19 มิถุนายน 2550 20:30 น.
กวินทรากร
ลักษณะขุนศึก : โคลงดั้นวิวิธมาลี
อานามสยามยุทธนั้น..................ยาวนาน
องค์บดินทรเดชา........................ท่านใช้
ลวงเผาเหล่าญวนลาญ...............หลายอย่าง
คุมฆ่าญวนล้วนได้........................ดั่งจินต์
นายทัพไทยถ่อยท้อ.....................การทัพ
หัวเด็ดโดยบดินทร์......................เด็ดเหี้ยน
ไป่สู้ศึกอยู่ยับ................................โดยผ่าน
ใหญ่ศึกใจเหี้ยมเสี้ยน..................จึ่งสลาย
อาจทำอำนาจทั้ง............................ทศทิศ
ชี้ออกไป เป็น-ตาย .......................แต่ชี้
ชาวเมืองเลื่องลือฤทธิ์..................ทุกราษฎร
แลหนึ่งพระเจ้านี้..........................นับถือ
ขุนศึกสยามอย่างนี้........................ย่านไฉน
สิงหเสนีลือ....................................ร่วมเล้น
ใจเย็นเข่นศึกกษัย..........................สำเร็จ
เหี้ยมหากอยากเต้าเต้น..................ต่อยบร
ประพันธ์โดย อัศนี พลจันทร (นามปากกา :นายผี)
อ่านโคลงดั้นวิวิธมาลี ของนายผี แล้วจงตอบคำถามต่อไปนี้
- "อานามสยามยุทธ" คืออะไร?
- "อานามสยามยุทธนั้นยาวนาน" ยาวนานเพียงใด?
- ใครถูกเด็ดหัว ("หัวเด็ดโดยบดินทรฯ เด็ดเหี้ยน") ?
- ("แลหนึ่งพระเจ้านี้นับถือ") ใครนับถือใคร ?
เฉลย
หนังสืออานามสยามยุทธเมื่อพิมพ์แจ้งไว้หน้าปก ว่า เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 3 กรุงเทพฯ เป็นผู้เรียบเรียงไว้ 55 เล่ม สมุดไทยตัวรง ว่าด้วยรายงานราชการกองทัพไทย ไปทำศึกสงครามกันกับ ลาว เขมร ญวน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ กล่าวได้ว่าไทยสิ้นสุดการสงครามกับพม่าลงเนื่องจากอังกฤษแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปยึดครอ
งพม่า แต่ไทยก็ต้องหันไปเผชิญปัญหาการสงครามกับลาว กัมพูชา และเวียดนามโดยเริ่มตั้งแต่การปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ที่ฉวยโอกาสขณะที่ไทยเตรียมการระวังป้องกันพระนครจากการรุกรานของอังกฤษ ใน พ.ศ.2369 กองทัพหน้าของเวียงจันท์จู่โจมเข้ามาถึงสระบุรี ส่วนทัพหลวงของเจ้าอนุวงศ์เข้ายึดครองนครราชสีมา ส่วนทางด้านนครศรีธรรมราชรายงานว่าสามารถส่งทหารมาช่วยขัดตาทัพได้เพียงแค่ 2,000 คนเพราะมีกำลังเรืออังกฤษมาจอดอยู่ในน่านน้ำมลายู จำนวน ห้าลำ ไม่ทราบว่าจะไปที่ใด กรุงรัตนโกสินทร์จึงมีศึกที่จะต้องระวังทางด้านใต้อีกทางหนึ่ง กองทัพที่สอง สาม และสี่ ซึ่งเตรียมจะขึ้นไปทางปราจีนบุรี จำต้องถูกเรียกกลับให้ลงไปรักษาปากแม่น้ำเจ้าพระยา การสงครามกับเวียงจันทน์ต้องใช้เวลาถึงสามปี กว่าจะจับเจ้าอนุวงศ์ได้ และได้อาณาจักรลาวคืนมา
