อรหันต์นิพพานเป็นไฉน ดูกรสาธุชนผู้ประเสริฐ ธรรมเลอเลิศกล่าวถึงซึ่งขันธ์ห้า อุปาทานพลันบังเกิดในกายา ล้วนแต่พามาให้หลงใหลกาย ด้วยรูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะ ที่มันจะกระทำกรรมเกิดได้ จักษุหูจมูกลิ้นและกายใจ เป็นเหตุให้ได้กำหนัดสู่กาล อุปาทานขันธ์นั้นเป็นบ่วงห่วงผูกมัด คล้องหมู่สัตว์จัดว่ายในสังขาร สังสารวัฏพลัดพรากล้วนลนลาน เป็นเหตุกั้นพระนิพพานมิพานพบ ปิดความดีทำไว้ไม่ได้อรหันต์ อวิชชามันสร้างสรรค์มิบรรจบ ล้วนหลอกหลอนสิ่งดีมีจนครบ ยกเว้นพบลบชั่วพ้นห่างไกล หากสาธุชนใดได้รู้แจ้ง รู้เหตุแห่งเกิดดับดับเสียได้ คุณโทษอุบายเครื่องสลัดมัดจิตใจ แล้วทำลายยึดมั่นอันสับสน สิ้นแล้วสิ่งผูกมัดรัดรึงจิต ที่มาผลิตปิดบังสร้างกุศล ละสิ้นมิเหลือใยไร้กังวล เบื่อหน่ายจนเจนจบพบอรหันต์ นิพพานนั้นพลันบังเกิดแจ่มแจ้ง จักแสดงแสงอมตะละสังขาร สู่สถานสุขสงบหมดจดในนิพพาน หมดสิ้นกาลเวียนว่ายในภพภูมิ ด้วยผลบุญหนุนเกื้อเมื่อวิสัชนา ขอปัญญาสมาธิศีลพร้อมสุขุม จงบังเกิดแก่สัตว์ในไตรภูมิ เป็นกองสุมให้บุญเกื้อเพื่อพ้นกรรม. ๙๙๙ แก้วประเสริฐ. ๙๙๙
13 กันยายน 2547 16:34 น. - comment id 330373
ไปบวชเถอะค่ะ คุณพี่คงไม่ถึงพรรษาคงจะบรรลุได้นะคะ สาธุ มะยังภันเต.......
13 กันยายน 2547 18:22 น. - comment id 330456
เก่งจัง.. ...อธิบายคำว่านิพพานได้เยี่ยมเลยค่ะ... ^____^
13 กันยายน 2547 19:47 น. - comment id 330540
ชีวิตเรา ทุกคน ดิ้นรนอยู่ เพราะไม่รู้ เป้าชีวิต อยู่ทิศไหน วันนี้อยู่ พรุ่งนี้ มีอะไร อยู่หรือไป มืดมน อนธการ บัดเดี๋ยวถูก เงื้อมหัตถ์ มัจจุราช เข้าพิฆาต เข่นฆ่า น่าสงสาร ใครบรรลุ อมตะ นฤพาน มัจจุมาร ทำอะไร มิได้เลย ฯ มาให้กำลังใจนักเขียนกลอนที่มีคุณภาพ นักปราญช์แห่งพุทธศาสนา เมกนับถือพุทธศาสนา เรื่องนิพพาน เมกรู้เพียงว่า เป็นเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธ และเป็นศาสนาเดียวที่สอนถึงเรื่องนี้ คุณเขียนเรื่องนิพพานได้ดีมากครับ ขอชมเชยมาในที่นี้ด้วย +-*-+-*-+ +-*-+-*-+ปู้ชายอารมดี๊ดี+-*-+-*-+ +-*-+-*-+
13 กันยายน 2547 19:51 น. - comment id 330544
เมกขอให้พื้นที่บ้านคุณแก้วประเสริฐแนะนำธรรมะบทนี้ด้วยนะครับ มีที่ไหนในโลกนี้บ้าง ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง_ไม่มี เจ้าชายสิทธัตถะทำไมจึงออกบวช_จะหาที่ที่ทุกข์เข้าไปไม่ถึง แล้วพบไหม_พบแล้ว อยู่ที่ใด_นิพพาน มีใครตามพระองค์ไปได้บ้างไหม_มากมาย แล้วนิพพานอยู่ที่ไหน_นั่นซิ จึงต้องมาศึกษากัน นิ พ พ า น คื อ อ ะ ไ ร นิพพาน มีคำแปลได้หลายอย่าง เช่น - แปลว่า ความดับ ความสูญ คือดับกิเลส ดับทุกข์ สูญจากกิเลส สูญ จากทุกข์ - แปลว่า ความพ้น คือพ้นทุกข์ พ้นจากภพสาม นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่เจ็บตาย เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นบรมสุข เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายแห่ง อาทิเช่น นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพาน สุขอย่างยิ่ง ม. ม. ๑๓/๒๘๗/๒๘๑ ความเกิดแห่งนิพพานใดย่อมปรากฏ ความเสื่อมแห่งนิพพานนั้นมิได้มี ย่อมปรากฏอยู่โดยแท้ นิพพานเป็นคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิได้มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันอะไรๆ นำไปไม่ได้ ไม่กำเริบ ขุ. จู. ๓๐/๖๕๙/๓๑๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ขุ. อุ. ๒๕/๑๕๘/๒๐๖ โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอันมัจจุถึงไม่ได้ ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด ม. มูล. ๑๒/๓๙๑/๔๒๑ ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น แม้ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้ ฯ วิ. จุลฺล. ภาค ๒ ๗/๔๖๑/๒๒๗ นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว เป็นสุขดีหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ปลอดโปร่ง เป็นที่ที่ความทุกข์ดับไป ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙/๓๐๕ ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใด ผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง นิ พ พ า น นิพพานมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานเป็น ทุกคนที่ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ได้สมบูรณ์ สามารถเข้าถึงนิพพานนี้ได้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังเป็นๆ อยู่เป็นนิพพานของพระอริยเจ้าผู้ละกิเลสได้แล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลกต่อไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้านิพพานเป็นนี้ได้ เมื่อวันที่พระองค์ตรัสรู้ นิพพานเป็น เป็นเหมือนหลุมหลบภัยในตัว เรามีทุกข์โศกโรคภัยใดๆ พอเอาใจจรดเข้าไปในนิพพาน ความทุกข์ก็จะหลุดไปหมด จะตามไปรังควาน ไปบีบคั้นใจเราไม่ได้ พระอรหันต์มีใจจรดนิ่งในนิพพานตลอดเวลา จึงไม่มีทุกข์อีกเลย ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน เรียกว่า นิพพานตาย เป็นเหตุว่างนอกภพสาม ผู้ที่หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เมื่อเบญจขันธ์ดับ (กายเนื้อแตกทำลายลง) ก็จะเข้าถึงอนุปาทิเสสนิพพานนี้ ผู้ ที่ ส า ม า ร ถ ท ำ นิ พ พ า น ใ ห้ แ จ้ ง ไ ด้ ผู้ที่จะทำนิพพานให้แจ้งได้ก็คือ พระอริยบุคคลทุกระดับ ทั้งพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน รวมทั้งโคตรภูบุคคล บางท่านอาจนึกสงสัยว่า ก็เห็นบอกว่า ผู้ละกิเลสได้แล้วจึงจะเข้านิพพานได้ แล้วตอนนี้มาบอกว่า โคตรภูบุคคลซึ่งยังไม่ได้หมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็เข้านิพพานได้ จะไม่เป็นการขัดกันเองหรือ คำตอบคือ ไม่ขัดกัน เพราะโคตรภูบุคคลนั้น เมื่อเอาใจจรดเข้าพระนิพพาน ขณะนั้นก็หมดทุกข์ กิเลสทำอะไรไม่ได้ แต่ทว่าใจยังจรดอยู่ในนิพพานได้ไม่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ใจถอนออกมาก็ยังต้องมีทุกข์อยู่ เหมือนตัวของเรา ถ้าหากเป็นแขกรับเชิญไปเที่ยวพักผ่อนยังปราสาทใหญ่ ระหว่างที่พักอยู่ในนั้นก็มีความสุขสบาย แต่ก็อยู่ได้ชั่วคราวเพราะยังไม่ได้เป็นเจ้าของเอง เมื่อไหร่ครบกำหนดกลับ ก็ต้องออกจากปราสาทมาสู้เหตุการณ์ภายนอกใหม่ โ ค ต ร ภู ญ า ณ เ ห็ น นิ พ พ า น ไ ด้ แ ต่ ยั ง ตั ด กิ เ ล ส ไ ม่ ไ ด้ ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณจะเห็นนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลสอันเป็นกิจที่ต้องทำ สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย เล่ม ๓ หน้า ๑๑๕ โ ค ต ร ภู ญ า ณ ล ะ กิ เ ล ส ไ ด้ ชั่ ว ค ร า ว การละภาวะที่มีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่า ตทังคปหาน (ละชั่วคราว) ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอิติวุตตกะ หน้า ๔๓ ตั ว ข อ ง เ ร า จ ะ เ ข้ า นิ พ พ า น ไ ด้ ห รื อ ไ ม่ ? คำตอบคือ ได้ โดยจะต้องตั้งใจเจริญภาวนาไปจนเข้าถึงโคตรภูญาณ เป็นโคตรภูบุคคล จากนั้นฝึกต่อไปจนเข้าถึงภาวะความเป็นอริยบุคคลที่สูงขึ้นไปตามลำดับ ก็จะเห็นอริยสัจจ์ และทำนิพพานให้แจ้งได้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น ในที่สุดก็จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งไม่ยากจนเกินไปที่เราจะปฏิบัติได้ เพราะถ้ายากเกินไปแล้ว คงไม่มีพระอรหันต์เป็นล้านๆ รูปในสมัยพุทธกาล ถ้านิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปได้พระองค์เดียว คนอื่นไปไม่ได้เลย ก็จะบอกว่ายาก แต่จริงๆ แล้วมีผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ตั้งใจฝึกสมาธิจนเกิดปัญญาเข้านิพพานได้มากมาย แสดงว่าไม่ยากจนเกินไป แต่แน่นอนก็คงไม่ง่าย เพราะถ้าง่ายเราก็คงเข้าไปตั้งนานแล้ว เพราะฉะนั้นตั้งใจฝึกตัวเองกันเข้า วันหนึ่งเราก็จะเป็นคนหนึ่งที่ทำได้แล้วเข้านิพพานได้ ตอนนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่ายังไม่ได้ทำต่างหาก อย่าเพิ่งไปกลัว อย่าไปท้อใจเสียก่อนว่าจะทำไม่ได้ ถ้าทำจริงแล้วต้องได้ อ า นิ ส ง ส์ ก า ร ท ำ นิ พ พ า น ใ ห้ แ จ้ ง ๑. ทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๒. ทำให้จิตไม่โศก ๓. ทำให้จิตปราศจากธุลี ๔. ทำให้จิตเกษม ฯลฯ ไฟใดเสมอด้วยราคะไม่มี โทษใดเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์ใดเสมอด้วยเบญจขันธ์ไม่มี สุขใดเสมอด้วยความสงบไม่มี ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ขุ. ธ. ๒๕/๒๕/๔๒ +-*-+-*-+ +-*-+-*-+ปู้ชายอารมดี๊ดี+-*-+-*-+ +-*-+-*-+
13 กันยายน 2547 20:26 น. - comment id 330568
คืนนี้หลับสบาย เพราะได้อ่านผลงานดีๆ แวะมาฝากความคิดถึงค่ะ
13 กันยายน 2547 20:44 น. - comment id 330582
มาอีกรอบเพื่อขอเก็บไว้เป็นความรู้นะคะ
13 กันยายน 2547 22:33 น. - comment id 330686
คุณ คนเมืองลิง ขอบคุณครับที่จะให้ผมไปบวช แต่ว่าผมเองทราบดีว่าจิตของผมยังไม่ถึงขั้นที่จะเข้าถึงแก่นอันแท้จริงได้ เพียงแค่ทำได้เท่าที่สามารถทำได้ครับ ยังข้องแวะในโลกีย์วิสัยอยู่และไม่อยากให้ศาสนาเปื้อนหรือด่างพร้อยในมลทินหากเกิดผิดพลาดขึ้นมาเป็นบาปกรรมอย่างมหันต์ยิ่งกว่าปุถุชนธรรมดาเสียอีก การใดรู้ การใดควร เราต้องทราบโดยจิตของเรา ใครจะบอกอย่างไร ใครจะชมอย่างไร ใครจะชี้แสดงอย่างไรเราต้องมาพิจารณาโดยจิตในจิตเสียก่อนถึงจะได้รับรู้ว่า สิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควรครับ อย่างไรก็ตามขอขอบคุณคุณคนเมืองลิงมากนะครับ ผมเพียงแต่แสดงไว้ให้สาธุชนทราบเพื่อบางครั้งอาจจะขัดเกลาจิตได้บ้างไม่มากก็น้อย ครับ แก้วประเสริฐ .
13 กันยายน 2547 22:34 น. - comment id 330689
คุณ namsai ขอบคุณนะครับเอาเท่าที่ผมรู้นะครับ ยังไม่เก่งหรอกครับ แก้วประเสริฐ.
13 กันยายน 2547 22:45 น. - comment id 330708
คุณ เมกกะ ผมขอบอกว่าผมแค่งูๆปลาๆเท่านั้นยังไม่ถึงขั้นที่คุณยกย่องหรอกครับ เชิญเลยครับผมยินดีเสมอ ที่คุณยกมาแสดงวิสัชนาไว้ยอดเยี่ยมเลยครับ เพื่อจะให้คนที่ไม่ทราบได้ทราบไว้ครับ เมื่อพูดถึงนิพพานนั้นคุณได้แสดงเอาไว้ถูกต้องที่สุดแล้วครับ ว่านิพพานมีสองอย่างคือนิพพานเป็นและนิพพานตาย แล้วผมจะไม่พูดมากนะครับ เพียงแต่จะเน้นถึงคำว่า โคตรภูบุคคล ที่สามารถเข้านิพพานได้ชั่วคราวแต่ไม่ถาวร การเข้าดังกล่าวนั้นผู้ที่จะเข้าได้ถึงแม้ไม่ได้สำเร็จอรหันต์ก็ตาม แต่ผู้ที่ปฏิบัติธรรม โดยสมถกรรมฐานเข้าถึงวิปัสสนากรรมฐาน มี ฌาน และญาณทัสสนะ ได้มั่นคงก็สามารถเข้าได้ครับ ที่ผมจะพูดนี้ก็คือ นิโรธสมาบัติ เป็นการเข้านิพพานได้ชั่วขณะทุกข์กิเลสทั้งหลายจะเข้าไม่ถึงแก่ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ พูดง่ายๆคือนิพพานเบื้องต้นนั่นเองครับ หากผู้ที่เข้าได้ย่อมบังเกิดความสุขสงบสงัดปราศจากซึ่งสภาวะกิเลสทั้งปวงโดยสิ้นเชิงครับตามที่ผมรู้มานะครับ อาจจะผิดพลาดไปก็ได้คุณลองค้นคว้าหาให้ด้วยนะครับ แล้วขอความกรุณาแจ้งให้ผมทราบอีกที ขอบคุณล่วงหน้าครับ แก้วประเสริฐ.
13 กันยายน 2547 22:47 น. - comment id 330712
คุณ นางฟ้าซาตาน ขอบคุณนางฟ้ามากนะครับที่แวะมาอ่าน แล้วทำให้คุณหลับสบาย ขอบคุณมากอีกครั้งครับ แก้วประเสริฐ.
13 กันยายน 2547 22:48 น. - comment id 330716
คุณ คนเมืองลิง บ้านนี้ยินดีเสมอครับกี่รอบก็ได้ต่อไปหากสนใจเกี่ยวกับธัมมะก็แวะมาได้นะครับเพราะจะมีแสดงไว้เสมอๆแหละครับอาจจะสลับเรื่องอื่นบ้างคลายเครียดที่มารับอารมณ์ที่หนักครับ แก้วประเสริฐ.
13 กันยายน 2547 23:38 น. - comment id 330770
มาทักทายกับกลอนให้แง่คิดค่ะ .............................................. ลี่...ผู้มาเยือน .
14 กันยายน 2547 00:04 น. - comment id 330794
คุณ ลี่.......ชวนมาเยือน ขอบคุณครับ สบายดีหรือครับคิดถึงแล้วแวะมาใหม่นะครับ แก้วประเสริฐ.
14 กันยายน 2547 00:48 น. - comment id 330827
หากเรานั้นทำจิตให้สงบ แล้วจะพบทางสว่างกระจ่างใส แม้นยามท้อหากมุ่งมั่นฝ่าผองภัย ก็จงใช้สติรับกับปัญญา *-*แต่งได้ดีมากๆๆๆๆเลยค่ะ*-*
15 กันยายน 2547 12:39 น. - comment id 331857
คุณ ผุ้หญิงไร้เงา กรรมนั้นเกิดขึ้นได้ในไตรภพ ที่บรรจบครบรอบมาเกื้อหนุน มีดีชั่วคลุกเคล้าเข้าเกื้อกูล อยู่รอยบุญบาปกรรมที่ทำมา หากจิตนั้นพลันกำหนดยึดมั่น แล้วสร้างสรรขันกรอบสติหนา มิเดินทางเร่ร่อนย้อนวนพา สร้างตัณหามาให้ได้วกวน อันสิ่งใดละได้ควรให้แจ้ง กำหนดแสดงแห่งจิตมิสับสน นำปชัญญะรู้ไว้ในกายตน คลุกเคล้าจนรวมไว้เป็นหนึ่งเดียว เมื่อสติสัมปชัญญะรวมไว้จะได้รู้ สิ่งที่อยู่หรือดับลับมันคดเลี้ยว ของกฏกรรมนำแสดงเป็นเกลียว หัวใจเดี่ยวตัดให้ได้ในผองกรรม. แก้วประเสริฐ. ขอบคุณมากครับท่านผู้หญิงฯ
15 กันยายน 2547 20:39 น. - comment id 332087
คุณแก้วประเสริฐเข้าใจได้ถูกต้องแล้วครับ เมกว่างเมื่อไหร่ จะหาข้อมูลสำหรับอ้างอิงอีกครั้งครับ เมกเคยอ่านเจอในพระไตรปิฏก คิดว่าคุณเข้าใจได้ถูกต้องแล้ว
16 กันยายน 2547 10:03 น. - comment id 332395
คุณ เมกกะ ครับขอบคุณมากครับผมจะคอยครับ คุณนี่เก่งนะครับผมไม่คิดเลยว่าคุณจะเชี่ยวชาญเรื่องธัมมะเพราะอ่านงานคุณแล้วเห็นว่ายังลุ่มหลงกับนารีมากซ้ำรูปหล่อ ปากหวานเสียอีก ยังเคยสอนผมเรื่องกับผู้หญิงให้ผมไว้ด้วยแต่ผมเองไม่ได้เอาไปแสดงหรอกครับ เกรงใจตัวเองครับ แต่ก็ถือว่าคุณมีน้ำใจแก่ผมครับ เท่านี้ก่อนนะครับผมจะคอยคุณอยู่ครับ แก้วประเสริฐ.
24 กันยายน 2547 01:36 น. - comment id 337112
เรียงร้อยถ้อยความได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ ทำให้คนได้กระจ่างอย่างนี้กุศลแรงนะคะ ชื่นชมค่ะ ข้าพเจ้ามาทักทายคุณแก้วประเสริฐ....
27 กันยายน 2547 16:56 น. - comment id 339235
คุณ แว่นดอย ผมเองก็พยายามสร้างกุศลไว้ให้ผมเองและคนอื่นเสมอมาเท่าที่ความสามารถผมจะทำได้ครับ ขอบคุณครับ แก้วประเสริฐ.