๏ เกี่ยวกระหวัดฟัดเหวี่ยงเขวี้ยงหางฟาด นาคราชฟาดฟันจนหวั่นไหว สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นแทบบรรลัย เข้าชิงชัยโรมรันกันวุ่นวน ๏ ฝังเขี้ยวพิษฤทธิ์ร้ายหมายเข่นฆ่า ต่างไม่ยอมลดราโกลาหล ปะทะกันอุตลุตสุดดิ้นรน ไม่จำนนยอมแพ้ให้แก่กัน ๏ หนองกระแสสีครามทรามขุ่นข้น สัตว์เกลื่อนกล่นวายวางต่างอาสัญ จวบ ๗ ปี ๗ เดือนเลือน ๗ วัน พญาแถนทรงธรรม์จึ่งบัญชา ๏ "พวกเอ็งจงย้ายฐานจากย่านนี้ ไปอยู่ที่แห่งใหม่ให้ไกลข้า ยุติความร้าวรอนแต่ก่อนมา จากธารานทีนี้ให้ไกล" ๏ "ผู้ใดถึงมหาสมุทรสุดล้ำลึก กูจะยกปลาบึกวิเศษให้" ต่างรับคำดำผุดขุดดินไป หมายเส้นชัยชเลชลด้นลำนำ ๏ ๑ มุ่งใต้ , ๑ มุ่งตะวันออก ต่างขุดลอกสู่เบื้องทะเลต่ำ หมายชิงชัยไขว่คว้า"ปลาบึกคำ" ถลำจ้วงทะลวงจ้ำมุ่งดำดิน ๏ ถือกำเนิดเกิดน้ำโขงและน้ำน่าน ๒ สายธารมหาชลาสินธุ์ คือตำนานกาลเก่าเล่ายลยิน จับร้อยรินจารเจือจากเนื้อใจ ๏ เกี่ยวกระหวัดฟัดเหวี่ยงเขวี้ยงหางฟาด นาคราชฟาดฟันจนหวั่นไหว๚๛ **************************************************************** จากตำนานคำชะโนดอันลือลั่น แต่ปางบรรพ์ที่สถานย่านหนองแสหรือ หนองกระแส ในอาณาจักรน่านเจ้าหรือตาลีฟูในอดีต มีพญานาค ๒ ตนเป็น เพื่อนรักกัน ตนหนึ่งชื่อพญาสุวรรณนาคราช อีกตนหนึ่งชื่อพญาสุทโธนาคราช ตนหนึ่งปกครองเมืองที่หัวหนอง อีกตนหนึ่งปกครองเมืองที่ท้ายหนอง ทั้ง ๒ ต่าง สัญญาว่าเมื่อหาอาหารอะไรได้ก็จะแบ่งปันกันเท่า ๆ กัน มาวันหนึ่งพญาสุทโธนาคจับได้ช้างมาเป็นอาหารจึงได้นำมาแบ่งแก่สหาย ใน เวลาต่อมาพญาสุวรรณนาค ก็จับได้เม่นมาตัวหนึ่ง จึงได้นำเนื้อเม่นมาแบ่งให้ สหายเช่นกัน แต่พญาสุทโธนาคกลับกินไม่อิ่ม หนำซ้ำยังเหลือบไปเห็นขนเม่นมี ขนาดใหญ่กว่าขนช้างตั้งเยอะดังนั้นขนาดของเม่นจึงต้องใหญ่กว่าช้างหลายเท่า แต่อีกฝ่ายกลับแบ่งเนื้อให้ตนเพียงนิดเดียว พญาสุทโธนาคจึงโมโห ร้อนถึงพญา สุวรรณนาคต้องออกมาชี้แจงแต่ก็ไม่เป็นผล สงครามระหว่างพญานาคทั้งสองจึงได้เกิดขึ้นและดำเนินมาเป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ส่ำสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณหนองแสต่างได้รับความเดือด ร้อนล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากน้ำหนองแสขุ่นข้น ร้อนถึง พญาแถนหัวหน้าเทวดาทั้งหลายต้องลงมาขับไล่พญานาคทั้งสองและบริวารให้ ย้ายออกจากหนองกระแส โดยสัญญาว่าถ้าใครขุดแม่น้ำลงไปถึงทะเลได้ก่อนก็ จะให้ปลาบึกเป็นรางวัลตอบแทน พญาสุทโธนาคจึงมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกของหนองแสและขุดดินโดยใช้ อกขุดให้เป็นร่องลึก ด้วยความที่เป็นพญานาคใจร้อน เมื่อขุดไปเจอภูเขาขวาง กั้นที่ตรงไหน ก็ขุดดินอ้อมเขานั้น ๆ ไป แม่น้ำที่ขุดนั้นจึงมีชื่อว่า"แม่น้ำโขง" อัน มีความหมายว่าแม่น้ำที่มีความโค้งนั่นเอง (แม่น้ำโขงมีชื่อภาษาบาลีว่าขรนที หรือ อุรงคมาลีนทีแปลว่าแม่น้ำสายงู บางตำราว่าอุรงคนทีคือแม่น้ำอู