อาสาฬหบูชา

ครูกระดาษทราย

T210710_14C.gifเดือนแปดขึ้นสิบห้าค่ำสำคัญนัก
พระองค์ทรงสอนหลักศาสนา
ที่ ธ ทรงตรัสรู้แจ้งแห่งธรรมมา
ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าคราแรกฟัง

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จะทำพูดเดินสายกลางสร้างสุขขลัง
ตามมรรคแปดอริยสัจสี่มีพลัง
จึงสมหวังพิพัฒน์สวัสดี

สูตรแห่งหมุนวงล้อธรรมนำชีวิต
ล้วนลิขิตดีงามตามวิถี
ณ อิสิปตนะพนาลี
จวบวันนี้ชาวพุทธยุดจิตใจ

ทุกชีวันนั้นเวียนว่ายวนในวัฏ
เห็นถนัดเหตุทุกข์แจงแถลงไข
อันมรรคแปดแผดเผาเหล่าทุกข์ไป
หลุดพ้นไฟภัยพาลระรานรอน

พุทธศาสนิกชนยลสดับ
น้อมใจรับโอวาทะคำสอน
เดินสายกลางสว่างใจไร้นิวรณ์
เป็นอาภรณ์เนืองนิตย์จิตว่างเย็น
     1002111639a29455b0cf807.gif				
comments powered by Disqus
  • ครูกระดาษทราย

    26 กรกฎาคม 2553 16:33 น. - comment id 1147957

    headerforblogspot02.gif
    
    วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อังกฤษ: Magha Puja) เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4) [2]
    
    วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]
    
    เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
    
    ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
    
    นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
    
    สำหรับในปี พ.ศ. 2553 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ
  • ครูกระดาษทราย

    26 กรกฎาคม 2553 16:43 น. - comment id 1147958

    buddha.gif
    
        กำเนิดโอวาทปาติโมกข์
    
            หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มาได้ ๙ เดือนแล้ว วันหนึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (วันมาฆบูชา) ตรงกับวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ คือเป็นวันทำพิธีลอยบาป ที่เรียกว่า ศิวราตรี 
    
            วันนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม ในตอนบ่ายภิกษุสาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ขึณาสพ ได้เดินทางมา ณ ที่นี้ โดยที่มิได้นัดหมายกันไว้ก่อนเลย นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ การประชุมในวันนั้น เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" เพราะเป็นการประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ คือ 
    
    วันนั้นพระจันทร์เต็มดวง (เสวยมาฆฤกษ์) (เพ็ญเดือนสาม) 
    ภิกษุสาวก ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย 
    ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ (ผู้ได้อภิญญา ๖) ทั้งสิ้น 
    ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ทั้งสิ้น (เอหิภิกขุอุปสัมปทา) 
    
            ในการประชุมครั้งนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดง "พระโอวาทปาติโมกข์" คือหลักคำสอนที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา โดยตรัสเป็นพระคาถา ดังต่อไปนี้ 
    
    สัพพะปาปัสสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง, 
    กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม, 
    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส, 
    เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. 
    ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง, 
    นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา, ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง, 
    นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย, 
    นะ สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย. 
    อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต, การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย, 
    ปาติโมกเข จะ สังวะโร, การสำรวมในปาติโมกข์, 
    มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค, 
    ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด, 
    อะธิจิตเต จะ อาโยโค, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง, 
    เอตัง พุทธานะสาสะนัง. ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. 
    
            มีข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ที่อาจจะจำเพาะเจาะจงสำหรับนักบวชหรือบรรพชิต และบางข้อก็นำไปประพฤติปฏิบัติได้ทั้งบรรพชิตและผู้ครองเรือน อย่างไรก็ตามข้อความในโอวาทปาฏิโมกข์ก็ได้แสดงถึง จุดหมายสูงสุด แห่งพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า จึงควรศึกษาพระโอวาทปาฏิโมกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง แล้วน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ ตามฐานะและกำลังความสามารถของตน จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง 
    
     ความหมายของโอวาทปาติโมกข์
            โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ หมายถึง หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาต่างๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น 
    
            คำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาคือ หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้ 
    
     หลักการ ๓
    การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาป ทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ 
    - ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม 
    
    - ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ 
    
    - ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม 
    
    การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดี ทุกอย่าง ซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ 
    - การความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม 
    
    - การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียดไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ 
    
    - การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น มีแต่คิดเสียสละการไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและปรารถนาดี และมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 
    
    การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบมี ๕ ประการ ได้แก่ 
    - ความพอใจในกาม (กามฉันทะ) 
    
    - ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท) 
    
    - ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ) 
    
    - ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) 
    
    - ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดี ความชั่วว่ามีผลจริงหรือไม่ 
    
    อุดมการณ์ ๔
    ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกายวาจา ใจ 
    ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้ายรบกวน หรือเบียดเบียนผู้อื่น 
    ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ 
    นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘ 
    
    วิธีการ ๖
    ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร 
    ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 
    สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎ กติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีของสังคม 
    รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหาร หรือการใช้สอยสิ่งต่างๆ 
    อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม 
    ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบ มีสุขภาพ คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี
  • แก้วประเสริฐ

    26 กรกฎาคม 2553 17:40 น. - comment id 1147967

    36.gif16.gif36.gif
    
       แวะมาเยี่ยมครูครับ ผมเอาภาพธรรมจักรไป
    ใส่ไว้ในกลอนผมนะครับผมขออนุญาตทั้งที่นี่และ
    ที่ในกลอนผมแล้วครับ สาธุ อนุโมทนาผลบุญด้วย
    ครับ ขอบคุณมากรักเสมอ
    
