คอนพะเพ็ง มะกัน

ฤกษ์ ชัยพฤกษ์

สายนทีรี่ไหลมาล้นหลั่ง
โถมประดังชำแรกแทรกแก่งหิน
สารพัดกีดขวางต้องพังภินท์
ดังโครมครืนได้ยินไปแสนไกล
เสียงน้ำตกผกโผนโยนลงต่ำ
มหาศาลทั้งแม่น้ำเป็นม่านใส
ละอองฟองฟุ้งปลิวพลิ้วยองใย
ต้องแสงใสดวงสุรีย์เหมือนมีมนต์
เหล่ามัจฉาร่าเริงแฉลบเล่น
โดดกระเด็นทวนท่องล่องเผ่นโผน
กระแสสินธุ์ลิ่วไหลไกวปลาโจน
น้ำหลั่งล้นเหมือนทะเลละลานตา
เขาโขดเขินกั้นขวางทางสายน้ำ
พิลาศล้ำทิวทัศน์คราววรรษา
พิรุณโปรยอาทิตย์ส่องดังทองทา
เมื่อได้มาเยี่ยมยามงามเหลือใจ
The  Great  Falls  of  Potomac  River
				
comments powered by Disqus
  • Robert TingNongNoi

    5 สิงหาคม 2547 09:56 น. - comment id 306406

    
       บรรยายความงามออกมาจนเห็นภาพพจน์
    ได้ชัดเจนจะแจ้ง   แต่ก็คงไม่อยากไปสัมผัส เพราะไม่แน่ใจว่าว่า    ลำน้ำคอนพะเพ็งของ
    ลาวนั้น  จะงามได้ทัดเทียมกับตัวอักษรที่ถูก
    จำเนียรลิขิตออกมาหรือไม่ ผมใคร่จะรู้๚ะ๛
    
    size>
  • แก้ม .. ป่อง

    5 สิงหาคม 2547 10:00 น. - comment id 306410

    ง่าๆ .. อิจฉา .. ตาเป็นประกาย .. ระยิบระยับ
    
    อยากไปเที่ยวมั่งจังค่ะพี่ฤกษ์ .. อยากดูรูปอ่ะค่ะ
    
    อยากเห็นๆ .. อิอิ ..
    
    แวะมาทักทาย .. ยามเช้าค่ะ   
    
    
    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥    ♥     ♥
    
    
    
    ¤ ¤   KËÅM _ PÖÑG¹   ¤ ¤
    
    
    
    
  • ฤกษ์ ชัยพฤกษ์

    5 สิงหาคม 2547 10:03 น. - comment id 306414

    คอนพะเพ็ง -- หลี่ผี  ของชาวมะกัน
    
    คุณชัยชนะ  พานิราศคอนพะเพ็งของเมืองลาว คราวนี้มาดูคอนพะเพ็งของชาวอเมริกันบ้าง  แม่น้ำโปโตแมค ทั้งสายวิ่งมาเจอภูเขาเตี้ยก็ซอกซอนแยกแยะออกเป็นเหมือนรากไม้กระจายเป็นร่างแหไหลลงที่ต่ำเกิดเป็นน้ำตกใหญ่น้อยมากมายเสียงดังสนั่นหวันไหวได้ยินไปไกล บริเวณแม่น้ำใหญ่เป็นน้ำตกเตี้ย ๆกว้างสุดลูกตา ทุกแยกย่อยก็ดิ่งลงมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่อีกครั้งไหลผ่านจอร์ชทาวน์ และวอชิงตัน เขาเรียกชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า The Great Falls of
    Potomac River 
    
    แม่น้ำบริเวณน้ำตกนี้เป็นเขตกั้นระหว่างรัฐเวอจิเนียใต้ กับ แมรี่แลนด์ ด้านของแมรี่แลนด์ที่ไปดูมีการพัฒนาสร้างทางเดินเป็นสะพานเดินเที่ยวยาวมากข้าม ทางน้ำแยกย่อยผ่านป่าเขาแนวน้ำตกเล็ก ๆไปจนถึงน้ำตกใหญ่ฝั่งตรงข้ามเป็นด้านของเวอรจิเนียใต้ซึ่งยังไม่ค่อยได้รับความสนใจพัฒนาจึงไม่มีคนไปเที่ยว
    
