บ้านนอก ณ คอกนา มีมารดาและบุตรชาย อยู่อย่างพอสบาย แม้ฝืดเคืองเรื่องเงินตรา มีนาอยู่หลายไร่ ไถดะไว้ใช้หว่านกล้า ลูกชายไปทำนา ส่วนมารดาเตรียมเข้าครัว "แม่เอ๊ยข่อยไปก่อน แอกอีด่อนดะไว้ทั่ว พาข้าวเอาให้นัว ฟ่าวเฮ็ดครัวไปส่งนา" "สายสายพระจังหัน กะสิทันอยู่ดอกหล่า ฟ่าวไป๋อย่าให่ซ้า ข้าวซ่ามปลาสินำไป๋" ตะวันผันผ่านหัว แม่ของตัวมัวอยู่ไหน ปลดแอกอีด่อนไว้ นั่งแค้นใจรอมารดา ผู้แม่ยักแย่วิ่ง เดินตรงดิ่งใจห่วงหา ลูกชายที่ปลายนา หิ้วตะกร้าพาข้าวไป ลูกชายรอใต้ร่ม เห็นแม่ข่มขึ้นเสียงใส่ "โอ๊ยน้อ...น้อแม่ใหญ่ ไปอยู่ไสหัวแต่มา" "เฮ็ดเวียกใจสิขาด ถ่าเป็นชาติฮู่บ่หา? ข้าวน้ำกับซ่ามปลา เฮ็ดไว่ถ่าฟ่าวส่งไว" "แม่ซ้าย่อนแม่เฒ่า ลูกอย่าเอาแต่สงสัย บ้านห่างทางกะไกล ฟ่าวปานใด๋แม่แลนเอ๋า" "มามาแม่สิเขย นั่งลงเลยอย่าฟ่าวเว่า ข้าวเหนียวนึ่งจากเตา แจ่วบองเอาไปจิ้มกิน" ผู้ลูกก็เลยว่า "แม่ใหญ่ห่า...คือมาหมิ่น ติบน้อยบ่พอลิ้น สิให่กินจักคำกั๋น" "แพงไว้ให้ผู้ใด๋ เหลือมาให่พอซ่ำนั่น" อารมณ์โมโหพลัน ก็หุนหันใส่มารดา แม่เฒ่ายกมือไหว้ "โอ๊ย...เห็นใจ๋แม่แน่หล่า ข้าวปั้นนั่นยัดมา เต็มติบฝาจนว่าพูน" "จั๊กมันพูนหม่องใด๋ อย่าเว่าไปให่กูสูญ" ด่าว่าไม่อาดูร ทวีคูณทรพี เคืองแค้นแล่นคว้าจอบ หวดเต็มหอบใส่เต็มที่ มารดาไม่ปราณี จนแม่นี้แน่นิ่งไป เลือดอาบทาบทั่วร่าง ค่อยละวางความโกรธได้ ปั้นข้าวจิ้มแจ่วใน ถ้วยน้อยใส่ตะกร้ามา เท่าไหร่ก็ไม่หมด ให้สลดคำแม่ว่า สำเหนียกเรียกมารดา "อี๊แม่จ๋า...ลุกมาพี่" "มากินข้าวน่ำกั๋น อย่านอนนั่นตื่นมาหนี่ แจ่วบองนี่ของดี บักหล่านี่สิป้อนคำ" แม่นิ่งไม่ติงไหว ลูกหัวใจเต้นระส่ำ หวาดกลัวสิ่งตัวทำ ที่กระหน่ำทุบมารดา ตีอกต่อยชกหัว เขย่าตัวเรียก"แม่จ๋า..." อุกอั่งหลั่งน้ำตา รู้แล้วว่าแม่จากไป มาตุฆาตฟาดแม่ กรรมหนักแท้เกินแก้ได้ ระลึกนึกในใจ โอ้ไฉนจะใช้กรรม ตูช่างทรพี ฆ่าผู้มีพระคุณล้ำ โมหะลุกระทำ ขอรับกรรมที่ทำมา อันลืมคุณน้ำนม ปล่อยตัวจมกับโมหา โง่เขลาเบาปัญญา ถูกบังตาให้มืดไป โทษทัณฑ์ก่องข้าวน้อย คงจะพลอยตายหมกไหม้ แผดทั่วทั้งหัวใจ ในนรกโลกโลกันตร์ "แม่จ๋า...