วิสาข ...ปารมี เพ็ญเดือนหกวกมา ณ ครานี้ วิสาขปารมีพิสุทธิ์แสง น้อมรำลึกวิสาข..ธ แสดง ประสูติ ..ตรัสรู้แจ้ง..แห่งนิพพาน. ปีสองพันห้าร้อยสี่สิบสอง โลกาผองยกสากลให้ขับขาน วันสมาธิโลก..โบกศรัทธา..ประชาทาน เผื่อบุญจาร..สงบนิ่ง..อิงแสงธรรม หลีก ละ ลด และ เลิก..เศิกมารผอง ไกลชั่วปอง..สงบบุญ...ดุลดื่มด่ำ ประคองตน..อยู่ในบุญ จุนเจือนำ สงบล้ำ...พบตน..บนความดี ขอความสงบมีแด่สาธุชนในสัปดาห์วิสาขะบูชา ทิกิ_tiki ."ในช่วงต้นปี ๒๕๔๖ สืบต่อเนื่องมาถึงกลางปี (สืบต่อมาถึงวันนี้ ๒๕๔๘_ผู้เขียน) เหตุการณ์ของบ้านเมืองและของโลก มีความเดือดร้อนวุ่นวาย มีสงคราม แย่งชิงความเป็นใหญ่ของมิจฉาทิฏฐิ เกิด ฉาตกภัย ข้าวยากหมากแพง และมีภัยพิบัติ เกิดโรคระบาด ทำให้ผู้คนเดือดร้อน ยากจน เจ็บป่วย ล้มตายเป็นจำนวนมาก คนทุกวันนี้เป็นโรคเครียด และ โรคประสาทกันมาก เพราะปัญหาในชีวิตประจำวันที่สร้างความขัดข้อง ความขัดแย้ง ความไม่สบายใจมีมากกว่าแต่ก่อนหลายเท่า คนเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะปัดความคิดที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจออกไปได้ เมื่อความไม่สบายใจเกิดขึ้นบ่อยๆ สะสมมากขึ้น ก็ต้องเป็นโรคประสาท อย่างแน่นอน แต่บางคนแม้สิ่งแวดล้อมจะเลวร้ายเพียงใด ถ้าใจยังเกาะเกี่ยว ยังติด ยังปล่อยวางสิ่งต่างๆ ไม่ได้อย่างเด็ดขาด ใจจะเป็นอิสระอย่างแท้จริงไม่ได้ ไม่สามารถจะรู้แจ้งสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง การสร้างกำลังใจ พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอจงวิดน้ำออกจากเรือ เพราะเรือที่วิดน้ำ ออกแล้ว จะถึงฝั่งได้เร็วและเมื่อ ตัดราคะ โทสะ ได้แล้ว ก็จะถึงฝั่ง คือ นิพพาน การใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข หมายถึง การเข้าใจตนเอง รู้จักตั้งเป้าหมายรู้จักวางแผน และต้องรู้จัก เลือกเฟ้นสิ่งดีๆให้กับชีวิต แม้บางครั้ง อาจจะเผขิญกับความทุกข์และ ความยากลำบากบ้าง ให้คิดว่าเป็นแบบฝึกหัดของชีวิต ที่ต้องมีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากันไป แม้จะมีความทุกข์ความยากลำบากเกิดขึ้นกับชีวิตอยู่เนืองๆ แต่ในขณะเดียวกัน หลายคนอาจลืมไปว่า ในบางครั้งการคลายทุกข์ สามารถหาได้จากสิ่งที่มีรอบตัว มองโลกให้สดใส ด้วยจิตใจที่ เบิกบาน และ สรรหาความสุขจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ รอบตัวให้มากที่สุด การตั้งสติให้มั่น คิดหาทางออกโดยให้กำลังใจกับตนเองว่า ไม่มีปัญหาใดที่แก้ไขไม่ได้ ไม่เกรงกลัว และเชื่อมั่นว่า สามารถนำชีวิต รอดพ้นจากมรสุม และ อุปสรรคทั้งปวง การให้กำลังใจตนเองอยู่เสมอ เมื่อเกิดปัญหาจะช่วยให้สภาพจิตใจมีพลังมากขึ้น จิตใจเยือกเย็น ไม่รู้สึกดดัน หากยิ่งมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่เกรงกลัว ย่อมมีโอกาสในการขจัดเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี ถ้อยแถลง หนังสือวิญญาณ ชุดที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑-๕ มกราคม ถึง พฤษภาคม ๒๕๔๖ ขอยกความจากบรรทัดที่ ๘ หน้า ๑๐๔ มาว่าดังข้างต้นนี้ ทิกิ_tiki
18 พฤษภาคม 2548 13:59 น. - comment id 468810
ในวันสำคัญนี้เคยเห็นคนแก่นุ่งขาวห่มขาว พากันสวด ธรรมจักรกัปวัตณสูตร(ถูกรึเปล่าก็ไม่รู้ถามเขาบอกยังงั้) ก็ไม่ทราบว่าที่สวดกันแปลว่าอะไร แต่ที่เรียนมาแต่เด็ก ก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้าแสดงต่อปัจวัคคี เป็นเทศนาครั้งแรก ที่รวมเอาหัวใจของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด น่าจะแปลให้อ่านกันรู้เรื่องบ้าง ครับ
18 พฤษภาคม 2548 14:55 น. - comment id 468838
ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานเพ็ญเดือนหก สาธุคะ
18 พฤษภาคม 2548 15:10 น. - comment id 468842
เป็นวันที่ผมรอคอยนานนับปี เป็นวันที่จิตวิญญาณพร่างพราย ล่องลอยไปสู่อุรุเวลาเสนานิคม
18 พฤษภาคม 2548 16:46 น. - comment id 468873