             16.gifแก้วประเสริฐ.16.gif
  • โอ้ละหนอ

    26 กรกฎาคม 2553 20:31 น. - comment id 1147974

    สาธุด้วยค่ะ.....36.gif1.gif
  • หนูสน

    26 กรกฎาคม 2553 20:35 น. - comment id 1147977

    SF056.jpg
    
    สาธุุจ้า6.gif
  • วลีลักษณา

    26 กรกฎาคม 2553 20:45 น. - comment id 1147986

    สวัสดีค่ะ
    
    มาอ่านงานที่มากคุณค่า
    
    41.gif41.gif41.gif
  • ทิวไม้

    26 กรกฎาคม 2553 22:02 น. - comment id 1148003

    สาธุครับ.......
    สาธุแปลว่า.....ดีแล้ว
    พระเทศน์ก็.....สาธุ...ดีแล้ว
    พระให้พรก็.....สาธุ...ดีแล้ว
    เห็นพระก็.......สาธุ...ดีแล้ว
    พระมาก็.........สาธุ....ดีแล้ว
    พระไปก็..................สาธุ.....ดีแล้ว 40.gif
  • nig...

    27 กรกฎาคม 2553 03:35 น. - comment id 1148020

    29.gif29.gif29.gif
  • ป๋อง สหายปุถุชน

    27 กรกฎาคม 2553 06:50 น. - comment id 1148022

    36.gif36.gif36.gif
    ซึ้งในรสพระธรรมครับ
    ครูกระดาษทราย
    29.gif31.gif41.gif57.gif
  • กวีน้อยเจ้าสำราญครับ

    27 กรกฎาคม 2553 09:40 น. - comment id 1148038

    1_display.jpg
    
    บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด 
     อาสาฬหบูชา 
    ประวัติความเป็นมา 
    วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ 
    อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง 
    
    หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ 
    ๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ 
    ๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
    ๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ 
    ๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม
    
      จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่ 
    ๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ 
    ๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ 
    ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ 
    ๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 
    
    และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า 
    
    ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
     
      
    
    จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ 
    1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา 
    2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก 
    3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก 
    4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ 
       เอวังก็มีประการฉะนี้แล.
  • คอนพูทน

    27 กรกฎาคม 2553 10:23 น. - comment id 1148044

    มาซาบซึ้งในรสพระธรรม
    ยอดเยี่ยมครับคุณครู..
    
    สุขอย่าได้สร่าง
    36.gif6.gif7.gif8.gif16.gif
  • อรุโณทัย

    27 กรกฎาคม 2553 10:41 น. - comment id 1148047

    แวะมาศึกษาพระธรรม
    
    สุขสงบ เมื่อพบธรรมที่ประเสริฐ
    
    1.gif36.gif36.gif36.gif
  • cicada

    27 กรกฎาคม 2553 11:15 น. - comment id 1148054

    แซมแวะมากราบพระบ้านคุณครู..และสวัสดีคุณครูด้วยค่ะ....29.gif29.gif29.gif
    
    แซมค่ะ
  • แกงฯ

    27 กรกฎาคม 2553 12:58 น. - comment id 1148065

    สวัสดีค่ะ คุณครูกระดาษทราย....29.gif
    
    มารับธรรมค่ะ....
  • ราชิกา

    27 กรกฎาคม 2553 13:34 น. - comment id 1148069

    ...บทกลอนไพเราะ...ได้รับประโยชน์และความรู้มากค่ะ..แวะมาทักทายนะคะ...คิดถึงค่ะ...36.gif44.gif36.gif
  • กิ่งโศก

    27 กรกฎาคม 2553 13:58 น. - comment id 1148082

    แวะมาอ่านงานธรรมะ ครับครูกระดาษทราย
  • สุริยันต์ จันทราทิตย์

    27 กรกฎาคม 2553 17:41 น. - comment id 1148112

    แวะมาอ่านงานธรรมะ
    แวะมารับความรู้
    แวะมาเพิ่มพูนปัญญาครับ
    31.gif31.gif31.gif
  • kirati

    27 กรกฎาคม 2553 19:54 น. - comment id 1148123

    หวัดดีจร้า คุงครูทราย
    
    อุดมไปด้วย พุทธธรรม นักแล...จร้า...
    ข้อมูลเพียบเรยยย...
    
    11.gif6.gif11.gif6.gif36.gif
  • วิทย์ ศิริ

    27 กรกฎาคม 2553 19:56 น. - comment id 1148125

    29.gif29.gif29.gif
  • กามนิต

    28 กรกฎาคม 2553 09:33 น. - comment id 1148190

    36.gif29.gif
  • ไร่ผาสุก กาญจนบุรี

    28 กรกฎาคม 2553 15:29 น. - comment id 1148216

    สาธุ สาธุ41.gif41.gif41.gif
  • กิตติกานต์

    29 กรกฎาคม 2553 06:35 น. - comment id 1148289

    ปี้นี้ได้ไปทำบุญ ฟังเทศน์
    รู้สึกดีที่ได้เข้าวัด  อิอิ...
    
    36.gif11.gif59.gif
  • มณีจันทร์

    29 กรกฎาคม 2553 15:10 น. - comment id 1148367

    29.gif29.gif29.gif
    สาธุ ..
  • ครูกระดาษทราย

    3 สิงหาคม 2553 21:52 น. - comment id 1149526

    ....29.gif...กราบขอพรคุณพระรัตนตรัย
    
    บันดาลให้เพื่อนพ้องและน้องพี่
    
    ซึ่งเข้ามาร่วมกราบพระวันนี้
    
    ขอให้ท่านสุขีทั้งใจกาย.....29.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน