To be or not to be The thought's clinging within me When will it go or to set free? Desire, Hatred and Delusion are spreading spree However, whoever may touch, smell, taste, hear and see To be or not to be Happiness, hardship; outcomes of the deeds come consequently Birth, death, rebirth, re-death are rolling to eternity When can we go and set free? Heavenly living is most people's wish and plea But, human being could rebirth as a flea To be or not to be Friends, lovers 'n families bind through the knees Passion, pride, love, fortune, prestige 'n praise tie through "me" How will they go and let "me" free? Eight noble paths were disclosed to all thee Mindfulness, selflessness will lead all to glee To be or not to be Then all may go and set free ...
1 กุมภาพันธ์ 2556 13:49 น. - comment id 967886
ต้องแกะ แงะ อะครับลุงดาว เรียกว่า กลอน รี ได้ไหม เพราะลงสระอี อะครับ
1 กุมภาพันธ์ 2556 14:38 น. - comment id 976338
ขอบคุณครับ คุณนู๋แบม To be or not to be เป็นคำที่ฮิทมากจากบทละคร Hamlet ของ เชคเสปียร์ สมัยมัธยม เคยเรียน และท่องเป็นบทอาขยาน แต่เหลือความจำได้แค่ To be or not to be อิอิ มีหนังเรื่องหนึ่ง จับเอาตอนนี้เป็นไคลแม็กของเรื่อง เป็นฉากในโรงละครที่เล่นเรื่อง แฮมเล็ท เมื่อถึงบทที่พูดว่า "To be or not to be...." เป็นสัญญาณให้สังหารเป้าหมายที่ชมละครอยู่... ชอบคำนี้มาก เลยจับเอาแต่งซะเลย ขอบคุณครับคุณปู่กิ่งที่มาชม ต้องขอบคุณ คุณ ศิวสิโรมณื ที่นำบทลำนำอันสละสลวยของเธอ มานำเสนอ พร้อมทั้งบอกรายละเอียดรูปแบบ คล้ายๆกลบทของเรา ยั่วเย้าให้อยากลองแต่งเล่นดูบ้าง น่าสนใจดีนะครับ
1 กุมภาพันธ์ 2556 02:38 น. - comment id 1254518
โห ลุงดาว สวดยอด ตราบใดที่หัวใจมีกลอนกานท์ ภาษาใดก็งดงามได้เสมอ
1 กุมภาพันธ์ 2556 07:59 น. - comment id 1254530
แว๊กกก.... เป็นบทกวี ที่กว่าจะเก็ท อ่ะลุงท่าน นั่งแปลความได้ ต้องถอดความอีก... ความหมายดีมากกกกก.... แต่เดี๋ยวก่อน ..... set free นี่หมายฟาร์มว่า คิดเฉพาะซอย ชิมิ ลุงท่าน อุ๊ย... ล้อเล่นๆ จร้า ลุงดาว สบายดีนะขอรับ...
1 กุมภาพันธ์ 2556 10:38 น. - comment id 1254539
อาคุงยา น่าจะเม้นตอนเช้ามืดตอนได้ที่ ก่อนเข้านอน อิอิ ตีสองนี่เครื่องคงยังไม่ร้อน ไม่งั้น กลอนปะกิต คงออกมาแล้ว ขอบคุณที่ชม (กว่าจะแต่งออกมาได้ ต้องใช้กำลังสมองเกินปรกติมากเชียว) อาคุงกี ล้อเล่งได้ชงัดจีงจีง คิดได้ไงเนี่ย ระวัง ร้านเสิมสวยจาคาโมยไปทำโปรโมชั่น เซ็ทฟรี (แบบ ที่ร้านให้ free wifi) แต่ สระ ซอย ดัด ตัด ราคากันเอง (กันเอาเอง อิอิ) ขอบคุณที่มาคุ้ยแคะแกะเกานะครับ
1 กุมภาพันธ์ 2556 13:09 น. - comment id 1254552
คาราวะ เป็นบทกวีที่เยี่ยมมากค่ะคุณอา เป็นหรือไม่เป็น... มีหรือไม่มี.. ความรู้สึก นึกคิดพาไปทั้งนั้นค่ะ..
