให้กับกองดุริยางค์ทหารอากาศ
ครั้งนั้นกองดุริยางค์ทหารอากาศมีนักประพันธ์ที่พ่อถือเป็นครู เป็นแบบอย่างในการแต่งเพลงคือ ครูโพธิ์ ศานติกุล(โพธิ์ดำ) และ ครูโพธิ์ ชูประดิษฐ์(โพธิ์ขาว) สำหรับคำร้องนั้นคือ เรืออากาศโททองอิน บุญยเสนา มีนามปากกาว่า เวทางค์ พ่อชอบให้พวกลูกๆเรียกว่า ลุงผี (แต่ตัวพ่อเองเรียกว่า พี่อิน ไม่ยักเรียกว่า พี่ผี) พ่อพูดเสมอว่า ลุงผีนี่เป็นเสมือนครูแห่งชีวิต คบหากันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ จนสงครามเลิกเรื่อยมาจนพ่อมาอยู่กับคณะละครเวที ศิวารมณ์ ส่วนลุงผีรับราชการทหาร แล้วต่อมาขอลาออกจากราชการมามีอาชีพเขียนหนังสือขายอย่างเดียว เคยแต่งละครให้คณะศิวารมณ์แสดงด้วยเรื่อง มณฑาทิพย์ ดำรงประเทศ และฟ้าประกาศิต ผมรู้ว่าพ่อกับลุงผีสนิทกันมากเพราะชอบบางอย่างเหมือนกัน นั่นคือตั้งวงเสวนาแกล้มสุราด้วยกันเป็นประจำ และลุงผีนี่เองที่เป็นพ่อสี่อให้พ่อ ชักนำทุกอย่างให้พ่อกับแม่ของผมได้มาอยู่กินด้วยกันตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙o โน่น ผมจำได้ว่าตัวท่านนั้นมีรูปร่างผอม ๆ ดำ ๆ ตัวเล็กๆหน้าเหลี่ยม คิ้วดกดำ เวลาพูดมีเสียงดัง ชอบออกท่าทางไปด้วย และที่ผมจำได้มาตลอดคือ ท่านชอบทำหน้าทำตาหลอกล้อเด็กที่อยู่ใกล้ ๆ ให้กลัวสมกับชื่อของตัวเองที่ว่า ผี นั่นแหละ
li40.gif
พ่อบอกว่าปีนั้นละครศิวารมณ์กำลังซ้อมละครเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ อยู่ที่ศาลาเฉลิมกรุง มี สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แสดงเป็นพระเอก สุพรรณ บูรณะพิมพ์ แสดงเป็นนางเอก มี ครูเนรมิต และ ครูมารุต เป็นผู้กำกับละคร ตอนนั้นพ่อเป็นนักเปียโนประจำคณะละครนี้ ต้องเล่นดนตรีให้นาฏศิลป์ซ้อมและต่อเพลงให้นักร้อง พ่อบอกว่าช่วงนั้นเล่นเปียโนจนเมื่อยนิ้วไปหมด จนเหลือเวลาอีก ๔-๕ วันก่อนละคร พันท้ายนรสิงห์ จะแสดงจริง และทุกๆอย่างไม่ว่าจะเป็นการแสดง ตัวละคร ฉาก นาฏศิลป์ พร้อมที่จะแสดงได้แล้ว ขาดแต่เพลงเองของเรื่องคือ น้ำตาแสงไต้ ทำนองยังไม่เสร็จ เพราะคณะศิวารมณ์สมัยนั้นมีผู้แต่งเพลงให้คือ คุณประกิจ วาทยากร และ ครูโพธิ์ ชูประดิษฐ์ แต่ทำนองเพลงที่ทั้งสองท่านส่งมายังไม่เป็นที่ถูกใจ เจ้าของเรื่องและผู้กำกับที่ต้องการให้เป็นเพลงที่มีสำเนียงไทยแท้ มีวิญญาณไปในทาง หวานเย็นและเศร้า ยิ่งใกล้วันแสดงเข้ามา ทำนอง น้ำตาแสงไต้ ก็ยังไม่เสร็จ ทำให้เจ้าของเรื่อง ผู้กำกับและผู้ร่วมงานต่าง ๆ อึดอัดใจไปตาม ๆ กัน
li40.gif
พ่อเล่าว่า เย็นวันหนึ่งหลังจากเลิกซ้อมดนตรีแล้ว ลงมาด้านหน้าของศาลาเฉลิมกรุงก็ได้ยินเสียงเรียกชื่อตัวเอง คนที่เรียกก็ไม่ใช่ใคร ลุงผี นั่นเองยืนยิ้มอยู่ หลังจากทักทายปราศรัยกันแล้วก็ชวนกันไปที่ร้านโว่กี่ (เดี๋ยวนี้หายไปไหนแล้วก็ไม่รู้) เพื่อตั้งวงเสวนาแกล้มสุรากันให้ครึกครื้นอย่างที่เคยปฏิบัติมา สุรายี่ห้อ แมวคู่ ที่สั่งมาครั้งแรกหมดไปแล้วหนึ่งขวดพร้อมกันแกล้มและโซดา แมวคู่ ขวดที่สองก็ตามมาอยู่บนโต๊ะ การเสวนาเริ่มออกรสชาติ ลุงผีถามพ่อถึงกิจการของคณะศิวารมณ์ พ่อตอบว่า ตอนนี้ทุกๆคนเป็นห่วงทำนองน้ำตาแสงไต้ เพราะผู้แต่งส่งมาให้ยังไม่เป็นที่พอใจของผู้กำกับและเจ้าของเรื่อง เพราะต้องการสำเนียงไทยแท้และมีวิญญาณเพลงทางหวานเย็นและเศร้า ลุงผีบอกว่า เพลงไทยนั้นมีเยอะแต่ที่หวานเย็นและเศร้านั้นมีน้อย แต่ที่อั้วชอบมีสองเพลงคือ เขมรไทรโยค และ ลาวครวญ เท่านั้น ไม่ทันขาดคำก็ร้องเพลง เขมรไทรโยค ให้ฟัง ร้องยังไม่ทันจบเพลงก็ขึ้นเพลง ลาวครวญ สลับกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ ลุงผีร้องเสียงดังและทำท่าทางประกอบด้วย เป็นที่ฮือฮาของคนในร้านหลายๆโต๊ะ พอเห็นคนหัวเราะแกก็หยุดร้อง เมื่อแมวคู่ขวดที่สองหมดลงต่างคนต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ลุงผีนั่งสามล้อไปทุ่งมหาเมฆ ส่วนพ่อกลับมาศาลาเฉลิมกรุง แล้วคืนนั้นก็นอนหลับอยู่ที่นั่น พ่อเล่าว่า ฝันเห็นคนสี่คน เป็นผู้หญิงหนึ่ง ผู้ชายสาม ผู้ชายคนแรกได้เล่นเปียโนเพลง เขมรไทรโยค ให้อีกสามคนฟัง เมื่อเพลงจบผู้หญิงก็เล่นเปียโนเพลง ลาวครวญ ให้ฟัง ต่อจากนั้นผู้ชายคนที่สองได้เล่นเปียโนโดยรวมเอาวิญญาณของ เขมรไทรโยค และ ลาวครวญ มาคลุกเคล้ากันจนเกิดเป็นเพลงใหม่ขึ้นมา มีความไพเราะมากอีกเพลงหนึ่ง สำหรับชายคนที่สามยืนฟังเพลงด้วยความพอใจ
li40.gif
พ่อถูกคนทำความสะอาดปลุกขึ้นมาในเช้าวันรุ่งขึ้น รีบกลับบ้านไปเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าและจะกลับมาซ้อมดนตรีใหม่ แต่พอถึงบ้านก็เกิดอาการแฮงค์โอเวอร์ ต้องนอนต่ออีกจนเกือบเที่ยง ตื่นมาอีกทีพอหายสร่างจากฤทธิ์ แมวคู่ ก็ตรงไปศาลาเฉลิมกรุง เมื่อไปถึงก็ถูกต่อว่าเป็นการใหญ่ เพราะไปทำงานสายและใครๆเขาก็รออยู่ เมื่อซ้อมดนตรีให้นาฏศิลป์และละครจนเลิกแล้ว ตอนนั้นเป็นเวลาบ่ายสามโมง มีคนเหลืออยู่สี่คนคือ ครูเนรมิต ครูมารุต สุรสิทธิ์ และพ่อ ครูเนรมิตบ่นเรื่องทำนองเพลง น้ำตาแสงไต้ จะไม่ทันวันแสดงละครเพราะเหลือเวลาน้อยเต็มที แล้วตอนนั้นเองพ่อหันไปดีดเปียโนทำนองเพลงขึ้นเพลงหนึ่ง ก็คือเพลงที่ได้ยินมาจากเมื่อคืนที่นอนหลับนั่นเอง ครูเนรมิตถามว่า สง่า นั่นเล่นเพลงอะไร พ่อถามว่า เพราะหรือครับ ครูเนรมิตพยักหน้า และเมื่อพ่อดีดเปียโนจนจบเพลงทั้งครูเนรมิตและครูมารุตก็พูดว่า นี่แหละ น้ำตาแสงไต้ พ่อรีบจดโน้ตเป็นการใหญ่และประพันธ์คำร้องกันเดี๋ยวนั้น ครูมารุตขึ้น นวลเจ้าพี่เอย ครูเนรมิตต่อว่า คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ พอจบประโยคแรก สุรสิทธิ์ก็ร้องเกลาทันที ร่วมกันสร้างเพลงไม่ถึง ๒o นาทีก็สำเร็จ พ่อบอกว่าเมื่อละคร พันท้ายนรสิงห์ แสดงมาถึงฉากสุดท้ายและทำนองเพลง น้ำตาแสงไต้ ดังขึ้น คนที่เข้ามาดูละครร้องไห้กันทั้งโรงเลย สำหรับ ลุงผี เมื่อพ่อแต่งเพลงสำเร็จสามารถเกิดในวงการเพลงได้แล้ว มักจะพาพ่อไปเจอใครต่อใครทั้งละครต่างคณะหรือพวกนักเขียนสมัยนั้น แล้วจะแนะนำว่า นี่แหละสง่าคนแต่งเพลงน้ำตาแสงไต้น้องชายอั้ว อยู่เสมอ
ผู้ขับร้องเพลง น้ำตาแสงไต้ คนแรกคือ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ แต่ไม่มีการบันทึกเสียง ต่อมามี ฉลอง สิมะเสถียร, กำธร สุวรรณปิยะศิริ, ชรินทร์ นันทนาคร, ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นำไปขับร้อง พร้อมกับได้บันทึกเสียงไว้ด้วย ครั้งที่ศาลาเฉลิมไทยได้นำละคร พันท้ายนรสิงห์ แสดงเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนที่โรงจะถูกทุบทิ้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ศรันยู วงศ์กระจ่าง ก็ได้ร้องเพลงนี้ด้วยเช่นกัน
ที่มา...ของเนื้อหา...คุณไพวรินทร์ขาวงาม เขียนถึงเพลงนี้เพื่อไว้อาลัยครูสง่า อารัมภีร์ ในคอลัมน์ จากคอนโดมีเนียมชานกรุง วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๒
li40.gif
...........................................................................................................................................................
  วัดพันท้ายนรสิงห์ อยู่ไม่ไกล จากกรุงเทพ หากใครจะไป แปบเดียวครับ เพียงแต่ อาจต้องบุกทุ่งนาไปหน่อย..มีป้ายบอกเป็นระยะ..ที่นั่น  ศาลพันท้าย นรสิงห์ และ ศาลแม่ศรีนวล รอท่าน มาเยี่ยมอยู่..
 และเชิญชวนทุกท่าน...มาดื่มด่ำ รสบทเพลงแห่งกาลเวลา..กันเถิด
li32.gif				
1 กุมภาพันธ์ 2553 09:33 น.

