28 กุมภาพันธ์ 2549 19:36 น.
กวินทรากร
ไคซ่าร์เสียวแสบท้อง............โดยแทง
บงบัดบรูตุสเอง.................ออกล้าง
เงี้ยวในอกอุ่นแวง...................ไวขบ
คือนิทานนี้อ้าง......................อาจเห็น
บรูตุสประกาศก้อง................กรุงโรม
ไคซ่าร์ถะเย้อถะยานเป็น...........ปิ่นไท้
ความดีดั่งไฟโหม...................หายดับ..ไปแฮ
บรูตุสดีด้วยได้......................ดุจใจ
อัศนี พลจันทร
30-22 ธค. 90
โคลงบทนี้ แต่งขึ้นเพื่อเสียดสี การรัฐประหารเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
โดยยกเหตุการณ์ ของจูเลียต ซีซ่าร์ มาเปรียบเทียบ อ่านเพิ่มเติม เรื่องการรัฐประหารได้ที่
http://www.geocities.com/pbanomyong/articles_th/sarakadee15.html
จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar)
จูเลียส ซีซาร์ เป็นนายพลที่ยิ่งใหญ่ของโรมัน และเป็นผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์
เขาเกิดในโรมเมื่อ 100 ปีก่อนคริสตศักราช อ่านประวัติ ซีซ่าร์ เพิ่มเติมได้ที่
http://www.livius.org/caa-can/caesar/caesar00.html
มาคุส บรูตุส (Marcus Junius Brutus Caepio) เป็นเพื่อนของ จูเลียส ซีซาร์ ต่อมาก็หักหลังเพื่อนลอบแทงข้างหลัง
จูเลียส ซีซาร์ ถึงแก่ความตายกลางสภา กระทั่งเกิดสำนวนที่ว่า "แทงข้างหลัง"
อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ มาคุส บรูตุส
http://www.livius.org/bn-bz/brutus/brutus02.html
คำไขอธิบายโคลง
ไคซ่าร์ (Caesar) (ยอดขุนพลแห่งพวกโรมที่ทำความดี ความรุ่งโรจน์ไว้ให้กรุงโรมไม่น้อย)
ถูกแทงที่ท้องบาดเจ็บ เหลียวมาดูก็เห็นว่าผู้แทงนั้นคือบรูตุส (Brutus) นั่นเองงูในอ้อมอก
ของตนที่แว้งกัดเอาอย่างว่องไวทันที เป็นนิทานที่อาจอ้างให้เห็นได้
บรูตุส คุยลั่นเมืองว่า ไคซ่าร์มีความถะเย้อถะยาน (ambition) อยากจะเป็นกษัตริย์
ความดีของไคซ่าร์ที่รุ่งโรจน์เหมือนไฟลุกอยู่ ก็หายดับไป ส่วนบรูตุสกลายเป็นคนดี
ถูกใจคนหลายคนเท่านั้น
(วิมล พลจันทร.รำฤกถึงนายผีจากป้าลม. กรุงเทพฯ : ทะเลหญ้า, 2533.)