ลูกผิดแล้ว ขอแม่แก้วสู่สวรรค์" กอดพร่ำเพ้อรำพัน จวบตะวันลาลับไป คิดสร้างสถูปธาตุ แล้วประกาศอุทิศให้ มารดาผู้คลาไคล เพื่อกราบไหว้โมทนา ไว้เป็นอนุสรณ์ อุทาหรณ์เตือนใจสา- ธุชนคนต่อมา คุณมารดาล้นรำพัน ให้เกิดกำเนิดบุตร ประเสริฐดุจอรหันต์ คุณค่าคณานันต์ ของแม่นั้นเกินเปรียบปาน ขอธาตุก่องข้าวน้อย ยืนยงคอยกัลปาวสาน จนสุดพุทธกาล เป็นตำนานสืบต่อกัน ผู้ใดได้ซาบซึ้ง ขอจงถึงซึ่งสวรรค์ เสวยสุขทุกคืนวัน อยู่ในชั้นทิพย์วิมาน...(สาธุ) ............................................ พระธาตุก่องข้าวน้อย บอกเล่าตำนานเกี่ยวกับลูกฆ่าแม่ ที่เห็นมารดานำข้าวมาให้เพียงกระติบเล็ก ๆ ซึ่งตนคิดว่ากินไม่อิ่ม ด้วยความโมโหหิว เลยกระทำมาตุฆาต แต่ปรากฏว่าขณะที่กินข้าวในกระติบนั้น ไม่ว่าจะกินเท่าไหร่ก็กินไม่หมด ให้โศกสลดใจในสิ่งที่ตนกระทำ จึงได้สร้างพระธาตุไว้เป็นอนุสรณ์แก่มารดาของตน เพื่อไถ่บาป พระธาตุก่องข้าวน้อย จึงเป็นพระธาตุเดียวที่แตกต่างจากพระธาตุอื่น ๆ ในผืนบรรณภิภพ ที่เก็บบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระอรหันตธาตุครับ
22 พฤศจิกายน 2552 02:45 น. - comment id 1066818
เรื่องราวนี้ เคยชมตอนเป็นภาพยนตร์ และตอนเรียนค่ะ คุณเขียนได้ดีนะคะ ได้เนื้อหาและใจความ
22 พฤศจิกายน 2552 06:11 น. - comment id 1066823
แต่งได้เข้าใจเรื่องราวได้ง่าย ชัดเจนดีครับ และไพเราะดีครับ ได้ทราบตำนานพระธาตุก่องข้าวน้อย...อยากจะหาโอกาสไปนมัสการพระธาตุสักครั้งนะครับ
22 พฤศจิกายน 2552 07:19 น. - comment id 1066825
เยี่ยมไปเลย
22 พฤศจิกายน 2552 07:47 น. - comment id 1066841
เขียนดีจริงๆครับ
22 พฤศจิกายน 2552 10:15 น. - comment id 1066870
เป็นเรื่องจริงที่สะท้อนให้เห็นและในปัจจุบันมีมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
22 พฤศจิกายน 2552 10:31 น. - comment id 1066875
นิทานม่วน มีคติหลาย จะขอก็อบไปให้เด็กๆอ่านเด้อค่ะ
22 พฤศจิกายน 2552 12:21 น. - comment id 1066893
