เศรษฐกิจพอเพียง รู้จักพอ รู้ขยัน รู้ประหยัด มัธยัสถ์ เปี่ยมไมตรี มีเหตุผล รู้แบ่งปัน น้ำใจ ให้ผู้คน รู้ฝึกฝน พัฒนา วิชาการ คุณธรรม นำตน มุ่งค้นคว้า มัชฌิมา คือสายกลาง สร้างแก่นสาร รู้ทันโลก ที่หมุนเวียน เปลี่ยนตามกาล คือพื้นฐาน แห่งชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ลุงรอง
27 กุมภาพันธ์ 2550 11:29 น. - comment id 663197
ขอพอเพียงด้วยคนนะครับ ลุงรอง
27 กุมภาพันธ์ 2550 11:34 น. - comment id 663200
ขอเสนอให้คุณลุงรองเป็นผู้ชี้แจงเรื่องนี้กับต่างประเทศนะคะ อิอิ
27 กุมภาพันธ์ 2550 11:45 น. - comment id 663206
ขอเพียงพอและพอเพียงงกะชีวิต
27 กุมภาพันธ์ 2550 11:58 น. - comment id 663208
รู้จักพอเพียง มีน้อยใช้น้อยมีมาใช้มากหรือเปล่าคะคุณลุงรอง (แม่มดล้อเล่นนะ)
27 กุมภาพันธ์ 2550 12:41 น. - comment id 663231
แย่จัง เดือนนี้เศรษฐกิจขาดดุลอ่ะค่ะ กินหนมเกินไปนี้ดนึง
27 กุมภาพันธ์ 2550 14:27 น. - comment id 663292
พอเพียงแล้ว ก็จะมีความสุขที่เพียงพอ
27 กุมภาพันธ์ 2550 14:37 น. - comment id 663302
ดีครับ.....เศรษฐกิจพอเพียง
27 กุมภาพันธ์ 2550 16:32 น. - comment id 663415
ความหมายเยี่ยมครับ แก้วประเสริฐ.
27 กุมภาพันธ์ 2550 16:35 น. - comment id 663420
เป็นบทกลอนที่น่าสนใจค่ะ
27 กุมภาพันธ์ 2550 16:45 น. - comment id 663434
27 กุมภาพันธ์ 2550 16:53 น. - comment id 663442
พอเพียงอย่าง กลุ่มมัชฌิมาของผู้หลักผู้ใหญ่ หรือเปล่าครับ ลุงฯ มาทัศนาจรครับ
27 กุมภาพันธ์ 2550 20:03 น. - comment id 663574
ขอคารวะ
27 กุมภาพันธ์ 2550 21:54 น. - comment id 663623
ถ้าปากพอ แต่ใจไม่พอ....มันก็เท่านั้น
27 กุมภาพันธ์ 2550 22:53 น. - comment id 663672
ความพอเพียงคือการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประโยชน์สูงสุดครับ คนเราเกิดมาตัวแค่นี้ อยู่บ้านหลังเท่านี้ก็พอ มีมือมีเท้าขับรถเองได้ ไม่ต้องจ้างคนขับก็ได้ ไม่ต้องมีขบวน บ้านตากอากาศ ไม่ได้ใช้บ่อย ก็เช่าเป็นครั้งๆไป ไม่ต้องเที่ยวไปโค่นป่าสงวนปลูกคนละหลังๆ ประหยัดต้นทุนได้มากมาย นี่คือหัวใจของความพอเพียง พอต้นทุนต่ำ กำไรก็สูง นั่นคือ พอเพียงในต้นทุนเพื่อกำไรสูงสุด ตามปรัชญาทุนนิยม แล้ว ใครล่ะ ที่จะสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกำไรสูงสุด จริงๆไม่ใช่ง่ายนักเพราะคนนั้นต้องมีสมองครับ สำคัญมาก ต้องมีสมอง ไม่ใช่มีแต่ปากพูดพอเพียงๆๆ พอเพียงไม่ใช่คิดแค่ว่าต้องประหยัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต้องติดดินประมาณว่าทุกคนต้องพึ่งตนเอง ปลูกข้าวกินเอง ต้องออกทุ่งเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เชือดควายกินเอง การทำเช่นนั้นไร้สติ และไม่คุ้มค่าครับ ประเทศไทยมีทรัพย์ในดิน สินในน้ำ มีภูมิปัญญาชาวบ้าน มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามให้บริหารจัดการ ให้พัฒนาเพื่อกำไรสูงสุดจากต้นทุนเดิมได้อีกมากมาย การบริหารจัดการต้องมีกึ๋น ต้องดึงความสนใจลูกค้าและนักท่องเที่ยว ย้อนกลับไปมองสมัยรัฐบาลเก่าจะเห็นว่ามีการนำทรัพยากรที่ไม่เคยมีใครเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย สอนให้ชาวบ้านหัดค้าขายให้เป็น อันนี้ต้องมีวิสัยทัศน์ครับ เสียดายที่รัฐบาลนี้หายากทั้งสมองและวิสัยทัศน์
2 มีนาคม 2550 22:37 น. - comment id 665231
.ให้ความหมายที่เข้าใจง่าย