เมื่อเปิดเทอม เริ่มการเรียน ฝึกเขียนอ่าน ณ โรงเรียน กลางหมู่บ้าน ชานทุ่งท้อง คุณครูหนึ่ง ยืนนิ่งหน้า ชายตามอง ยืนรอผอง นักเรียนมา หน้าโรงเรียน ยืนรออยู่ จากตรู่เช้า จนเข้าสาย ต้องใจหาย ไร้เด็กน้อย คอยขีดเขียน ไม่มีใคร สะพายกระเป๋า เข้ามาเรียน เกิดเหตุเพี้ยน อันใด ไร้คนมา พลันมีเด็ก เดินหน้า มาเรียนเริ่ม วันเปิดเทอม เป็นคนแรก แปลกหนักหนา ถึงประตู วางกระเป๋า เข้าเจรจา สวัสดีค่ะ คุณครูขา ว่าเช่นเคย ด้วยอยากรู้ ครูจึงถาม ความเป็นไป เพื่อนของหนู เขาไปไหน ถึงได้เฉย เปิดเทอมแล้ว เขาไปไหน ไม่มาเลย ทำไมเฉย ไม่มาเรียน เพียรวิชา เจ้าเด็กน้อย พลอยหน้าเศร้า เล่าความบอก เขาลาออก ไปเรียนใหม่ ในเมืองจ้า ฟังคำตอบ ความสงสัย ไหลขึ้นมา สิ่งสำคัญ คือหลักวิชา หรือตราโรงเรียน เมือเปิดเทอม เริ่มการเรียน ฝึกเขียนอ่าน โรงเรียนบ้าน ไร้เด็กน้อย คอยขีดเขียน ครูเดินกลับ ห้องเคยอยู่ สู้พากเพียร นั่งรอวัน ที่โรงเรียน ถูกปิดตาย
17 พฤษภาคม 2548 22:07 น. - comment id 468606
ครั้งหนึ่งในชีวิต อยากเป็นครู ที่ชนบท เด็กนักเรียนเดินเรียงแถวตามครูมายังใต้ต้นไม้ใหญ่ บทเรียนวันนี้จะสอนที่นี่ .. ยังมีอีกมาก ที่โรงเรียนขาดครู และก็ยังมีอีกมาก ที่โรงเรียนขาดนักเรียน จนกระทั่งไร้การสนับสนุนใดจากรัฐบาล จำได้ว่า .. เคยมีคนเล่า ถ้าโรงเรียนมีนักเรียนไม่ถึงเกณฑ์ จำนวนเท่านั้น เท่านี้ ต้องปิดโรงเรียน .. จนครู ต้องขับปิคอัพเก่า ๆ ตะเวณรับจากบ้านให้มาเรียน ไม่ใช่เพราะอยากได้ค่าแรงหรอก แต่เพราะครู มีหัวใจเป็นครู อยากสอนเด็ก ๆ อยากปลูกฝังสิ่งดีงามให้เด็ก ๆ อยากให้เด็กได้เรียนรู้ .. ถ้าไม่มีโรงเรียน คงไม่มีอัลมิตราจนถึงทุกวันนี้
18 พฤษภาคม 2548 09:00 น. - comment id 468681
เคยเป็นครูสอนอยู่ช่วงหนึ่งประมาณ 2532 แต่สอนที่โรงเรียนพระปริยัติธรรม พูดง่าย สอนเณร ไม่ต้องมีตงมีตราให้อวดกัน แต่ก็ยังไงก็ดูเป็นเด็กอยู่เพียงแต่ห่มผ้าเหลือเท่านั้นก็เป็นประสบการณ์อีกอย่างหนึ่ง..แต่สอนไม่นาน หากนานกว่านี้คงได้เป็นหลวงพี่ไปแล้ว
18 พฤษภาคม 2548 09:38 น. - comment id 468689
ค่านิยมของคนในสังคมไทย ทุกวันมันแปรเปลี่ยนไปหนา เห็นตรามีค่ามากกว่าตัววิชา แล้วประเทศชาติคงแย่แน่เลย ถ้าผู้ใหญ่เช่นแม่พ่อต่อเครื่อญาติ ยังขาดความคิดในจิตที่สร้างสรรค์ สักวันเถอะนะประเทศชาติคงจะได้พัง โรงเรียนที่ไม่เด่นไม่ดังต้องปิดลง นี้แหละหรือสังคมของไทยเรา มีแต่เขาคิดจะแบ่งแยกชนชั้น เธอคือลูกคนรวยอยู่เมืองสวรรค์ ส่วนตัวฉันลูกชาวนาตาสีตาสาอยู่ป่าดง ไม่คู่ควรจะเข้าเมืองเรียนเขียนอ่าน ด้วยบ้านกันดานขัดสนทั้งจนยิ่ง แค่คิดการทำมาออกหากิน ยังต้องดิ้นรนไปเพื่อให้ได้กินมา นับประสาอะไรกับการส่งเรียน ถึงแม้เจ้าจะพากเพียนเรียนดีกว่า เด็นในเมืองที่ต่างไม่รู้ในคุณค่า ด้วยเพราะบ้าเทคโนโลยีกัน วันนี้เด็กน้อยเจ้าดอยโอกาส โรงเรียนขาดเด็กเรียนเขียนอ่าน แล้วครูจะทำอะไรได้ในหลักการ ด้วยรัฐบาลยังขาดการดูแลกัน คิดไปแล้วใจให้เศร้าหนอ ครูรอเด็กน้อยมาเรียนนั้น แต่วันนี้ไม่มีเด็กเลยสักคนกัน จิตให้คิดประหวั่นค่าตราโรงเรียน คิดไปแล้วก็เศร้าจริงๆๆเลยนะค่ะ...กับค่านิยมของสังคมไทยในทุกวันนี้......เฮ้อ..
18 พฤษภาคม 2548 12:46 น. - comment id 468778
ในฐานะคุณครูคนนึงนะคะ รู้สึกสะท้อนใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงเช่นนี้เหลือเกิน ตราบใดที่พ่อแม่ยังยึดติดกับชื่อเสียงของโรงเรียนมากกว่าวิชาการ เหตุการณ์เช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยไปค่ะ มาชื่นชมค่ะ
18 พฤษภาคม 2548 14:27 น. - comment id 468824
พอจะมองภาพออกครับ เพราะเคยเจอมาบ้าง ที่พ่อแม่ส่งลูกเข้าเรียนในเมือง ทั้งที่อยู่ใกล้บ้านก็มีโรงเรียน แต่บางทีเราก็ต้องเข้าใจเขาด้วยครับ เพราะมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านนอก กับโรงเรียนในเมืองยังต่างกันอยู่... ระดับ ประถม กับ มัธยม เรื่องตรา ผมว่าคงไม่ยึดติดกันมากเท่าระดับ มหาวิทยาลัยหรอกครับ
18 พฤษภาคม 2548 19:14 น. - comment id 468846
แต่อารมณ์นี้.. กลับนึกไปถึงค่ำคืนก่อน.. ที่ได้เห็นน้ำตาของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ถูกเผาต้อนรับเปิดเทอมน่ะค่ะ เศร้าใจแทน \"ครู\" และ \"เด็ก ๆ\" ค่ะ
18 พฤษภาคม 2548 15:18 น. - comment id 468849
ชื่นชมในปณิธานและจิตวิญญาณคุรุครับ
23 พฤษภาคม 2548 23:30 น. - comment id 470285
หากเปรียบเด็กทั้งหล้าคือผ้าขาว พิสุทธิ์ราวสำลีไร้สีสัน มีพ่อแม่แลครูถือพู่กัน แต่งภาพฝันสรรสีสีวยช่วยต่อเติม หากเธอคือผ้าขาวพราวพิลาส ไร้รอยขาดรอยแหว่งไม่แต่งเสริม มาจากช่างทอที่ดีแต่เดิม ก็คงเริ่มแต่งได้ด้วยใจรัก แต่ผ้าขาวเหล่านี้มีรอยขาด แม้สะอาดแต่ใครใครก็ไสผลัก มาจากช่างทอที่ไม่ดีนัก ภาระหนักมอบให้ครูถือพู่กัน ตัดรอยแหว่..แต่งรอยหวะก่อนจะวาด ผ้าผืนขาดอาจมีหลากสีสัน บรรจงแต่งบรรจงปะแต่ละวัน ผ้าผืนนั้นพลันสยวด้วยมือครู แต่ละขั้นบรรจงก่อนลงสี ให้ผ้านี้บรรเจิดงามเลิศหรู จากผ้าขาดที่ไม่มีใครดู อาจมาอยู่แถวหน้าเป็นผ้างาม เด็กท้องไร่ท้องนา...คือผ้าขาด ด้อยโอกาสขัดสนคนมองข้าม ในสังคมที่ความทุกข์เข้าคุกคาม เธอคือความหวังใหม่ไทยทั้งมวล ครูใหญ่โรงเรียนเล็กเขียน เป็นครูเหมือนกันแต่เราอยู่โรงเรียนเล็ก ใครอยามาเยี่ยมก็เชิญงานหนักมาก ครูสามคน เด็กห้าสิบ สอนตั้งแต่อนุบาลยันปอหก