สวัสดีครับคุณปรางทิพย์ ขอบคุณสำหรับคำติชมครับ ผมไม่เคยทราบเลยว่าตำนานนี้ เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์แล้ว ครับเอ...ตั้งแต่เมื่อไหร่น้อ.... สงสัยจะเกิดไม่ทันครับ อิอิ สวัสดีครับคุณ donjuann ถ้ามีเวลาว่างอย่าลืมแวะไปเที่ยวนะครับ ที่อ.เมือง จ.ยโสธรครับ สวัสดีครับคุณเสมอจุก ขอบคุณนะครับที่เข้ามาเม้นท์ให้ สวัสดีครับคุณครูกระดาษทราย สมัยตอนเป็นเด็กผมก็เคยเอาเรื่องนี้ ไปเล่นรอบกองไฟครับ เรียกน้ำตาจากคนดูได้ตรึมเลยล่ะ ผมเคยไปไหว้พระธาตุฯนี้สมัยเด็ก ๆ ครับ แค่ครั้งเดียว แต่ก็ประทับใจมาจนถึงทุกวันนี้ครับ สวัสดีครับคุณกู้ภัย อ่านกลอนผมจบแล้วขอให้มีความสุขมาก ๆ นะครับ สวัสดีครับคุณไหมไทย ตอนนี้ล่วงเข้าสู่ยุคกึ่งพุทธกาลแล้วครับ คนเราก็ทำบาปกันเยอะขึ้น ๆ เป็นเงาตามตัว มีทั้งพ่อแม่ฆ่าลูก และลูกฆ่าพ่อแม่ มีให้เห็นในสื่อเต็มไปหมดครับ สวัสดีครับคุณกันนา ยินดีครับสำหรับการนำไปเผยแพร่ เด็ก ๆ จะได้รู้ในสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติต่อพ่อแม่ครับ ขออานิสงค์ผลบุญนี้จงบังเกิดมีทั้งคนเขียน คนอ่าน คนติชม และคนนำไปเผยแพร่ต่อนะครับ จะได้อิ่มบุญกันทุกคนครับ
22 พฤศจิกายน 2552 15:22 น. - comment id 1066929
เหมือนเคยฟังแม่เล่าเรื่องนี้ตอนเด็กๆค่ะ ตอนฟังโอเลี้ยงก็เกลียดคนโมโหหิวนะคะ อิอิ แต่พอบางวันหิวจัดๆแต่งานยังยุ่งก็อารมณ์ไม่ดีพาลคนเหมือนกัน เลยชักเข้าใจคนโมโหหิวบ้างแล้วค่ะ สวัสดีค่ะพี่ยันต์ คอมฯโอเลี้ยงหายป่วยมาอ่านกลอนได้อีกแล้วค่ะ
22 พฤศจิกายน 2552 15:39 น. - comment id 1066938
ยอดเยี่ยมจริงๆครับ ถ้าอ่านแล้วออกเสียงให้ได้ตามฉบับ อรรถรสช่างงดงามเลยครับ สนุกด้วยครับ สดใสสุขสันต์ครับ
22 พฤศจิกายน 2552 15:53 น. - comment id 1066943
แจ่มครับ ได้ศึกษาภาษาถิ่นในตัวด้วยครับ
22 พฤศจิกายน 2552 19:46 น. - comment id 1067001
เล่าได้อย่างเยี่ยมเลยครับ ภาษาก็เข้ากับท้องถิ่น
22 พฤศจิกายน 2552 20:16 น. - comment id 1067017
เคยอ่านก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ มาหลายเวอร์ชั่น... เวอร์ชั่นนี้ได้อารมณ์สะเทือนใจ จากภาษาที่ใช้มากๆค่ะ...
22 พฤศจิกายน 2552 21:07 น. - comment id 1067034
ตอนที่อ่านเนี่ย แตงลองออกเสียงไปด้วย อ่านไปอ่านมาก็นึกโมโหตัวเอง เพราะรู้ว่าคงออกเสียงผิดแน่ๆ แตงเรียกกลอนแบบนี้เอาเองว่า กลอนมีเสียง ต้องอ่านให้ดัง ฟังกันชัดๆ ถึงจะได้อารมณ์ นึกๆไปก็อยากให้คนเขียนมานั่งอ่านให้ฟัง น่าจะเข้าท่ากว่า ^^
22 พฤศจิกายน 2552 21:35 น. - comment id 1067060
เป็นอุทาหรณ์ของคนรุ่นเก่า
22 พฤศจิกายน 2552 22:53 น. - comment id 1067089
สวสัดีครับคุณโอเลี้ยง ทุกคนมีอารมณ์หิว แต่อย่าโมโหตอนหิวนะครับ เพราะไม่อย่างนั้นเรื่องมันจะซ้ำรอยและผิดพลาดแบบนี้ครับ สวัสดีครับคุณแสงเพชร ขอบคุณสำหรับคำชมครับ สำหรับบทกลอนนี้หากใครสามารถพูดจาและอ่านภาษาอีสานได้ก็ได้เปรียบในเรื่องอรรถรสครับ ขอบคุณนะครับคุณสายวารินทร์ ผมเดาว่าคุณคงไม่ใช่คนอีสาน แต่ก็เก่งมากนะครับที่อ่านกลอน ของผมแล้วสามารถเข้าใจในเนื้อเรื่องครับ กาพย์บทนี้จะไม่มีค่าเลยครับ หากคนอ่าน ไม่สามารถรู้รับและจับใจความตามที่ผู้เขียนพยายามสื่อออกไปได้ครับ ขอบคุณมากนะครับคุณกิ่งโศก เป็นความโชคดีของผมที่เกิดมาเป็นลูกหลาน แดนอีสานและมีมรดกตำนานอันทรงคุณค่าครับ ผมก็เพียงแต่พยายามจะรักษามันไว้ในแบบฉบับของตัวเองครับ ขอบคุณนะครับคุณวันสุข ขอบคุณมากครับสำหรับอารมณ์สะเทือนใจที่เกิดขึ้น มันทำให้ผลงานของผมชิ้นนี้มีค่าขึ้นมาในสายตาของนักกวีของคุณเลยครับ สวัสดีครับน้องแตง (คุณตัวเล็ก) ขอบคุณมากครับที่พยายามอ่านออกเสียง กลอนของผมเพื่อให้ได้อรรถรส หวังว่าคงไม่ผิดหวังนะครับ สวัสดีครับพี่ก่องกิก อุทาหรณ์ของคนรุ่นเก่า แต่สามารถนำมาใช้สอน คนรุ่นใหม่อย่างเรา ๆ ได้ เรียกว่ายังเป็นอมตะอยู่ครับ ภาษาทางธรรมเรียก อกาลิโก ครับ
23 พฤศจิกายน 2552 06:52 น. - comment id 1067145
เป็นตำนานที่เล่าขานไม่รู้เบื่อค่ะ และเป็นตำนานที่เด็กๆนำมาแสดงละครบ่อยมาก บางทีดัดแปลงเนื้อหากน่าสนใจค่ะ เคยไปไหว้มาแล้วค่ะ..มีโอกาสอยากไปอีกค่ะ
23 พฤศจิกายน 2552 17:51 น. - comment id 1067360
ทั้งที่เคยอ่าน เคยฟังมาบ้างแล้ว พออ่านงาน ท่านพี่ น้ำตาจะไหลเลยครับ บรรยายเรื่องให้เห็นภาพ ได้ดีมากๆๆ ครับ
24 พฤศจิกายน 2552 21:52 น. - comment id 1067764
สวัสดีครับคุณครูพิม ขอบคุณนะครับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นตลอดทุกครั้งเลย.... สวัสดีครับคุณกวีน้อยฯ ชมผมซะจะลอยติดเพดานแล้วนะครับ ขอบคุณมากครับที่ชื่นชอบผลงานผมครับ
2 ธันวาคม 2552 15:57 น. - comment id 1069989
ผมเพิ่งได้อ่านสำนวนนี้นะ วรรณคดีอีสานเรื่องนี้เป็รโศกนาฏกรรม เกี่ยวกับความหิวโหย อดอยากคือทุพพิกขภัย นั่นเองครับ เรื่องขูลูนางอั้ว ก็ใกล้เคียงกันครับ ขออีกนะครับ เรื่องวรรณคดีพื้นบ้าน ทำนองนี้