~ เสียงโคลง ~ ลิลิตพระลอ ~ นิราศนรินทร์ ~

พจน์รำพัน

Hen7.jpg
.
      สวัสดีครับ  ครั้งที่แล้ว ~ ญาณรัก ~ มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับผังเสียงโคลงลิลิตพระลอที่ลงไว้นั้น ที่ถูกเป็นของนิราศนรินทร์ครับ เนื่องจากทำเป็นไฟล์ตัวเลขล้วนๆไว้หลายปีแล้ว จำสลับกัน ต้องขออภัยด้วยครับ และได้แก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว
      คราวนี้จึงจะขอพูดถึงเสียงโคลงของลิลิตพระลอซึ่งมีจำนวน ๒๙๔ บท และนิราศนรินทร์ ซึ่งมี ๑๔๓ บท ในเชิงเปรียบเทียบกัน  มีอยู่ข้อหนึ่งที่เห็นชัด คือทั้งสองเรื่องนี้มีสร้อยโคลงจำนวนมาก  ในสิบบท บาทหนึ่งจะมีสร้อยถึงกว่าสี่บท บาทสามมากเป็นเท่าตัว  นิราศนรินทร์มีแปดบท ลิลิตพระลอมีถึงเก้าบททีเดียว
      ทั้งสองเรื่องนี้ประพันธ์ขึ้นในช่วงเวลาที่ห่างกันประมาณสามศตวรรษ   เมื่อรวมจำนวนเสียงคำแต่ละเสียง โดยไม่นับพยางค์เสียงที่เป็นลูกเก็บและสร้อยโคลง พบว่าสัดส่วนเสียงคำเทียบกันเสียงต่อเสียง ทั้งสองเรื่องมีความใกล้เคียงกันทุกเสียง แตกต่างกันไม่เกินหนึ่งในสิบ  ลิลิตพระลอมีสัดส่วนเสียงจัตวามากกว่า ส่วนนิราศนรินทร์มีสัดส่วนเสียงสามัญมากกว่า
      เมื่อลองเขียนเสียงโคลงหลัก ( ใช้ 0 1 2 3 4 แทนเสียง สามัญ เอก โท ตรี และ จัตวา ตามลำดับ ) โดยถือตามเสียงที่มากที่สุดในแต่ละตำแหน่งคำ ได้ออกมาดังนี้ 
ลิลิตพระลอ
00022 ..... 00  20
01000 ..... 13
00100 ..... 02  00
01032 ..... 1200
นิราศนรินทร์
00023 ..... 00  00
01000 ..... 13
00200 ..... 02  00
01002 ..... 2300
      คราวนี้ลองดูผังเสียงรอง ซึ่งเขียนตามเสียงที่มีมากเป็นอันดับสองในตำแหน่งคำ เสียงรองในแต่ละตำแหน่งมีจำนวนต่างกับเสียงหลักมากบ้างน้อยบ้าง แต่ถือตามลำดับว่าเป็นอันดับรอง  และโดยที่ตำแหน่ง "คำสุภาพ" สี่แห่งนั้นเสียงรองเป็นเสียงจัตวาทั้งสิ้น จึงใส่ X แทนเสียบ้าง
ลิลิตพระลอ
43413 ..... 4X
4244X ..... 22
4421X ..... 41
42303 ..... 234X
นิราศนรินทร์
44112 ..... 4X
1214X ..... 22
1411X ..... 41
12433 ..... 124X
      จะเห็นว่าลิลิตพระลอมีเสียงจัตวาเป็นเสียงรองมากกว่าเสียงอื่น  ส่วนนิราศนรินทร์เสียงเอกเป็นเสียงรองมากกว่า จากนี้จะเปลี่ยน _ เข้าไปแทนในจุดที่ทั้งสองเรื่องมีเสียงรองเหมือนกัน เพื่อให้เห็นภาพเสียงรองที่ต่างกันได้ง่ายขึ้น
ลิลิตพระลอ
_34_ 3 ..... _ _
4_4_ _ ..... _ _
4_2_ _ ..... _ _
4_30 _ ..... 23 _ _
นิราศนรินทร์
_41_ 2 ..... _ _
1_1_ _ ..... _ _
1_1_ _ ..... _ _
1_43 _ ..... 12 _ _
      มองความแตกต่างของเสียงรองนี้แล้วก็นึกเดาไปต่างๆนาๆ ว่าจะเป็นด้วยพื้นสำเนียงของภาษาตามยุคสมัย หรือเพราะลิลิตพระลอเป็นเรื่องเกี่ยวข้องทางล้านนา ซึ่งเสียงจัตวามีอิทธิพลอยู่มาก เช่น กิน ก็ว่า กิ๋น จะมีเหตุแห่งความแตกต่างนี้หรือไม่  ถ้าเป็นนักวิชาการคงต้องค้นคว้าอีกมากมาย
      หากจะพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก ก็ต้องคำนึงถึงถึงบังคับในฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ ซึ่งจะมีคำอยู่สี่ประเภท
      ๑ ) คำสุภาพ มีอยู่สี่ตำแหน่ง คือคำที่ไม่ประวรรณยุกต์ ดังนั้นจะมีอยู่สองเสียงเป็นหลักใหญ่ คือ เสียงสามัญ และเสียงจัตวา แต่มีการประพันธ์ที่ลงท้ายบาทแรกด้วยคำตายอยู่ประมาณหนึ่งในสิบ ในจำนวนนี้ก็จะเป็นเสียงเอก โท และ ตรี สำหรับเสียงสามัญในตำแหน่งคำสุภาพ ทั้งสองเรื่องใกล้เคียงกันมากทั้งสี่ตำแหน่ง มีจำนวนสองในสาม
      ๒ ) คำโท มีสี่ตำแหน่ง ถือตามรูปโท คือต้องประวรรณยุกต์โทเท่านั้น ดังนั้นก็จะมีเพียงสองเสียง คือ เสียงโท กับเสียงตรี
      ๓ ) คำเอก มีเจ็ดตำแหน่ง ถือตามรูปเอก หรือคำตายก็ได้ คำตายคือคำที่ผสมสระเสียงสั้น และคำที่สะกดด้วยแม่ กก กด กบ รวมแล้วจะมีสามเสียงเป็นหลัก คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี มีเสียงกลางและเสียงจัตวาอยู่น้อยมากตามรูปคำ ซึ่งใช้ อำ เป็นคำเอก เช่น ถวายบำเรอท้าวไท้