    เวลาน้ำมากหลากล้นจะสวยงามมากใครที่เคยไปดู คอนพะเพ็ง กับ หลี่ผี มาก็จะนึกภาพออก สภาพแห่งนี้จึงเป็นอุปสรรคไม่สามารถขนส่งผ่านได้อเมริกันก็หมดปัญญาเหมือนกับฝรั่งเศษ หมดปัญญาจะระเบิดคอนพะเพ็ง แม้จะทำทางรถไฟขนส่งให้พ้นคอนพะเพ็ง ก็ใช้ได้เพียงเล็กน้อยจึงไม่สามารถกอบโกยทรัพยากรของลาวไปได้เท่าที่ควร แต่ชนอเมริกัน คิดวิธีที่แยบคาย สามารถขนส่งทรัพยากร ส่วนใหญ่เป็นถ่านหินมาจากรัฐโอไฮโอ มาจนถึงเมือง จอร์ชทาวน์ตรงอ่าวเชสปีคซ์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยนั้นได้ โดยใช้แรงคนและม้า ลองตามมา จะเล่าให้ฟัง
    
    The Chespeake and Ohio Canal   เรียกสั้น ๆ ว่า C&O  Canal
    
    ในช่วงปลายศตวรรตที่ 18 อเมริกากำลังปฏิวัติอุสาหรรมกันยกใหญ่ บริเวณที่กำลังรุ่งเรืองก็แถบใกล้เคียงกรุงวอชิงตันรือเวอร์จิเนียกับแมรี่แลนด์ วัตถุดิบต่าง ๆตลอดจนถ่านหินมีอยู่มากที่รัฐโอไฮโอการขนส่งตามแม่น้ำโปโตแมคทำไม่ได้เพราะสิ่งกีดขวางรวมถึง คอนพะเพ็งที่เล่ามาด้วย ชนอเมริกัน จึงร่วมมือกันขุดคลองประวัติศาสตร์นี้ขึ้นด้วยแรงคนความยาว 184 ไมล์ จากอ่าว เชสปีคศ์ที่ จอร์ชทาวน์ของวอชิงตันไปถึง เมืองCumberland รัฐโอไฮโอ  ขนานไปกับแม่น้ำโปโตแมคด้านรัฐแมรี่แลนด์จนถึงต้น ศตวรรตที่ 19จึงสำเร็จใช้งานอยู่หลายสิบปี จนความเจริญด้านรถไฟก่อสร้างใช้งานขึ้นจึงทิ้งร้างไป จนถึงปี 1950 จึงได้ทำการสำรวจ และจัดตั้งหน่วยงาน ดูแลเป็นอุทยานประวัติศาสต์ในอีก 17ปีต่อมาได้ไปชมคลองประวัติศาสต์นี้ที่บริเวณNational Historical Park ของรัฐแมรี่แลนด์ ตัวคลอง กว้างประมานสิบเมตรมีประตูน้ำเป็นช่วง ๆ เปิดปิดประตูน้ำโดยแรงม้าดึง การขนส่ง ใช้เรือ บรรทุกแล้วใช้มม้าลากเดินไปตามชายคลอง สภาพคลองที่รักษาไว้เหมือนเดิมมากมีทางเดินของม้าเก่าเดี๋ยวนี้เป็นทางท่องเที่ยวโดยจักรยาน เรือ อนุรักษ์ไว้ มีหลังคายาวประมา สิบเมตรเศษกว้างประมาณสี่เมตรมีหางเสือทั้งทางหัวทางท้าย เพราะลากกลับไปกลับมาไม่ต้องกลับลำ ต้องทดน้ำให้เสมอแล้วลากเรือไปเป็นช่วง ๆ ระยะทาง 184ไมล์คงลำบากลำบนน่าดู
  • tiki

