13 พฤษภาคม 2546 21:50 น.
กวินทรากร
รักนั้น อันที่จริง
แจ่มยิ่งแสง ชวาลา
อันโชติช่วง ชุติมา
ประดับดวง ฤดีงาม
เมื่อความรัก ประจักษ์จิตร
ด้วยแรงฤทธิ์ อนงค์* นาม
ย่อมยากแก้ แผลพิษ กามเทพะ กระหน่ำยิง
เกาทัณฑ์ท่าน คือคันอ้อย
มีผึ้งห้อย เป็นสายสิง
แม้นผิดหวัง หรือชังชิง
ก็หายได้เพราะไฟรัก
ความรัก อันที่จริง
อาจมืดยิ่ง กาฬปักษ์
ยามหน่าย แลไร้รัก
ย่อมห่วงหา ทุกข์อาทร
รักจึง ประหนึ่งดาบ
อันกำราบ ทุกนาคร
คงอยู่ คู่ นีกร
แทงทิ่มใน หทัยเอย
อนงค์ แปลว่าไม่มีตัวตน เป็น อีกนามนึงของ พระกามเทพ เพราะกามเทพถูกไฟจากดวงตาที่สามของพระศิวะเผาทำลายถึง ไม่มีร่าง (อนงค์)
13 พฤษภาคม 2546 21:50 น.
กวินทรากร
รักเอ๋ยรักเจ้าพี่.................อาวร
เพราะลักษณ์วาทยากร..........เพริศพริ้ง
ยามไกลนิราศจร.............เจ็บจิตร..พี่เอย
จงอย่าลาล้างทิ้ง...............ซึ่งห้วงห่วงหา
สำเนียงสำนึกน้อง..............นางเคียง
ตัวพี่คอยมองเมียง..............ไม่เว้น
โอ้อาตม์สดับเพียง...............มธุพจน์..น้องเอย
ก็กระโดดโลดเต้น...............ต่อหน้าทีวี
11 พฤษภาคม 2546 19:46 น.
กวินทรากร
ครรโลงเสนาะคล้าย..........คีตศิลป์
เสียงเอกโทเทียมพิณ.........ภาษพร้อง
ยามวรรณยุกต์ยิน...............ย่อมยั่ว..ใจนา
ผิดจากอ้างอาจต้อง............งดใช้ชื่อโคลง
ครรโลงเสนาะไว้................โวหาร
บุคคลาฐิษฐาน......................ที่อ้าง
อติพจมาลย์............................มาอุป-..มาเอย
สัญลักษณ์ ฤา ร้าง.................รื่นรู้รสโคลง
ครรโลงเสนาะก้อง...............กวีตา-..พุทธเอย
กาพยานุมัติ*..........................มากพร้อม
อย่าศักดิ์ทว่าหา.......................คำใส่..ครบเอย
โคลงที่เอ่ยอ้อมค้อม................โทษผู้ประพันธ์เขลา
ครรโลงเสนาะล้วน..................หลายพันธุ์
โคลงสี่สามสองอรรถ์...............อะคร้าว
อีกโคลงกระทู้ทัณ-....................ฑีพิธ-..พรรณเอย**
โคลงกบเต้นดั้น***ด้าว.............ด่วนรู้ศึกษา
ครรโลงเสนาะอ้อน.....................อารมณ์
รักชอบชิงชังชม...........................ฉาบไส้
อักขระอนุกรม...............................กลโซ่..สร้อยเอย
เพื่อรัดรึงจิตรให้...........................ซ่านซึ้งอักษร
*โคลงบทนี้บาทที่สองใช้คำที่สาม (ยา) รับสำผัส แทนที่จะใช้คำที่ห้ารับสำผัส โบราณเรียกโคลงชนิดนี้ว่า โคลงตรีพิพิธพรรณ (แปลว่า ใช้อักษรตัวที่สามรับสำผัส) **มั่วนะ 555
**ชื่อเต็มๆคือโคลงจัตวาฑัณฑี และโคลงตรีพิพิธพรรณ
***โคลงกบเต้น (มณฑกคติ) หรือเรียกอีกอย่างว่า โคลง 5
หมายเหตุ**
มณฑก แปลว่า กบ
คติ แปลว่า ทาง
มณฑกคติ จึงแปลว่า โคลงที่มีลีลาเหมือนท่าทางของกบเต้น (แปลแบบเอาความ)
***ดั้นในที่นี้คือ โคลงดั้น
โคลงดั้น มีหลายชนิดตั้งแต่โคลงสอง ดั้นโคลงสามดั้นโคลงสี่ดั้น
โคลงดั้นแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด คือ
๑ โคลงดั้น ๒ ดั้น
๒ โคลง ๓ ดั้น
๓ โคลงดั้นวิวิธมาลี
๔ โคลงดั้นบาทกุญชร
๕ โคลงดั้นตรีพิธพรรณ
๖ โคลงดั้นจัตวาทัณฑี
ที่มา
http://www.thaipoet.org/poemklong.html