ฝากไมตรีคนดีที่ปากน้ำ ฝากน้ำคำสุดคิดถึงคนึงหา ฝากถ้อยรสอักษรศิลป์จินตนา ฝากดาราบนฟากฟ้าคราห่างไกล ความคิดถึงห้ามไม่ได้ใจย้ำเตือน จึงไม่เบือนเลือนจิตพิศมัย รักคิดถึงมอบสุดห้วงดวงหทัย ความห่วงใยลมหายใจเป็นพยาน ตราบสิ้นฟ้าสิ้นดาราหาสิ้นรัก รอพบพักตร์น้องก่อนวอนประสาน อยู่แดนดินถิ่นไกลในปราการ ขออย่าพานแหน่งหน่ายหายไปพลัน เสียงตามสายทุกเวลามายลยิน เหมือนติดปีกโบยบินสรวงสวรรค์ สุขสมรักคำห่วงหาอาทรกัน หลับยังฝันแว่วเสียงคุณอุ่นใจจัง ขอเป็นแรงกำลังใจให้ฝันใฝ่ ทำกิจใดให้สำเร็จเสร็จดังหวัง หนึ่งแรงใจของน้องเสริมเพิ่มพลัง ให้ถึงฝั่งที่คาดหมายในเร็ววัน........
18 เมษายน 2551 22:39 น. - comment id 840441
จองที่หนึ่ง... อิอิอิ..มดเต็มจอเลย..
18 เมษายน 2551 22:44 น. - comment id 840443
18 เมษายน 2551 22:48 น. - comment id 840448
พิมญดานะ คิดถึงฉันบ้างคืนนี้ ก่อนเธอจะมีพันธะใดอื่น ขอเพียงคิดถึงทุกคืน แล้วเวลาอื่นจะคิดถึงใครก็ตาม
18 เมษายน 2551 23:12 น. - comment id 840464
1..2..ครูพิมอะก็หวานเหมือนกันเลยคะ อิอิ ขอหวานๆๆมั้งคะ..อิอิ
18 เมษายน 2551 23:13 น. - comment id 840466
3.. แหะๆๆคุณป้าขา..ขอหวานสักบทเน้อเจ้า อิอิ...เจอคนแรกแซวเลย
19 เมษายน 2551 00:03 น. - comment id 840493
มาอ่านกลอนเพราะๆก่อนนอนค่ะ คุณพิม คืนนี้ฝันดีนะคะ [ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]
19 เมษายน 2551 00:33 น. - comment id 840502
แวะมาอ่านกลอนไพเราะก่อนนอนค่ะ จะได้หลับฝันดี
19 เมษายน 2551 06:25 น. - comment id 840512
ดีจ้าพิมจัง.... ไม่เจ๊อะกันนานคิดถึงจั้งเล้ย....อิอิอิ สนุกใหญ่เลยนะวันสงกรานต์ที่ผ่านมา สงสัย จะมีข่าวดีมาฝากพี่เร็วๆนี้แล้วมั้ง.... ว่าแต่พิมรู้จัก ปีกผีเสื้อมั้ยจ้ะ เพราะพี่ว่าดูๆไป เขาเหมือนพิมจังยังกะแกะ โคลนนิ่งเลยอะ...
19 เมษายน 2551 08:06 น. - comment id 840528
โอ้ปากน้ำยามนี้มีมนต์ขลัง แว่วเสียงสั่งฝังใจจากเมืองเหนือ ให้คิดถึงคนึงหามาเต็มเรือ หวังแลกเกลือปลาสลิดติดมือไป อิอิ...ปลาสลิดบางพลีบางบ่อ.. อร่อยเชียว.... "หากพี่มาหา..ซื้อปลาสลิดฝากน้อง บ้างเด้อ อย่าให้ค่อยเก้อ นะพี่.. อยากกินข้าวใหม่" อิอิ..ตื่นมามั่วโดยเฉพาะเลย...
19 เมษายน 2551 11:39 น. - comment id 840580
แง่ๆๆไม่ยอม ไม่ห่วงใยกันเลย..งอนๆๆแระ
19 เมษายน 2551 12:02 น. - comment id 840602
ร้อนร้อนอย่างนี้ อ่านบทกวีหวานหวาน ก็พาลสุขใจ...