2 กุมภาพันธ์ 2556 10:04 น. - comment id 1254595
อีกหนึ่งลีลา อักษรารำพัน.. สวัสดีวันหยุดจ้า สุขอย่าได้สร่าง
2 กุมภาพันธ์ 2556 13:38 น. - comment id 1254599
เย้ๆ มีคนแต่ง Villanelle เป็นเพื่อนแล้ววววว~ แจ่มเลยค่ะ เอาธรรมะมาแต่ง ดีใจสุดยอดตอนอ่านกลอนนี้ ไม่คิดว่าจะมีคนมาแต่งตอบ ขอบคุณค่าาา~ ปล. อ้อ มณิ สระอินะค้าาา~
2 กุมภาพันธ์ 2556 22:34 น. - comment id 1254611
ขอบคุณครับ คุณคอนฯ/ท่านฯธร ก็ปล่อยอารมณ์กันไปตามลีลาอัษรา นะครับ สวัสดีวันนี้ไม่หยุดครับ (หยุดวันอาทิตย์ อิอิ) ขอบคุณอีกครั้งนะครับ คุณ ศิวสิโรมณิ (ขออภัย ที่ไม่ละเอียดพอ เพราะนึกเอาตามความเคยชินในมณี) กลอนกลบทฝรั่งนี่คงมีไม่มากเท่าไทยเรานะครับ ภาษาแท้เป็นคำโดด จึงเล่นสัมผัสและพลิกแพลงได้ง่ายกว่ามาก เรียนทางภาษาศาสตร์ก็สนุกดีนะครับ
3 กุมภาพันธ์ 2556 00:44 น. - comment id 1254623
แวะมาสวัสดีค่ะ ได้อ่านบทนี้แล้วซึ้งไปอีกนาน
4 กุมภาพันธ์ 2556 11:37 น. - comment id 1254627
ง่าาา~ ไม่ค่อยยอดเท่าไหร่มั้งคะ เด็กวิทย์หัวใจศิลป์ มันแอบตีกันนิดๆ ต้องเรียนรู้อีกเยอะค่ะ ฮิๆๆ ศึกษาจากการอ่านกลอนทั้งหลายของเหล่าอาจารย์ในบ้านกลอนนี่แหละ เยี่ยมที่สุด เข้ามาอ่านทีไร ได้แรงบันดาลใจแต่งกลอนใหม่ทุกที
3 กุมภาพันธ์ 2556 09:13 น. - comment id 1254641
นานๆ มาที ก็ยังแจ่มเหมือนเดิมน่ะลุงดาว :)
3 กุมภาพันธ์ 2556 12:37 น. - comment id 1254646
+ ไม่ไดเรียนภาษาศาตร์โดยตรงหรอกค่ะ ความจริงเรียน Biomedical Science แต่ว่าต้องเรียนภาษอังกฤษเป็น track บังคับ 4 ตัว แล้วตัวที่สี่เนี่ยมันเลือกได้ว่าจะเรียนอะไร เช่น Drama (รู้สึกว่าจะพวกแนว Shakespeare นี่แหละค่ะ), Poetry (นี่ก็มี Shakespeare นะคะ แล้วก็พวก Emily Dickinson and so forth) , Introduction to Linguistic, Creative Writing, Advanced Oral Communication อะไรประมาณนี้แหละค่ะ แล้วไอเราดันไปเลือก Poetry เพราะชอบแต่งกลอนไทย ลงแล้วพลาด!!! ตอนแรกก็นึกว่าจะน้อยเหมือนกันหละค่ะ (กลอนอะนะ) เข้าไปเรียนทีมีเป็นร้อยยยย!!!! (เพราะภาษาอังกฤษเล่นไปเอาของภาษาอื่นมาด้วย เช่น haiku จากญี่ปุ่นเอย, villanelle จากฝรั่งเศษเอย บลาๆ อีกเป็นร้อย!!) วิธีอ่านก็ต้องแบ่งเป็น meter แย่กว่าของไทยอีกค่ะ เพราะของไทยเรามีการอ่านแบ่งวรรคที่แน่นอน ของภาษาอังกฤษ แบ่งเหมือนกันค่ะ แต่ใช้ฝีมือและความชำนาญของผู้อ่านล้วนๆ!! ว่าจะแบ่งตอนไหน มีพวก rhythm ด้วยค่ะ เช่น iambic- unstressed follows by a stressed อย่าง to be or not to be, that is the question ของ Shakespeare เป็น iambic pentameter ค่ะ ประโยคหลังเป็น weak ending แต่ to be or not to be นี่ตรงเลยหละค่ะ unstressed follows by a stressed - iamb แล้วก็ต้องสื่อออกมาทางภาพเยอะๆ อย่าพูดตรงๆ เช่น loneliness ก็ต้องบอก empty room แทน อะไรประมาณนี้อะค่ะ มันไม่เหมือนภาษาไทยที่เขียนออกมาตรงๆได้เลย บอกคำเดียวว่าสุดยอดของความ abstract ค่ะ ปวดหัว!!!
3 กุมภาพันธ์ 2556 12:51 น. - comment id 1254648
เจอครูที่สอนยิ่งไปใหญ่ บอกว่า gecko หรือ ตุ๊กแก ไม่เป็น onomatopoeia หรือ เลียนเสียงธรรมชาติ แต่ wing ที่แปลว่าปีกใช่!!! โห หนูนะ speechless เลยอะ คนทั้งห่้องหันมามองหน้ากันแล้วพูดว่า ถ้าตุ๊กแก ไม่เลียนเสียงธรรมชาตินี่ก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเลียนเสียงธรรมชาติแล้วหละ กลอน one-sided love(ไอที่หนูขึ้นหัวข้อว่าโดนบังคับให้แต่งกลอนนั่นแหละ) ที่แต่งเลยอ่านง่ายกว่า blue villanelle เยอะเลยไงคะ กลัวเข้าไม่ถึงความม abstract ของครูแล้วคะแนนหดหมด แต่งแบบเบๆพอ
4 กุมภาพันธ์ 2556 09:27 น. - comment id 1254658
ขอบคุณครับ คุณแจ้นเอง ยินดีด้วยนะครับ ขอบคุณครับ คุณกุ้งหญิง เดี๋ยวนี้ไม่เห็นเขียนอะไรมาให้อ่านมั่งเลยนะครับ รออ่านอยู่ คุณนู๋มณิ เยี่ยมยอดเลย เรียนทางไซน์ แต่ไม่ทิ้งทางศิลป์ ทำให้สมองบาล้านซ์ดีขึ้น คงเป็นคุณหมอนักประพันธ์อีกท่านหนึ่ง กวีนิพนธ์ทางภาษาไทยในอดีต ก็น้อมนำมาจากภาษาศาสนา ซึ่งเน้นวลี ครุ ลหุ แบบอินเดีย ภาษาอังกฤษก็มีรากฐานแบบอารยัน จึงเล่นในแบบนั้นเช่นกัน ส่วนการใช้ความหมายให้ตีความอย่างลึกซึ้งนั้น คงเป็นลักษณะโครงสร้างสังคม ความคิด วิทยาการ ฯลฯซึ่งหลากหลายซับซ้อน งานที่ได้รางวัลโนเบลจึงเป็นแบบงานที่ใช้สัญญลักษณ์ลึกซึ้งยอดเยี่ยม ไทยเราไม่ค่อยมีแบบนั้นเพราะคนอ่านไม่รู้เรื่อง แอบสแตร็คมากไปก็เละได้เหมือนกัน คุณศิวสิโรมณิ เลือกเรียนpoetryฝรั่ง ยิ่งเข้าใจรากภาษาได้ดีขึ้น ตอนที่เห็นคำ blue villanelle ก็งงๆ เพราะ blue เป็นอังกฤษ แต่ villanelle ดูเป็นฝรั่งเศส ฟังคล้ายบ้านงามๆ อิอิ อย่างฉันท์ ที่แต่งยากๆนั้น ถ้าจะให้เพราะ ก็ต้องเป็นคำแขกๆ จะใช้ คะขา เป็นครุ ลหุ ก็เพราะเท่า บทสวดบาลีทั้งหลายส่วนใหญ่ เป็นกวีนิพนธ์ ที่ไพเราะ เวลาฟังพระสวด เลยเพลิน
4 กุมภาพันธ์ 2556 09:32 น. - comment id 1254659
(พิมพ์ -ไม่- ตกไป จะบอกว่า "ก็ไม่เพราะเท่า")
4 กุมภาพันธ์ 2556 10:48 น. - comment id 1254664
งดงามมากจ้ะคุณดาว อ่านได้แปลได้ แต่เขียนบ่ได้ ไม่ถนัดภาษาประกิตเลยจ้ะ
4 กุมภาพันธ์ 2556 16:15 น. - comment id 1254683
ขอบคุณครับคุณดินเนอร์ อ่านออกก็เขียนได้ครับ ถ้าลอง บ่อยๆ ผิดๆถูกๆ ชั่งเผือกชั่งมัน อยากทำซะอย่าง อิอิ คุณ ฯมณิ มีแวววับวาบอยู่แล้ว ใส่ฟืนใส่ไฟบ่อยๆ เดี๋ยวก็โชติช่วงชัชวาล มีความเพียรซะอย่าง แถมความกล้าอีกตะหาก ไปไกลครับ ผมมันเด้กสิลป์หัวใจวิทย์ วรรรณกรรมที่อ่านส่วนใหญ่ จึงเป็นแนว ไซไฟ อ่าน จักรวรรดิFoundation ของ Asimov ภาคแปลทุกภาค จนต้องหาต้นฉบับมาแกะดูมั่ง ได้อรรถรสมาก จะคอยตามอ่านนะครับ
4 กุมภาพันธ์ 2556 20:37 น. - comment id 1254696
ขอบคุณค่ะ คุณดาว วันนี้ไปเรียน Poetry วันนี้ discuss กลอนที่ส่งไปกัน โดนเปลี่ยนเหมือนกันค่ะ ลองไปดูใหม่ใน 'หนูถูกบังคับให้แต่งกลอน!!!' ได้นะคะ
4 กุมภาพันธ์ 2556 20:45 น. - comment id 1254697
อ้อออ เผื่ออยากรู้ เห็นมีคนเคยถามชื่อ เกี่ยวกับ ศิวสิโรมณิ มาเหมือนกันว่าแปลว่าอะไร ศิว = องค์มหาศิวะ สิโร = ศิโร = ศีรษะ (เหมือน ศิโรราบ อะค่ะ) มณิ = มณี มณีประดับผมของพระศิวะ = ปิ่นพระศิวะ = พระจันทร์เสี้ยว สรุป ศิวสิโรมณิ คือ พระจันทร์เสี้ยว ค่ะ
4 กุมภาพันธ์ 2556 20:49 น. - comment id 1254698
อ้อออ เผื่ออยากรู้ เห็นมีคนเคยถามเกี่ยวกับชื่อ ศิวสิโรมณิ มาเหมือนกันว่าแปลว่าอะไร ศิว = องค์มหาศิวะ สิโร = ศิโร = ศีรษะ (เหมือน ศิโรราบ อะค่ะ) มณิ = มณี มณีประดับผมของพระศิวะ = ปิ่นพระศิวะ = พระจันทร์เสี้ยว สรุป ศิวสิโรมณิ คือ พระจันทร์เสี้ยว ค่ะ แล้วที่เป็น ศิวสิโรมณิ แทน ศิวสิโรมณี อย่างคนสมัยนี้น่าจะใช้กัน เพราะว่า ตามหลักเลขศาสตร์แล้ว ศิวสิโรมณิ รวมกันได้เลขที่ดีกว่าค่ะ (ปล. พอดีหนูศึกษาโหราศาสตร์มาหนะค่ะ เลยพลอยได้เลขศาสตร์มาเป็นของแถม )
5 กุมภาพันธ์ 2556 15:04 น. - comment id 1254743
ตามไปอ่าน การบ้าน และเม้นไปที่โน่นแล้ว (แบบล้อเล่ง อิอิ) ชื่อที่ใช้ก็เก๋ไปอีกแบบ ยิ่งเสริมตามเลขศาสตร์ด้วย ก็สบายใจได้มั้ง ผมก็คงเป็นทำนอง... ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ ขอบคุณครับ ที่เล่าให้ฟัง เรียนให้สนุก นะครับ
5 กุมภาพันธ์ 2556 20:25 น. - comment id 1254765
ขอบคุณค่าาาา~
7 กุมภาพันธ์ 2556 15:08 น. - comment id 1254892
นั่งอ่านอยู่นาน ภาษา E ไม่แข็งแรง ความหมายกินใจดีจัง อยากอ่านฉบับภาษาไทยบ้างค่ะ
8 กุมภาพันธ์ 2556 23:11 น. - comment id 1255087
ขอบคุณครับ คุณอ้อยร้อยฝัน ด้วยแรงศรัทธา จึงจัดให้แล้วครับ เวอชั่นไทย เดี๋ยวไปแปะขึ้นใหม่เลยครับ