      ๔ ) คำอื่นๆที่มิได้มีบังคับกำหนดไว้
 มีจำนวนสิบห้าคำเท่ากับกึ่งหนึ่งของบทโคลงพอดี ( ไม่นับสร้อยโคลง ) คำเหล่านี้ก็จะมีได้ครบทั้งห้าเสียง
ค่าเฉลี่ยในสิบห้าคำ       ลิลิตพระลอ        นิราศนรินทร์
      เสียงสามัญ         ๔๕ %           ๕๐ %
      เสียงเอก           ๑๓ %           ๑๗ %
      เสียงโท             ๗ %            ๗ %
      เสียงตรี            ๑๖ %           ๑๐ %
      เสียงจัตวา          ๑๙ %           ๑๖ %
      จากตารางค่าเฉลี่ยนี้ มีข้อน่าสังเกตว่า ทางฝ่ายเสียงต่ำ คือเสียงสามัญและเสียงเอก นิราศนรินทร์ มีสัดส่วนที่สูงกว่า  แต่ทางฝ่ายเสียงสูง คือเสียงตรีและเสียงจัตวานั้น ลิลิตพระลอมีสัดส่วนสูงกว่า
      ในตอนนี้จะขอพูดถึงเสียงต่างๆเฉพาะในขอบเขตของ "คำอื่นๆ" ตามหัวข้อ ๔ เท่านั้น เพื่อเพิ่มความชัดเจนในภาพรวมของเสียงโคลงของทั้งสองเรื่องมากขึ้นอีกนิดหนึ่ง
      เสียงสามัญ - จากค่าเฉลี่ยจะเห็นว่าเสียงสามัญมีน้ำหนักประมาณครึ่งหนึ่งทีเดียว แทบทั้งหมดมีน้ำหนักมากกว่าเสียงอื่นๆทั้งสิ้น มีเพียงตำแหน่งเดียวในลิลิตพระลอ ตรงบาท ๔ คำที่ ๔ ที่เสียงสามัญต่ำมาก  จนน้อยกว่าเสียงตรี และใกล้เคียงกับเสียงโท   ที่มากที่สุดอยู่ตรงบาท ๓ คำที่ ๔    ส่วนนิราศนรินทร์เสียงสามัญมากที่สุดตรงบาท ๔ คำที่ ๘ ซึ่งมากอย่างโดดเด่นกว่าทุกตำแหน่งในบทโคลงทั้งสองเรื่องทีเดียวต้ำแหน่งที่น้อยสุดอยู่ตรง บาท ๔ คำที่ ๓ แต่ก็ยังสูงกว่าเสียงอื่นๆ
      เสียงเอก - ลิลิตพระลอสูงตรงบาท ๑ คำที่ ๑ และ ๓  คำที่ ๑ บาท ๒ ละ ๓  นิราศนรินทร์สูงตรงคำที่ ๓ บาท ๑ และ ๔   คำที่ ๑ บาท ๒ และ ๓
      เสียงโท - เป็นเสียงที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดในกลุ่มคำนี้  ลิลิตพระลอมีตำแหน่งเสียงโทสูงมากในบาท ๔ คำที่ ๔ ซึ่งมากเท่ากับอีกสองแห่งรองลงมาคือตรงบาท ๑ คำที่ ๒ และ ๑ รวมกันทีเดียว  ส่วนในนิราศนรินทร์ เสียงโทมากตรงบาท ๔ คำที่ ๓ และ ๔
      สำหรับตำแหน่งที่แทบจะไม่ใช้เสียงโทเลย ในลิลิตพระลอ ได้แก่  บาท ๑ คำที่ ๖   บาท ๒ คำที่ ๓ และ ๔   บาท ๓ คำที่ ๑ ๒ ๔ และ ๖   บาท ๔ คำที่ ๘  ส่วนนิราศนรินทร์ บาท ๑ คำที่ ๓ และ ๖   บาท ๒ คำที่ ๑ และ ๔   บาท ๓ คำที่ ๑ ๔ และ ๖   บาท ๔ คำที่ ๘  น่าคิดว่าการจะให้โคลงฟังรื่นหู ควรระวังเสียงโทในตำแหน่งคำเหล่านี้   
      เสียงตรี - ลิลิตพระลอสูงในบาท ๔ คำที่ ๓ และ ๔  ส่วนนิราศนรินทร์ตรงบาท ๑ คำที่ ๓  และบาท ๔ คำที่ ๔
      เสียงจัตวา - ลิลิตพระลอใช้มากไล่เรียงกันในหลายตำแหน่ง  ที่มากหน่อยคือคำต้นบาท ๓ ๒ ๔ และ ๑ ตามลำดับ  ในนิราศนรินทร์ก็ไล่เรียงกันหลายตำแหน่ง มากตรงบาท ๔ คำที่ ๓   บาท ๓ คำที่ ๒ และ ๖   บาท ๑ คำที่ ๒
      เพื่อให้เห็นภาพเปรียบเทียบของเสียงคำในกลุ่มคำอื่นๆของทั้งสองเรื่อง  จึงสรุปมาเขียนตามผังข้างล่างในแต่ละตำแหน่งคำ โดย 0 - 4 แทนเสียงสามัญ - จัตวา  ล แทน ลิลิตพระลอ  น แทนนิราศนรินทร์  โดยเลือกเอาเสียงที่มีนำหนักมากอันดับต้นๆของแต่ละเสียง เขียนเรียงตามลำดับมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลีย  อย่างเช่น บาท ๑ คำที่ ๑  ที่เขียนว่า ( 2ล1ล3น4ล ) จริงๆแล้วทั้งสองเรื่อง เสียงสามัญมีจำนวนมากกว่าเสียงอื่นๆ แต่ว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของแต่ละเสียงแล้ว เสียงเหล่านี้ที่ในวงเล็บมีน้ำหนักสูงกว่า
( 2ล1ล3น4ล )( 2ล4น )( 3น1น1ล3ล )( อ )( ท ) ..... ( 0ล0น ) ( ส )
( 4ล1น3น1ล )( อ )( 0ล0น )( 0น0ล1ล  )( ส ) ........ ( อ )( ท )
( 4ล1ล1น )( 4น3น0ล )( อ )( 0ล0น )( ส ) .............. ( 4น1น4ล0ล )( อ )
( 2ล4ล )( อ )( 2น3ล4น1น )( 2ล3น3ล2น )( ท ) ..... ( อ )( ท )( 0น0ล )( ส )
อ คือ คำเอก  ท คือ คำโท  ส คือ คำสุภาพ  และในบาท ๑ ตำแหน่ง เอก - โท สลับที่กันได้


      ท้ายนี้เป็นเสียงโคลงในวรรคหน้าที่ซ้ำกันมากที่สุดในสองอันดับแรก
           ลิลิตพระลอ             นิราศนรินทร์
บาท ๑      00022 . . . .          00023 . . . .
            40012 . . . .          30012 . . . .
            30023 . . . .
บาท ๒      01000 . . . .          01000 . . . .
            41000 . . . .          11000 . . . .
                                  01100 . . . .
บาท ๓      00100 . . . .          00100 . . . .
            00200 . . . .          04200 . . . .
บาท ๔      02002 . . . .          01033 . . . .
            02012 . . . .          01102 . . . .
                                  03002 . . . .
ขอจบเพียงเท่านี้  หวังว่าท่านผู้สนใจเรื่องเสียงโคลงจะทำความเข้าใจได้พอสมควร ขอบคุณครับ
.				
comments powered by Disqus
  • เพียงพลิ้ว

    25 มกราคม 2553 10:52 น. - comment id 1090854

    ละเอียดอ่อนดีจังเลยนะคะท่านชาย
    กานต์ค่อยทำความเข้าใจไปเรื่อยๆนะคะ ไม่รีบค่ะ อิอิ
    ตอนนี้กานต์ขอฝึกเรื่องรูปไปก่อนนะคะ
    เรื่องเสียงค่อยๆเป็นค่อยๆไปก่อนนะคะ อิอิ
    
    ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
    
    
    36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif36.gif1.gif
  • กิ่งโศก

    25 มกราคม 2553 10:57 น. - comment id 1090859

    ขอบคุณที่นำเสนอเพื่อการเรียนรู้ครับ
  • ลมแปรแขมร์เลอ

    25 มกราคม 2553 11:00 น. - comment id 1090864

    พระเพื่อนแพงแสร้งทำให้ถลำรัก
    จึงจมปลักหลงนางกลางป่าเขา
    ตามไก่ป่าพระยาเลี้ยงเห็นเพียงเงา
    มนต์เร่งเร้าให้อยากคิดไปชิดนาง..
    
    ...อิอิ..แบบว่า..แต่งไปเรื่อย..จริง ๆ ไม่ทราบมาก่อนครับว่าแต่ละบทประพันธ์มีเอกลักษณ์ในตัวเองขนาดนี้..พออ่านการวิเคราะห์แล้วทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น..ถือเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจทีเดียวครับ
  • nig...

    25 มกราคม 2553 12:43 น. - comment id 1090910

    36.gif
  • ดอกบัว

    25 มกราคม 2553 14:31 น. - comment id 1090924

    บรรจงจับจ่องถ้อย...คำครู
    กลอนกล่าวพระลอตรู....ท่านให้
    ขยายย่อมชมดู....งามยิ่ง  งามนา
    ครวญใคร่ใฝ่ฝันได้...เร่งรู้ซับทรวง
    
    
    สวัสดีค่ะ คุณพจน์รำพัน
    
    ดอกบัวแวะมาศึกษาค่ะเอาไว้ว่างๆ
    ดอกบัวจะมาหัดเรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ
    ขอให้คุณพจน์มีแต่ความสุขในทุกๆวันค่ะ
    36.gif46.gif
  • เฌอมาลย์

    25 มกราคม 2553 16:52 น. - comment id 1090978

    มารายงานตัวก่อน
    เดี๋ยวมาอ่านใหม่ค่ะ11.gif
  • แก้วประภัสสร

    26 มกราคม 2553 10:58 น. - comment id 1091226

    แวะเข้ามาหาความรู้ดีๆค่ะคุณพจน์
    ขอบคุณที่แนะนากันค่ะ
    29.gif29.gif36.gif36.gif11.gif
  • ปรางทิพย์

    26 มกราคม 2553 12:11 น. - comment id 1091248

    อ่านแล้วได้ความรู้ในเรื่องโคลง มากมายค่ะ
    ปรางเข้ามาอ่านสองรอบ  แล้วจะพยายาม
    ผันเรื่องเสียง สิ่งที่คุณเอามาลง ถือว่าเป็น
    เช่นห้องเรียนค่ะ
    36.gif36.gif36.gif
  • พจน์รำพัน

    27 มกราคม 2553 22:58 น. - comment id 1092159

    
    1  36.gif  คุณเพียงพลิ้ว
    ครับ..ดีแล้วครับ  เขียนโคลงต้องใจเย็นๆ
    คราวหน้าจะได้อ่านโคลงเพราะๆของคุณกานต์
    
    
    2  36.gif  คุณกิ่งโศก
    ทบทวนดูแล้ว  ยังมีจุดที่น่าจะเขียนเพิ่มเติมได้อีกบ้าง
    เสร็จแล้วจะลงต่อ ขอบคุณครับ
    
    
    3  36.gif  คุณลมแปรแขมร์เลอ
    ขอบคุณครับ ฝากบทกลอนไว้ให้ด้วย
    ผมเพียงแต่ลองเข้าไปสังเกตดูเฉพาะเรื่องเสียงโคลงเท่านั้นเองครับ
    
    
    4  36.gif  คุณnig...
    ด้วยความยินดีครับ
    
    
    5  36.gif  คุณดอกบัว
    สวัสดีครับ  อ่านดูแล้วชักเข้าเค้าแล้วครับ .. งามยิ่ง  งามนา
    ขอให้คุณดอกบัวมีความสุขเช่นกัน ขอบคุณครับ
    
    
    6  36.gif  คุณเณอมาลย์
    ไม่ได้เขียนโคลงนานแล้ว ระวังสนิมขึ้นนะครับ
    
    
    7  36.gif  คุณแก้วประภัสสร
    ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านครับ
    
    
    8  36.gif  คุณปรางทิพย์
    ผมยังเชื่ออยู่เสมอ ว่าคุณปรางจะเขียนโคลงได้อย่างละเมียดละไมทีเดียว
    ขอบคุณครับ
    
  • โคลอน

    28 มกราคม 2553 10:58 น. - comment id 1092541

    10
    
    486a65f29e3b0.gif
    
    สวัสดีค่ะ อาร์พจน์ 21.gif
    
    แวะมาเยี่ยมเยือนแถมแฮ๊บไข่ติดไม้ติดมือไปล่วย อิอิ 20.gif
  • พจน์รำพัน

    28 มกราคม 2553 15:21 น. - comment id 1092661

    
    10  36.gif  คุณโคลอน
    สวัสดีครับ  ขอบคุณจริงๆที่แวะมา
    เพราะปล่อย คห.10 ไว้ให้คุณฝนโดยเฉพาะเลย  11.gif
  • virismara

    29 มกราคม 2553 14:40 น. - comment id 1093146

    เสียงสวดเสียงบ่นข้าง    หูใคร พี่เอย
    เสียงเพรียกเสียงกู่ใด    แอบอ้าง
    เสียงกรนยามหลับใหล  ลืมตื่น เลยพี่
    เสียงแหบแห้งไปบ้าง    ก่นก้องขับขาน
    
    36.gif ล้อเลียนจะโดนฟ้องไหมนี่ แหะๆ  มาศึกษาเสียงโคลงของอ้ายพจน์เด้อค่า 46.gif
  • พจน์รำพัน

    30 มกราคม 2553 00:31 น. - comment id 1093434

    
    12  36.gif  คุณvirismara
    
    เสียงวอนเสียงออดอ้อน ....... อ้ายเอง   จิ้นเอย
    เสียงกู่เพรียกโคลงเคลง ...... แค่นี้
    เสียงฟี้ครอกโฉงเฉง .......... ใช่พี่  กรนนา
    เสียงแหบนั่นแหละชี้ .......... เช่นเพ้อตะโกนกรน
    
    11.gif  สบายดีนะครับน้องจิ้น
     
  • virismara

    30 มกราคม 2553 22:06 น. - comment id 1093784

    เสียงวอนเสียงพรอดอ้าย...หรือไร นั่นเอย
    เสียงกระซิบอยู่มิไกล.........จากนี้
    เสียงเพรียกจากหัวใจ.......ฤาเอ่ย เลยนา
    เสียงเรียกยามจากลี้..........ห่างไร้ฤาหวน
    
    36.gif ช่วงนี้งานเพลาๆ แล้ว มีเวลาส่งคุณเมล์กับแต่งกลอนบ้างแล้วค่ะ ไม่งั้นหัวฟูเลย อิอิ 46.gif
    จิ้นสบายดี พี่สบายดีนะคะ เดี๋ยวจะส่งคุณเมล์ให้ค่ะ ช่วงยุ่งๆ ไม่ว่างเช็คคุณเมล์น่ะปรากฎว่าปาเข้าไปสามพันกว่าฉบับ อ่านไม่ทันแล้วค่ะ แหะๆ
  • พจน์รำพัน

    1 กุมภาพันธ์ 2553 10:39 น. - comment id 1094318

    ^
    ^  36.gif  ชอบจัง "ห่างไร้ฤๅหวน"
    
    ~ เสียงลมเลือนห่างไร้ ........... ฤๅหวน
    เสียงพร่ำเพรียกครางครวญ ..... คร่ำไหม้
    เสียงใจจ่อมรัญจวน ................. จากพราก
    เสียงอ่อนโหยดั่งไห้ ................. ห่อนรู้คลายหมอง
    
    โอ้ เมล์ 3,000+ มากเกินมากนะนั่น
    

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน