ใจเอยใจม่อนข้า หมายสูง เจ้าแว่นทิพย์เทียมยูง ย่างฟ้อน ข้าเจ้าแม่นอย่างฝูงกาต่ำ ศักดิ์เนอ ไหนจักบินขึ้นซ้อนเอี่ยงแอ้ม แก้มนาย วาสนาชายใฝ่เฝ้า เดือนงาม แหงนผ่อหมายตาตาม ติดต้อย เดือนสูงส่องแสงวามวาดโลก งามเนอ เดือนจักละหนีจ๊อยจากแล้ว ลืมชาย
20 ธันวาคม 2549 20:15 น. - comment id 625568
แนะนำผู้สนใจครับ ค่าว หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไป ( แบบร่าย ) และจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ มีหลายชนิดคือ เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า ค่าวธรรม ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า ค่าวใช้ ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า ค่าวซอ หรือเล่าค่าว และถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า จ๊อย แม้ชาวบ้านทีพูดคล้องจองกันเรียกว่า อู้เป็นค่าวเป็นเครือ 1.2 คุณสมบัติของนักแต่งค่าว มีดังนี้ 1 ) มีใจรักในการแต่งค่าวและเป็นคนละเอียดอ่อน 2 ) ถ้าแต่งกลอนเป็น จะแต่งค่าวได้ง่ายขึ้น 3 ) รู้ฉันทลักษณ์ สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ของค่าว 4 ) แยกเสียงโทและเสียงตรีออก จะทำให้แต่งค่าวได้ไพเราะยิ่งขึ้น 1.3 สำนวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น , บทดำเนินเรื่อง และบทสุดท้าย 1.4 ฉันทลักษณ์ของค่าว มีดังนี้ 1 ) ค่าว 1 บท มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค 2 ) สามวรรคแรกมี 4 คำ ส่วนวรรคที่สี่ มี 2 4 คำ 3 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา 4 ) การส่งสัมผัสประกอบด้วย สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบาท สัมผัสระหว่างวรรคส่งจากวรรคท้ายวรรคที่สอง ไปยังคำท้ายวรรคที่สามของทุกบาท 5 ) บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ , โท , ตรี และจัตวา ตามตำแหน่งที่กำหนด 1.5 ผังค่าวแบบง่าย ( 7 บรรทัด ) ( บทขึ้นต้น ) OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OO ( บทดำเนินเรื่อง - จะมีกี่บทก็ได้ ) OOOO OOOO OOOO OO OOOO OOOO OOOO OOOO ( เหมือนบรรทัดที่ 2 ) OOOO OOOO OOOO OO ( เหมือนบรรทัดที่ 3 ) ( บทสุดท้าย ) OOOO OOOO OOOO OO(OO ) บทที่ 2 การแต่งค่าวบทขึ้นต้น บทขึ้นต้น หรือ บทที่ 1 มี 3 บาท ( 3 บรรทัด ) บาทละ 4 วรรค 2.1 ผังค่าว ( บทที่ 1 ) OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OO 2.2 การสัมผัส * ตัวอย่าง สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง ตึงแม่ฮ่องสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก * การสัมผัสมีดังนี้ 1 ) ( น้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ถ้อง ) ในบรรทัดที่หนึ่ง ( สาย ) ในบรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ก๋าย ) ในบรรทัดที่สอง 2 ) ( ก๋าย ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ราย ) ในบรรทัดที่สอง 3 ) ( สร้าง ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ตั้ง ) ในบรรทัดที่สาม 2.3 การบังคับวรรณยุกต์ - ดังตัวอย่างต่อไปนี้ สะหลียินดี หมู่จุมพี่น้อง ที่มาอ่านถ้อง ค่าวซอเป๋นสาย หลายเมืองแท้นั้น เมืองน่านมาก๋าย เชียงใหม่เชียงราย มาร่วมสืบสร้าง ตึงแม่ฮ่องสอน มาช่วยก่อตั้ง เชิญชวนหมู่เฮา พร้อมพรัก 1.( สะหลียินดี ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ - ( หมู่จุมพี่น้อง ) วรรคสอง เสียงตรี ( น้อง ) ( ที่มาอ่านถ้อง ) วรรคสาม เสียงโท ( ถ้อง ) ( ค่าวซอเป๋นสาย ) วรรคสี่ เสียงจัตวา ( สาย ) 2.( หลายเมืองแท้นั้น ) วรรคหนึ่ง บังคับเสียงตรี ( นั้น ) ( เมืองน่านมาก๋าย ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( ก๋าย ) ( เชียงใหม่เชียงราย ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( ราย ) ( มาร่วมสืบสร้าง ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( สร้าง ) 3.( ตึงแม่ฮ่องสอน ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ - ( มาช่วยก่อตั้ง ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( ตั้ง ) ( เชิญชวนหมู่เฮา ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( เฮา ) ( พร้อมพรัก ) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( พรัก ) การแต่งค่าวบทดำเนินเรื่อง 3. 1ผังค่าวบทดำเนินเรื่อง ( บทที่ 2 เป็นต้นไป) OOOO OOOO OOOO OO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OOOO OO 3.2 การสัมผัส - ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ * การสัมผัสมีดังนี้ 1. ( ไจ) บรรทัดที่หนึ่ง สัมผัสกับ ( ใจ๋ ) ในบรรทัดที่สอง 2. ( ใจ๋ ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( ใน ) ในบรรทัดที่สอง 3. ( เข้า ) บรรทัดที่สอง สัมผัสกับ ( เจ้า ) ในบรรทัดที่สาม 3.3 การบังคับวรรณยุกต์ - ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ลำพูนลำปาง เมืองแพร่แท้ทัก พะเยาร่วมเข้า มาไจ มาแต่งค่าวจ๊อย ม่วนงันหัวใจ๋ เชิญมาทางใน หมั่นแวะหมั่นเข้า ค่าวซอของเฮา ตึงดีแท้เจ้า มาเต๊อะเชิญมา ช่วยค้ำ 1.( ลำพูนลำปาง )วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ - ( เมืองแพร่แท้ทัก ) วรรคสอง บังคับเสียงตรี ( ทัก ) ( พะเยาร่วมเข้า ) วรรคสาม บังคับเสียงโท ( เข้า ) ( มาไจ ) วรรคสี่ บังคับเสียงสามัญ ( ไจ ) 2.( มาแต่งค่าวจ๊อย ) วรรคหนึ่ง บังคับเสียงตรี ( จ๊อย ) ( ม่วนงันหัวใจ๋ ) วรรคสอง บังคับเสียงจัตวา ( ใจ๋ ) ( เชิญมาทางใน ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( ใน ) ( หมั่นแวะหมั่นเข้า ) วรรคสี่ บังคับเสียงโท ( เข้า ) 3.( ค่าวซอของเฮา ) วรรคหนึ่ง - ไม่บังคับ - ( ตึงดีแท้เจ้า ) วรรคสอง บังคับเสียงโท ( เจ้า ) ( มาเต๊อะเชิญมา ) วรรคสาม บังคับเสียงสามัญ ( มา ) ( ช่วยค้ำ ) วรรคสี่ บังคับเสียงตรี ( ค้ำ ) - ยังมีต่อ - - บทที่ 4 การแต่งค่าวบทสุดท้าย ค่าวบทสุดท้าย ไม่มีฉันทลักษณ์บังคับตายตัว ในตอนท้ายมักจะจบว่า " ก่อนแล " หรือ" ก่อนแลนายเหย " * ผังค่าวบทสุดท้าย OOOO OOOO OOOO OO(OO ) * ตัวอย่าง จบค่าวแนวคำ สุดเสี้ยงเพียงนี้ มอกอี้ขอวางลง ก่อนแลนายเห
20 ธันวาคม 2549 23:50 น. - comment id 625594
สนใจน่าเรียนรู้ค่ะ..แต่ยากเกินไปสำหรับพิมค่ะ...เพิ่งจะหัดเขียนกลอนแปด กับเรียนภาษาไทยค่ะ.. อ่านอย่างไรก็ไม่เข้าใจ..เป็นคำยากมากค่ะ...แต่สนใจมากเช่นเดียวกันคะ.....
21 ธันวาคม 2549 03:46 น. - comment id 625605
อืม..ต้องใจ้กำเมืองหมดเลยก๊ะเจ้า เฮามันอู้บ่จ้าง...ผ่อเป๋นนิดๆหน่อยๆ ถ้าใจ้ไทยกลางนี่จะเป็นจะใดน๊อ...ต้องลองๆ
21 ธันวาคม 2549 10:17 น. - comment id 638441
ไม่จำเป็นต้องเป็นคำเมืองก็ได้ครับภาษาไทยกลางก็ได้ ลองดูครับผมว่าถ้าคุณแต่งอาจจะไพเราะมากก็ได้นะครับ
2 สิงหาคม 2552 14:05 น. - comment id 1022214
ดีจัง ขอบคุณน่ะ
2 สิงหาคม 2552 14:06 น. - comment id 1022217
jjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjjj
2 สิงหาคม 2552 14:08 น. - comment id 1022220
ดีจัง หาเจอซากที พอดีว่าครูสั่งการบ้านมาอ่ะ ขอบคุณน่ะ
2 สิงหาคม 2552 14:10 น. - comment id 1022225
ขอบคุณค่ะ พอดีครูสั่งเลยเจอ มาหาที่เซ้นทรัลหน่อยมีอะไรจะบอก