.เจ้าช่อ.....ไม้ดอกเอ๋ย เจ้าดอกขจร นก ขมิ้น เหลืองอ่อน ค่ำนี้ จะนอนไหนเอย เอ๋ย นอน ที่นี่ เอย เสียงเพลง ที่แผ่วๆ ในท่วงทำนองยะเยือกเย็น ฟังดูสบาย โล่งๆ ยังไงก็ไม่รู้ เวลาฟังเพลงนี้ที่ไร ผสมกับความรู้สึกอ้างว้าง ปนเศร้า เพลงนกขมิ้น ที่เป็นเพลงเก่า ของสุนทราภรณ์ แต่กิ่งโศก ชอบ น้ำเสียง อรวี สัจจานนท์ เพราะนักร้องท่านนี้ คือน้ำเสียงที่เปล่งออกมา ดู มันจะออกแบบหมดโทนเสียง ไม่มีค้างในกล่องเสียง ( เป็นความชอบส่วนตัว ) กล่าวถึงนกขมิ้น เป็นนกที่ผสมผสานกันระหว่างนกแซงแซว กับ อีกา แต่นิสัยของนกขมิ้นนั้นแตกต่างจากนกทั้งสองชนิดอย่างสิ้นเชิง คือ แซงแซว กะ อี(คุณ)กา มักก้าวร้าว ไม่กลัวคน แต่นกขมิ้นกับชอบโดดเดี่ยว อยู่เงียบๆ แบบเดี่ยวๆ หือแค่คู่เดียว (ข้อมูลจาก วิกกี้พีเดียร์) มนุษย์เรามักมีการเปรียบเปรยเกี่ยวกับการร่อนเร่พเนจรหมอนหมิ่น ( น่าสงสัยทำไมไม่นอนให้เต็มหมอน) ของคนเรา โดยมักจะเปรียบเทียบกับสัตว์ปีก คือ นกขมิ้น ดูเหมือนนกชนิดนี้ จะรักความอิสระเสรี เหมือนดังพวกยิปซี กระนั้น? นกขมิ้น ใยเล่าจึงเป็นสัญลักษณ์ ของคนที่ไร้หลักปักฐาน ค่ำไหน นอนนั่นจริงหรือ หรือไปตายเอาดาบหน้า (ดาบนี้ขอไว้ก่อน 55) เพลงนกขมิ้นที่กิ่งโศก ชอบฟังอีก แนวหนึ่ง คือ สมยศ ทัศนพันธ์ ....โธ่เอ๋ย แม่นางนกขมิ้นเจ้ามาทิ้งถิ่นบินไปอยู่ไหนเล่าเอย..น้ำเสียงยานๆ เนิบๆ ดู ขลังดี อีกคน ก็ ก้าน แก้วสุพรรณ ก็มีบทเพลงเกี่ยวกันนกขมิ้น เช่นกัน สำหรับเพลงที่นำเสนอนี้ไม่แน่ใจว่า ต้นเสียง จะใช่คุณ จินตนา สุขสถิตย์ หรือ เปล่า มีคนเอามาร้องต่อมากมาย ไม่เว้นแต่ พี่เบิร์ด หุหุ แต่วันนี้เสนอในแนว ของพี่เล็ก อรวี ครับ เชิญสดับรับฟังได้.. เพลง นกขมิ้น ร้อง อรวี สัจจานนท์ ค่ำคืนฉันยืนอยู่เดียวดาย เหลียวมองรอบกายมิวายจะหวาดกลัว มอง นภามืดมัว สลัวเย็นย่ำ ค่ำคืนเอ๋ย ฮืม ยามนภาคล้ำไป ใกล้ค่ำ ยินเสียงร่ำคำบอก เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย เจ้าดอก ขจร นก ขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ำแล้วจะนอนไหนเอย เอ๋ยเล่า นกเอย อกฉัน ทุกวันเฝ้าอาวรณ์ เหมือนคนพเนจร ฉันนอนไม่หลับเลย หนาว พระพายที่พัดเชย อกเอ๋ยหนาวสั่น สุดบั่นทอน ฮืม ยามนี้เราหลงทาง กลางค่ำ ยินเสียงร่ำ คำบอก เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย เจ้าดอก ขจร ฉันร่อนเร่ พเนจร ไม่รู้จะนอนไหนเอย เอ๋ยโอ้ หัวอกเอย บ้านใด หรือใครจะเอ็นดู รับรอง อุ้มชู เลี้ยงดูให้หลับนอน นก ขมิ้น เหลืองอ่อน ค่ำไหน นอนนั่น อกฉัน หมอง ฮืม ทนระกำช้ำใจ ยามค่ำ ยินเสียงร่ำ น้ำตก โอ้หัวอกเอ๋ย โอ้อก อาวรณ์ ฉันไร้คู่ ร่วมคอน ต้องฝืนนอน หนาว เอย เอ๋ย โอ้ หัวอกเอย เมื่อ มอง หมายปองก็แลเห็น หวิวในใจเต้น เหมือนเป็นเพียงแต่มอง เหมือน พบรัง จะครอง แต่หมองเกรงที่ หวั่นจะมีเจ้าของ ฮืม ฟังสำเนียงเสียงเพลง ครวญคร่ำ ใครหนอร่ำ คำบอก เจ้าช่อไม้ดอกเอ๋ย เจ้าดอกขจร นก ขมิ้น เหลืองอ่อน ค่ำนี้ จะนอนไหนเอย เอ๋ย นอน ที่นี่ เอย ดู เศร้า ปนโศก อะนะ เพลงนี้ ต้องฟังตอนเย็นๆ ค่ำๆ โดยนั่งอยู่บนหัวกะไดบ้าน แบบต่างจังหวัด เหม่อมอง ดวงอาทิตย์ ดวงโต สีแดง ที่กำลัง ลาลับเหลี่ยมขุนเขา....อ้า วิเวกแท้ ๏ กำสรวลครวญโศกสร้อย ........กระแส ว้าเหว่ไร้ใครแล.......................ปลอบร้อง ยามค่ำย่ำคล้อยแด-.................ด่ำดับ ชีพนา เหลียวเบิ่งใครเล่าป้อง.......ปิดเร้นรอไหว ๚ะ ๏ ไผ่โอนโยนกิ่งโย้........โยกกอ คล้ายคีตดีดเส้นซอ.........โศกซึ้ง ปล่อยใจไร้เพิกรอ.......พิลาป แยงโสตรดห้วงบึ้ง..........บ่มเร้าร่ำสราญ ๚ะ ๏ ยานสุรีย์ลับแล้ว......ฉายโลม เรืองเรื่อเจือพโยม.....ยกแต้ม รัตติมณีโสม...............รอส่อง ฉายอาบวิจิตรแย้ม....มืดสิ้นสำเริง ๚ะ ๏ นกเติ่งต่างคบไม้......เมียงคอย คูข่มไร้คู่หงอย..............เงียบข้าง ระหกระเหินผลอย.....ผละพราก คนยิ่งเกินเทียบอ้าง.....แอบสะอื้นขื่นขม ๚ะ ๏ บ่มใจใบ้จ่มเบื้อ ........เจือเบน เขียมจิตคิดเจียมเห็น......ขื่นห้วง ใครลบประคบเข็น.....ความหลาก ตนจึ่งต่างหลีกล้วง.....ลึกเร้นหลบหาย ๚ะ
กรุงเทพฯ แดนฟ้าอมร กรุงเทพย่อมเป็นแม่เหล็ก ดึงดูด ผู้คน ทุกทั่วสาระทิศ เข้ามาอยู่ เพื่อ กิจหลายๆ อย่าง ด้วยความเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มาอาศัย มาค้าขาย มาพักแรม.. โดยเดือนหน้านี้(เมษายน) จะครบรอบ 228 ปี บัดนี้อะไรกันเล่านี่ ..นำเลือด ดี หรือเลือดชั่วๆ ของประดามีเหล่านักนิยมวลี ว่าประชาธิปไตย นำพราหมณ์ มาประกอบพิธีการ สาปแช่ง คนไทยทุกผู้ รวมทั้งตัวมันเอง ให้ฉิบหายวายป่วง...อนาถแท้ แต่..เมืองบางกอกเมืองนี้ องค์พระสยามเทวาธิราช ทรงปกปักรักษาอยู่ คงอิทธิคุณไสย แบบนั้น คงยากที่จะระคาย หรือ..เมื่อครั้งสร้างกรุง โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงกำกับ พิธีกรรมไว้อย่างดีแล้ว มนต์ดำกาลี แบบนั้น คงสร้างเสนียดจังไรอะไรให้กับ กรุงเทพฯไม่ได้ ..หามาให้อ่านกันนะครับ.. ดวงชะตาเมือง(กรุงเทพ)ที่ได้มีการฝังหลักเมืองในวันที่ 21 เมษายน 2325 เต็มไปด้วยบรรยากาศของอิทธิและอาถรรพณ์หลายประการ เฉพาะอย่างยิ่งที่คนโบราณเชื่อกันก็คือ ทั้ง 4 มุมเมืองนั้น ถูกฝังอาถรรพณ์สรรพเวทย์มหายันต์ไว้ทั้งสี่ทิศเพื่อป้องกันศัตรูและเสนียดจัญไร อันตราย และคนชั่วที่จะเข้ามาก่อกวนให้เกิดเป็นภัยต่อบ้านเมือง ไม่ว่าจะมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ประการใด ในสมัยก่อนนั้น คนโบราณทุกคนจะต้องมีคาถาอาคมและของขลังติดตัวกันทุกคน เฉพาะผู้เชี่ยวชาญในเวทมนตร์คาถาที่จะเสกเป่าหรือทำพิธีอะไรแสวงหาประโยชน์นั้น เชื่อกันว่ามีจริงๆ แต่คนเหล่านี้ถ้าเข้ามาในบริเวณกรุงเทพฯแล้ว ไม่ว่าจะมุมไหนใน 4 มุมนั้น เวทมนตร์คาถาที่ว่าขลังและมีอิทธิฤทธิ์ จะสูญสิ้นไปทันที คำสาปแช่งและอาถรรพณ์นานาประการ ยังคงมีความสำคัญอยู่ และยังน่าจะเชื่อกันได้ต่อไปว่าอาถรรพณ์และความศักดิ์สิทธิ์ที่โบราณได้ปลุกเสกไว้ทั้งสี่มุมเมืองนั้น น่าจะยังมีความสำคัญอยู่แน่ เฉพาะอย่างยิ่ง คนชั่วที่มีชีวิตอยู่ด้วยความทุจริตคิดมิชอบต่อบ้านเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้แต่การคอรัปชั่นกินบ้านกินเมืองกันอย่างอึกทึกครึกโครมทุกวันนี้ ก็ไม่น่าจะสวัสดีมีชัยกันไปได้อย่างวัฒนาถาวรไปนานนัก เพราะเมื่อนำดวงดาวที่มีอยู่ในดวงชะตาเดิมเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 และดาวจรที่โคจรอย่างน่าดูอยู่ทุกวันนี้มาดูกัน หุหุ...คนกรุงเทพสบายใจเถิด อาเพศ ใดๆ ย่อมไม่บังเกิด หรือบังอาจเกิดขึ้นได้ด้วยพิธีกรรมต่ำทรามแบบนั้น เราลองมาร่วมร้องเพลง กรุงเทพมหานครกันเถิด บทเพลงที่ ร้องตามชื่อ ท่อนๆต่าง และแต่ละท่อนนั้น คงความหมาย ยิ่งแล้ว เพลง : กรุงเทพมหานคร ศิลปิน : อัสนี-วสันต์ เนื้อเพลง : กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ ๏ กาฬไสยเลือดเสกสร้าง......กระทำ ฤาพ่อ เถอะยอกล่วงลุกรรม....ก่อย้อน สนองหน่วงคืนอำ.....มหิต ตนนอ แดงด่างโลหิตก้อน....เกลือกเกื้อบาปกรรม ๚ะ ๏ วิษณุเทพท้าว......นิมิต งามยิ่งยงวิจิตร....เจตฟ้า ทิพยเทิดสถิต....เทวะ ใครเล่ามันผู้กล้า...มล้างเทพคุณ ๚ะ ๏ เริงเริงสำรอกถ้อย....ซ่อนนัย ดินต่ำฟ้าสูงใด........เบิ่งข้าม คุณายิ่งเชื้อไทย..... คงอยู่ เดชแห่งไพรีคร้าม.....ก็ด้วยกษัตริยา ๚ะ ๏ แลโหลนเหลนเหล่าหล้า......ละเลง ใยนอ หวงบ่ห่วงกระเตง.......ต่างเต้น ใครพ่ายไทยแพ้เพรง....แต่เริ่ม หวนตรึกระลึกเค้น......สิเจ้าจงตรอง ๚ะ
อกใคร ใครบ้าง ไม่ช้ำ เมื่อยาม เห็นรอย ไถแปร.. ท่อนเนื้อเพลง สะท้อนถึงผู้คนที่ละทิ้ง แลลืมกลิ่นไอท้องทุ่งนา หลงระเริง ความวิไล กลายเป็นเหลิง . เหลิง..ด้วยลมปาก เหลิง..ด้วยชักจูง เหลิง..ด้วยโลภเหลือที่จักกล่าวแล้ว ..มาแนวลูกทุ่งอีกสักรอบ ..ไม่ใช่จะมาตอกย้ำถึงความเป็นคนชนบท แต่ประการใดไม่ เพราะเป็นมาแต่กำเนิดแล้ว เหอ เหอ ตอนพักทานข้าวไม่กี่วันมานี้ ชมข่าวเศรษฐกิจ (หุหุ ดูเป็นด้วยนิเรา) เห็นมีการประกาศอันดับ มหาเศรษฐี ของโลก ดูมูลค่าแล้ว พวกนี้มันทำบุญมาด้วยอะไรหนอ มีคนไทยติดอันดับ สามคนด้วย..เฮ้อ จะดีใจดีไหมนี่ (ประชด) ต่อภาพ ชาวนาที่เดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี ประท้วง ราคาข้าว ดูสองข่าวแล้วมันช่างตรงกันข้ามกันเสียเหลือเกิน อะนะ.. ..พูดถึงชาวไร่ชาวนา ก็รำลึกถึงทุ่งนาป่าเขาทันที แถวบ้านกิ่งโศก เป็นป่า เขา และทุ่งนา.. เข้าสู่ฤดูร้อนแบบนี้ที่ มาพร้อมกับความแห้งแล้งบวกความกันดาร ท่ามกลางแสงแดดเดือนมีนามันดูอบอ้าวแถมอึดอัด ..ประหนึ่งเพลิงที่รอปะทุกลางกรุงเช่นนี้ ความแห้งแล้ง มักจะมาคู่กับ ความอ้างว้าง ประกอบแม่น้ำสายหลัก ในประเทศมีปริมาณน้ำ ลดน้อย ต่ำลง..ชาวบ้านในชนบท มักจะว่างเว้น การทำไร่ทำนา เป็นส่วนมาก ก็จะหันหน้ามุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพเมืองฟ้าอมร ( ไม่ใช่มาประท้วง) แต่มาเพื่อ ขายแรงงาน เพื่อ เก็บเงินทอง..จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝน ในช่วงทำไร่ทำนาโน่น จึงจะกลับไปทำไปสู่อาชีพเดิมอีก ...นี่แหละกระดูกสันหลังของชาติ อาจจะมีบางคน ที่เห็นว่าทำงานในเมืองหลวง นั้นมีความสะดวกสบาย กว่าทำนาเยอะ.. จึงทิ้งไร่..ทิ้งนา. ผืนนาที่รอ คนพลิกฟื้น...กลับเดียวดาย ท้องนา ที่รอ คนเคียง เก็บเกี่ยว..กลับอ้างว้างหงอยเหงา ไอ้หนุ่มลูกทุ่งเฉกเช่น กิ่งโศก ได้แต่ หวัง แต่คอยอีสาวบ้านนา 555 ว่าเจ้าหล่อนจะคืนนาไหมหนอ หรือว่า สาวเจ้า ยัง ระเริงหลง ความศิวิไล.อยู่ ปล่อยก้อนดิน ที่ถูกไถ..ให้ กระด้างแข็ง ไร้ ใครมาปลูกพืชปลูกผัก และปลูกข้าว ไร้นาง ก็ เหมือนไร้พลังใจ..สำหรับหนุ่มบ้านนอก คนยากเช่นนี้ รอยไถแปร..จึงได้ถูกตรา..จารึก เรื่องราว ของน้องนาง...ที่ลืมทุ่งนา มุ่งขุดทองที่เมืองฟ้า มาฟังเพลงนี้กันครับ รอยไถแปร ขับร้อง ก้าน แก้วสุพรรณ ทุ่งนาแดนนี้ ไม่มีความหมาย เหลือเพียงกลิ่นโคลนสาบควาย เห็นซาก คันไถแล้วเศร้า เห็นนาที่ร้าง นั้นมีแต่ฟาง แทนรวงข้าว เห็นเคียวที่เกี่ยว เหน็บติดเสา เล่นเอาใจเรา สะท้อน ทุ่งนาแดนนี้ ข้าเคยไถทำ สองมือ ข้าเคย หว่านดำ ฤดู ฝนพร่ำ หน้าก่อน แต่มาปีนี้ ฤดี ข้าแสนจะสะท้อน เพราะมา ไร้คู่ กอดเคียงหมอน ทิ้งให้เรานอน ระกำ รอย ไถเอย ข้าเคยไถถาก เดี๋ยวนี้ เจ้ามา คิดจาก ฝากให้ เป็นรอย ไถช้ำ เปลี่ยนรอย ไถใหม่ ทิ้งรอย ไถเก่า ระกำ อกใคร ใครบ้าง ไม่ช้ำ เมื่อยาม เห็นรอย ไถแปร ทุ่งนาแดนนี้ คงร้างไปอีกนาน ข้าเอง ก็เหลือ จะทาน เพราะมัน แสนสุด จะแก้ หมดกำลังใจ แล้วเรียมเอ๋ยข้า คงตายแน่ จะไถไปอีก ก็กลัวแพ้ เพราะรอยมันแปร เสียแล้ว เรียมเอย เพลงนี้ ปัจจุบัน มีคนร้อง กันหลายเวอร์ชั่น..ผมชอบที่ นิค นิรนามเอามาร้อง ดูมีพลังดี ๏ ดินแตกแยกปริแห้ง ......... เหือดดอน ลุ่มนา เคียวเกี่ยวฝาคาคอน ............. เติ่งค้าง ผองทวิชพลัดจร ................ หนีจาก เหงาเงียบยะเยียบร้าง ......... ป่าช้ารอผี ๚ะ ๏ ดินแตกแยกปริแห้งเหือดนาดอน ต้นฟางเหี่ยวเฟี้ยวห่างระคางเขลา แดดระยิบลิบหญ้าระยับเงา- อสูรเผาเสาพรุนเป็นจุณฟอน ๏ คราดและไถไล่ถาเสียบฝาบ้าน คล้ายถ้อยขานถ่านคล้อยรอยกาสร ลืมรอยดะระดอยผืนดินดอน ลืมฟืนท่อนฟอนทึน-ทึกผืนดิน ๏ แม่เรียมหนีรี่เหนียมหน่ายรวงข้าว ทิ้งแผลร้าวเผาแล่แลถวิล ทิ้งทุยเผือกเทือกพลุ้ยตะกุยอินทร์ ทิ้งถ้อยสิ้นถิ่นสร้อยศาลเพียงตา ๏ ก้อนดินแปรแดปลิ้นกี่รอบแล้ว เสียงนกแก้วแนว,กก,ผงกหา คู่รอเคล้าเร้าคลอคูคันนา ขวัญรอท่าล้าท้อรอแม่เรียม ๏ หางไถหักถักไหเปรอะเปลวฝุ่น เสื้อรอชุนรุนสอปลายเข็มเขียม ทุ่งรอนางร้างหนอดุจตอเกรียม เผือกเจ้าเทียมเจียมเท้ารอเจ้าจูง ๚ะ ๏ ผกาโรยกลิ่นร้าง............หลงเก- สรเฮย แลภู่พิศโลมเท............ยากแท้ ขวัญโหยพร่ำโผเผ.......แรงแผ่ว ใจกร่อนยังหวังแก้.......พลิกฟื้นรอยไถ ๚ะ
ลุ่มโขง... เส้นนทีสายนี้ ที่หล่อเลี้ยง ผู้คนสองฝั่ง ทอดยาวโค้ง ก่อกำเนิดอะไรมากมาย ไม่ว่าประเพณี วัฒนธรรม ตำนานปรัมปรา ต่างๆ มากมายภายลุ่มน้ำแห่งนี้ มาบัดนี้ อาเพทอันใดหนอ.จึงได้แห้งเหือด ประหนึ่ง เทวนาคาพิโรธกระนั้นหรือ ? ลุ่มน้ำโขงอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ เกิดจากต้นน้ำในที่ราบสูงทิเบตไหลผ่านตอนใต้ของประเทศจีน ตะวันออกของ ประเทศพม่า ไทย ลาว และกัมพูชา และไหลลงทะเลจีนใต้ที่ทิศใต้ของประเทศเวียดนาม ..หากกล่าวถึงแถบอิสานตอนบน...ลุ่มน้ำโขงแดนนี้ มีนักร้องท่านหนึ่ง ชื่อคำปัน ผิวขำ..หากเอ่ยชื่อ แบบนี้ หลายๆ คนคงส่ายหน้า..ฉานม่ายรุจัก อะ.. แต่หากบอก ปอง ปรีดา เอะชักจะคุ้นๆ...สำหรับ คนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากกว่า..สามสิบปี.. ..นักร้องที่เรียกว่า ขี้เหร่ ตัวดำ ขนาดไปสมัครตามวงดนตรีเขายังรังเกียจ น้ำเสียงก็งั้นๆ .สุดท้ายก็สมใจ ปอง ปรีดา จึงได้สร้างชื่อด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนลุ่มแม่โขงจึงได้กลมกลืน..กลมกลืนในภาพลักษณ์ตนเอง..กลมกลืนในความเป็นคนพื้นแถบนี้ ทั้งถ้อยคำภาษาที่ใช้...ที่นำมาใช้อย่างหาญกล้าในยุคนั้น... กลมกลืนกับชีวิตที่คงความผูกพันกับดินแดน..ลำน้ำสายนี้.. ...ปอง ปรีดา..ตำนานบทเพลงความหวงแหนดินแดนสองฝั่งโขง บทเพลงที่พอจะจำติดหู..เพลง.สาวฝั่งโขง ที่สร้างชื่อให้แก่เขาอย่างมาก..และบทเพลงที่เกี่ยวกับลำน้ำโขง หลาย ๆเพลง.. เนื้อหาเพลง อาจวนเวียน อยู่กับ สายน้ำลำของหรือลำโขง..แสงเดือนเพ็ญ...ทิวไม้...และ บรรดาสาวๆ ในย่านสองฝั่งแม่น้ำ หลายคนคงผ่านตา...ภาพยนต์ เรื่องสบายดีหลวงพระบาง มากันบ้างนะ..กำลังปูพื้น ปูกระดาน ให้ท่านเข้าสู่ กับ บทเพลง ๆนี้.. ล่องโขงคืนเพ็ญ ขับร้องโดย ปอง ปรีดา ล่องโขงเลียบริมสายชลธาร ค่ำนี้พี่พานงคราญเริงรื่นชื่นบานเลาะฝั่งไป สุขเหลือล่องเรือน้อยลอยเริงใจ ใต้แสงเด่นเดือนนวลใยเราสุขฤทัยเพลินเที่ยวชม แว่วเสียงใครแอ่วครวญเย้ายวนอารมณ์ เสียงแคนเสียงแผ่วผสมสายลมโชยพัดมาแต่ไกล พี่เผลอตัวจับมือน้องมากุมไว้ หวังฝากคำฮักไปหวังใจน้องโปรดเมตตา พุ่มพฤกษ์ข้างลำโขงบังเงาเดือน สุขเหลือไม่ลืมไม่เลือนคำพลอดยังเตือนฝังอุรา ลุ่มโขงกั้นกลางขวางทางไปมา ไม่ขวางกั้นทางชีวาที่ปรารถนาจะร่วมไป พี่ฮักนางจูบปรางค์เว้าคำรำพัน สัญญารักไม่แปรผันทุกวันจะฮักจนสุดใจ โขงฟากโน้นพี่จะขอว่ายข้ามไป หวังคู่เคียงดวงใจเพราะความฮักใคร่ผูกพัน ...บทเพลงที่สอดแทรก อธิบายถึงทัศนียภาพ สองฝั่งโขง ทุกห้วงเวลาได้ชัดแจ้งนักละครับ..อยากมีมีเวลาไปล่องลำโขงสักครั้งจังเลย....หุหุ.. ลุ่มน้ำ...ล่องโขง ๏ ล่องโขงแลย่ำข้ำ(ค่ำ)......... เพ็ญดวง ระยิบยับเงินยวง.............. ทอดเส้น ธารเลื่อนเคลื่อนผ่านสรวง ....... ผินสู่ ใจนา เกลียวผกผันผ่านเน้น ....... หน่ายสิ้นชื่นหนอ ๚ะ ๏ ล่องโขงค่ำย่ำล่วงเพ็ญสรวงส่อง ประกายคล้องเดือนเกี่ยวทอดเรียวสาย- แสงเงินงามกระพริบระยิบพราย ประหนึ่งด้ายดิ้นพลิ้วพัดปลิวลม ๏ เส้นชีวิตฝากไว้บนสายน้ำ ยอชูค้ำร่างข้าความประสม รอชำระชะล้างประพร่างพรม ร่ำรอจมร่างหายสู่สายธาร ๏ ณ..เพลาสิ้นแรงได้แฝงฝั่ง ทอดแลหลังความย้อนรอยอ่อนหวาน อดีตรื่นชื่นฉ่ำหวามตระการ บัดนี้ผ่านซ่านขมจึงจมทรวง ๏ ลุ่มลำของโค้งหายสู่ปลายล่าง เฉกเส้นทางไม่หวนกำสรวลสรวง รักไปลับจมกระแสสิ้นแดดวง โดดเดี่ยวห้วงกลวงเปล่าด้วยสาวเมิน ๏ โขงเอยโขงโยงผูกดวงลูกบ้าง อย่าให้นางห่างหายคล้ายโขดเขิน สายน้ำเซาะเลาะแซกกระแทกเทิน- หลุดระเหินแยกหายแปรทรายปน ๚ะ ๏ ไผ่โอนโยนโยกโย้.......ยอลม เสียงร่ำจำเรียงขรม............ฝั่งข้าง เอนร่างราบจอดจม...........คีตกล่อม สดับเฮย รอนริดปลิดปลดร้าง........ไล่เร้าเผาทรวง ๚ะ เส้นสวยๆ ได้มาจากคุณญามี่ ภาพ..จากกูเกิ้ล ส่วนเพลง ไม่ดัง..ก็ขอความกรุณา ผู้รู้ช่วยบอกวิธีด้วยเน้อ ...กลุ้ม เรื่องเพลง นี่แหระ 55
สายๆ ของวันหยุด..หลังจากที่ปล้ำกะเครื่องคอมฯ ไม่สามารถเข้าเนต ได้ ก็เลยต้องย้ายมานอนอ่านหนังสือ ..วันนี้อ่าน เรื่องบาดาล.ของป้าทมฯ จบเล่มสองพอดี..(ดันมีต่อภาคสองอีก อะ)..เลยหยิบ ของแก้วเก้า หรือ ว.วินิจฉัยกุล..ผู้โด่งดัง เรื่อง เรือนมยุรา เปลวเทียน รันตนโกสินทร์ สองฝั่งคลอง. ฯลฯ วันนี้. หยิบจอมนาง..เอามาอ่าน ขณะกำลังอ่าน ด้วยตากำลังปรือเต็มที่เคล้าเสียงเพลงที่เปิดกล่อม เสียงบรรเลงเพลง .เป็นเพลงจีน..ฟังปุบ..ก็ทราบทันทีว่าเพลงอะไร ปกติ ..ขาประจำเก่าๆ ตามคาราโอเกะ จะร้องกันประจำ.. จนมีเอามาล้อกัน.....เทียน ม่ายมี....ก็ว่าเทียน มันม่ายมี... เพลงนี้ ชื่อ เทียนมี่มี หรือไม่มีเทียนที่จะให้แสงสว่าง ได้แล้วกระมัง นี่ ..