เนื่องจากสุนทรภู่ไม่ชอบทำการงานอย่างอื่นนอกจากการแต่งบทกลอน และมีความเฉลียวฉลาดมากจนสามารถบอกดอกสร้อยสักวาได้ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม จึงได้ลาออกจากงานราชการ แล้วกลับเข้าไปอยู่กับมารดาที่พระราชวังหลังตามเดิม และแต่งบทกลอนตามใจตัวเอง เนื่องจากสุนทรภู่เคยเป็นครูสอนหนังสือ และบอกดอกสร้อยสักวามาก่อน จึงทำให้มีผู้คนรู้จักสุนทรภู่มากขึ้นในฐานะนักเลงกลอนผู้มีความสามารถ สักวาสุนทรภู่นักดูนก ชมวิหคทุกหนไม่หม่นหมอง ลอยเรือเพลินเดินทางพลางแลมอง ปักษาซ้องสนั่นป่าพนาไพร ท่านแทรกใส่ในนิราศดั่งวาดเขียน ให้เราเรียนรู้อ่านแตกฉานไหว สอนให้รู้ดูนกวิหคไทย เห็นทั่วไปในป่านาภาคกลาง ชมนกยูงฝูงกากระทาตะกรุม อีโก้งอีลุ้มคุ่มกุลาไก่ฟ้าขวาง จิบจาบจอกออกเอี้ยงเคียงกะลาง โนรีข้างนางนวลล้วนนกดี ทั้งยังใช้ให้นกวิหคนั้น สร้างสัมพันธ์ฉันคู่รักสมศักดิ์ศรี บอกความในให้รู้ดูซึ้งดี อ่านกี่ที่ไม่เบื่อเหลือเชื่อเอย สำหรับกลอนสักวานั้น บทหนึ่งๆ กำหนดไว้เพียง 4 คำกลอน (8 วรรค) หากจะแต่งตั้งแต่ 2 บทขึ้นไป ต้องแต่งเพิ่มอีก 4 คำกลอน แต่ไม่ต้องมีสัมผัสเกี่ยวข้องกับบทแรก ให้ใช้คำได้ตั้งแต่ 6 คำจนถึง 9 คำเหมือนกับกลอนบทละคร มีบังคับอยู่แต่เพียงว่า จะต้องใช้คำขึ้นต้นว่า สักวา และคำลงท้ายว่า เอย ทุกครั้งไป กลอนสักวานี้เป็นกลอนที่ใช้สำหรับร้องแก้กัน เป็นทำนอง ลำพระทอง และลำต่าง ๆ สุนทรภู่ กวีสี่แผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 1 (2329-2352) บทที่ 1
10 กันยายน 2547 09:43 น. - comment id 328141
ขอบคุณค่ะ และจะเพียร พยายาม ต่อไป แม้ว่า สมอง ล้าช้า ไป บ้าง แต่จะ พยายามค่ะ
10 กันยายน 2547 13:37 น. - comment id 328329
อ้อ ท่านสุนทรภู่ ก็เป็นนักวิหคทัศนา เหมือนกันหรือครับ ไม่เคยได้รับรู้ ๚ะ๛ size>
10 กันยายน 2547 16:24 น. - comment id 328471
ลองค้นดูจากวรรณกรรมเรื่องต่างๆของสุนทรภู่ ปรากฏว่าสุนทรภู่เอ่ยถึงนกไม่ต่ำกว่า 80 ชนิดทีเดียว ตอนนี้กำลังรวบรวมเขียนเป็นหนังสือชื่อ นกในวรรณกรรมสุนทรภู่ ใกล้จะเสร็จแล้วครับ
2 มิถุนายน 2552 09:32 น. - comment id 342332
มีสาละหนุกดี55555