อันลำนำ คำงาม ควมเพิ่นเว้า เสียงแคนเคล้า คลอพิณ ถิ่นผะหยา ใจจื่อจำ จดจื่น แต่มืนตา เถิงคุณค่า ลำนำ คำของคน เสียงลำนำ คำควม เพิ่นว่าไว้ ผิว่าใจ มิใคร่ฉ้อ บ่คึดฉน แม่นคึดดี เฮ็ดดี วิถีตน เถิงเป็นคน ชนไร้ชั้น บ่ฮั่นฮ้าง คั่นแม่นผู้ ยโส เฮ็ดโตอ่ง บ่สร้างสรรค์ จรรโลง ทำโผงผาง ต่อให้คำ ลำนำม่วน สรวลบ่ซาง คนกะหมาง เถิงเป็นเจ้า เขากะเมิน อันลำนำ คำไพร่ บ่หมายว่า แบ่งยศถา ชนชั้น จังสรรเสริญ แต่ลำนำ คำม่วน สิซวนเซิน อยู่ที่ใจ ไผเพิ่น ผู้ถือธรรม ผิไผเบิ่ง เถิงคำ ลำนำเพี้ยน ตีควมเปลี่ยน แปลกไป ให้ระส่ำ ลองเบิ่งใหม่ ควมหมายพ้อง ของลำนำ แล้วลองย้ำ นำเบิ่ง สิออนซอน อภิธานศัพท์ 1. ควม แปลว่า ความ 2.เพิ่น เป็น สรรพนามบุรุษที่สามพหูพจน์ 3. ผะหยา คือ สุภาษิตพื้นบ้านอีสาน 4.จื่อ แปลว่า จำ 5. เถิง แปลว่า ถึง 6. แม่น แปลว่า ใช่ 7. คึด แปลว่า คิด 8. เฮ็ด แปลว่า ทำ 9. ฮั่น แปลว่า ที่นั่น 10. ฮ้าง แปลว่า ร้าง เก่า หรือ พัง 11. คั่น แปลว่า ถ้า 12. เฮ็ดโตอ่ง แปลว่า ทำตัวหยิ่ง 13. ม่วน แปลว่า เพราะ 14. ซาง แปลว่า สร่าง 15.จัง แปลว่า จึง 16.ซวนเซิน แปลว่า ชวนเชิญ 17.ไผ แปลว่า ใคร 18.ผิ แปลว่า มาตรว่า แม้นว่า ผิว่า 19. เบิ่ง แปลว่า มองดู 20. นำ แปลว่า ด้วย หรือ ตาม 21. ออนซอน แปลว่า ชื่นชม ยินดี 22. มืนตา แปลว่า ลืมตา แต่ในที่นี้ หมายถึง ตั้งแต่ เกิด
30 พฤศจิกายน 2545 22:32 น. - comment id 98707
เรนโพสแร้วว..หายไหนค่ะเนี่ย!! โห้ยย.. เรนโพสใหม่..ก้อด้ายค่ะ.. เรนจาบอกว่า.. เรนชอบที่จาอ่าน.. ภาษาท้องถิ่น..มากๆค่ะ.. เรนว่า.. แต่งยากมากนะค่ะ... ..เรน..อยากให้..แต่งแนวนี้อีกนะค่ะ.. ขอบคุณค่ะ.. เรนอยากรู้..คำว่า.. เฮ็ดโตอ่ง.. แปลว่า..? ..บอกเรนด้วย..
30 พฤศจิกายน 2545 23:50 น. - comment id 98734
ข่อยแปลบ่ออกเด้อ บ่ฮู้เฮื่องอะ
1 ธันวาคม 2545 13:07 น. - comment id 98801
เอ่อ กลอนนั้นไม่นิยมส่งสำผัสในท้ายวรรค สดับรับรองส่งด้วยเสียงเอกโทนะครับ เรียนอักษรน่าจะรู้ดี ให้รองศึกษา เรื่อง ละลอกทับ ละลอกฉลอง ดู จะทำให้หลีกเลี่ยงการส่งสำผัส แบบนี้ได้ ด้วยรักและห่วงใย
1 ธันวาคม 2545 15:51 น. - comment id 98821
ขอบคุณมากครับ ีที่ติติง ภาษาอีสาน มี เสียงวรรณยุกต์ ต่างจากภาษากลางนะครับ ภาษากลางมี 5 เสียงวรรณยุกต์ อีสาน มี แค่ 3 สำเนียงเสียงพอออกมาจริง ก็ไม่ตรงเสียทีเดียว ยังอยากนั่งคิดนั่งเปรียบเทียบดูอยู่
1 ธันวาคม 2545 16:51 น. - comment id 98842
นั่งคิด เทียบดูแล้ว บาทสุดท้าย ของ บทที่ สอง เถิงเป็นคน ชนไร้ชั้น ย่อมสรรค์สร้าง ออก เป็นเสียงเอกครึ่ง ๆ ถือ ว่าผิด แต่หา คำมาแทนไม่ได้ครับ ถ้ายังหา มาแทนไม่ได้ ก็ปล่อยไว้อย่างนี้ก่อนละกัน อิ ๆ :)
1 ธันวาคม 2545 18:52 น. - comment id 98847
หุหุ รู้มากก็ยากนาน กวินทรากร ลองวิจารณ์กลอนสามบทนี้ให้ดูหน่อยสิ ได้เพลินอุ่นฉุดเคลิ้มสติหลับ ก็ฝันยับไปด้วยรักไม่พักถาม ในนิมิตว่าได้ชิดพะงางาม เหมือนเมื่อยามยังสำราญอยู่บ้านน้อง สบายนิดหนึ่งที่ฝันก็พลันรุ่ง ตื่นสะดุ้งเขาประดังระฆังก้อง พอลืมตาก็ผวาเข้าประคอง ไม่พบน้องสุดแค้นแสนรำคาญ ๚ (นิราศพระบาท, สุนทรภู่) โอ้ปางหลังครั้งสมเด็จบรมโกศ มาผูกโบสถ์ก็ได้มาบูชาชื่น ชมพระพิมพ์ริมผนังยังยั่งยืน ทั้งแปดหมื่นสี่พันได้วันทา (นิราศภูเขาทอง, สุนทรภู่)
1 ธันวาคม 2545 19:24 น. - comment id 98848
เฮ้อ...ต่างคนก็ต่างตำรา อย่าจริงจังกันเลยเนาะ
1 ธันวาคม 2545 21:18 น. - comment id 98855
รอคำแปลอยู่ค่ะ ... แต่อยากส่งกำลังใจให้ทุกๆคน ... มิตรภาพตราบสิ้นฟ้า
2 ธันวาคม 2545 14:08 น. - comment id 98955
ละลอกทับ ละลอกฉลองนั้น ก็คงมีที่มาคล้ายไกับเอกโทษ โทโทษ พอกวีใช้กันบ่อยๆ เข้า ก็คงจะเห็นไม่งามและอาจทำให้อักษรวิบัติได้ อีกทั้งยังทำให้ ขาดความงามทางวรรณศิลป์ โบราณท่านจึงออกเป็นข้อห้ามไว้ แต่สมัยก่อนนั้น อาจเป็นการโลดโผน ที่จะใช้คำเหล่านี้ อยู่ เมื่อเรารู้ที่มาที่ไปอย่างนี้แล้วก็ไม่ควรใช้ สุนทรภู่ท่านก็เป็น มนุษย์ปุถุชน เหมือนกับเรา อันหนัยดีก็รับไว้อันไหนบกพร่องก็อย่าได้เลียนแบบ ผมเชื่อเหลือเกินว่า บางทีกลอนมันพาไป
2 ธันวาคม 2545 15:25 น. - comment id 98969
ทุก ๆความเห็น ล้วนเป็นประโยชน์ ต่อผู้เขียน และผู้มาอ่านทั้งสิ้น อยากให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็น อย่างนี้ เรื่อย ๆ ขอบคุณ ทุก ๆ ท่านจากใจจริงครับ
2 ธันวาคม 2545 19:06 น. - comment id 98996
งานศิลปะ ไม่น่าจะถึงขนาดมีกฏหรือข้อห้าม มีแต่แบบอย่างหรือแนวทางหรือทฤษฎี ที่สำคัญคือต้องใจกว้างทั้งในการแสดงความคิดเห็นและรับฟัง ท้วงติง หรือ ตักเตือนกัน ด้วยอัชฌาสัยและไมตรีจิต