ลั่นกลองรบ...แลเผาเมือง...นี่คือที่มาของอมตะเพลงนี้

กิ่งโศก

nn73.gif


..........จากเคยได้ลุ่มหลงสำนวน ของท่านยาขอบ ในนิยายที่ยืมมาจาก 
พงศดาร ไม่กี่บรรทัด..นำมาใส่จินตนาการ..จนยุคหนึ่งถือว่า เป็นยุคทอง 
ของท่านยาขอบเลยที่เดียว.. ผู้ชนะสิบทิศ สำนวนแปลก ..เสียดายที่ท่าน
เขียนเรื่องนี้ไม่จบ...แต่ความโด่งดังนอกจากหนังสือ แล้ว ละคร  และ บท
เพลง ก็ยังลือลั่น.โครมคราม..

....ณ.คาบนี้ จักขอกล่าวเฉพาะ บทเพลง..ที่ทุกยุค สมัย ยังคงได้ยินบทเพลงนี้
ไม่สร่างซา  โดยเฉพาะ รุ่นที่ มีความอาวุโส  นิดๆ  ปานกลาง จนถึงขั้นมาก 555  ...

วันนี้ขอเสนอ ที่มา ของบทเพลง...บุเรงนองรำลึก...อาจไม่คุ้นชื่อ...แต่ ตามมาเถอะ ...มาดูเนื้อเพลงก่อน

1_display.jpg

                                        บุเรงนองรำลึก
คำร้อง ทำนอง : สไล ไกรเลิศ 
ขับร้อง : ชรินทร์ นันทนาคร

     ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างเวหา

     ข้ามาทำศึกลำเค็ญ ไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา

     ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้เชิดชูดวงแด

     ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเฝ้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย

     เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ

แต่ ต่อมามีการปรับปรุงเนื้อหา เพลงนี้ และให้ชื่อว่า... ผู้ชนะสิบทิศ  อันนี้คิดว่าคงคุ้นหู กันนะครับ


120667-30.jpg
                                        ผู้ชนะสิบทิศ
 ขับร้อง : ชรินทร์ นันทนาคร
คำร้อง ทำนอง : สไล ไกรเลิศ 