    5 สิงหาคม 2547 10:21 น. - comment id 306428

    งามมากค่ะ คุณฤกษ์ ขอบคุณที่ไปแวะเยี่ยมกลอนค่ะ
  • เมกกะ

    5 สิงหาคม 2547 11:23 น. - comment id 306459

        สวัสดีครับท่านพี่ฤกษ์
    
    อือหืออออ แม่น้ำนี้อยู่ไกลป่ะครับ 
    ชักอยากจะปัยซะแล้วอิอิ  
    คำคมคารมดีเช่นนี้อ่ะนะ
    สาวแก่แม่หม้ายจึงติดกันหง่อมแหงม
    ส่วนสาวน้อย  เมกขอหล่ะกัน  ฮิๆๆๆ
    
    
    เมกขอเก็บไว้ที่หน้าส่วนตัวด้วยนะครับ
    ชอบอ่ะครับ ชอบจริง ๆ
    
     ll๛เมกกะ๛ll ~*~ ll๛ผู้ชายอารมณ์ดี๛ll 
    
    
  • ผู้หญิงสีม่วง

    5 สิงหาคม 2547 12:03 น. - comment id 306477

    เหมือนได้เกาะหลังคุณฤกษ์ไปเที่ยวด้วยเหมือนเดิม ..
    
    ว่าแต่ว่า .. หนักมั๊ยเอ่ย...อย่าทุ่มทิ้งลงน้ำนะคะ .. อิอิ
    
    ไปละค่ะ .. งานเย๊อะ.....
    
    ........................
    
    
  • นางสาวใบไม้

    5 สิงหาคม 2547 12:07 น. - comment id 306483

    
    ภาษาสวย...มากกกก
    อืม...เรียกว่า.....อะรายยยน้า
    บรรยายได้เห็นภาพ...น่ะ
    ขอไปเปิดตำราก่อนนะคะ
    ว่าเค้าเรียกว่า....อะไร...(น้ออออ)
    แล้วจะมาเม้นต์ใหม่อีกรอบค่ะ
  • กุ้งหนามแดง

    5 สิงหาคม 2547 12:12 น. - comment id 306487

    คอนพะเพ็งเพื่อนบ้านเราน้ำขุ่นๆ น่ะ แล้วคอนพะเพ็งมะกันน้ำขุ่น บ่..
    ..
    แค่อยากรู้น่ะ..อิ อิ.
  • Sandsun..........^๐^..........

    5 สิงหาคม 2547 12:27 น. - comment id 306506

    ขอบอก ขอบอก
    อิอิ ไม่เคยไปลาวด้วย
    แต่ดีครับ เป็นข้อมูลไว้
    
    
  • อัลมิตรา

    5 สิงหาคม 2547 13:05 น. - comment id 306530

    ที่คุณฤกษ์บอกว่า เหมือนหลี่สาว เอ๊ย เหมือนหลี่ผีของคุณชัยชนะ คุณฤกษ์ไปหลี่สาว เอ๊ย หลี่มะกัน ด้วยหรือเปล่า คะ
  • ลี่...ชวนมาเยือน

    5 สิงหาคม 2547 13:17 น. - comment id 306538

    ชอบเรื่องนี้มากเลยค่ะคุณฤกษ์  เล่าได้น่าสนใจดีค่ะ
    
    เคยเห็นรูปคอนพะเค็ง และ หลี่ผี ที่ลาวแล้ว
    เสียดายไม่ได้เห็นของชาวมะกันบ้าง
    
    วิธีลงรูปส่วนตัว...คุณฤกษ์ใช้คลิกเลือกปุ่มตรงหัวข้อ  *ใส่รูปภาพส่วนตัว*
    
    แล้วกดปุ่มคำสั่ง browse  เพื่อเลือกไฟล์ของเราเองนะคะ
    
    ที่สำคัญ...ไฟล์ของเราจะต้องย่อขนาดของภาพให้ได้ไม่เกิน 240 pixel
    และขนาดไฟล์ก็ต้องไม่เกิน 50k
    ใช้โปรแกรม photoshop แต่งภาพเอานะคะ
    เวลา save file ก็ให้เลือกโหมด save เป็น
    *save for web*  จะได้ขนาดภาพที่เล็กลงค่ะ
    
    ลองดูนะคะ  ถ้าสงสัยถามมาได้ค่ะ  (แบบว่าอยากเห็นรูปน่ะค่ะ)
    ...................................................................................................
    ลี่...ผู้มาเยือน
    .
  • =_+ VeNuS +_=

    5 สิงหาคม 2547 13:59 น. - comment id 306570

    แวะมาอ่านเรื่องดีดีค่า...
    
