พุทธพจน์ภาษิตลิขิตเขียนกาลจำเนียรก่อนเก่าเขาศึกษา
ระดับความรู้แจ้งแห่งปัญญา
เฉกฝึกม้าให้เชื่องเปรื่องอินทรีย์
ชายผู้หนึ่งน้อมเกล้าเฝ้าพุทธะ
อาชีวะฝึกม้าเป็นสารถี
ตถาคตตรัสปุจฉาถามพาที
ถึงวิธีฝึกม้าจงสาธยาย
ชายฝึกม้าสารถีเกสีตอบ
ในระบอบฝึกม้าอาขยาย
มีวิถีสี่แบบอย่างแยบคาย
ทูลถวายน้อมเกล้าเล่าความนัย
ม้าหนึ่งฝึกเพียงละม่อมพร้อมสยบ
อาหารครบน้ำดีเปลี่ยนนิสัย
เอ่ยวาจาฟังเพราะเสนาะใจ
ก็เชื่องได้ดั่งอุบลบานพ้นธาร
ม้าสองฝึกรุนแรงใช้แทงปฏัก
ยากยิ่งจักเชื่อเชื่องเปลืองสังขาร
บ้างลงแส้ผูกขาพันธนาการ
งดอาหารความพยศจึงหมดลง
ม้าสามดั่งอุบลปริ่มพ้นน้ำ
เบาหนักทำเพาะบ่มสมประสงค์
บ้างรุนแรงบ้างละม่อมยอมเชื่องลง
อาชาคงใช้ประโยชน์สิ้นโทษภัย
ม้าสี่ราวอุบลงอกเพิ่งออกเหง้า
เป็นอาหารปลาเต่ามิเอาไหน
จะฝึกฝนเสียเปล่าเขลาเกินไป
ฝึกไม่ได้ให้ฆ่าทิ้งอิงปาจารย์...