     ฟ้าลุ่มอิรวดีคืนนี้มีแต่ดาว
แจ่มแสงแวววาว...เด่นอะคร้าว สว่างไสว
เสียงคลื่นเร้าฤดีคืนนี้ข้าเปลี่ยวใจ
เหน็บหนาวทรวงใน...แปลกไฉนข้าเศร้าวิญญา
     ข้ามาทำศึกลำเค็ญ เหนื่อยแสนยากเย็นไม่เว้นว่างเปล่า
เพื่อศักดิ์ชาวตองอู ถึงจะตายจะอยู่ขอเชิดชูมังตรา
     ดวงใจข้ามอบจอมขวัญ มั่นรักต่อกันมิ่งขวัญจันทรา
กุสุมายอดชู้ รักเจ้าเพียงเอ็นดู ไว้ชื่นชูดวงแด
     ไปรบอยู่แห่งไหน ใจคะนึงถึงเจ้า เคยเล้าโลมโฉมแม่
ข้ากลับมาเมืองแปร มองเหลียวแลแสนเปลี่ยวเปล่า
ไม่มีแต่เงาข้าเศร้าอาลัย หัวใจแทบขาด อนาถใจไม่คลาย
     เจ็บใจคนรักโดนรังแก ข้าจะเผาเมืองแปรให้มันวอดวาย
จะตายให้เขาลือชาย จะให้เขาลือชาย ว่านามชื่อกู
ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะสิบทิศ ผู้ชนะ....สิบทิศ


p-ph1.jpg

(รูปจะเด็ด)จะเด็ด-ชรินทร์ นันทนาคร และ ตะละแม่กุสุมา-สวลี ผกาพันธ์
จากละครเพลงผู้ชนะสิบทิศ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม พศ. 2504
 
...มาดูที่มาของเพลงกันก่อนนะครับ อันที่จริง ก็มาจากนิยาย เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ
 นั่นแหละครับ เพียงแต่ กว่าจะได้ มาเป็นเพลงนี้...ลองอ่านคำให้สัมาภษณ์ 
ของคุณชรินทร์ นันทนาคร ดูนะครับ...
nn23.gif

อิระวดี..อยู่ที่ครัววังหน้านี่ละ"
..เล่าถึงครูไสล
ปกติครูเป็นคนแต่งเพลงไม่เป็นที่ 
ท่านจะนั่งรถเมล์สายถนนตกหลักเมือง หลักเมืองถนนตก ผมก็ต้องไปนั่งกะครู
ก็นั่งขึ้นไปขึ้นมา ท่านบอกว่า รถเมล์คือที่ชุมนุมของชีวิตทั้งหลาย
ท่านเห็นประสบการณ์ของผู้คนบนรถเมล์ มีรัก มีโศก มีโลภ มีโกรธ มีนักล้วง มีสารพัดอย่าง
ครูอาศัยรถเมล์เป็นที่เขียนบทเพลง
				
29 มกราคม 2553 10:57 น.

ปลุกกระแสเพลงไทย...เมื่อครั้ง ยุค ซิกตี้...

กิ่งโศก

a1.jpg&h=94&w=133&usg=__dqZhm8nRYvVAJPXG

..กิ่งโศก ตั้งแต่ออกจากบ้าน(นอก) มาเผชิญโชคใน เมืองหลวง จะว่าเมืองหลวงก็ไม่ค่อยจะถูกนัก เพราะแรก ๆ เลย ไปทำงาน ในโรงงาน ในจังหวัดสมุทรปราการเขตติดต่อ กับกรุงเทพฯ เรียกว่าปริมณฑล นั่นแหละครับ..
พูดถึงเมืองปากน้ำ ( สมุทรปราการ) หลายๆ คนคงนึกถึง สถานตากอากาศ บางปู ดูนกนางนวลและเต้นลีลาศ   สถานพักฟื้นสวางค์   ฟาร์มจรเข้  หรือไม่ก็ เจดีย์กลางน้ำที่พระประแดง..( มีอยู่ช่วงหนึ่ง ถูกสังคมตราหน้าว่า ...
โคตระ โกง..จากการเลือกตั้ง) อิอิ..

nn23.gif

	เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ของเมืองเป็นปากอ่าวทะเล  คือเป็นที่สินสุด ของลำน้ำเจ้าพระยา..ดินแดนแถบนี้ มีเรื่องราวมากมายนัก..แต่ตามท้องเรื่อง หุหุ ..กำลัง จับประเดน บทเพลง ของเมืองๆ นี้ ..ยุคต้นๆ มีเพลง .เก่าๆ ร้องเกี่ยวกับบางปู..(ครูล้วน ควันธรรม หรือเปล่าไม่แน่ใจนะครับ  กิ่งโศก ก้ออาศัยฟังจากการเล่า ทางวิทยุ AM ที่คนฟังกันน้อย แล้ว ..มีนักจัดรายการเพลงเก่าคนหนึ่ง  แกเปิดเพลง แล้วเล่าความเป็นมาของแต่ละเพลง ว่ามาแบบนั้น ใครร้อง ..แล้วก็ขายยา หุหุ..ดีเจ ชื่อ คุณเกรียงศักดิ์  ประครองวงค์ )  และมาสะดุดใจเพลง...ลาทีปากน้ำ..

  ที่สะดุดใจ เพราะ มาเป็นผู้ใช้แรงกายอยู่ที่นี่หลายปี เริ่มผูกพัน กับเมืองนี้ สาวๆ สวยครับ อิอิ   ..ชีวิตจึงมีความ คล้ายๆ เพลงนี้  ..
ตอนลาออกจากงาน  เพื่อน ๆ พาไปเลี้ยงไล่ส่ง..เขาก็ให้กิ่งโศกร้องเพลงนี้ ..คาราโอเกะ..

                              มาดูเนื้อเพลงกันก่อนนะครับ ก่อนที่จะว่า...อย่างอื่น ต่อ.
nn28.gifnopadon.jpg

                       ลาทีปากน้ำ   

คำร้อง ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
 ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน  
ผู้ขับร้อง นพดล ชาวไร่เงิน
  
ตัวมาปากน้ำ น้ำตาเจ้ากรรมพรำร่วง 
มันรินล้นทรวง รดแดร้อนดวงร่วงพรำจนช้ำเลือดตรม 
อยากผลักชีวิตผลอย คล้อยลอยน้ำไปตามคลื่นลม
ระทวยระทม แล้วจมร่างตามความรักร้างไป 
เธอคนปากน้ำ น้ำคงขึ้นลงตรงหน้า 
จะลอยน้ำมาหาเธอทุกคราคลื่นครวญรัญจวนป่วนใจ 
จะพร่ำคำเพ้อ ละเมอมนต์รักมาตามฝั่งไกล 
ร้องเพลงผีพราย พิไรขอรักเธอไว้โลมฝั่ง 
ฝันฝัน เพ้อเพ้อ เธอก็คงคร่ำครวญ 
ปากน้ำคงซึ้งโศกชวนทบทวนหวนไปยังเบื้องหลัง 
เราฝากสัมพันธ์ น้อยหรือนั่นมันรักหรือชัง เพราะเธอว่าจะรักจริงจัง 
ฉันจึงหวังคลั่งไคล้มิคลาย 
ลาทีปากน้ำ น้ำจงจบกรรมจำเศร้า 
วิญญาณรักเราน้ำจงรับเอาเฝ้าธารอันพล่านภูติพราย 
อนาถใจหนา ขอลาดินฟ้าอาวรณ์ก่อนตาย 
โถยังเสียดาย เสียดายนิยายสวรรค์สวาท  

nn30.gif
หากพิจารณาการประพันธิ์ ผู้ประพันธ์ ท่านนี้ในประวัติ เคย เขียน โคลง กาพย์ กลอน ถวาย องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย..เพราะฉะนั้น ..จึงมีเกร็ด เล่าว่า...ผู้ประพันธ์เพลง ทะเลาะ กับครูเอื้อเป็นประจำ ..ด้วยครูเอื้อให้แต่งแบบ สุนทรภู่..แต่ ท่านกับชอบแต่งแบบศรีปราชญ์..  
อันนี้คงเข้าเคล้า เพราะการเล่นคำ ออก ในแนวโคลง ..

....เพลงนี้  มีที่มา ว่า ท่านศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ..ไปหลงรักสาวปากน้ำ คนหนึ่ง ชื่อ คุณ ขนิษฐา.แต่สาวเขา เซย์โน..เลยน้อยใจ จนแทบ จะกระโดดน้ำ ที่ปากน้ำเจ้าพระยา ตายสิ้นแล้วสิ้นเลย  ตายแล้ว ก็จะกลับมาหลอกหลอน..ในฐานที่  ปฏิเสธ รัก...หุหุ

nn39.gif
อยากผลักชีวิตผลอย คล้อยลอยน้ำไปตามคลื่นลม
ระทวยระทม แล้วจมร่างตามความรักร้างไป
ประโยคที่จะโดดน้ำตาย..


เธอคนปากน้ำ น้ำคงขึ้นลงตรงหน้า 
จะลอยน้ำมาหาเธอทุกคราคลื่นครวญรัญจวนป่วนใจ 
จะพร่ำคำเพ้อ ละเมอมนต์รักมาตามฝั่งไกล 
ร้องเพลงผีพราย พิไรขอรักเธอไว้โลมฝั่ง 
ประโยค ที่ตายแล้วจะตามมาหลอกหลอน ในรูปผีพราย....หุหุ
. nn47.gif

.................................................................................................
ที่ว่าเป็นเพลงปลุกกระแส คนไทยหันมาฟังเพลงไทย ในยุค ซิกตี้ ก็ คือ เพลงนี้ แต่งเมื่อ 2506 โอ้โห ยังไม่เกิดเลยอะ..
คือ คนรุ่นปู่ ย่า ตายาย  ตอนนั้นกำลังคลั่งบทเพลง สากล แบบฝรั่ง เอลวิส..ลองอ่านตามที่มีผู้ เขียนไว้นะครับ

nn72.gif

 ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่ง เล่าถึงเรื่อง"เพลงเก่า"ในยุคซิ๊กตี้
       หนังสือเล่าถึงเพลง"ลาทีปากน้ำ" ว่าเป็นเพลงที่"โดนใจ"นักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาในยุคนั้นมาก ทำให้นักเรียนมัธยมไทยในช่วงปี 2506 เป็นอย่างมาก ทั้งที่นักเรียนวัยรุ่นไทยยุคนั้นไม่ชอบฟังเพลงไทย เพราะเกือบทุกคนหลงใหลเพลงฝรั่ง ทั้ง เอลวิส เพรสลีย์ คลิฟ ริชาร์ด เดอะบีทเติ้ล ฯลฯ ใครที่"ชอบฟัง"เพลงไทยก็จะเป็นคนตกยุค โบราณ ...ไม่ต่างจากวัยรุ่นวันนี้มากนัก
       แต่เมื่อทุกคนได้ยินเพลงนี้ ก็กลับต้องฟังและชอบเพลงไทยจนเกิดกระแส"คลั่งเพลงไทย"ขึ้นมาในยุคนั้น(จริงเท็จผมไม่รู้นะครับ..เขาว่ามา)
       หนังสือเล่าว่า เพลง"ลาทีปากน้ำ" เป็นที่คลั่งใคล้ของนักเรียนมัธยมไทยสมัยนั้น ถึงขนาดวิทยุสมัยนั้นต้องเปิดเพลงลาทีปากน้ำวันละหลายๆครั้ง เพราะมี"หนุ่ม"มอบเพลงนี้ให้"สาว"...ไม่แน่ใจว่าสาวปากน้ำหรือเปล่า?   
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=224401

nn73.gif

ฟังเพลงเก่าๆ ใช่จะเก่านะครับ อิอิ

nn2.gif				
28 มกราคม 2553 11:37 น.

โอ้ว่าแม่จ๋า......จำประโยคนี้ได้หรือไม่.

กิ่งโศก

li40.gif	
 ในทุกๆ ปี ในวาระโอกาส วันสำคัญ เช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ขององค์สมเด็จพระราชินี ของเราชาวไทยทุกคน   คือ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ที่คนไทยได้ถือเอาวันนี้ เป็นวัน
  แม่  
.....กิ่งโศก คนยาก จะได้ยิน บทเพลงเกี่ยวกับพระคุณ แม่ ดังกระหึ่ม  ในหมู่บ้าน ในเคหาส์ หรือแหล่งชุมชน ต่าง ๆ กันทั้งเดือน สิงหาคม เลยทีเดียว มีหลายเพลง และนักร้อง ที่ร้องหลายคน...
   และ บทเพลงที่ถือ ว่า เป็นต้นแบบ ที่กิ่งโศก ฟัง ทีไร น้ำตาจะคลอไปด้วยทุกครั้ง นั่น คือเพลง
 ค่าน้ำนม..
บทเพลงนี้ ถูกถ่ายทอดโดย นักร้อง มากมาย...ใครร้องก็ ประทับใจทุกครั้ง..ยิ่งคนที่กำพร้ามารดาด้วยแล้ว ..เพื่อนของข้าพเจ้า เคยวิ่งไปหลบ มุมหลังห้องเรียนร้องไห้มาแล้ว สมัยเป็นนักเรียน ประถม..
li40.gif
....คนร้อง   ทำนอง...ที่ประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ..นั่นยิ่งทำให้มีความวิจิตรยิ่ง..แต่อื่นใด กิ่งโศก กับเห็นความเลิศอัฉริยะในเชิงกวีบท  และเนื้อหา ของผู้ที่ประพันธ์บทเพลง บทนี้ ..ครูไพบูลย์ บุตรขัน.... ในทุกวลีที่ผจงกรองกลั่นออกมาช่างเปี่ยมไปด้วยความหมายในอารมณ์ ของผู้แต่งหรือผู้ที่เป็นบุตรพึงเขียนถึงแม่...แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง...เพียงแค่วรรคแรก คงสะกดความรู้สึกแก่เหล่าผู้บุตรชายหญิง..ต้องสดับแล้ว...
หรือ แม้แต่ท่อนนี้ ที่ทำให้ กิ่งโศก..ต้องน้ำตาซึม..โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม

..........ก่อนที่จะถึงที่มาของบทเพลงนี้...เรามาร้องทวนกันอีกสักครา ดีไหม..

li40.gif
เพลงค่าน้ำนม
 
"แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล
แม่เราเฝ้าโอ้ละเห่
กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเห ไปจนไกล
เมื่อเล็กจนโตโอ้แม่ถนอม
แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดจากรักลูกปักดวงใจ
เติบ โตโอ้เล็กจนใหญ่
นี่แหละหนาอะไร มิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม

* ควร คิดพินิจให้ดี 
ค่าน้ำนมแม่นี้ จะมีอะไรเหมาะสม
โอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม
เลือดในอกผสม กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน
ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง
แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน
บวช เรียนพากเพียรจนสิ้น
หยดหนึ่งน้ำนมกิน ทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย"
li40.gif

กิ่งโศก ขอคัดลอกที่มาของเพลงนี้ จากเวป นี้ : http://thainews.prd.go.th/Misc/motherdaynew/milk.html


ความเป็นมาของเพลง "ค่าน้ำนม"
 
          


เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงที่แต่งโดย ไพบูลย์ บุตรขัน ขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรกโดย ชาญ เย็นแข เมื่อ พ.ศ. 2492 ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก เป็นเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับไพบูลย์ บุตรขัน และชาญ เย็นแข มากที่สุด ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงที่เป็นรากฐานของเพลงลูกทุ่ง ในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2532 
 
          เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงหนึ่งในจำนวน 5-6 เพลง ที่ไพบูลย์ บุตรขัน แต่งให้กับมารดา คือนางพร้อม ประณีต (ครูไพบูลย์ มีนามสกุลเดิมว่า ประณีต) ซึ่งเป็นผู้ที่ดูแลครูไพบูลย์อย่างใกล้ชิดมาตลอด ตั้งแต่วัยหนุ่มจนท่านเสียชีวิตในวัย 70 กว่าปี เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2508 ถึงแม้ครูไพบูลย์จะป่วยเป็นโรคเรื้อนซึ่งได้รับความรังเกียจจากบุคคลทั่วไป
 
          เพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงแรกที่ชาญ เย็นแข ได้รับการบันทึกเสียง โดยในครั้งแรกครูไพบูลย์ตั้งใจจะให้บุญช่วย หิรัญสุนทรเป็นผู้ขับร้องบันทึกเสียงกับวงดนตรีศิวารมย์ของครูสง่า อารัมภีร แต่บุญช่วย หิรัญสุนทรเกิดป่วยไม่สามารถมาร้องได้ ครูสง่าจึงเสนอให้ชาญ เย็นแขซึ่งเป็นลูกศิษย์ มาขับร้องแทน 
 
          ในการขับร้องบันทึกเสียงครั้งแรก ครูสง่า อารัมภีร เป็นผู้เล่นเปียโน บันทึกเสียงเพียงไม่กี่ครั้งก็ใช้งานได้ เรียบเรียงเสียงประสานโดย สง่า อารัมภีร และ ประกิจ วาทยกร (บุตรชายของพระเจนดุริยางค์) วางจำหน่ายเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยบริษัทนำไทย จำกัด แผ่นเสียงตราสุนัขสลากเขียว แผ่นครั่งขนาด 10" ความเร็ว 78 รอบต่อนาที ขายได้ 800 แผ่น 
 
          หลังจากแผ่นเสียงเพลงนี้ออกจำหน่าย ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ลาวัณย์ โชตามระ นักหนังสือพิมพ์บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2508 ว่า เป็นประวัติการณ์ที่ว่า พอถึงวันแม่ซึ่งทางการยุคหนึ่งกำหนดให้ถือเอาวันที่ 15 เมษายน ตลอดวัน วิทยุก็จะกระจายเสียงแต่เพลงที่เขาแต่งขึ้น นั่นคือ เพลงค่าน้ำนม ที่มีเนื้อร้องขึ้นต้นว่า "แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง..." 

li40.gif090809el571390.jpg
อันที่จริง อยากนำเสนอ ประวัติ คีตกวีลูกทุ่ง ท่านนี้ ..เพราะ ในช่วงชีวิตที่รุ่งโรจน์ นั้น ท่านยังเผชิญกับโรค ทุกบั่นทอน ชีวิตท่าน...บทเพลงที่ท่านเขียน ล้วน จำลอง มาจาก ชีวิตท่าน..

  แม่ เป็นคำที่ฟังแล้ว ยิ่งใหญ่เหลือเกิน..มีคำที่นำเอาไปเขียนนำ หรือชี้บ่งความหมายที่ยิ่งใหญ่มากมาย..
แม่น้ำ
แม่ธรณี 
แม่พระ
แผ่นดินแม่

.........ในฐานะเราเป็นลูก จึงควรกตัญญู ต่อแม่...ต่อ ผืนแผ่นแม่..แผ่นดินไทย แผ่นดินมาตุภูมิ ที่มิควร อกตัญญู ..

li32.gif

http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/15.wma

				
27 มกราคม 2553 13:53 น.

หนึ่งในดวงใจ จอมพล นักปฏิวัติ...

กิ่งโศก

part_3.htm_txt_500.gif

...กำลังดื่มด่ำ สุนทรีย์ กับบทเพลงเก่า ๆ ทำให้เคลิบเคล้ม สู่ภังค์...ปลดเปลื้องเรื่องราวต่างๆ รอบๆตัว ..ไม่รับรู้อะไร ..คงให้จิตใจหมุนแลลอยล่องไปตามท่วงทำนอง..ขับขานของบทเพลงนั้น ๆ...การเมืองการมุ้ง หายินดียินร้ายไม่...
.....วันนี้ นึกถึงเพลงแต่ละเพลงมันมีที่มายังไง ไปยังไง ไฉน จึงเป็นเพลงนี้ เลย ค้นๆ หา ๆ  ...เริ่มที่เพลงนี้ก่อนเลย.....หนึ่งในจอมใจ ของจอมพล นักปฏิวัติ....อิอิ...( บทเพลงนะครับ ..)

li40.gif
                                                หนึ่งในดวงใจ

คำร้อง ชอุ่ม (ปัญจพรรค์) แย้มงาม

ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน


(ช) พี่นี้มีน้องอยู่ในดวงใจเท่านั้น	 หญิงอื่นหมื่นพันจะมาเทียมทันที่ไหน

แต่รักของพี่ซ่อนอยู่กลางใจข้างใน	    หนึ่งในดวงใจคือเธอคนเดียวแท้เทียว

หากน้องได้รู้ว่าพี่รักน้องหนักหนา	      ขอได้เมตตาแก่ดวงวิญญาโดดเดียว

ผิดบ้างพลั้งบ้างก็ไม่จืดจางขาดเกลียว 	น้องเป็นคนเดียวหนึ่งในดวงใจ

หากอาทิตย์ลับโลกโศกสลด 		จะมืดหมดทุกชีวิตยังทนได้

แต่ขาดน้องที่พี่ปองหนึ่งในดวงใจ		 ทนไม่ได้จะต้องตายลงไปพลัน

พี่นี้มีน้องอยู่ในดวงใจเสมอ 		รักแต่เพียงเธอยิ่งกว่าชีวันเชื่อฉัน

พี่ปองรักเจ้าเฝ้าแต่ผูกพันแจ่มจันทร์		 มีเธอเท่านั้นที่เป็นที่หนึ่งครองใจ

(ญ) หากน้องได้รู้ว่าพี่รักน้องหนักหนา 	ขอฝากชีวาไม่มีคลาดคลาห่างหาย

จะรักให้ยิ่งกว่าผู้อื่นใดยอดชาย		 หากตัวจะตายก็ไม่คลายรักเลย

เมื่อน้องได้รู้ว่าหนึ่งในใจพี่นั้น 		ใช่อื่นคือฉันจิตที่ผูกพันพี่เอ๋ย

ผิดบ้างพลั้งหน่อยก็ไม่ขาดลอยจากเลย 	น้องยังชื่นเชยอยู่ไม่วางวาย

หากอาทิตย์ลับโลกโศกสลด		 จะมืดหมดทุกชีวิตยังทนได้

แต่หากน้องไม่ได้เป็นหนึ่งครองใจ		 ทนไม่ได้จะต้องตายลงไปพลัน

พี่นี้มีน้องหนึ่งในดวงใจแน่หรือ 		น้องนี่จะถือพี่ดั่งตะวันเช่นกัน

จะรักพี่ยิ่งกว่าดวงชีวันเชื่อฉัน 		น้องมีพี่นั้นที่เป็นที่หนึ่งชูใจ

01199-5.jpg
  รูปถ่ายครูเอื้อ สุนทรสนาน 

เป็นข้อมูลจากรายการทีวี ช่องหนึ่ง ( ไม่ระบุช่องครับ อิอิ ไม่ใช่ ช่อง 1 ) ได้มีการพูดถึงเพลงนี้ พร้อมที่มา...ว่า เป็นบทเพลงที่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน บรมครูเพลงและนักแต่เพลง ได้แต่งเพลงนี้ให้กับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตามคำขอ...อิอิ ใช้งอนง้อ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยาของท่าน ที่งอนว่าท่านมีรักอื่นมากมาย 
 Activities_pic0050034.jpg


....อย่านึกว่าหทารชาตินักรบ ใช่แต่จะแบกปูนไปโบกตึกอย่างเดียว อิอิ..อันสำแดงถึงความองอาจ เข้มแข็ง...แต่ในมุมหนึ่งกลับมีอารมณ์สุนทรีย์ ด่ำด่ำกับคีตแห่งสวรรค์ บรรเลง บทเพลง..ทั้งที่เริงใจ และจรรโลงโลกไว้.....
li32.gif
  บทเพลงดูเหมือน เป็นสิ่งปลดปล่อย อารมณ์ ของคนทุกคนจริงๆ 
คงสมกับที่ พระราชนิพนธ์ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ เรื่อง  "เวนิสวาณิช" 
 
ชนใดไม่มีดนตรีกาล		 ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ 		เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
ฤๅอุบายมุ่งร้ายฉมังนัก			 มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก			 ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้			 เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ 
li40.gif

   จะเห็นได้ว่า อันมนุษย์ เราๆ ท่านๆ นั้นจะสูงต่ำ จะชนชั้นใด จะรากหญ้า หรือชาวฟ้า...หากมีดนตรีสถิตย์ในห้วงใจแล้ว...ปีติ ย่อมบังเกิดแด่ ท่าน  แด่เธอ  แด่ มวลมิตร และไม่มิตร..
li40.gif				
Calendar
Calendar
Lovers  2 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 1 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกิ่งโศก
Lovings  กิ่งโศก เลิฟ 2 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกิ่งโศก