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ทศพร วงศรัตน์ (ราชบัณฑิต) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุการใน พระอภัยมณีคำกลอนของสุนทรภู่ที่ได้ประพันธ์ไว้นั้น ตรง กับเหตุการณ์จริง ห้วงเวลาที่ เจ้าอนุวงศ์กบฏเวียงจันทน์ ถูกจับขังกรงส่งมาถึงกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2371 หลังจากที่ได้รับการแช่งด่าทรมานหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ประมาณ 7 วัน 8 วัน ก็ตาย (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.3) ในกรณีนี้วันพุธของสุนทรภู่เท่ากับได้เพิ่มความชัดเจนให้แก่ประวัติศาสตร์ไทย พระอภัยมณีคำกลอน ตอนที่ 26 หน้าที่ 415 อุศเรนตายแล้วผีไปเข้านางวาลี ความว่า
"ชักชะงาก รากเลือด เป็นลิ่มลิ่ม
ถึงปัจฉิม ชีวาตม์ ก็ขาดสาย
เป็นวันพุธ อุศเรน ถึงเวรตาย
ปีศาจร้าย ร้องก้อง ท้องพระโรง"
ย้อนไปเมื่อครั้งรัชกาลที่ 2 เมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯยังเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร และเจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นจมื่นเสมอใจราช วันหนึ่งมีการเสด็จพระราชดำเนินทางเรือวันนั้นเป็นฤดูหนาวหมอกลงจัดเรือของจมื่นเสมอ
ใจราชผ่านมาพลัดหลง และเฉียดเรือพระที่นั่งของกรมพระราชวังบวรฯ อันเป็นความผิดพระอัยการฐานตัดหน้าฉาน ต้องโทษจำขังอยู่ระยะหนึ่ง กรมหมื่นเจษฎาฯ ทรงเห็นหน่วยก้านของ จมื่นเสมอใจราช ว่าเป็นคนเข้มแข็งจะเป็นหลักของบ้านเมืองต่อไปได้ จึงขอพระราชทานอภัยโทษ ไม่นานจมื่นเสมอใจราช ได้เลื่อนเป็นพระยาเกษตรรักษา อยู่ในกรมนา พระยาเกษตรรักษา ออกไปทำนาหลวงอยู่พักหนึ่ง ก็ถึงคราวเคราะห์มีคนกล่าวโทษว่าล้อมรั้วทำค่ายคูประตูหอรบ ที่กองนาคล้ายจะส้องสุมกำลังพลเป็นกบฎ จึงต้องพระราชอาญาจำคุกอยู่นาน จนสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กรมหมื่นเจษฎาฯ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ จึงโปรดให้พ้นโทษเข้ารับราชการใหม่เป็นพระยาราชสุภาวดี
เจ้าพระยาบดินทรเดชา เวลานั้นได้เป็นที่พระยาราชสุภาวดี แล้วแต่ยังไม่มีบ้านเรือนจะอยู่แน่นอน คราวนี้ลงอยู่ในแพลอย ซึ่งว่าที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดของสมัยโน้น เพราะธรรมดาชาวบ้านชาวช่อง แม้แต่ขุนนางบางท่านก็อยู่แพกันแทบทั้งนั้น ในภาพโบราณ จะเห็นแพจอดกันเป็นตับตามแม่น้ำลำคลอง พระยาพิไชยวารี (เจ้าสัวโต) เป็นข้าหลวงเดิม ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เช่นเดียวกัน จึงชักชวนให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) นำแพมาจอดปักหลักที่ท่าน้ำหน้าบ้าน พระยาพิไชยวารี ผู้นี้ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ได้เป็น เจ้าพระยานิกรบดินทร์ ต้นสกุล กัลยาณมิตร http://www.thaisamkok.com/forum/index.php?...nter&f=15&t=921
เมื่อเกิดศึกเวียงจันทน์ พระยาราชสุภาวดีได้เป็นแม่ทัพสู้รบกับข้าศึกอย่างเข้มแข็งมากในการประจันบานกันครั้ง