    วีนัสก่ะเจ้า..
  • พี่ดอกแก้ว

    5 สิงหาคม 2547 14:12 น. - comment id 306573

    กระแสสินธุ์เร่งไหลใส่มัจฉา
    กระแทกปลากระโจนโผนเหนือน้ำ
    กระทบใจให้จับจ้องและมองตาม
    กระเทือนความประทับใจในผืนชล
    
    ขอดูภาพบ้างสิ..
    
    
    
  • ผู้หญิงไร้เงา

    5 สิงหาคม 2547 16:05 น. - comment id 306633

    ขอดูรูปหน่อยได้ไหมเล่าคุณฤกษ์
    จะได้เบิกตาเห็นเช่นหลักฐาน
    แต่ยอมรับอักษราพาตำนาน
    ที่สืบสารมองเห็นเช่นรูปเลย
    
    *-*กลอนไพเราะมากๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ ยังไงก็ลงรูปให้ดูเป็นขวัญตา แต่ถ้ารูปนั้นมีคุณอยู่ด้วยคงดีนะค่ะ อิอิ จะได้นำมาเป็นขวัญใจใครต่อใครซะเลย อิอิ อ้อ วิธีลงรูปดูจากคำอธิบายของคุณลี่..ผู้มาเยือนนะค่ะ*-*
  • ลอยไปในสายลม

    5 สิงหาคม 2547 17:09 น. - comment id 306680

    เพราะดีค่ะ
  • ดาหลา

    5 สิงหาคม 2547 17:17 น. - comment id 306686

    อิอิ...เมื่อวานคุณฤกษ์พาเที่ยวทำเนีบยขาว..วันนี้พาเที่ยวน้ำตก...อิอิ...สวยนะสวยอยู่นะค่ะ..แต่ไม่เห็นเลี้ยงข้าวเลย...พาเดินซะเมื่อยเลย..หิวน้ำจะแย่อยู่แล้วววววค่ะ...อิอิ......(แหะๆๆดาหลาล้อเล่นนะค่ะ)....อิอิ..อย่าลืมลงรูปให้น้องหญิงดูด้วยนะค่ะ...อิอิ...
  • ราชิกา

    5 สิงหาคม 2547 18:29 น. - comment id 306748

    แวะมาเที่ยวน้ำตกค่ะ...อยากดูรูปน้ำตกนะ..แต่ไม่อยากดูรูปคุณฤกษ์..( เก็บไว้ให้สาวๆก็แล้วกัน..อิอิ)...ขอแซวหน่อยค่ะ...
    
    .
  • ผู้เฒ่า...โง่งม

    5 สิงหาคม 2547 19:22 น. - comment id 306776

    มาอ่านคุณฤกษ์..ถ้าได้ดูรูปด้วยน่าจะดีอย่างว่า..
    สวัสดีครับ..
  • ชัยชนะ

    5 สิงหาคม 2547 22:50 น. - comment id 306930

    ดีใจด้วยครับที่คุณฤกษ์ ยังไม่เลิกเล่าเรื่องเมริโกย 
    
    อยากดูภาพประกอบ เหมือนกับเพื่อน ๆ ครับ
    ไม่ทราบว่ามีภาพสาว เฮ้ย!คอนพะเพ็งมะกันมาให้ยลโฉมหรือเปล่าจะเข้าทีมากครับ
    
  • เจ้าสาวแห่งโลกวิญญาณ

    7 สิงหาคม 2547 13:21 น. - comment id 307996

    พี่ฤกษ์ไปที่ไหนมีกลอนเพราะๆมาฝากทุกที
    แวะมาทักทายค่า
  • ฤกษ์ ชัยพฤกษ์

    7 สิงหาคม 2547 22:49 น. - comment id 308248

    ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมครับ
  • ฟา

    22 ตุลาคม 2547 16:19 น. - comment id 355877

    แวะ...
    
    เอาฉมวกมาแทงปลา
    
    

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน