เราเดินผ่านท่อนไม้ใหญ่ที่เจ้าหน้าที่นำมาขวางกั้นถนนเพราะไม่ต้องการให้ใครนำรถเข้าไป เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดเข้าไปลักลอบตัดต้นไม้หรือเก็บของป่า สองข้างทางยังคงเต็มไปด้วยหญ้าเพ็กเช่นเดียวกับ แนวกันไฟ 2 แต่เราไม่พบต้นปอบิดในบริเวณนี้ เดินมาได้สักครู่หัวหน้าเดินไปที่ต้นไม้เตี้ยๆต้นหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่ริมถนน ดูเผินๆนึกว่าเป็นต้นพุทราเพราะใบของมันเหมือนใบพุทรามาก แต่ใบใหญ่กว่า แล้วเด็ดผลเล็กๆสีดำของมันมาเคี้ยวกิน หัวหน้าบอกว่าต้นตะครอง อยู่ข้างทางกลางป่าหาค่อนง่าย หากกระหายรีบหาพาสุขสันต์ ผลเล็กกลมอมเคี้ยวไม่เสียวฟัน รสเปรี้ยวนั้นฝาดนุ่มชุ่มคอดี แต่ลำต้นล้นกิ่งห้ามพิงเล่น ซุกซ่อนเร้นหนามแหลมแซมแน่นถี่ เอื้อมมือไปไขว่หาคว้าหนามชี้ เจ็บทันทีทุกครั้งไม่ตั้งใจ เห็นครั้งแรกแปลกใจในหน้าตา คล้ายพุทราซ่อนผลล้นไสว ด้วยลูกนิดกระจิดจ้อยน่าน้อยใจ มองเท่าไรไม่เห็นเด่นออกมา ส่วนใบนั้นมันมนจนเกือบกลม ขอบใบข่มค่อนคมเหมาะสมหนา แม้มองไปให้เหมือนเพื่อนพุทรา ด้อยคุณค่าแค่เห็นยังเป็นรอง ตะครอง (Ziziphus cambodiana) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กในวงศ์ Rhamnaceae เช่นเดียวกับพุทรา (Ziziphus jujuba) ทั้งยังมีใบเดี่ยวค่อนข้างกลมที่ออกเรียงสลับและหนามที่แหลมคมเช่นเดียวกับพุทราอีกด้วย ผลกลมเหมือนพุทราเช่นกัน แต่เล็กกว่าผลพุทราหลายเท่านัก ถ้าหากอยู่ในระยะไกลแทบมองไม่เห็นผลของมัน ผลดิบสีเขียวมีรสฝาด แต่ผลสุกสีดำมีรสเปรี้ยวอมฝาด ใช้ทานแก้กระหายน้ำได้ดีเช่นกัน แต่เนื่องจากผลเล็กมาก กินเท่าไรจึงไม่ค่อยจุใจนัก สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช 19 18 กรกฎาคม 2547
21 พฤษภาคม 2554 20:21 น. - comment id 177810
เรารู้มาว่ากิ่งของต้นตะครองนำมาต้มกินแทนน้ำช่วยควบคุมความดันและระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย
10 สิงหาคม 2547 09:44 น. - comment id 309332
ขนาดมีสิ่งกีดขวางอย่างนี้ มะค่าโมงอายุหลายร้อยปีหายไปได้ยังไง อิอิ
10 สิงหาคม 2547 10:22 น. - comment id 309349
ได้ความรู้เพิ่มขี้นมาอีกแล้วครับ ๚ะ๛ size>
10 สิงหาคม 2547 19:06 น. - comment id 309665
เนื่องจากสะแกราชเป็นพื้นที่ต่ำ และมีย่านชุมชนอยู่เกือบทุกด้าน คนที่จะเข้าไปลักลอบตัดไม้จึงเข้าได้แทบทุกด้าน และสะแกราชไม่ใช่อุทยานฯ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นแต่เพียงพื้นที่ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่แห่งประเทศไทย จึงไม่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปรามที่แท้จริงคอยดูแล
10 สิงหาคม 2547 22:04 น. - comment id 309786
สวัสดีค่ะคุณนกตะวัน... อ่านๆ ก็พยายามนึกถึงหน้าตาลูกตะครอง คิดว่าตั้งแต่เกิดมาคงไม่เคยเห็น วันหน้าวันใดได้เข้าป่าจะลองพยายามถามหาดู ต้องจดไว้ในไดอารี่สีฟ้าเสียหน่อย ขอบคุณค่ะ อ้อ..จะพยายามไม่เข้าใกล้ต้นมัน กลัวถูกหนามตำค่ะ ขอขอบคุณนะคะ
15 มิถุนายน 2552 10:52 น. - comment id 374474
ตะครองยังมีคุณสมบัติกำจัดปลาและสัตว์น้ำได้อีกด้วยใช้คล้ายๆกับโรคติน คุณคิดว่าจริงมั๋ย ..................................................................................................................................................................................................................................*********??????