19 เมษายน 2551 12:14 น. - comment id 840610
สวัสดีค่าพี่พิมจาง มะเจอกันนานคิดถึงค่า เผื่อความห่วงให้น้องจ๋าวคนนี้จั๊กกะนิ๊ดได้บ่น้อ...อิอิ
19 เมษายน 2551 12:38 น. - comment id 840628
พี่พิมคะ ใครห้ามให้คิดถึงได้มาห้ามที น้องคิดถึงพี่พิมอยู่เนี้ย คิคิ
19 เมษายน 2551 16:20 น. - comment id 840685
แหมกลอนเพราะจังเลย หวานนุ่มๆคิดถึงคุณพิมนะคะ คุณพิมคะ คุณหนุ่มน้อยหายไปไหนคะ คิดถึงคะ
19 เมษายน 2551 17:23 น. - comment id 840695
หลับเถิดหนาเนื้อเย็นเพ็ญสงัด พระพายพัดเชยพาพฤกษาไหว อุ่นผ้าห่มแทนก่อนพี่ย้อนไป แอบอกไอพี่ยาเมื่อคราเยือน
19 เมษายน 2551 17:30 น. - comment id 840699
กลับจาก ตจว. แวะเข้ามาอ่านเรย กลอนหวานแม้เคยอ่านชิ้นนี้ของคุณมาแล้ว ตั้งแต่คุณเข้ามาเขียนใหม่เมื่อปีที่แล้ว เมื่อมาอ่านตอนนี้ก็คิดถึงคุณเมื่อมาใหม่ๆ ยังคิดถึงถึงคุณศรรกราที่อยู่ปากน้ำที่คุณเขียนถึงด้วยนะคะ และ...คิดถึงคุณหนุ่มน้อยอีกคนนึงด้วยคะ
19 เมษายน 2551 18:34 น. - comment id 840721
มาอ่านกลอนหวานๆยามเย็นค่ะ อยากเห็นเจ้าของกลอนคงหวานฉ่ำ น่าดูเลยนะคะ
19 เมษายน 2551 19:03 น. - comment id 840729
ความคิดถึงมันห้ามไม่ไหว ได้แต่ส่งใจบินไปหา คิดถึงเธอทุกวันเวลา เมื่อไหร่หนาจะได้เจอกัน หวานจังน้าพี่พิม
19 เมษายน 2551 20:10 น. - comment id 840767
หวัดดีไอ้หนูพิมจัง ใครอยู่ปากน้ำหว่า เห็นมีก็แต่ศรรกกรา คนเดียวที่พอรู้จัก หนูศรรกแกอยู่สำโรง พี่อยู่บางพลี เลยปากน้ำไปหน่อย สมัยก่อนกบดานอยู่ปากน้ำเหมือนกัน สบายดีนะ เดี๋ยวนี้เป็นอะไรไปกลอนดูเนือยๆลง เรียนจบหรือยังน้อง แต่งงานกี่โมงจ๊ะ จัดงานที่ไหน นิมนต์พระกับคณะตลกหรือยัง 5555 มีความสุขมากๆนะ
19 เมษายน 2551 20:41 น. - comment id 840791
หวัดดีค่ะน้องพิมญดา คนดีที่ปากน้ำนี่หมายถึงตลาดน้ำ ที่ราชบุรีรึป่าวคะ แค่สงสัยค่ะ
19 เมษายน 2551 22:32 น. - comment id 840820
6..ดีเจ้าคะคุณโอเลี้ยง.. ฝันดีเช่นกันคะ..อิอิ ขอหลับฝันหวานฝันดีเช่นกันในคืนนี้และคืนต่อไปนะคะ..อิอิ
19 เมษายน 2551 22:33 น. - comment id 840821
7..ดีคะคุณรัณ..อิอิ.. หวานๆๆบ้างนะคะ ขมอย่างเดียว..น้ำตามะมีร้องแระ..อิอิ คืนนี้ฝันดีคะ
19 เมษายน 2551 22:35 น. - comment id 840822
8...ดีคะคุงพี่ชายแจ๊ดกี้หายไปไหนมา อิอิ..ปีกผีเสื้อโดน้ำสาดอะพี่ชาย รักษาปีกอยู่..อิอิ..จาจับผีเสื้อทอดหรอพี่ชาย อยู๋ไทยหรือนอกคะ..ตอนนี้...คิดถึงพี่ชายนะคะ
19 เมษายน 2551 22:37 น. - comment id 840823
9..ดีเจ้าคะพี่ฝากฝัน..อิอิ ขอบคุณกลอนเพราะๆๆ พิมชอบกินอะคะปลาสลิดบางบ่อ นานๆๆทีลงกทมไปแถวนั้นถึงได้ทาน อิอิ..เอาไว้พิมได้มัชีโอกาสไปจาซ์อมาฝากพี่เน้อพี่เน้อ...55555+ เก่งนะเนี่ยตื่นมาแซวน้องได้..อิอิ
19 เมษายน 2551 22:39 น. - comment id 840824
10..ดีเจ้าคะพี่ไหมไทย คิดถึงเจ้าบ่คิดถึงพี่ไหมพิมจาคิดถึงใคร อิอิ..โอ๋ๆๆบ่ดีร้องไห้เจ้า...บ่ดีเจ้าคนงามห้ามงอน..อิอิ
19 เมษายน 2551 22:40 น. - comment id 840825
11..ดีคะคุณอิงภู นั่นสิคะร้อนมากมาย แวะมาบ้านพิมหายร้อนแน่นอนคะ..อิอิ
19 เมษายน 2551 22:50 น. - comment id 840826
12..ดีจ้าน้องเอ..น้องสาวคนจ๋วย อิอิ..ห่วงสิคะมีคนข่าวฝากมาประจำแระคะ ว่าน้องคิดถึงพี่พิม..อิอิ พี่ก็คิอถึงและห่วงเรานะ..เปิดเทอมเมื่อไหร่จ๊ะ
19 เมษายน 2551 22:52 น. - comment id 840827
14..ดีคะคุณบุรีรัมย์ ร้อนไหมคะที่โน่น.. คิดถึงเช่นกันคะ คุณหนุ่มน้อยพิมก้ไม่ค่อยได้ข่าวคะ แต่เห็นว่าตอนนี้เปงอาจารย์สอน นศ.อยู่อะคะ..(เจอกันบ้างที่hi5) ..คงเข้ามาอ่านบ้างแระคะ
19 เมษายน 2551 22:53 น. - comment id 840828
15..ดีคะคุณอรุณสุข.. ขอบคุณบทกลอนไพเราะ แล้วรอนะคะที่ปากน้ำ..อิอิ ว่าไปนั่น..
19 เมษายน 2551 22:55 น. - comment id 840829
16..ดีคะคุณจอย ขอบคูณความคิดถึงที่ห้ามไม่ไหวนะคะ คนเราบางทีอาจจะเผลอไปบ้างแต่ความรักความห่วงความคิดถึงยังอยู่คะ..
19 เมษายน 2551 22:56 น. - comment id 840830
13..ว๊ายน้องการ..พี่ขอพระอำภัยมณีศรีสมร ตอบเม้นข้ามๆๆแง้งงงงคิดถึงเรานะ เฮ้อ..สงสัยอากาศร้อนพี่พิมสับสน..อิอิ วันนี้อย่าลืมไปบ้านพี่พิมนะ.
19 เมษายน 2551 22:58 น. - comment id 840831
17..ดีคะคุณครูพี่เจี๊ยบ อิอิ..มะคืนก็ก๊อปให้อ่านแระคะ คงฝันหวานไปแระ..เจ้าของกลอน อิอิ...