ประเด็นข้อสงสัย
ทำใมคุณ อัศนี พลจันทร จึงได้เอ่ย นาม ซีซาร์ (Caesar) ว่า ไคซ่าร์ ทั้งๆที่ บริบทของโคลงในขณะนั้นคือ
ไคซ่าร์เสียวแสบท้อง ซึ่งสามารถเล่นเสียงสอ เสือได้ว่า ซีซ่าร์เสียวแสบท้อง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่คุณอัศนีรู้ดีอยู่ในเรื่องเคล็ดกลอน
ข้อสันนิษฐานของ คุณ อกนิษฐ์
"Julius Caesar อ่านเล่น ๆ ตามสำเนียงทางละติน ว่า ยูลิอูส คาเอซาร์ ลองอ่านเร็วๆ ดู
จะเห็นว่าไม่น่าจะแปลกถ้านายผีจะใช้ว่า ไคซ่าร์ (ข้อสังเกตเฉย ๆ นะครับ บ่ใช่ข้าสรุป)"
ผมเห็นด้วยกับคุณ อกนิษฐ์
เชษฐภัทร แนะว่าชื่อของ ชื่อของ (Niccolo Machiavelli) ควรอ่านออกเสียงว่า นิโก๊ โหละ มาคิอา เว้ หลิ
บางคนยังอ่านรวบๆว่า นิโก๊ โหละ มาเคีย เว้ หลิ เลย
คาดคะเน
ทำใมคุณ อัศนี พลจันทร จึงได้เอ่ย นาม ซีซาร์ (Caesar) ว่า ไคซ่าร์ ทั้งๆที่ บริบทของโคลงในขณะนั้นคือ
ไคซ่าร์เสียวแสบท้อง ซึ่งสามารถเล่นเสียงสอ เสือได้ว่า ซีซ่าร์เสียวแสบท้อง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่คุณอัศนีรู้ดีอยู่ในเรื่องเคล็ดกลอน
นั่นน่าจะเป็นเพราะ นายผี เลือกการสื่อความยังผู้อ่านมากกว่าความไพเราะของเสียงสำผัสอักษรนั่นเอง โดยที่นายผีเลือกออกเสียง (Caesar) เป็นภาษาไทยว่าไคซ่าร์ โดยใช้สำเนียง ละติน
จึงวิพากษ์บ้าง
"ถิ่นสัคค์"เสียวแสบท้อง...........โดยแทง
บงบัด"จองลำ"เอง.................ออกล้าง
เงี้ยวในอกอุ่นแวง....................ไวขบ
คือนิทานนี้อ้าง.........................อาจเห็น
"จองลำ" ประกาศก้อง..............กรุงสยาม
"ถิ่นสัคค์"ถะเย้อถะยานเป็น.........ปิ่นไท้
ความดีดั่งไฟลาม......................เลือนดับ..ไปแฮ
"จองลำ"ดีด้วยได้....................ดุจใจ
โดยแทง=โดยการแทง อย่าหลงเป็น โดนแทง
บง ภาษาเขมร=มอง
บัด=บัดนั้น บัดนี้ ทันใดนั้น ทันใดนี้
ออกล้าง=ออกมาฆ่าล้าง
เงี้ยว=งู เช่นงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ; เขี้ยว=ขอ (ขอและเขี้ยวมันโค้งๆเหมือนกัน)
แวง=แว้ง แวงไวขบ แว้งขบกัดด้วยความไว
ปิ่นไท้=เจ้าผู้ปกครอง
ดุจใจ=ดั่งใจ (ไม่ล่าย หลั่งจายเลย)
28 กุมภาพันธ์ 2549 19:32 น.
กวินทรากร
ในความคิดของนักปรัชญาการเมืองอิตาเลี่ยน นิโก๊ โหละ มาคิอา เว้ หลิ (Niccolo Machiavelli) อาจได้รับการมองว่าเป็นปรัชญาการเมืองแบบทางโลก(secularization)ที่สมบูรณ์.และมีความโดดเด่นทางแนวความคิดคือ แยกคุณธรรมจริยธรรมออกจากการบริหาร ในงานเขียนที่ชื่อ The Prince : เจ้าผู้ปกครอง ,แปลเป็นภาษาไทยโดย ศ.ดร. สมบัติ จันทรวงศ์
Machiavelli เป็นนักการฑูตและนักบริหารที่มีประสบการณ์เขาได้อธิบายว่า การต่อสู้กันด้วยอำนาจนั้น มันได้รับการชักนำขึ้นมาอย่างไรในสมัยเรอเนสซองค์ของอิตาลี, จากการบรรยายถึงเรื่องนี้ทำให้เขาได้รับชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว.งานเขียนในช่วงปลดเกษียณหลังจากการถูกถอดถอนทางการเมือง, ในเรื่อง The Prince เขาได้กล่าวว่า ผู้ปกครองจะต้องรวมความเข้มแข็งของ "ราชสีห์" เข้ากับความหลักแหลม(ฉลาดแกมโกง)ของ "วฤก" เอาไว้ด้วยกัน: เขาจะต้องระมัดระวังตัว ไหวตัว ไร้ความเมตตา และมีความพร้อมทันที ฆ่าหรือขจัดปรปักษ์ หรือทำให้ศัตรูเป็นอัมพาตโดยปราศจากการเตือนให้รู้ล่วงหน้า. และเมื่อเขากระทำการอันใดที่เป็นอันตรายมันก็จะต้องเป็นไปพร้อมกันทั้งหมด. สำหรับมนุษย์แล้ว ควรจะได้รับการปฏิบัติด้วยดีหรือไม่ก็บดขยี้ เพราะพวกเขาสามารถที่จะแก้แค้นและนำอันตรายมาถึงตัวท่านได้เป็นขบวน แต่ถ้าเอาจริงเอาจังพวกเขาจะไม่สามารถทำเช่นนั้นได้. ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าชายหรือนักปกครองที่มีความลังเลใจ ผู้ซึ่งดำเนินรอยตามหนทางที่เป็นกลาง โดยทั่วไปแล้ว จะประสบกับความพินาศ. เขาแนะนำว่า มันจะเป็นการดีที่สุดที่จะลงจากอำนาจในช่วงเวลาที่เหมาะสมตอนที่เป็นฝ่ายชนะ และนครต่างๆที่พ่ายแพ้ควรที่จะถูกปกครองโดยตรงโดยทรราชเอง ด้วยการพำนักอยู่ที่นั่นหรือไม่ก็ทำลายมันเสีย. นอกจากนั้น บรรดาเจ้าชาย(นักปกครอง)ไม่เหมือนกับคนที่สันโดษทั่วไป ไม่ต้องรักษาศรัทธาใดๆไว้: นับแต่ที่การเมืองต่างๆได้สะท้อนถึงกฎหมายที่สับสนยุ่งเหยิงและรกรุงรัง รัฐก็คือกฎหมายของตัวมันเอง, และการปกครองที่มีศีลธรรมธรรมดาไม่จำต้องใช้มันแต่อย่างใด Machiavelli ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า การเป็นที่รักนั้นดีกว่าการเป็นที่หวาดกลัวหรือว่ากลับกัน เราอาจตอบว่าเราย่อมปรารถนาจะเป็นทั้งอันหนึ่งและอีกอันหนึ่ง แต่เนื่องจากยากที่จะผสมคุณสมบัตินี้เข้าด้วยกัน ถ้าอันใดอันหนึ่งในสองอันนี้จะต้องขาดไป การเป็นที่หวาดกลัวจึงเป็นการปลอดภัยมากกว่าเป็นที่รัก เพราะเราสามารถจะพูดสิ่งนี้โดยทั่วไปเกี่ยวกับมนุษย์ได้ว่า พวกเขาอกตัญญู เปลี่ยนใจง่าย เป็นพวกมือถือสากปากถือศีล และพวกอำพราง พวกหลีกเลี่ยงอันตราย ผู้รักผลได้ และในขณะที่ท่านทำดีต่อพวกเขา พวกเขาก็จะเป็นของท่านเต็มตัว อุทิศโลหิต สิ่งของต่างๆ ชีวิตและบุตรชายแก่ท่าน อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อความจำเป็นนั้นอยู่ห่างไกลออกไป แต่เมื่อความจำเป็นเข้ามาใกล้ท่าน เมื่อนั้นพวกเขาก็จะเป็นกบฏ และเจ้าผู้ปกครองที่วางรากฐานบนถ้อยคำของพวกนั้นอย่างเต็มตัว หากพบว่าตนเองขาดการเตรียมการอย่างอื่นๆเมื่อใด ก็จะถูกทำลาย เพราะมิตรสหายที่เราได้มาด้วยการซื้อหาและมิใช่ด้วยความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของจิตใจนั้น เราสมควรจะได้พวกเขา แต่เราไม่ได้พวกเขาเลย เมื่อเวลามาถึงก็ไม่อาจใช้พวกเขาได้ และมนุษย์มีความระมัดระวังในการทำให้คนที่ทำให้ตนเป็นที่รักต้องขุ่นเคือง น้อยกว่าคนที่ทำให้ตนเป็นที่หวาดกลัว เพราะความรักนั้นคงรักษาไว้ได้ด้วยสายโซ่แห่งภาระผูกพัน ซึ่งเนื่องจากความชั่วร้ายของมนุษย์จึงถูกตัดขาดได้ทุกโอกาส
เพื่อผลประโยชน์ของตน แต่ความกลัวนั้นคงรักษาไว้ได้โดยความหวาดกลัวการลงโทษ ซึ่งไม่เคยจากท่านไปเลย
ยกตัวอย่างเช่นเจ้าผู้ปกครอง (ผู้ชาย) จะต้องมีหน้าที่ รั ก ษ า ค ว า ม เ ป็ น รั ฐ ไว้ (ในที่นี้หมายถึงความเป็นสามีภรรยา) ถ้าจะต้องให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างการทำให้แฟน ก ลั ว กับการทำให้แฟน ช อ บ เพื่อที่จะรักษาเธอไว้ ในสภาวการณ์เช่นนี้ เจ้าผู้ปกครอง ย่ อ ม ต้ อ ง เ ลื อ ก ใ ห้ เ ธ อ ก ลั ว เพราะความกลัวจะทำให้เธอไม่กล้าไปไหนโดยไม่บอกไม่กล่าวเพราะเธอรู้ว่าแฟนเธอดุ แต่ถ้า เลือก ทำ ใ ห้ รั ก เพื่อที่จะรักษาเธอไว้ ธรรมชาติมนุษย์ไม่มีความซื่อสัตย์ ถ้าคุณรักเธอเกินไปตามใจเธอทุกอย่างเธออาจเห็นว่าคุณใจอ่อน และคุณอาจรักษาเธอไว้ไม่ได้
สิ่งที่Machiavelli กล่าวถือว่าถูกในส่วนหนึ่ง เพราะการที่องค์อธิปัตย์จะทำให้ประชาชนจงรักภักดีได้นั้นถ้าไม่ด้วยการทำให้รักก็ด้วยการทำให้กลัว การทำให้รักนั้นย่อมไม่ใช่ความรักในความหมายแบบโรแมนติก หากแต่เป็นความรักในแบบมิตร(Mitra) ในความหมายแบบ Indo-Iranian หรือไมตรี หรือ เพื่อน ( Friend ) ในความหมายแบบละติน
ซึ่งล้วนแล้วแต่หมายถึง สัญญา (contract) ของขวัญ ( Gift ) หรืออื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายในเชิงของการแลกเปลี่ยน ( Exchange) ผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน เป็นมิตรกันในลักษณะของพันธมิตรคือเป็นมิตรกันด้วยพันธะของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ซึ่งความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้สามารถพังทลายลงได้อย่างง่ายดายหากมีผลประโยชน์อื่นที่สามารถสนองความต้องการได้ดีกว่า และความจงรักภักดีนั้นก็จะหมดไปในทันที ซึ่งความจงรักภักดีที่เกิดจากความกลัวนั้นต่างออกไป องค์อธิปัตย์สามารถทำให้ประชาชนจงรักภักดีได้ด้วยความกลัวการถูกลงโทษ และการลงโทษนั้นก็คือความโหดร้ายทารุณนั่นเอง ความโหดร้ายทารุณหากใช้อย่างดีก็จะส่งผลให้เกิดความจงรักภักดีได้อย่างคงทน แต่หากความโหดร้ายทารุณนั้นใช้อย่างเกินพอดี(หรืออย่างเลว)เมื่อใด เมื่อนั้นความกลัวก็จะกลับกลายไปเป็นความเกลียดชัง และเมื่อนั้นความจงรักภักดีก็จะสูญสลายตามไปด้วย จุดที่Machiavelli มิได้กล่าวไว้โดยตรงก็คือ การรวมคุณสมบัติทั้งสองคือความรักและความกลัวเข้าด้วยกันนั้นแม้จะยากแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่องค์อธิปัตย์พึงกระทำก็คือ สร้างความจงรักภักดีโดยใช้ความรักควบคู่ไปกับความกลัว เป็นทั้ง Mitra และ Varuna มิเช่นนั้นหากจะสร้างความจงรักภักดีด้วยความหวาดกลัว
ก็ควรจะทำให้ตนเป็นที่หวาดกลัวในแบบที่แม้ไม่ได้ความรักมา แต่ก็ไม่เป็นที่เกลียดชัง ซึ่งการทำให้หวาดกลัวแต่ไม่เป็นที่เกลียดชังนี้ก็สามารถทำได้โดยใช้ความโหดร้ายทารุณด้วยความสุขุมรอบคอบ กล่าวคือใช้ความโหดร้ายทารุณอย่างดีนั่นเอง ซึ่งการใช้ความโหดร้ายทารุณอย่างดีนั้นก็ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าคือความทารุณโหดร้ายที่กระทำอย่างฉับพลัน เหมาะกับความจำเป็นที่ต้องทำให้ตนเองมั่นคง และหลังจากนั้นแล้วก็ไม่ดำเนินต่อไปแต่เปลี่ยนไปให้ประโยชน์อันยิ่งใหญ่สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง ลักษณะของการใช้ความทารุณโหดร้ายอย่างดีนั้นหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วก็จะพบว่าลักษณะดังกล่าว คือลักษณะของกฎหมายนั่นเอง
สรุป คุณธรรมจริยธรรม บางคราวก็ต้องแยกออกจากการบริหารประเทศ เช่นกรณีเกิดสงครามการสู้รบเข่นฆ่า ในภาวะสงครามย่อมไร้ซึ่งศีลธรรมจริยธรรม เมื่อมีคนเอามีดมาจ่อคอเรา เราจะเลือกยกมือไหว้ ถอย หรือ สู้ หากยกมือไหว้แล้วเขายังจะฆ่า ก็ต้องหนี หากหนีไม่ได้ก็ต้องสู้ และเมื่อคิดจะสู้ก็ต้องเกิดการสูญเสีย ผู้ที่มี จริยธรรมและศีลธรรมในใจก็ย่อมไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสีย แต่ความเป็นจริงของธรรมชาติผู้เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะเป็นผู้อยู่รอด ในภาวะความเป็นความตายอยู่ใกล้กันชนิดเส้นยาแดงผ่าแปด น้อยคนนักที่ยังจะมีคุณธรรมและจริยธรรม (จะมีก็แต่มหาตมคานธี ที่ต่อสู้แบบ อหิงสา แต่สุดท้ายก็ตายเพราะโดนยิง) ฉันใดก็ฉันนั้น ในภาวะสงครามหากต้องการรักษาศีลธรรมจริยธรรมไว้ ก็จำต้องสู้รบเข่นฆ่า (เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การต่อสู้แบบอหิงสา ถึงไม่เข่นฆ่าแต่ก็ถือเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นรูปแบบหนึ่ง) และเมื่อการสู้รบเข่นฆ่าจบสิ้นลง ความสงบจักมาเยือน ศีลธรรมจริยธรรม จักกลับมาอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น การทำสงครามกับยาเสพย์ติดที่จำต้องรักษาความสงบด้วยการยอมสละศีลธรรมจริยธรรมในการปกครองเพื่อรักษาความสงบส่วนรวมไว้ นี่คือความจำเป็นและไม่จำเป็นของคำว่า ศีลธรรมจริยธรรมทางการปกครอง ซึ่งควรและไม่ควรแยกออกจากการเมืองการปกครอง ในภาวะปัจจุบัน สงครามที่ว่าคือสงครามเศรษฐกิจ จะเอาแต่คำว่าศีลธรรมจริยธรรมมาใช้ในสงครามเศรษฐกิจไม่ได้หรือใช้ได้แต่น้อย ฉะนั้นในภาวะสงครามเศรษฐกิจผู้นำควรเป็นได้ทั้ง วฤก (หมาป่า,สุนัขจิ้งจอก) และราชสีห์ (สิงห์โต) และทำให้ประชาชนรักและกลัว ถ้าพูดเป็นแบบไทยๆก็คือรู้จักใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ เลิกพูดเสียทีครับ คำที่ว่าผู้นำต้องมีจริยธรรม มัน เป็นอุดมคติเกินไป เหมือน กับเราพยามแสวงหา "สวนดอกท้อ" ที่ กวีจีน เถาหยวนหมิง แต่งไว้ ถ้าฝรั่งก็ต้อง ยูโทเปีย (Utopia) แปลเป็นไทยว่าสังคมนิยมเพ้อเจ้อ ของท่านเซอร์โทมัส มอร์ (SIR THOMAS MORE)