โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี ๏ หลงทางกลางเถื่อนร้าง.........ลืมทาง ลืมที่ลืมทิศลืม........................ถิ่นสิ้น หวังใจใคร่ถากถาง................ทางกลับ กำมีดขวานพร้าดิ้น................ดะพง ฯ ๏ ตะวันผันพลบแล้ว..............เลือนแสง แสงอ่อนรอนแสงลง...............หลบฟ้า เถื่อนทางช่างกระไรแฝง........เฟือนห่าง สุดหักถางร้างล้า.....................ลัดไป ฯ ๏ เห็นแนวราบคาบหญ้า.........ยับเยิน ยาตรด่านพาผ่านไพร............ผ่อนพ้น ทางใครนะเดินเหิน...............เห็นนี่ ทางที่เขาดั้นด้น......................ดุ่มจร ฯ ๏ ดังถนนคนย่างก้าว.............กว้างไกล ขรุขระเข็ญขุกตอน.................ก่อนนั้น จนคนก่นถางไป....................ปรับเปรียบ จนเรียบร้อยปั้นกั้น...............ก่อถนน ๚
3 กุมภาพันธ์ 2545 12:04 น. - comment id 33583
โคลงดั้น นิยมเขียนทีละสองบท เพราะคำที่ ๕ ของวรรคหน้าบาทสองของบทที่สอง จะใช้รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของบาทสี่บทแรก ที่ต่างจากโคลงสี่สุภาพอีกอย่างคือ คำที่ ๔ และ ๕ของวรรคหน้าบาทที่ ๔ นิยมใช้คำโทสองคำติดกัน ... ครับ
3 กุมภาพันธ์ 2545 15:17 น. - comment id 33603
จะจดจำค่ะ แต่ว่าเอ๋ไม่ถนัดเขียนโคลงเลยค่ะ ถนนบนพื้นต่อไปก็เริ่มบนฟ้า และใต้ดิน เริ่มถากถางไปเรื่อย ๆ อิ อิ
4 กุมภาพันธ์ 2545 01:52 น. - comment id 33665
มาเรียนรู้ครับ.... แต่ไม่รู้จะเขียนได้หรือเปล่า... แหะๆ
10 กุมภาพันธ์ 2545 17:33 น. - comment id 34765
อืม....ความหมายลึกซึ้งดีจริงๆค่ะ สมัยก่อนจะทำอะไรต้องใช้แรงกำลังและใจเท่านั้นที่จะฝ่าฟันกับอุปสรรคต่างๆ ไปได้ ...น่าทึ่งจริงๆ