ชายผ้าสีดา

นกตะวัน


หลังอาหารมื้อกลางวัน พวกเราออกไปเดินเล่นเพื่อย่อยอาหาร ต่างคนต่างไป แต่บางคนยังคงนั่งพักผ่อนอยู่ในห้องอาหาร ผมออกไปเดินดูผีเสื้อที่บินอยู่รอบๆอาคาร เพราะในครั้งนี้เรามาสำรวจผีเสื้อในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชให้แก่หัวหน้า แต่แล้วความสนใจของผมกับมาสะดุดอยู่ที่ พืชอิงอาศัย (Ephiphyte) นานาชนิดที่เกาะอยู่ตามลำต้นของไม้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชายผ้าสีดา ซึ่งเป็นเฟินอิงอาศัยในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae
บนคาคบสบไม้มองไปเห็น			
เฟินงามเด่นด้วยใบเขียวใหญ่หนา
ใบหนึ่งกว้างอย่างกาบนาบตรึงตรา		
โอบต้นหนาติดแน่นดั่งแอ่นรอ
อีกใบหนึ่งกึ่งห้อยย้อยฉีกแยก		
หลายกิ่งแฉกเฉกเขาเหล่ากวางหนอ
ดั่งผืนผ้าราคาดีที่ทักทอ			
วางพาดล้อลมพัดสบัดไกว
หรือสีดาชายารามผู้งามพริ้ง			
ปล่อยผ้าทิ้งทอดมาคาไม้ใหญ่
หลังผูกศอก่อติดสนิทไว้			
ทิ้งร่างให้ห้อยลงหวังปลงตาย
ด้วยทศกัณฐ์มันห่ามรวนรามหนัก		
แต่รามลักษมณ์ลับลี้ดั่งหนีหาย
ไม่อยากทู้อยู่ไปให้แสนอาย			
จึงเห็นชายผ้าสีดามาให้ชม
ชายผ้าสีดาชอบเกาะอยู่ตามลำต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านบางคนเรียกว่า เฟินเขากวาง เพราะใบที่ห้อยลงซึ่งทำหน้าที่สร้างสปอร์มีลักษณะเป็นแฉกหลายแฉกคล้ายเขากวาง และด้วยเหตุนี้อีกเหมือนกัน ชาวอังกฤษจึงเรียกเฟินชนิดนี้ว่า Staghorn Fern ส่วนใบที่มีลักษณะเป็นก้ามทำหน้าที่ห่อหุ้มรากและรองรับน้ำ ในประเทศไทยมี 4 ชนิด แต่ชนิดที่ผมเห็นในป่าสะแกราชคือ Platycerium holttumii ซึ่งพบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ				
comments powered by Disqus
  • ฤกษ์

    27 กรกฎาคม 2547 08:24 น. - comment id 302427

    ภาคเหนือเขาเรียกต้นพรรณนี้ว่า ห่อข้าวย่าบา คุยกับคนเก่าคนแก่ก็ได้เกล็ดมาอย่างนี้
    เมื่อครั้งพญายีบา ผู้ครองเมืองหริภุญชัยคนสุดท้ายของวงศ์พระนางจามเทวีเสียเมืองให้กับ พญาเม็งราย ได้หลบหนีออกจากเมืองกระเซอะกระเซิงขึ้นไปบนดอยขุนตาลจะไปลี้ภัยที่เขลางค์นคร ถึงยอดดอยพักไพร่พลที่ติดตามมากินข้าวห่อประทังความหิวตามมีตามเกิด น้ำตาของผู้แพ้หยดลงบนเม็ดข้าวโศกเศร้าเสียใจนักนครหริภุญชัยอยู่ยงมาพันปีมาเสียเมืองในมือเรา  กินข้าวอิ่มลุกขึ้นยืน อธิษฐานว่าถ้าตัวเราจะได้กลับไปครอบครองเมืองอีกขอให้ใบตองห่อข้าวที่จะโยนขึ้นไปบนฟ้านี้จงตกลงมาถ้าไม่ได้กลับมาอีกขอให้อย่าตกลงมาเลย ว่าแล้วก็โยนใบตองห่อข้าวขึ้นไปบนอากาศ บัดดลนั้น มีลมกระโชกมาอย่างแรงพัดพาเอาใบตองห่อนั้นไปติดที่คาคบไม้ไม่ตกลงมา พญายีบา รู้ชะตาของตนเองเสียใจก้มหน้าเดินทางไปเขลางค์นครอาศัยอยู่ที่นั้นจนสิ้นอายุขัยไม่ได้กลับอีกเลย ส่วนใบตองห่อข้าวนั้นเกิดอัศจรรย์งอกงามเป็นพันธ์ไม้ เรียกกันว่าห่อข้าพญายีบา ภายหลังต่อมาเหมือเพียง ห่อข้าวย่าบา อิอิ
  • ฤกษ์

    27 กรกฎาคม 2547 08:29 น. - comment id 302429

    ภาคเหนือเขาเรียกต้นพรรณนี้ว่า ห่อข้าวย่าบา คุยกับคนเก่าคนแก่ก็ได้เกล็ดมาอย่างนี้
    เมื่อครั้งพญายีบา ผู้ครองเมืองหริภุญชัยคนสุดท้ายของวงศ์พระนางจามเทวีเสียเมืองให้กับ พญาเม็งราย ได้หลบหนีออกจากเมืองกระเซอะกระเซิงขึ้นไปบนดอยขุนตาลจะไปลี้ภัยที่เขลางค์นคร ถึงยอดดอยพักไพร่พลที่ติดตามมากินข้าวห่อประทังความหิวตามมีตามเกิด น้ำตาของผู้แพ้หยดลงบนเม็ดข้าวโศกเศร้าเสียใจนักนครหริภุญชัยอยู่ยงมาพันปีมาเสียเมืองในมือเรา  กินข้าวอิ่มลุกขึ้นยืน อธิษฐานว่าถ้าตัวเราจะได้กลับไปครอบครองเมืองอีกขอให้ใบตองห่อข้าวที่จะโยนขึ้นไปบนฟ้านี้จงตกลงมาถ้าไม่ได้กลับมาอีกขอให้อย่าตกลงมาเลย ว่าแล้วก็โยนใบตองห่อข้าวขึ้นไปบนอากาศ บัดดลนั้น มีลมกระโชกมาอย่างแรงพัดพาเอาใบตองห่อนั้นไปติดที่คาคบไม้ไม่ตกลงมา พญายีบา รู้ชะตาของตนเองเสียใจก้มหน้าเดินทางไปเขลางค์นครอาศัยอยู่ที่นั้นจนสิ้นอายุขัยไม่ได้กลับอีกเลย ส่วนใบตองห่อข้าวนั้นเกิดอัศจรรย์งอกงามเป็นพันธ์ไม้ เรียกกันว่าห่อข้าวพญายีบา ภายหลังต่อมาเหลือเพียง ห่อข้าวย่าบา อิอิ
  • กอกก ไม่ได้login

    27 กรกฎาคม 2547 23:20 น. - comment id 302490

    อ่านคำประพันธ์ของคุณนกตะวัน ต้องขอขอบคุณมากที่มีงานดีๆ มาให้อ่าน
    ส่วนรายละเอียดเรื่องเล่าจากคุณฤกษ์ก็ให้ความเพลิดเพลินค่ะ
    ขอบคุณทั้งสองท่านนะคะ
    สวัสดีค่ะ
    
    

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน