.....เลบงแบบมีแต่เบื้อง..............บรรพกาล เสริมส่งศิลป์สืบสาน....................สื่อไว้ คือโคลงซึ่งคราวขาน...................ขับกล่อม เสนาะเฮย ควรค่าตราเตือนให้....................แจ่มห้วงหทัยชน .....บทนิพนธ์อันแน่แท้...............ของไทย เป็นเยี่ยงแยบยลไป...................อย่างนี้ เจ็ดเอกสี่โทไข............................ครบแห่ง หมายเช่นโคลงแบบชี้.................ช่วยให้เห็นผัง .....รังสรรค์อันพร่างแพร้ว...........แววกวี คือย่อความตามคดี......................เด่นถ้อย คุณลักษณ์แห่งโคลงมี..................มาเนิ่น นานนอ ฤาใช่ไพเราะร้อย........................แก่นไร้เลือนสาร .....ลาญความลามเรื่องร้าย..........กลายจำ- นงเฮย เหลิงเล่นกลบทนำ......................หน่ายเนื้อ โคลงเคลงฟั่นเฝือคำ...................คือเปล่า เปลืองแฮ เริงร่ายกลายรกเรื้อ....................เล่ห์นี้ดีหรือ .....เชลงลักษณ์จักสื่อให้..............เห็นงาม เรียงร่ำรสคำความ......................คู่คล้อง ปรุงเสียงแต่งศัพท์ตาม...............พึงแต่ง ครบเครื่องคือพจน์พ้อง...............พร่างแก้วกลเฉลย .....เผยภาพผุดผ่านถ้อย..............โคลงแถลง เผยเรื่องโลกทัศน์แสดง..............สู่ด้าว เผยธรรมที่นำแสง......................เย็นสว่าง เผยแก่นแทนเปลือกน้าว...........นิ่งเคลิ้มคะนึงฝัน
19 ตุลาคม 2545 09:17 น. - comment id 89449
( กระซิบๆ เจ้าไอซ์ มาเอาการบ้านไปทำกันเดี๋ยวนี้เลย...) หน้าหนาวมาเยือนเร็วจังแฮะ ...บรื๋อส์.... ปล.ถึงจะ ทะเล้น และทำเล่นไปบ้างแต่ก็กำลังพยายามฝึกกันอยู่ค่ะ ขอบคุณ คุณเวทย์นะคะ
19 ตุลาคม 2545 09:24 น. - comment id 89451
:)
19 ตุลาคม 2545 13:07 น. - comment id 89501
อืม.. เก่งเก่ง
19 ตุลาคม 2545 16:05 น. - comment id 89516
............... จนปัญญาจริงๆครับ ............... เก่ง เก่งจริงๆ
19 ตุลาคม 2545 21:36 น. - comment id 89573
ขอบคุณ ลุง เวทย์ มากนะคะ ที่ กรุณาให้ความรู้ ชี้แนะ เพื่อ เป็น วิทยาทาน แก่ อนุชน รุ่นหลัง ได้ทราบค่ะ
19 ตุลาคม 2545 22:05 น. - comment id 89590
จดๆๆๆๆๆ
19 ตุลาคม 2545 23:41 น. - comment id 89629
(o*^___^*o)
20 ตุลาคม 2545 16:35 น. - comment id 89774
โคลงมีหลายแบบ ที่นิยมกันมากคือ โคลงสี่สุภาพ ดังที่นำมาใช้ประพันธ์งานชิ้นนี้ โคลงเป็นคำประพันธ์ชนิดเดียวที่บังคับ เอก โท โดยมีข้อผ่อนปรนให้ใช้คำตายแทน เอก ได้ เราไม่ค่อยพบโคลงสี่สุภาพที่ เอก โท ตรงตามตำแหน่ง ไม่ขาดหรือเกิน เพราะกวีสมัยก่อนท่านคำนึงถึงเสียงในการอ่านทำนองเสนาะ แต่งานชิ้นนี้ผมเน้นให้ เอก โท ตรงตำแหน่ง และยอมให้ด้อยลงในเรื่องเสียง แล้วโมเมว่าใช้เป็นโคลงแบบได้ ขอฝากผู้รู้ช่วยแก้ไขปรับปรุงด้วย เผื่อจะเป็นแบบอย่างได้ ไม่ใช่แค่ ตัวอย่าง เช่นนี้
21 ตุลาคม 2545 23:07 น. - comment id 90080
อืมมม ...ขอเก็บไว้เลยละกันคะ ..ไว้ศึกษาน่ะ ขอบคุณมากๆเลยคะ ...ไว้ปลา 2 จะลองแต่งมั้งนะ ..งับๆ ..มาอ่านด้วยนะคะ โคลงที่ปลา 2 แต่ง หงิๆ ..ถ้าขาดอาเวทย์ชี้แนะนี้ เหงๆ ...เสียเที่ยวแน่ๆเลยคะ (เดินไปงอนไป) ^--^
22 ตุลาคม 2545 08:33 น. - comment id 90144
อย่าหลงยึดติดกับรูปแบบจนมองข้ามเนื้อหาก็แล้วกัน
5 พฤศจิกายน 2545 15:18 น. - comment id 93717
...เนื้อล้วนล้วนเล่นแล้ว...............แห้งตาย น้ำหนึ่งช้อนร้อนคลาย..................ผ่าวบ้าง น้ำเนื้อก่อเกื้อหมาย......................ล้างเบื่อ...เรื้อเฮย รู้เยี่ยงเข้าเนื้อร้าง.........................เรื่องทิ้งได้ไฉน. :) แหะ ๆ เข้ามาแซวลุงเวทย์นิดหน่อย อย่าทำตาเขียวสิครับลุง ..เนื้อล้วน ๆ ก็น่าเบื่อ ถ้าจะเขียนยาว ๆ ก็ต้องมีน้ำจิ้มพวกกลบทสลับบ้างจะได้ไม่น่าเบื่อไงล่ะครับ รกเอกรกโทบ้างอย่างตั้งใจก็น่าจะเพิ่มสีสันได้บ้างอะครับ..ฮิฮิ ..
7 พฤศจิกายน 2545 08:49 น. - comment id 94082
...เชลงลักษณ์จักสื่อให้..........เห็นงาม กำหนดรสคำความ................คู่คล้อง เสียงเสนาะพิเคราะห์ตาม......ตรงแบบ บุราณเฮย ครบเครื่องคือพจน์พ้อง.........พร่างแพร้วแววกวี ศิลปะการประพันธ์นั้นเน้นที่ความพอเหมาะพอดี ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการสื่ออะไร กับใคร ลุงก็ไม่ได้บอกให้มีแต่เนื้อสักหน่อยนี่นา แต่เน้นว่าอย่าละเลยเนื้อตะหาก แบบว่าอ่านแล้วไพเราะแต่ไม่รู้เรื่องน่ะ เห็นจนอนาถใจ สงสัยอกนิษฐ์จะต้องอ่านของลุงแบบแกะทีละคำแล้วนะ ฮี่ ฮี่ ฮี่
8 พฤศจิกายน 2545 03:21 น. - comment id 94288
อืม.... พอจาเข้าใจๆ กราบขอบพระคุณท่านเวทย์อีกครั้งค่ะ
11 พฤศจิกายน 2545 05:27 น. - comment id 94909
:) ว่าแล้ว...อย่ากระตุกหนวดเสือ..ฮิฮิ แหย่ไปหนึ่งบทแต่ได้ความรู้กลับมาเพียบเลย คือว่าผมเข้าใจ(ไปเอง)ดูเหมือนว่าสี่บทบ้างบนนี่ยังไม่จบอะครับ พอมาเจออีกบทข้างล่างนี้ ก็เป็นบทสรุปที่เข้มข้นด้วยรสความและรสคำได้พอดี ขอบคุณมากครับผม .
12 พฤศจิกายน 2545 11:39 น. - comment id 95190
ลุงต้องขอยืมคำพูดครูไหวมาหน่อยว่า..บางอย่างก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจบ้างก็ได้ บทที่สาม บอกว่าคุณลักษณ์โคลงเป็นอย่างไร บทที่สี่ บอกถึงความผิดพลาดที่พบเห็นประจำ แหะ แหะ เรื่องรสคำ-รสความ นี่ไม่น่าต้องพูดเลยนะ แต่กลายเป็นเรื่องแปลกใหม่ได้ยังไงนี่ ว้า..บทที่ห้า ไม่ได้ร้อยสัมผัสต่อจากบทที่สี่เสียด้วย ใส่วงเล็บไว้ก็แล้วกันนะ
13 พฤศจิกายน 2545 10:08 น. - comment id 95365
กลใดใครกลั่นแกล้ง..แสลงกล เองฤๅ ข้องขุ่นชุลมุนตนติดข้อง เหตุคือสื่อผลดลโดยเหตุ ผลเฮย ความขาดคำขัดต้อง..ตรึกถ้อยทยอยความ ความนำคำไต่ต้อยรอยความ แท้เงื่อนงำเพียงงาม..เงื่อนแท้ แต่งเสียงแต่งศัพท์ตาม.พึงแต่ง พอนา ตัวแต่งไยแต่งแพ้..เหตุแพ้ภัยตัว เอามาแปะไว้ตรงนี้ เผื่อจะมีคนอ่าน