วันนี้..ดีใจจัง..เจอพี่แก้ว จึงไม่แคล้ว..หัดแต่ง..ตามพี่บอก ถึงไม่เพราะ..จับใจ..แต่คงรอด ต้องขอดอด..ไปขอบคุณ..แก้ว กลางไพร กลอนบทแรกในชีวิต ผมเริ่มก้าวแรกแระงับ ฝากตัวด้วยนะครับ
21 พฤศจิกายน 2550 14:35 น. - comment id 791553
ขอบคุณ คุณแก้วกลางไพร ครับ อิอิ
21 พฤศจิกายน 2550 15:51 น. - comment id 791624
สวัสดีค่ะคุณเอก แวะมาทักทายค่ะ...หัดแต่งบ่อยๆไม่ช้าก็เก่งนะคะทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีใจรักค่ะ หมั่นอ่านหมั่นเขียนไม่ช้าก็เก่งค่ะ...พี่เองก็พอแนะนำเท่าที่ทำได้เท่านั้นค่ะ ....ความจริงพี่ก็ไม่ใช่คนเก่งอะไรพอเขียนได้เท่านั้น....ที่นี่มีนักกลอนเก่งๆมากค่ะ หลายท่านเป็นครูกลอนที่ดีได้เลยค่ะ คุณเอกเข้ามาบ่อยๆไม่ช้าก็เก่งค่ะ...เป็นกำลังใจให้นะคะ
21 พฤศจิกายน 2550 15:59 น. - comment id 791630
แผนผังกลอนแปดค่ะ กลอน 1 บท จะมี 4 วรรค วรรคแรก คือ วรรคสดับ วรรคที่2 คือ วรรครับ วรรคที่3 คือ วรรครอง วรรคที่4 คือ วรรคส่ง แต่ละวรรค ก็จะมี 7-9 พยางค์ สัมผัส ของบทกลอน หมายถึง "เสียงที่คล้องจองกัน" เช่น "ป้า" กับ "อา" ,"ให้" กับ "ใจ" รอ กับหนอ ลืม กับปลื้ม เป็นต้นค่ะ สัมผัสนอก ก็คือสัมผัสที่อยู่นอกบท ซึ่งจำเป็นมากค่ะ เพราะเป็นกฎของกลอนแปดเลยทีเดียวค่ะ
21 พฤศจิกายน 2550 16:08 น. - comment id 791638
- พยางค์สุดท้ายของวรรคแรก(สดับ) สัมผัสกับ พยางค์ที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่สอง -พยางค์สุดท้ายของวรรคที่สอง(รับ) สัมผัสกับ พยางค์สุดท้าย ของวรรคที่สาม -พยางค์สุดท้าย ของวรรคที่สาม(รอง) สัมผัสกับ พยางค์ที่ 3 หรือ 5 ของวรรคที่สี่ สัมผัสระหว่างบท ...สำหรับบทกลอนที่เขียนมากกว่า1 บท ขึ้นไป จำเป็นต้องมีสัมผัสบทนะคะ - พยางค์สุดท้ายของบทแรก(วรรคส่ง) สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่สอง(วรรครับ)ของบทต่อไป
21 พฤศจิกายน 2550 16:11 น. - comment id 791639
สัมผัสใน คือสัมผัสที่อยู่ในบทค่ะ ไม่ได้บังคับค่ะ แต่ถ้ามีก็จะทำให้กลอนไพเราะยิ่งขึ้น - พยางค์ ที่ 3 สัมผัสกับ พยางค์ ที่ 4 และ พยางค์ ที่ 5 สัมผัสกับ พยางค์ ที่ 7 ของทุกวรรค การบังคับเสียงท้ายวรรค คำสุดท้ายของแต่ละวรรคมีกฏดังนี้ค่ะ วรรคที่1 ได้ทุกเสียงค่ะ ยกเว้น เสียงสามัญ วรรคที่ 2 ไม่ควร ลงท้ายด้วย เสียงสามัญ และเสียงตรี วรรคที่ 3 ลงท้ายด้วย เสียงสามัญ และเสียงตรี วรรคที่ 4 ลงท้ายด้วย เสียงสามัญ และเสียงตรี (เหมือนวรรคที่ 3)
21 พฤศจิกายน 2550 16:16 น. - comment id 791643
เทคนิคเล็กๆน้อย - ขั้นแรกควรวางโครงเรื่องก่อน ว่าจะเขียนเกี่ยวกับ ใคร อะไร ที่ไหน เนื่องในโอกาสอะไร เช่น เขียนถึงเพื่อน,ถึงรักที่อกหัก ฯลฯ - กลอนจะโดดเด่นและมีเสน่ห์ ถ้ามี concept ที่ดี เลือกใช้คำที่เหมาะสม บทสุดท้ายต้องเป็นบทสรุปที่ดี - ที่สำคัญ อย่าเขียนผิดนะคะ เช่น คำว่า "ให้" เขียนเป็น "หั้ย" อย่างนี้ล่ะก็ไม่ดีแน่ค่ะ ส่วนพี่เองก็แต่งไปตามอารมค่ะยังไม่มีการวางโครงเรื่องเช่นกันกลอนเลยขาดความไพเราะไป หรือบางครั้งก็จบลงแบบห้วนๆ ลองเข้าไปเยี่ยมชมบทกลอนที่ขึ้นหน้า หนึ่งดูนะคะ บทกลอนต่างๆแต่ละบทเป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนค่ะ....ให้โชคดีนะคะ...สู้ๆค่ะ
21 พฤศจิกายน 2550 18:07 น. - comment id 791697
ขอบคุณมากครับพี่แก้ว จะลองศึกษาดูนะครับ
21 พฤศจิกายน 2550 19:12 น. - comment id 791730
ความจริงพี่จะลงแผนผังกลอนแปดให้ค่ะเพราะดูง่ายกว่าตัวหนังสือที่บรรยาย แต่พี่ลงไม่เป็นค่ะ...ท่านใดทราบแนะนำคุณเอกด้วยนะคะ
22 พฤศจิกายน 2550 01:23 น. - comment id 791902
อยากเห็นแผนผังจังครับ อ่านแบบนี้แล้ว เข้าใจลำบาก จังครับ แต่ก็ขอบคุณจากใจจริงนะครับ