คงไม่หรอกนะ เมืองไทย ดินแดนแห่งพุทธศานา..ดินแดนที่เรืองรุ่ง ตลอด คงไม่แร้นแค้น จนไม่มีแสงสว่างได้หรอกน่า แม้นว่า แสงสว่างจะเกิดจากเพลิง ความเกลียดชัง..อยู่ขณะนี้ก็ตามเถอะ กิ่งโศกภาวนา อย่าได้ลุกไหม้นานเลย.. แม้นปฐพีเพลิงจะปรากฏ แต่ขอให้เป็นแสงสว่างให้ความร่มเย็นที่มา จุดไล่ ความคละคลุ้ง ฝุ่นควันเปลวอัคคีร้ายแห่งมืดมนให้พบแสงสว่าง กันจนได้ ไม่มีเทียน แต่ประกายแสงสว่าง จะเกิดกับ ดวงใจทุกดวง เพื่อแผ่นดินตัวเอง..แผ่นดินที่บรรพบุรุษ ได้ร่วมปกปักรักษา มากี่ชั่วอายุ คนแล้ว กลับมาที่เพลง เทียนมี่มี ..ชื่อของเพลง และ นักร้อง ผู้งดงามด้วย เรือนร่าง ชาวต่างชาติ และ น้ำเสียงผู้นี้ ซึ่งได้ มาเสียชีวิตที่เมืองไทย ครั้งเมื่อไปเที่ยวที่ เชียงใหม่ ปี 2538 ถือว่าเป็นการสูญเสีย นักร้องผู้มีมนต์เพลงอมตะ เลยทีเดียว ...ที่หุ่นขี้ผึ้งของมาดามทูซโซ่ ที่เซี่ยงไฮ้ ก็ได้ ปั้นหุ้นเธอไว้ เพื่อ เป็นที่รำลึกถึงเธอ.. ลองมาฟังเพลง ที่กิ่งโศก พยายามหา ทั้งเนื้อเพลง แบบ ต้นฉบับ แบบอังกฤษ แบบไทย และ แปลเป็นไทย มาให้อ่าน และให้ฟังกันครับ.. เพลง : เถียนมี่มี ศิลปิน :เตื้งลี่จวิน เถียนมี่มี่ หนี่เซี้ยวเตอะเถียนมี่มี่ ฮาวเซี้ยงฮัวเอ๋อ คายจ้ายชุนฟงลี คายจ้ายชุนฟงลี จ้ายน๋าลี จ้ายน๋าลีเจี้ยนกั่วหนี่ หนี่ตี้เซี้ยวหลงเจ๋อะยังโซวซี หว่ออีซือเซี่ยงปู่ชี อา....จ้ายหม่งลี หม่งลี หม่งลี เจี้ยนกั่วหนี่ เถียนมี่ เซี้ยวเตอะตั่วเถียนมี่ ซื่อหนี่ ซื่อหนี่ หม่งเจี้ยนลีจิ้วซื่อนี จ้ายน๋าลี จ้ายน๋าลีเจี้ยนกั่วหนี่ หนี่ตี้เซี้ยวหลงเจ๋อะยังโซวซี หว่ออีซือเซี่ยงปู่ชี อา..จ้ายหม่งลี แถมเนื้อร้องเป็นปะกิต " Tian Mi Mi " Original Version : Deng Li Jun tian mi mi ni xiao de tian mi mi hao xiang hua er kai zai chun feng li kai zai chun feng li zai na li zai na li jian guo ni ni de xiao rong zhe yang shou xi wo yi shi xiang bu qi azai meng li meng li meng li jian guo ni tian mi xiao de duo tian mi shi ni shi ni meng jian de jiu shi ni เนื้อร้องต้นแบบ..ภาษาจีน 甜蜜蜜 甜蜜蜜 你笑得甜蜜蜜 好像花儿开在春风里 开在春风里 在那里在那里见过你 你的笑容这样熟悉 我一时想不起 啊在梦里 梦里梦里见过你 甜蜜笑得多甜蜜 是你是你 梦见的就是你 อันนี้...มีคนแปลเป็นภาษาไทย ให้อะ " หวานชื่น " รอยยิ้มของเธอ ช่างหวานชื่นเหลือเกิน ดุจดอกไม้ที่บานสะพรั่ง ท่ามกลางสายลมในฤดูใบไม้ผลิ ฉันเคยพบเธอที่ไหนมาก่อนนะ รอยยิ้มของเธอ ช่างคุ้นตาเหลือเกิน แป๊ปเดียว ชั่วขณะเดียวแบบนี้ ฉันยังนึกไม่ออก อ้อ...ในฝันนั่นเอง ฉันเคยพบเธอในฝันนั่นเอง รอยยิ้มของเธอ ช่างหวานเหลือเกิน เธอนั่นเอง คนที่ฉันฝันเห็นคือเธอ ฉันเคยเพบเธอที่ไหนมาก่อนนะ รอยยิ้มของเธอ ช่างคุ้นตาเหลือเกิน แป๊ปเดียว ชั่วขณะเดียวแบบนี้ ฉันยังนึกไม่ออก อ้อ...(ฉันเคยพบเธอแล้ว) ในฝันนั่นเอง เติ้ง ลี่จวิน หรือ เทเรซา เตง (จีนตัวเต็ม: 鄧麗君; จีนตัวย่อ: 邓丽君; พินอิน: Dèng Lìjūn, ญี่ปุ่น: テレサ・テン, 29 มกราคม พ.ศ. 2496 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักร้องเพลงจีนสากลชื่อดังและมีอิทธิพลอย่างสูงชาวไต้หวัน เธอเกิดที่ เมืองเป่าจง มณฑลหยุนหลิน สาธารณรัฐจีน โดยบรรพบุรุษของเธอมาจากมณฑลเหอเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เสียงและเพลงของเธอเป็นที่จดจำทั่วทั้งเอเชียตะวันออกและในหมู่ชาว จีนทั้งในประเทศจีน ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก จนมีคำกล่าว ว่า "มีชาวจีนอยู่ที่ไหน ก็จะได้ยินเพลงของเติ้ง ลี่จวินที่นั่น" นอกจากนี้ เพลงของเธอยังเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวไทย ชาว เวียดนาม ชาวมาเลเซีย และชาวอินโดนีเซียจำนวนมากเช่นกัน เติ้ง ลี่จวิน มีชื่อเสียงจากบทเพลงรัก และเพลงพื้นเมืองภาษาหมิ่นหนาน (ภาษาฮกเกี้ยน) เพลงที่โด่งดังจนรู้จักกันทั่วไปทั่วเอเชีย ได้แก่เพลง เถียนมี่มี่ (甜蜜蜜, Tiánmìmì แปลว่า หวานปานน้ำผึ้ง) และเพลง เยว่เหลียงไต้เปี่ยวหวอเตอซิน (月亮代表我的心, yuè liang dài biăo wŏ de xīn แปลว่า พระจันทร์แทนใจฉัน) ไม่เพียงเพลงภาษาจีน กลางเท่านั้น เธอยังเคยมีผลงานเพลงภาษาไต้หวัน ภาษากวางตุ้ง ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเวียดนาม ภาษาอินโนนีเซีย และภาษาอังกฤษด้วย เติ้ง ลี่จวิน เสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากโรคหอบหืด ขณะเดินทาง มาพักผ่อนที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ขณะอา ยุได้เพียง 42 ปี แม้จะเป็นเพลงต่างชาติ แต่ถือว่าเป็นเพลงที่โด่งดังไปในหลายชาติ ที่น้ำเสียง ทำนอง ฟัง แล้ว กิ่งโศกว่า ทำให้ มีความเยือกเย็น ขึ้นอีก พะเรอเกวียนเลยที่เดียว ๏ไฟโชนฉายฟ่องเชื้อ ฟางชุน รุมก่อล้อกลุ่มลุน กรุ่นหรุ้ม ( รุ่ม) กระพือพัดกัดพรุน กลืนแผ่น ดินเฮย ความกร่างคุเกลี่ยคุ้ม......กัดเค้นเกินขาน ๚ะ ๏ ละหานลานหะร้อง......เรียงหอย ปูนา ครึกลั่นครั่นลึกคอย....ขับเร้า แลข้ามร่ำแค่ลอย........ลุเคลื่อน เลือนเฮย เสียงดับพับเดียงเศร้า.....สรรพร้องกลืนหาย ๚ะ ๏ เจียมตนจนต่ำใต้........ถ่างตา ขยับขยายแข้งขา.......ขยุกขย้อน ปิดปากสักชั่วครา.....ความแปลก สะทกสะท้านสะท้อน....เบิ่งกว้างสองตา ๚ะ ๏ แรมแรมมิร่อนร้อน......สูญสูรย์ รุ่มรุ่มคือกรุ่นกรุน.......ค่อนค้อน ก่อก่อเกิดขุ่นคูณ........ขวับควบ เคลื่อนนอ เยือกเยือกใช่ร่อนร้อน.....ลู่รู้แหงแหง ๚ะ + กิ่งโศก+ ขอบคุณลายเส้นสวยๆ จากคุณญามี่..(ไปแอบจิกมา) ข้อมูลค้นมาจาก กูเกิ้ล..และ จาก wikipedia