นั้น เจ้าราชวงศ์แม่ทัพลาวเอาหอกแทง ถูกท้องพระยาราชสุภาวดี พระยาราชสุภาวดีชักมีดหมอที่เหน็บไว้แทงสวนไปถูกที่ขา ทนายของท่านเอาปืนยิงถูกเจ้าราชวงศ์บาดเจ็บเล็กน้อย คนของเจ้าราชวงศ์พานายของตนถอนตัวออกไป พระยาราชสุภาวดีเอานิ้วแยงดูแผลว่าไม่ลึกนัก จึงเอารัดประคตพันรองเอวให้แน่นแล้วเรียกให้คนเอาแคร่ มาหามบัญชาการรบจนทหารลาวแตกพ่ายไป ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 กับเจ้าพระยาบดินทรเดชา จัดว่าลึกซึ้งนัก ร.3 ทรงเรียกเจ้าพระยาบดินทรฯว่า พี่สิงห์ บางครั้งเมื่อเข้าเฝ้าในที่รโหฐานทรงโยนหมอนอิงให้กับเจ้าพระยาบดินทรฯ ท้าวข้อศอก เจ้าพระยาบดินทรฯ รับไว้แล้วก็วางไว้ข้างหน้าหาได้ใช้หมอนนั้นไม่ การกระทำเช่นที่ทรงทำนี้ ไพร่พล คนใดมีหรือจะไม่ตื้นตันด้วยความจงรัก (จำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา, อำนาจอยู่หนใด ชีวประวัติเหมือนนวนิยายของนักปกครอง 7 ท่าน.--พิมพ์ครั้งที่ 1.--กรุงเทพฯ : พัฒนา, 2533.หน้า139-140)
ตลอดเวลาแห่งช่วงสงครามนี้ ญวนได้ให้การสนับสนุนลาวอย่างเต็มที่ไม่เพียงแต่ลาวเท่านั้นประเทศกัมพูชาซึ่งเคยขึ้
นอยู่กับไทยมาหลายร้อยปี ญวนก็ได้เข้ามาแทรกแซงโดยสนับสนุนราชบุตรีของเจ้าแผ่นดินกัมพูชาที่ทิวงคตให้เป็นกษั
ตริย์ และได้พยามทุกวิถีทางที่จะกลืนกัมพูชาให้เป็นของ ญวน จากศึกครั้งนี้ป็นต้นเหตุนำไปสู่การสงครามกับกัมพูชาและเวียดนาม และขยายต่อเป็นสงครามยืดเยื้อกับเวียดนาม ที่ใช้เวลายาวนานถึง 14 ปี (พ.ศ.2378 - 2392)
ใน พ.ศ.2376 เมืองไซง่อนก่อการจราจลโดยฝ่ายกบฏ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็น แม่ทัพบกยกกองทัพไปตีเขมรและหัวเมืองญวนลงไปถึงเมืองไซง่อนเพื่อช่วยฝ่ายกบฏ และให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่ทัพเรือไปตีหัวเมืองเขมรและญวนตามชายฝั่งทะเล โดยไปสมทบกับกองทัพบกที่เมืองไซง่อน ในส่วนของกองทัพเรือต้องยกกำลังไปหลายครั้งเช่นเดียวกับการรบทางบก
ในสงครามกับญวนครั้งนี้ เจ้าพระยาบดินทรฯ ได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ 18 ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู อันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง เป็นมาตรการที่ให้ ไพร่พล เกิดความยำเกรงต่อกฎข้อบังคับและคำสั่ง จนเป็นกำลังไปสู่ชัยชนะได้
ในพ.ศ.2384 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์เป็นแม่ทัพเรือยกกองทัพเรือ ไป ตีเมืองโจดก เรือรบไทยที่เดินทางไปร่วมรบในครั้งนี้มี เรือกำปั่นพุทธอำนาจ เทพโกสินทร์ ราชฤทธิ์ วิทยาคม อุดมเดช เรือค่าย เรือปักหลั่น และเรือมัจฉานุ ซึ่งใช้บรรทุกเสบียงอาหาร อย่างไรก็ดีการรบทางเรือครั้งนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากทหารไทยไม่ชำนาญภูมิประเท
ศ และเรือ ไทยมีสมรรถนะที่ด้อยกว่า เรือญวน (ดูรายละเอียดใน พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์, 2508) ทั้งในเรื่องของขนาดและประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องต่อเรือรบใหม่เป็นเรือป้อมอย่างญวน สามารถติดตั้งปืนใหญ่ได้หลายกระบอก ทั้งนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังเป็น แม่กอง อำนวยการต่อเรือป้อมแบบญวนไว้ใช้ในราชการ 80 ลำ ในที่สุดการรบระหว่างญวนกับไทยที่ยืดเยื้อมาถึง 14 ปี ก็ต้องยุติลงโดยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ยกเลิกการศึกครั้งนี้และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ.2390 เพราะ ทรงพิจารณาเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกำลังคน เปรียบเหมือนว่ายน้ำท่ามกลางมหาสมุทรไม่เห็นเกาะเห็นฝั่ง (พันเอก หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒน์ เกษมศรี, 2531 : 291) โปรดอ่านเพิ่มเติมในเวปไซต์กองทัพเรือ http://www.navy.mi.th/navic/document/880804e.html
หนังสืออานามสยามยุทธฉบับสรุปของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดเรื่องนี้ป็นการย่อเรื่องการสงครามระหว่างไทยกับลาว กัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพในทำสงคราม บันทึกหลักฐานไว้เป็นรายงานราชการกองทัพที่ปฏิบัติการในสงครามดังกล่าว ได้มีการจัดลำดับหัวข้อเรื่องใหม่ ใช้สำนวนภาษาตามสมัยปัจจุบัน เพื่อสะดวกแก่ผู้อ่านและเข้าใจง่ายขึ้นกว่าฉบับเต็ม เนื้อหาที่น่าสนใจของหนังสือ ได้แก่ วิธีการดำเนินการทางทหารของไทยในอดีตความเฉลียวฉลาดรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วนของผู้นำทางการทหาร นับตั้งแต่องค์พระมหากษัตริย์ เรื่อยลงไปจนถึงขุนนางแม่ทัพนายกองน้อยใหญ่ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการจัดทัพ การวางแผนการรบ การดำเนินกลยุทธ์ อุบายและเล่ห์กลการศึกการจัดการด้านกำลังพล ขวัญและกำลังใจของทหาร การส่งกำลังบำรุงการจัดการกับพลเมืองและดินแดนที่ยึดได้ ซึ่งยังคงทันสมัยและเป็นความรู้อันเป็นประโยชน์แก่วงการทหารไทยในปัจจุบันได้เป็นอย่
างดี แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานานถึงเกือบ 200 ปี. (กรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด. อานามสยามยุทธ ฉบับสรุปเรื่อง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด. 2542. 95 หน้า)
10 มิถุนายน 2550 18:49 น.
กวินทรากร
ข้าพเจ้าเข้าร้าน B2S เจอหนังสือของ ดร.เพ็ญสุภา (สุคตะ) ใจอินทร์
แล้วเลยอุดหนุนมาหนึ่งเล่ม เรื่อง อิตถีหทัย :พันธะกวีนิพนธ์ นัยพินิศของสตรี ราคา 85 บาทเอง
รหัสหนังสือ : 9789747214444
จำนวน : 110 หน้า
ขนาดรูปเล่ม : 128 x 184 x 6 มม.
เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ
ชนิดของปก : ปกอ่อน
เดือน/ปีที่พิมพ์ : 3/2007
เพราะอ่านเจอโคลงสี่สุภาพบทแรกที่ชื่อ "ลูกอ่อน" ความว่า
นอนเอนในโอบอ้อม......อิงแขน
แนบ อกมารดาแสน.......อุ่นเอื้อ
เปลสวรรค์มิอาจแทน....อ้อมกอด..แม่นา
ลูกอุ่นเนื้อแนบเนื้อ.........แม่นี้อนันตกาล
.............
.................
........................ยังมีต่อแต่ขี้เกียจพิมพ์
แต่บทที่อ่านแล้วตัดสินใจซื้อเลยน่าจะเป็นบทนี้
"นม"
ทุกข์ใดของหญิงเล่า
เท่าห้วงทุกข์แห่งเนินถัน
เพศทัณฑ์รู้ไม่ทัน
หลงแบกทุกข์ทุรนทุราย
นมนี้มีอำนาจ
ปลุกสัญชาตญาณชาย
เนียนนุ่มรุมกระหาย
กระหื่น เฮี่ยน กระหือรือ
ตบเต้ากระตุ้นต่อม
ให้เต่งโตเพื่อใครหรือ
ตูมเติบจนล้นมือ
มิอาจยื้อสังขารา
แข่งขันกันอวบอึ๋ม
ใครอกอิ่มกว่ากัน อา!
