ในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี หรือแม้แต่ในสมัยอื่นใดของชาติไทย คงไม่มีกวีท่านใดยิ่งใหญ่เท่าสุนทรภู่ เพราะท่านเป็นกวีที่ประพันธ์ผลงานล้ำเลิศไว้มากที่สุดทั้งกาพย์ โคลง และกลอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลอนแปด ทั้งกลอนนิราศ กลอนนิทาน และกลอนเสภา ซึ่งท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะในทางกลอนแปดหรือกลอนสุภาพอย่างไม่มีใครเทียบได้ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น และในยุคต่อมาด้วยอย่างแน่นอน สุนทรภู่ครูเราครั้งเก่าก่อน ท่านแต่งกลอนก้องหล้าสุดฟ้าไหน แสนไพเราะเพราะพริ้งยิ่งกว่าใคร สัมผัสในแพรวพราวราวดนตรี กลอนเสภาน่าอ่านขับขานเพราะ ทำนองเสนาะกลอนนิทานหวานสุขี กลอนนิราศฉลาดหนาพรรณนาดี ร้อยกรองนี้น่ารักษาอักษราครู ทั้งเข้าใจได้ง่ายสบายมาก คำไม่ยากยุ่งคิดฟังติดหู อ่านติดตาพาใจให้เชิดชู บูชาครูของเราเจ้าบทกลอน เพื่อสืบทอดตลอดไปให้นิรันดร์ โปรดช่วยกันเก็บไว้ใช้สั่งสอน ทั้งประพันธ์ขันแข่งแต่งบทกลอน ตามสุนทรภู่นั้นสร้างสรรค์มา กลอนแปดของสุนทรภู่มักใช้คำง่ายๆพื้นๆทำให้ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย แต่มีลีลาไพเราะหลั่งไหลอ่านแล้วจับใจยิ่ง เพราะแพรวพราวไปด้วยสัมผัสใน โดยแต่ละวรรคมีสัมผัสใน 2 คู่ คู่แรกอยู่ระหว่างคำที่ 3 กับคำที่ 4 และคู่ที่สองอยู่ระหว่างคำที่ 5 กับคำที่ 6 หรือ 7 และในวรรคที่ 1 กับวรรคที่ 3 นิยมให้เป็นสัมผัสสระทั้งสองคู่ แต่ในวรรคที่ 2 กับวรรคที่ 4 นั้น คู่แรกนิยมให้เป็นสัมผัสพยัญชนะ ส่วนคู่หลังนิยมให้เป็นสัมผัสสระ สุนทรภู่ กวีสี่แผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 2 (2352-2367) บทที่ 2
19 กันยายน 2547 19:19 น. - comment id 334420
:)
20 กันยายน 2547 06:39 น. - comment id 334549
สวัดีครับ............. ผมเข้ามาอ่านกลอนเพื่อเป็นกำลังใจให้คนที่แสนดี หาก ผลิใบ ยังอยู่ก็จะคอยให้ความอบอุ่นเช่นนี้ตลอดไป กำลังใจจากข้างในส่วนลึก ไม่ต้องฝึกต้องหามาให้เห็น จะแดดร้อนตอนสายจนบ่ายเย็น จะคอยเป็นกำลังใจให้ดนดี
20 กันยายน 2547 15:46 น. - comment id 334774
เป็นอีกหนึ่งความรู้ค่ะเรื่องสัมผัสสระ สัมผัสเสียงที่ท่านสุนทรภู่นิยมแต่ง จะลองไปสังเกตุอีกครั้งค่ะ