19 เมษายน 2551 22:58 น. - comment id 840832
18...ดีจ้าแมวแต้ม.. อิอิ..หวานงี้ไม่รักได้ไงช่ายมะ..อิอิ
19 เมษายน 2551 23:05 น. - comment id 840833
19..ดีเจ้าคะคุณพี่ชายริด.. เอ..ใครอยู่ปากน้ำน๊า.. พี่ริดพิมอยากกินปลาสลิดอะ.. ไม่เห็นซื้อฝากน้องฝากนุ่งมั้งเยย จำไว้เลย.. พี่ริดอยู่บางพลีแล้วไกลไหมอะไปปากน้ำ หน้าบิ๊กซี..อิอิ.เอ๊ะๆๆๆพูดอะไรออกปายเนี่ย...แล้วคุงศรรกราก็อยู่สำโรง.. เอ..ไม่ไกลกันเลยนะเนี่ย..โลกกลมจาง..อิอิ เด๋วขอไปย้ายอยู่ปากน้ำ..พี่ริดเลี้ยงข้าวด้วย เชปะ....ห้ามเบี้ยว..หลงรอพี่มาเม้น..อิอิ ค่ารอนะเนี่ย...ค่าไรอีกหว่า555555+ คิดมากไม่ได้เด๋วพี่ริดจน..อิอิ(อ๋อ..เอาของฝากมาเยอะๆๆนะพิมจาเอาฝากเพื่อนๆๆบ้านกลอนด้วย)..ไม่มากหรอกคะ..อิอิ ยังเรียนไม่จบคะ..ส่วนเรื่องนิมนต์รายเนี่ยตลกคงไม่ต้องคะพี่ริดอะแระต้องมาทั้งสวดทั้งเล่นตลก..พิมเห็นใครบแระ..หลักพุทธโดยแท้555555+(งานนี้โดนเขกหัวแน่ๆๆ)
19 เมษายน 2551 23:07 น. - comment id 840834
20..ดีคะคุณนันทัชพร.. เอ..อิอินั่นสิคะ..ราชบุรีบ้านผู้ใดน้อ..อิอิ สงสัยจริงนะ..ไม่อยากบอกเลย ปากน้ำอยู่หนายยยยยยย ขอบคุณค้าที่แวะมาอ่าน..
19 เมษายน 2551 23:11 น. - comment id 840835
ดั่งน้ำทิพย์โปรยประจากสวรรค์ อัศจรรย์ฝันใฝ่ใจห่วงหา คนปากน้ำนั้นเอมอิ่มอุรา เพียงกานดาเอ่ยคำสำนวนกลอน
20 เมษายน 2551 14:08 น. - comment id 840946
มาแล้วจ้า ปล่อยให้นินทามาหลายวัน เอ แต่บ้านเราไม่ได้อยู่ปากน้ำนี่จะมีใครฝากความห่วงใยบ้างนะ
17 พฤศจิกายน 2551 10:57 น. - comment id 914488
๑. พระคุณของพระองค์ที่มีต่อชาวไทยทุกคนยิ่งใหญ่หาที่ใดเปรียบเทียบมิได้ ๒. พระผู้ให้ ให้ทุกอย่างกับราษฎรของพระองค์ ความทุกข์ยาก ทุกกันดาร ความแห้งแล้ง ล้วนแต่เป็นอุปสรรคของการดำรงชีวิตของราษฎร แต่พระองค์ท่าน ได้แก้ไขปัญหาเหล่านั้น จนทำให้ราษฎรทุกหมู่เหล่า ลืมตาอ้าปาก ทำมาหากินมีอาชีพทุกครัวเรือน ภายใต้ปรัชญาพอเพียง ๓. พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งการช่าง ๔. พระองค์ทรงส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน ๕. พระองค์ทรงส่งเสริมด้านการกีฬา ๖. ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ ๗. พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของความพอเพียงที่ยั่งยืน ๘. พระองค์ทรงริเริ่มโครงการเขื่อนเก็บน้ำ ๙. พระองค์ทรงสถิตในดวงใจไทยทั่วหล้าเป็นราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ๑๐.พระองค์ทรงริเริ่มโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโลก ๑๑. ด้วยพระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทำให้ประชาชน ชาวไทยร่มเย็นเป็นสุข ๑๒. แม้พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายมากเพียงใดก็ตาม แต่พระองค์ยังมุ่งมั่น พัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยของพระองค์ ๑๓.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พัฒนาและจัดสรรที่ดินหุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรีและโปรดจัดระบบส่งน้ำเพื่อให้ราษฎรรับน้ำทำการเกษตร ๑๔.พระองค์ทรงให้คนไทยหันมาใช้สินค้าที่เป็นหัตถกรรมฝีมือคนไทย ๑๕.พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้แก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย ๑๖.พระองค์ทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย เพราะว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข พระองค์ทรงอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพแข็งแรง ๑๗.ขอถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๘.ขอพระองค์มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน ๑๙.ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ๒๐.รักรักในหลวง ๒๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม ๒๒. แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราชทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น ๒๓. ในหลวง พระผู้ทรงบำบัดทุกข์-บำรุงสุขราษฎร์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอด ๖๐ ปีภายใต้ร่มฉัตรแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พสกนิกรชาวไทยต่างซาบซึ้งใน พระมหากรุณาธิคุณและต่างรู้ซึ้งถึงพระอัจฉริยภาพรอบด้านของพระองค์ โครงการพระราชดำริหลายโครงการนอกจากจะแสดงถึงความห่วงใยของพระองค์ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยแล้ว ยังยืนยันถึงพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย เนื่องในวโรกาสสำคัญแห่งการฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ขอน้อมรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านโครงการพระราชดำริที่สำคัญๆ ซึ่งทำให้คนไทยได้ประจักษ์ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถ่องแท้ และทรงปรับใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้อยู่ดีกินดีตามวิถีแห่งความพอเพียงตลอดมา ๒๔. ฝนหลวง เป็นโครงการสำคัญที่คนไทยรู้จักดี และเมื่อปี ๒๕๔๘ ที่เพิ่งผ่านไปนั้นฝนหลวงก็ได้เทลงมาให้หัวใจไทยชุ่มฉ่ำอีกครั้ง และช่วยชะล้างความทุกข์ในใจชาวไทยจากปัญหาภัยแล้งช่วงกลางปีในหลายพื้นที่ ซึ่งระดับน้ำในเขื่อนทั้ง ๑๓ แห่งทั่วประเทศลดลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต โดยผลจากการกู้ภัยแล้งด้วยโครงการหลวงก็สามารถบรรเทาวิกฤตดังกล่าวได้อย่างน่าพอใจ ทั้งนี้โครงการฝนหลวงเกิดจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี ๒๔๙๘ และทรงสังเกตเห็นว่าบนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมแต่ไม่รวมตัวกันให้เกิดฝน จึงมีพระราชดำริว่าน่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อตัวเป็นเมฆฝนได้ จนกระทั่งมีการจัดตั้ง สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งดำเนินงานฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน หลักการทำฝนหลวงมีขั้นตอนโปรย ผงเกลือแป้ง เพื่อเป็นแกนในการดูดความชื้นในอากาศ จากนั้นใช้สารเคมีอีกหลายชนิดเพื่อช่วยในการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) เช่น เกลือแกง ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรตและน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น จนเมื่อเมฆเติบโตและเคลื่อนสู่เป้าหมายก็ใช้เทคนิคจู่โจมกลุ่มเมฆ โดยโปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ทับยอดเมฆและฐานเมฆและโปรยผงยูเรียเพื่อให้อุณหภูมิลดลง ทำให้เกิดเม็ดน้ำขนาดใหญ่แล้วตกกลายเป็นฝนในที่สุด ๒๕. แก้มลิง กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง นอกจากปัญหาภัยแล้งแล้ว น้ำท่วม ก็เป็นอีกภัยธรรมชาติที่ทำให้น้ำตาไทยเอ่อล้น โครงการ แก้มลิง เป็นอีกโครงการที่ช่วยซับความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งดำเนินการโดยระบายน้ำจากตอนบนให้ไปตามคลองในแนวเหนือใต้สู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก ทั้งนี้โครงการแก้มลิงเปรียบเหมือนการกินกล้วยของลิงซึ่งจะเก็บกล้วยไว้ที่แก้ม ก่อนจะค่อยๆ นำมาเคี้ยวและกินภายหลัง เมื่อนำมาใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำมารวมกันไว้เป็นบ่อพักที่เปรียบได้กับแก้มลิง แล้วค่อยๆ ระบายน้ำลงทะเลเมื่อน้ำทะเลลดลง ผลจากดำเนินการโครงการดังกล่าวจึงช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเป็นที่ลุ่มทำให้ระบายน้ำออกได้ล่าช้า ๒๖. กังหันน้ำชัยพัฒนา ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน กังหันน้ำชัยพัฒนา คือเครื่องกลเติมอากาศที่เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอยซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โดยใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม และน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรมและการเกษตร ทั้งนี้แนวทางของการพัฒนามาจากสภาพเน่าเสียของแหล่งน้ำต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่าจำเป็นต้องบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องกลเติมอากาศ จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบฯ ศึกษาและวิจัยร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องต้นแบบขึ้นในปี ๒๕๓๒ จากนั้นก็มีการพัฒนามาอีกหลายรุ่น และในปี ๒๕๓๖ กังหันน้ำชัยพัฒนาก็ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ๒๗. ไบโอดีเซล จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ ๙ เม.ย.๒๕๔๔ อีกทั้งในปี ๒๕๔๖ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ในงาน บรัสเซลส์ ยูเรกา ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้ (อ่าน : แก๊สโซฮอล์-ไบโอดีเซล รับวิกฤตพลังงาน พระราชดำริล่วงหน้ากว่า ๔๐ ปี) ๒๘. แหลมผักเบี้ย-หนองหาร โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมเป็นอีกปัญหาที่ได้รับการแก้ไขด้วยโครงการพระราชดำริ โดยส่วนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอย และรักษาสภาพป่าชายเลน ทั้งนี้ แบ่งการบำบัดเป็น ๒ ส่วนคือระบบบำบัดหลักและระบบบำบัดรอง สำหรับระบบบำบัดหลักนั้น ซึ่งมีบ่อสำหรับตกตะกอนและปรับสภาพน้ำเสียจำนวน ๕ บ่อ โดยส่งน้ำเสียผ่านท่อไปยังบ่อบำบัดและในบ่อสุดท้ายจะมีคณะวิจัยตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนส่งต่อ ส่วนระบบบำบัดรองนั้นอาศัยการบำบัดโดยธรรมชาติ ประกอบด้วย ๑.ระบบบึงชีวภาพ ซึ่งจะปลูกพืชที่สามารถเจริญได้ดีในน้ำขังเสีย ดูดซับสารพิษและสารอินทรีย์ได้ เช่น กก อ้อ เป็นต้น ๒.ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าแฝก หญ้านวลน้อย หญ้ารูซี่ เป็นต้น โดยจะส่งน้ำเสียไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะๆ และ ๓.ระบบกรองด้วยป่าชายเลน โดยในพื้นที่ป่าชายเลนจะปลูกโกงกาง แสมขาว เป็นต้น เพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติ น้ำที่ผ่านป่าชายเลนก็จะได้การบำบัดตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริเพื่อบำบัดน้ำเสียใน อ.เมือง จ.สกลนคร ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้วิจัยและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยได้ทรงทอดพระเนตรน้ำเสียบริเวณหนองสนม ข้างโรงงานผลิตน้ำประปา ซึ่งมีแนวทางแก้คือรวบรวมน้ำเสียมาระบายลงหนองหารเป็นจุดเดียวกัน เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติรวมกับการใช้เทคโนโลยีแบบประหยัด น้ำเสียจากตัวเมืองสกลนครจะถูกรวบรวมโดยระบบท่อส่งและผ่านการบำบัดให้ดีในระดับหนึ่ง ก่อนส่งต่อไปยังแปลงพืชน้ำบำบัดแล้วระบายลงสู่หนองหารต่อไป สำหรับพืชน้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ธูปฤาษี กกเล็ก แพงพวยน้ำ บอน ผักตบชวา หญ้าปล้องละมาน เป็นต้น ๒๙. แกล้งดิน เร่งกำมะถันทำปฏิกิริยา ไล่หน้าดินเปรี้ยว จากปัญหาดินเปรี้ยวในบริเวณป่าพรุที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดนราธิวาส เนื่องจากมีสารประกอบไพไรท์ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้ทดลอง แกล้งดิน ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วปลดปล่อยกำมะถันออกมา ทำให้ดินเปรี้ยวจัดจากนั้นปรับปรุงดินด้วยการใช้น้ำร่วมกับปูนมาร์ลหรือปูนฝุ่นแล้วไถพลิกกลบดิน ความเป็นเบสของปูนจะทำให้ดินซึ่งเปรี้ยวจัดถูกกระตุ้นให้ ช็อก จึงปรับสภาพสู่สภาวะปกติ จนกระทั่งเพาะปลูกข้าวได้ การปรับพื้นที่และยกร่องก็เป็นวิธีระบายกรดบนหน้าดินอีกทางหนึ่ง ส่วนจะปลูกพืชชนิดใดนั้นต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น หากจะปลูกข้าวต้องปรับดินให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออก หากจะปลูกผักหรือพืชไร่อื่นให้ยกร่องและทำคูเพื่อป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับให้ดินเป็นกลาง หรืออาจจะใช้น้ำจืดชะล้างก็ได้แต่ใช้เวลานาน ๓๐. หญ้าแฝก รากฝังลึกอนุรักษ์หน้าดิน ด้วยระบบรากของ หญ้าแฝก ที่ฝังลึกไปในดินตรงๆ และแผ่กระจายเหมือนกำแพงจึงช่วยชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านหน้าดิน ช่วยเก็บความชุ่มชื้นของดินไว้และป้องกันการพังทลายของหน้าดิน จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการอนุกรักษ์ดิน เช่น ปลูกตามพื้นที่ลาดชันหรือบริเวณเขื่อนเพื่อป้องกันการกัดเซาะของหน้าดิน ปรับปรุงดินที่เสื่อมโทรม และยังใช้ปลูกป้องกันสารพิษปนเปื้อนลงแหล่งน้ำ เป็นต้น ผลจากการดำเนินงานตามพระราชดำริในการศึกษาให้ทราบพันธุ์และหาวิธีปลูกหญ้าแฝกที่เหมาะสมเพื่อเผยแพร่ในพื้นที่ๆ ประสบปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ทำให้สมาคมควบคุมการกัดเซาะผิวดินนานาชาติ(International Erosion Control Association: IECA) มีมติถวายรางวัล The International Erosion Control Associations International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้อนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ ๓๐ ต.ค.๒๕๓๖ ด้วยพระปรีชาสามารถซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยมากมายเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบถวายการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่ทรงเป็น พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย เมื่อปี๒๕๔๓ และกำหนดให้วันที่ ๑๙ ต.ค. ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงอำนวยการสาธิตฝนหลวงครั้งแรกให้เป็น วันเทคโนโลยีไทย นอกจากนี้พระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่คนในวงการวิทยาศาสตร์ควรจะน้อมนำเป็นแบบอย่างและแนวทางเพื่อการพัฒนางานที่อยู่สู่การพัฒนาประเทศ ๓๑. เขื่อนดิน อ่างเก็บน้ำที่ไม่ใช้คอนกรีต เขื่อนดินเป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินตามแนวพระราชดำริตัวเขื่อนนิยมก่อสร้างด้วยการถมดินและบดอัดจนแน่นสามารถส่งน้ำไปตามท่อส่งน้ำได้ เพื่อใช้ในการเกษตรและการอุปโภคบริโภคอีกทั้งยังใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำขนาดเล็กอย่างปลาและกุ้งน้ำจืดได้ นอกจากนี้เขื่อนดินยังเป็นปราการที่ไม่เพียง บรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำหากแต่ยังป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วยส่วนความจุของปริมาณขึ้นอยู่กับความสูงของเขื่อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่งก็จะทรงปล่อยลูกปลาลูกกุ้งเพื่อพระราชทานแก่ราษฎรในบริเวณนั้นให้มีแหล่งอาหารสำหรับบริโภคทั้งนี้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลักษณะดังกล่าวทั่วประเทศ เป็นจำนวนมาก อาทิ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำห้วยซับตะเคียน จ.ลพบุรี อ่างเก็บน้ำคลองหลา จ.สงขลา รวมทั้งเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใน จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี ซึ่งเก็บน้ำได้มากถึง 960 ล้านลูกบาศก์เมตร ๓๒. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในทุกๆ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์จะเสร็จพระราชดำเนินไปยังสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา แม้พระราชกรณียกิจนี้จะเป็นภาระแก่พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์มาก แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสรับสั่งให้คงพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชทานแทนพระองค์(เฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน) ๓๓. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์ ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และล้วนเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น โดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ครบครัน พร้อมที่จะให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งเป็นพระราชดำริที่ให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร ได้เดินทางออกไปช่วยเหลือบำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟัน แก่เด็กนักเรียนและราษฎรที่อาศัยอยู่ในท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากแพทย์ทั่วทุกภาค โดยให้การบริการรักษาโรคฟัน โดยไม่คิดมูลค่าในการแพทย์เคลื่อนที่ สำหรับการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมวัดทุกแห่ง ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท โดยจะพระราชทานกล่องยาแก่วัด เพื่อพระภิกษุใช้เมื่อเกิดอาพาธ และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรผู้ป่วยเจ็บในหมู่บ้านนั้นๆ ส่วนในการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมหน่วยทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร ที่ออกไปตั้งฐานปฏิบัติการในท้องที่ทุรกันดาร ก็จะพระราชทานสิ่งของที่จำเป็นต่างๆ รวมทั้งยารักษาโรคสำหรับใช้ในหมู่เจ้าหน้าที่ และใช้ในการรักษาพยาบาล และเพื่อแจกจ่ายแก่ราษฎรในท้องที่ ที่มาขอความช่วยเหลือ อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม และประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ ได้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทางด้านหน่วยแพทย์หลวงที่จะต้องตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ประทับแรมทุกแห่งนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ให้การรักษาพยาบาลราษฎร ผู้มาขอรับการรักษา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทาง ไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นผู้แนะนำสถานที่และร่วมเดินทางไปด้วย สำหรับราษฎรผู้เจ็บป่วยรายที่มีอาการหนัก หรือจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจรักษาเพิ่มเติมนั้น ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จพระราชดำเนิน ทำการบันทึกรายชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และอาการโดยละเอียด โดยตรวจสอบความถูกต้องกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และมีสำเนาให้รับทราบเพื่อติดต่อประสานงานต่อไป ในการพิจารณาส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อ ตามความเห็นของแพทย์ผู้ทำการตรวจ ๓๔. พระราชกรณียกิจด้านศิลปะวัฒนธรรม - ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย - ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร - ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ๓๕. พระราชกรณียกิจด้านศาสนา พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพระราชพิธีเนื่องในวโรกาสต่างๆอาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน ๓๖.ทุนการศึกษาพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบดีว่าเด็กและเยาวชนของไทยมิได้ขาดสติปัญญา หากแต่ด้อยโอกาสและขาดทุนทรัพย์สำหรับการศึกษา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาหลายขั้นหลายทุน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ดังนี้ - ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้านต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนำความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป - ทุนเล่าเรียนหลวง - ทุนมูลนิธิภูมิพล - ทุนการศึกษาสงเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ - ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย - ทุนนวฤกษ์ - ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี ๓๗. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสที่ว่า ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วง และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความทุกข์ของไพร่ฟ้าจากพยาธิภัย ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ ทุกครั้ง พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีคณะแพทย์ ทั้งแพทย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่างๆ และแพทย์อาสาสมัครโดยเสด็จพระราชดำเนินไปในขบวนอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รักษาผู้ป่วยไข้ได้ทันที นอกเหนือจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ริเริ่มหลายโครงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้ - โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน - โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน - โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ - หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน - โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย - โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน - โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์ - หน่วยงานฝ่ายคนไข้ ในกองราชเลขานุการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาแพทย์ศาสตร์ตอนหนึ่งว่า จึงใคร่ขอร้องให้ทุก ๆ คนตั้งใจ และพยายามปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ อย่าปล่อยให้กำลังของชาติต้องเสื่อมถอยลง เพราะประชาชนเสียสุขภาพอนามัย นับเป็นพระราชดำรัสที่แสดงถึงความตั้งพระทัยในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรอย่างแท้จริง ทั้งนี้อาจกล่าว ได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดมั่นที่จะสืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย และสมเด็จพระบรมราชชนนี พระมารดาของการแพทย์ชนบท ในการที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป ๓๘.พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระองค์ทรงใช้ประสบการณ์และแนวพระราชดำริ โครงการหลวงในการพัฒนาและวิจัย พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศ เช่นโครงการอีสานเขียว ๓๙. พระราชกรณียกิจด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยด้านการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ "...ทรงทดลองสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ 'Centrum' จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย..." พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับตรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล ในเรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ นอกเหนือจากวิทยุสื่อสารแล้ว ในเรื่องของเทเล็กซ์พระองค์ทรงสนพระทัยอยู่ไม่น้อย และสิ่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยทรงขาดคือ การพระราชทานพรปีใหม่ นอกจากจะทรงมีกระแสพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่แก่พสกนิกรไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งแล้ว พระองค์ท่านยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพรทางเทเล็กซ์สม่ำเสมอทุกปี แต่ในปัจจุบันท่านทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการประดิษฐ์บัตรอวยพรปีใหม่แทน นอกจากนี้พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ๓๙. พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยาย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง 2 เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่ กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. 2525 สถานีวิทยุ อ.ส.