น้ำนมแห่งมารดา
พลันสิ้นค่าในบัดดล
ใดเล่าคือความงาม
เมื่อความทรามเข้าแทรกปน
เจ็บเต้าประจานตน
เพื่อปรนเปรอกิเลสชาย
จากจุดให้กำเนิด
สู่กำหนัดมิรู้หน่าย
หมกมุ่นจนเมามาย
เพียงเรือนกายที่เปล่ากลวง
เล็กใหญ่ไฉนหนอ
มิเคยพอหรือภาพลวง
ใหญ่เล็กก็คือทรวง
ย่อมคล้อยล่วงโรยชรา
ชายใดแม้นชอบดู
จงหมายรู้ไว้เถิดว่า
จิตใจนั้นไห้หา
วัยทารกเคยอดโซ
หิวโหยน้ำนมแม่
มีก็แค่น้ำนมโค
ลุ่มหลงสาวทรงโต
เพื่อลบปมที่กดดัน
มาเถิดอิสตรี
คืนศักดิ์ศรีสู่ชีวัน
ใหญ่น้อยทุกเนินนั้น
ล้วนคือถันแห่งมารดร
เสียงจ๊วบจ๊าบ ปากจ่อ สองมือจับ
คว้าขยับ ดูดเต้า เจ้าเนื้ออ่อน
ควานหาน้ำ นมคราง พลางวิงวอน
เหลือบตาช้อน ฝันปลื้ม ได้ดื่มชิม
เนินเนื้อนุ่ม แม่นี้ มีรสชาติ
อย่าสอด พาสติกใส่ ในเนื้อนิ่ม
ชื่นโอชา หวานสด ยามรสลิ้ม
หลับตาพริ้ม เพลินเคล้า สองเต้าไป
แม่อย่ากลัว นมยานไม่ตั้งเต่ง
แล้วข่มเหง ลูกรัก ด้วยพลักไส
ขอดื่มน้ำ นมแม่ ใช่นมใคร
เมื่อเติบใหญ่ ลูกจักได้ ไม่มีปม
3 มิถุนายน 2550 17:46 น.
กวินทรากร
กาลเช้าไก่แก้วแข่ง....................กันขัน
ขันสำเนียงแจ้งวัน..................ใหม่แจ้ง
น้ำค้างเกาะกุง วัลย์-................เกาะพฤกษ์ โพธิ์เอย
ฝนตกที่เคยแล้ง......................ค่อยชื้นชุ่มฝน
ถนนหน้าบ้านพระ...................บิณฑบาตร
ยายเก็บดอกพุทธชาติ...............จากต้น
ข้าวสวยผัดผักกาด....................แกงหน่อ..ไม้เอย
ถวายภิกษุผู้พ้น...........................กิเลส , พร้องสาธุการ
สสารชีพสั้นนัก..........................อย่าทะนง
เกิดแก่เจ็บตายคง........................ไม่ช้า
ทรัพย์สินแบกใส่ลง.....................โลงหมด ไฉนเอย
บุญเก่าใช้ชาติหน้า........................เท่านั้นล่ะหลาน
Life is so short
Telling the time of dawn,
All cocks sing in the morning.
Dew on grasses and leaves on Bo,
The arid land becomes so fresh by raining
A road, a monk pass by,
With respect, grandma prepares rice and flowers.
From human feelings,he abstains.
Leaving all human pains
Life is so short..........be aware
Death will be there..........too far never
Precious things can't be where..........the death is
Good deed is forever..... next life you get
ภาษาอังกฤษ โดย Numeo
ปล. cocks อย่าทะลึ่งแปลว่า กระจู๋ นะ - - *
อภิธานศัพท์
กุง
ชื่อพื้นเมือง : กุง (สงขลา), หญ้าขนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xyris pauciflora Willd.
ชื่อวงศ์ : XYRIDACEAE
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายหญ้า ใบเดี่ยว เรียงซ้อนสลับกันแน่นใกล้ผิวดิน รูปใบดาบ ปลายแหลม กาบใบสีชมพู ช่อดอกแบบช่อเชิงลด แน่น รูปไข่หรือเกือบกลม ก้านช่อดอกเป็นแบบก้านโดด ใบประดับซ้อนเหลื่อมคล้ายเกล็ดปลา ไม่ร่วง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ไม่เท่ากัน กลีบดอก 3 กลีบ ขนาดเท่ากัน สีเหลือง เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดกับกลีบดอก และเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 3 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก ผลแบบกระเปาะ แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดเล็ก จำนวนมาก สีเหลือง