เมื่อสุนทรภู่สำเร็จการศึกษาจากสำนักพระราชวังหรือวัดชีปะขาว (อาจเป็นวัดอื่นที่อยู่ใกล้ๆพระราชวัง) แล้ว สุนทรภู่มีความรู้ในวิชาเลขและหนังสือแตกฉานเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นคนเฉลียวฉลาดและปราดเปรื่องทางด้านหนังสืออยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ ในเวลาต่อมาสุนทรภู่จึงทำหน้าที่เป็นครูสอนวิชาเลขและหนังสือให้แก่ผู้ที่จะไปทำหน้าที่เป็นเสมียน โดยเป็นครูสอนวิชาเลขและหนังสืออยู่ที่วัดชีปะขาวซึ่งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย วัดแห่งนี้มีชื่อลือไกลใกล้ ผู้ยิ่งใหญ่ยอดกวีที่กล่าวถึง เคยเป็นครูอยู่ไปให้คะนึง คือที่พึ่งพวกเสมียนมาเรียนกัน ตรงหน้าวัดทัศนาปลาสวาย มาเวียนว่ายแหวกชลน้ำล้นสั่น ราวหมื่นพันมันมากยากนับนั้น ที่จัดสรรสงวนไว้อภัยทาน เมื่อล่องเรือเพื่อเที่ยวเลี้ยวมานี่ อนุสาวรีย์สุนทรภู่อยู่บอกขาน ท่านสั่งสอนกลอนวิชามาช้านาน เปรียบสถานสอนสั่งหลังเรียนมา ปัจจุบันทันสมัยชื่อใหม่มี นามวัดศรีสุดารามคนถามหา เข้าแวะชมร่มอารามงามจับตา เป็นสถาปัตยกรรมเลิศล้ำงาน ในสมัยรัชกาลที่ 4 วัดชีปะขาวได้รับการปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ และพระราชทานนามว่า วัดศรีสุดาราม ตามพระนามกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1) ผู้ทรงสถาปนาวัดนี้ ภายในวัดนอกจากอนุสาวรีย์สุนทรภู่แล้ว มีศาลเจ้าแม่กวนอิมและศาลพระสังกัจจายน์ด้วย และหน้าวัดยังเป็นเขตอภัยทานสำหรับปลาสวาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในซอยศรีสุดาราม แยกจากถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน สุนทรภู่ กวีสี่แผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 1 (2329-2352) บทที่ 8
7 กันยายน 2547 11:32 น. - comment id 325990
หวัดดีครับ แอบมาอ่านตอนที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ มาอ่านกลอนเพื่อเป็นกำลังใจให้คนที่แสนดี
7 กันยายน 2547 13:16 น. - comment id 326068
สุนทรภู่ ทำงานอยู่วัดนี้ ถึงได้ความรู้ดีแตกฉาน ๚ะ๛ size>
7 กันยายน 2547 18:36 น. - comment id 326349
:) ........................................ :)