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เริ่มธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อนุตฺตรํ อภิสมฺโพธึ สมฺพุชฺฌิตฺวา ตถาคโต พระตถาคตเจ้า ได้ตรัสรู้ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ป มํ ยํ อเทเสสิ ธมฺมจกฺกํ อนุตฺตรํ สมฺมเทว ปวตฺเตนฺโต โลเก อปฺปฏิวตฺติยํ เมื่อจะทรงประกาศธรรมที่ใครๆ ยังมิได้ให้เป็นไปแล้วในโลก ให้เป็นไปโดยชอบแท้ ได้ทรงแสดง พระอนุตตรธรรมจักรใดก่อน ยตฺถากฺขาตา อุโภ อนฺตา ปฏิปตฺติ จ มชฺฌิมา จตูสฺวาริยสจฺเจสุ วิสุทฺธํ าณทสฺสนํ คือในธรรมจักรใด พระองค์ตรัสซึ่งที่สุด สองประการ และข้อปฏิบัติเป็นกลาง และปัญญาอันรู้เห็นอันหมดจดแล้วในอริยสัจทั้งสี่ เทสิตํ ธมฺราเชน สมฺมาสมฺโพธิกิตฺตนํ นาเมน วิสฺสุตํ สุตฺตํ ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนํ เวยฺยากรณปาเ น สงฺคีตนฺตมฺภณาม เส เราทั้งหลาย จงสวดธรรมจักรนั้น ที่พระองค์ผู้พระธรรมราชาทรงแสดงแล้ว ปรากฏโดยชื่อว่า ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร เป็นสูตรประกาศ พระสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระสังคีติกาจารย์ ร้อยกรองไว้โดยเวยยกรณปา ะ เทอญ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เอวมฺเม สุตํ อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ เอกํ สมยํ ภควา สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคียว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (การกระทำ)ที่สุดสองอย่างนี้ ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา อันบรรพชิตไม่ควรเสพ (ไม่ควรข้องแวะเลย) โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วย (ความใคร่ใน)กาม ในกาม(สุข) ทั้งหลายนี้ใด หีโน เป็นธรรมอันเลว เป็นของต่ำทราม คมฺโม เป็นของชาวบ้าน เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน โปถุชฺชนิโก เป็นของชั้นปุถุชน เป็นของคนมีกิเลสหนา อนริโย ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส อนตฺถสญฺหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตน การทรมานตนให้ลำบาก เหล่านี้ใด ทุกฺโข เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์ ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ อนริโย ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส อนตฺถสญฺหิโต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางไม่เข้าไปใกล้(การกระทำ)ที่สุด สองอย่างนั่นนั้น ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง จกฺขุกรณี ทำดวงตาให้เกิด าณกรณี ทำญาณเครื่องรู้ อุปสมาย ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ อภิญฺ าย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี นิพฺพานาย สํวตฺตติ เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้(การกระทำ)ที่สุด สองอย่างนั่น นั้นเป็นไฉน ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง จกฺขุกรณี ทำดวงตาให้เกิด าณกรณี ทำญาณเครื่องรู้ อุปสมาย ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ อภิ าย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี นิพฺพานาย สํวตฺตติ เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน อยเมว อริโย อฏฺ งฺคิโก มคฺโค ทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง เสยฺยถีทํ กล่าวคือ (๑) สมฺมาทิฏฺ ิ ปัญญาอันเห็นชอบ (๒) สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ (๓) สมฺมาวาจา การพูดจาชอบ (๔) สมฺมากมฺมนฺโต การทำการงานชอบ (๕) สมฺมาอาชีโว ความเลี้ยงชีวิตชอบ (๖) สมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ (๗) สมฺมาสติ ความระลึกชอบ (๘) สมฺมาสมาธิ ความตั้งจิตมั่นชอบ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติชึ่งเป็นกลางนั้น ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง จกฺขุกรณี ทำดวงตาให้เกิด าณกรณี ทำญาณเครื่องรู้ อุปสมาย ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ ระงับ อภิญฺ าย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม เพื่อความรู้ดี นิพฺพานาย สํวตฺตติ เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิดก็เป็นทุกข์ ชราปิ ทุกฺขา ความแก่ก็เป็นทุกข์ มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตายก็เป็นทุกข์ โสก ปริเทว ทุกฺข โทมนสฺ สุปายาสาปิ ทุกฺขา ความโศก ความรำไรรำพัน ความทุกข์(ความไม่สบายกาย) โทมนัส(ความไม่สบายใจ) และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ความประสบด้วยสิ่งที่ ไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ความพลัดพราก จากสิ่งที่รัก ที่พอใจทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา โดยย่อแล้ว อุปาทานขันข์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์ อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์ เกิดขึ้นอย่างแท้จริง คือ ยายํ ตนฺหา ความทะยานอยาก(ของจิต)นี้อันใด โปโนพฺภวิกา ทำให้มีภพอีก อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก นนฺทิราค สหคตา เป็นไปกับด้วย(อันประกอบอยู่ด้วย)ความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน ตตฺรตตฺราภินนฺทินี มีปกติเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ (ตัณหามักเพลิดเพลินในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ชื่อว่าในที่นั้นๆ) เสยฺยถีทํ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ กามตณฺหา คือ ความทยานอยากในกาม ความทะยานอยากในอารมณ์ที่รัก ใคร่ ภวตณฺหา คือ ความทะยานอยากในความมี ความเป็น วิภวตณฺหา คือ ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคานิโรโธ ความดับสนิทเพราะจางไป โดยสิ้นความกำหนัด โดยไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียวอันใด จาโค ความสละเสียตัณหานั้น ปฏินิสฺสคฺโค ความวาง ความสละคืน ความสละได้ขาด ตัณหานั้น มุตฺติ ความปล่อย ความพ้น ความหลุดพ้น ตัณหานั้น อนาลโย ความไม่พัวพัน ไม่กังวล ไม่อาลัยในตัณหานั้น(เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น) อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรธคามิ ปฏิปทา อริยสจฺจํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อยเมว อริโย อฏฺ งฺคิโก มคฺโค ทางมีองค์แปด เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง เสยฺยถีทํ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ (๑) สมฺมาทิฏฺ ิ ปัญญาอันเห็นชอบ (๒) สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ (๓) สมฺมาวาจา การพูดจาชอบ (๔) สมฺมากมฺมนฺโต การทำการงานชอบ (๕) สมฺมาอาชีโว ความเลี้ยงชีวิตชอบ (๖) สมฺมาวายาโม ความพากเพียรชอบ (๗) สมฺมาสติ ความระลึกชอบ (๘) สมฺมาสมาธิ ความตั้งจิตมั่นชอบ อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่านี้เป็น ทุกขอริยสัจ ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเ ยฺยนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺ าตนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้กำหนดรู้แล้ว อิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหีนนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ละแล้ว อิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้เป็น ทุกขนิโรธ อริยสัจ ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล ควรทำใหัแจ้ง ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกตนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราได้ทำใหัแจ้งแล้ว อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้ว ในกาลก่อนว่านี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ นั้นแล ควรให้เจริญ ตํ โข ปนิทํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาวิตนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุง อุทปาทิ าณํ อุทปาทิ ปญฺ า อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้น แล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยใด้ ฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิ ปทาอริยสัจนี้ นั้นแล อันเราเจริญแล้ว ยาวกีวญฺจ เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ าณทสฺสนํ น สุวิสุทธํ อโหสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว เนว ตาวาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺ าสึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น ยโต จ โข เม ภิกฺขเว อิเมสุ จตูสุ อริยสจฺเจสุ เอวนฺติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ าณทสฺสนํ สุวิสุทธํ อโหสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไร ในอริยสัจสี่ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบสาม มีอาการสิบสองอย่างนี้ หมดจดดีแล้ว อถาหํ ภิกฺขเว สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ ปจฺจญฺ าสึ เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วย เทพดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดา มนุษย์ าณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา อกุปฺปา เม วิมุตติ อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ ว่าความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก อิทมโวจ ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว อตฺตมนา ปญฺจวคฺคิยา ภิกฺขู ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็มีใจยินดี ภควโค ภาสิตํ อภินนฺทุง เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า อิมสฺมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสฺมึภญฺ มาเน ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ อายสฺมโต โกณฺฑญฺ สฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุง อุทปาทิ จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดา ปวตฺติเต จ ภควตา ธมฺมจักเก ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ภุมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เหล่าภุมมเทพดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ ว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา จาตุมฺมหาราชิกา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น จาตุมฺมหาราชิกานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา ตาวตึสา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ตาวตึสานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา ยามา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าชั้นยามะ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ยามานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา ตุสิตา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามะแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ตุสิตานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา นิมฺมานรตี เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น นิมฺมานรตีนํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา ปรนิมฺมิตวสวตฺตี เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ปรนิมฺมิตวสวสฺตีนํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา พฺรหฺมกายิกา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุง เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัดดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เอตมฺภควตา พาราณสิยํ อิสิปตเน มิคทาเย อนุตตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺติตํ อปฺปฏิวตฺติยํ สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พฺรหฺมุนา วา เกนจิ วา โลกสฺมินฺติ ว่านั้นจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใครๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ อิติห เตน ขเณน เตน มุหุตฺเตน ยาว พฺรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉิ โดยขณะครู่เดียวนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้ อยญฺจ ทสสหสฺสี โลกธาตุ ทั้งหมื่นโลกธาตุ สงฺกมฺปิ สมฺปกมฺปิ สมฺปเวธิ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป อปฺปมาโณ จ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุรโหสิ ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏ แล้วในโลก อติกฺกมฺเมว เทวานํ เทวานุภาวํ ล่วงเทวานุภาพของเทพดาทั้งหลายเสียหมด อถโข ภควา อุทานํ อุทาเนสิ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงเปล่งอุทานว่า อญฺ าสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ อญฺ าสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ ติ ว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ อิติหิทํ อายสฺมโต โกณฺฑญฺ สฺส อญฺ าโกณฺฑญฺโ เตฺวว นามํ อาโหสีติ. เพระเหตุนั้น นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเทียว ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล. จบ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จากคุณ : ooo [ 10 ก.ค. 2546 / 14:24:25 น. ] [ IP Address : 139.132.83.185 ] ค้อปี้มาฝากคุณพฤหัส จากหน้านี้ http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/009191.htm
18 พฤษภาคม 2548 17:01 น. - comment id 468875
วิสุทฺธํ ญาณทสฺสนํ น่าจะเป็นคำนี้ ได้อ่านอีกรอบ อันไหนผิดก็ช่วยดูด้วยแล้วกันนะคะ เพราะถือวิสาสะคัดลอกเขามาค่ะ ทิกิ
18 พฤษภาคม 2548 17:04 น. - comment id 468877
#2 : หมายเลข 471769 ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานเพ็ญเดือนหก สาธุคะ เด็กสตรีฯ 18 พ.ค. 48 - 14:55 การนับวันบันทึกระบบจันทรคตินี้ ง่ายต่อการค้นกลับเพราะดวงจันทร์ย่อม โคจรรอบโลกและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ พร้อมหมุนรอบตัวเองในขณะเดียวกัน การจดจำรำลึกขึ้นแรมย่อมเป็น ธรรมชาติแห่งการบันทึกี่ดีกว่าระบบอื่นค่ะ ทิกิ #3 : หมายเลข 471773 เป็นวันที่ผมรอคอยนานนับปี เป็นวันที่จิตวิญญาณพร่างพราย ล่องลอยไปสู่อุรุเวลาเสนานิคม ลำน้ำน่าน 18 พ.ค. 48 - 15:1
18 พฤษภาคม 2548 17:43 น. - comment id 468889
ป.ล.นิดหนึ่งคุณ พฤหัสคะ ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรนี้ เป็นการแสดงปฐมเทศนา ในวันอาสาหฬหบุชาเพ็ญเดือน ๘ นะคะ อีกสองเดือนจากวิสาขบบูชานี้ไป เดี๋ยวผู้อ่านจะสับสนปนเปกันแย่รีบ บอกเสียก่อนแต่เห็นคุณอยากได้ คำแปลก็นำมาให้ค่ะ ทิกิ ป.ล. คุณลำน้ำน่าน ...น่าจะมากรุงเทพฯ มาวันสมาธิโลกนะคะ ทิกิ
19 พฤษภาคม 2548 01:07 น. - comment id 469003
ท่านทิกิครับ พอดีเลยครับท่านทิกิมีรายละเอียดเกี่ยวกับพระสุบิน ๕ ประการ ก่อนวันตรัสรู้ไหมครับ หาในเว็บ google มันเปิดไม่ได้อะครับ จะขอขอบพระคุณมากเลยนะครับถ้าจะกรุณานำมาวางไว้ตรงนี้ ขอขอบคุณมาก
19 พฤษภาคม 2548 01:48 น. - comment id 469007
:]
19 พฤษภาคม 2548 14:37 น. - comment id 469239
Visaka #8 คุณ ภูวดินทร์คะ ท่านแท่นที่ไหนกันไม่มี แถวนี้ค่ะ เด๊ยวจะลองเคาะให้ แต่ไม่แน่ใจว่า ลานธรรมเคยเห็นอะไรทำนองนี้ต้องเช็คก่อน พอดีวันนี้ ยุ่งๆนิดหน่อย ขอบคุณที่แวะค่ะ วันจันทร์อย่าลืมไปพบที่หน้าวัดโพธิ์ ตอนก่อนบ่ายสองนะคะ จะเข้าไปชมเสาสลักกระทู้กลบทกลอนไว้ค่ะ แล้วเจอกันนะคะ ทิกิ
19 พฤษภาคม 2548 14:37 น. - comment id 469240
Visaka # 9 ขอบคุณ ท่านลักษมณ์ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ ขอบคุณค่ะ ทิกิ
21 พฤษภาคม 2548 21:32 น. - comment id 469913
หมายเหตุบทกลอนนี้ นำไปประกอบในด้านเรื่องสั้นนะคะ http://www.thaipoem.com/forever/ipage/story5202.html