ไม่ใช่แม่น้ำโขง) ฝ่ายพญาสุวรรณนาคได้มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ของหนองแส และลงมือขุดดิน ความที่เป็นนาคใจเย็นสายน้ำที่ขุดจึงมีลักษณะเป็นเส้นตรง จึงถูกเรียกว่าแม่น้ำ น่าน ท้ายที่สุดพญาสุทโธนาคเป็นผู้ชนะจึงได้"ปลาบึกคำ" (หมายถึงปลาบึกที่มีค่าดั่ง ทอง)ไปอยู่ในแม่น้ำโขงดังนั้นแม่น้ำโขงจึงเป็นแม่น้ำสายเดียวที่มีปลาบึกอาศัย อยู่ด้วยประการฉะนี้๚๛
19 กันยายน 2553 02:45 น. - comment id 1157059
ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ กลบท..ก็งดงามค่ะ
19 กันยายน 2553 05:07 น. - comment id 1157065
สวัสดีค่ะ จาร์พี่โป้ง..... ไพเราะมากเลยค่ะ... ขอบคุณสำหรับเกร็ดความรู้ด้วยนะคะ... จารย์ได้ไปตรวจงาน.. "มิติ" ของแซมหรือยัง...(แซมโพสหลายวันแล้วค่ะ...)ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ.. ขอให้วันนี้เป็นวันดีๆด้วยนะ... ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ.. แซม
19 กันยายน 2553 05:32 น. - comment id 1157067
ขอบคุณครับ ที่เล่าถึงตำนานแม่น้ำโขง
19 กันยายน 2553 06:26 น. - comment id 1157084
ขอบคุณนะคะ ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ
19 กันยายน 2553 06:50 น. - comment id 1157086
สวัสดีครับ เพราะจังเลยครับ เหนื่อยจากการออกกำลังกายมา ได้อ่านผลงานน้องชื่นใจครับ
19 กันยายน 2553 08:18 น. - comment id 1157103
มีอะไรกะนาคป่ะเนี่ย?
19 กันยายน 2553 09:12 น. - comment id 1157109
ขอบคุณมากมายบนเรื่องราว.. สุขอย่าได้สร่าง
19 กันยายน 2553 10:31 น. - comment id 1157130
สวัสดีครับพี่ สุดยอดเลยครับ ไพเราะมากมาย
19 กันยายน 2553 15:30 น. - comment id 1157177
แวะมาชมงานงามที่แฝงไปด้วยเกล็ดความรู้ดีดี ค่ะ
19 กันยายน 2553 18:41 น. - comment id 1157199
มาศึกษาไว้ก่อนค่ะ .. แบมพยายามหาจุดสำคัญ แต่สังเกตไม่ได้ค่ะ เหมือนกลอนแปดใช่มั้ยคะ แล้วเทียบเคียงคำเอา จะได้หัดเขียนตามถูกค่ะ ขอบคุณที่เขียนให้ชมเป็นตัวอย่างกันค่ะ
19 กันยายน 2553 20:45 น. - comment id 1157219
แวะมาอ่านกลบทครับ ศึกษาไว้..
20 กันยายน 2553 10:43 น. - comment id 1157323
ตำนาน นาคีราชดแท้ ท่านสุริยันต์ รจนาได้ เยี่ยมยุทธ์นักละครับ นาคราชมักถูกจ้องฉก จากราชาแห่งปักษี ในตำนาน....เบื้องสีทันดร แดนดิน เหล่า มัจฉา ฯ
20 กันยายน 2553 13:16 น. - comment id 1157354
แวะมาชื่นชมค่ะ
20 กันยายน 2553 15:00 น. - comment id 1157378
อ่านงานงาม แล้วยังได้ความรู้อีกนะเนี่ย
20 กันยายน 2553 17:38 น. - comment id 1157430
สวัสดีค่ะพี่...มาชื่นชมผลงานค่ะ...
20 กันยายน 2553 22:39 น. - comment id 1157531
เป็นกลบทที่น่าสนใจจังค่ะ...แถบอ่าน ซะเพลินอีกต่างหาก
20 กันยายน 2553 22:43 น. - comment id 1157534
แวะมาศึกษาหาความรู้ครับ ไว้จะลองมั่งครับ อิอิ
21 กันยายน 2553 07:54 น. - comment id 1157563
นายลิเกเขียนดี :)