เชื่อว่าเหตุผลคุณคนกรุงศรีถูกครับ

สุนทรวิทย์

คุณคนกรุงศรีครับหลังจากที่ผมทักท้วงเรื่องคำสัมผัสไป และได้รับคำชี้แจงจากคุณกรุงศรีกลับมา ทีแรกก็ยังเข้าใจว่าตัวเองถูก แต่เมื่อนั่งทบทวนหลายๆตลบ เห็นว่าในเมื่อคำว่ากานกับกันยังสัมผัสกันไม่ได้ แล้วอายกับไอจะสัมผัสกันได้หรือ ถึงแม้ผมจะได้รับการอบรมมาก่อนอย่างก็ตาม ผมก็ยึดเหตุผลมากกว่าความเชื่อส่วนตัวครับ เรื่องนี้ผมคิดว่าเหตุผลของคุณคนกรุงศรีน่าจะถูกต้องกว่าผม ขอบคุณมากที่ชี้แจงและให้ความเห็นตรงไปตรงมาเป็นประโยชน์กับผมและคนรักกลอนทุกคนครับ ถึงผมจะเขียนกลอนมานานแต่เชื่อว่าข้อบกพร่องยังมีอีกมาก ต้องปรับปรุงและรับฟังความคิดคนอื่ตลอดครับ ผมไม่อายหรอกครับที่พลาด ไม่ชอบแก้ตัวแต่ชอบแก้ไขครับ ที่ต้องมาชี้แจงตรงนี้เพราะกลัวคุณคนกรุงศรีไม่ได้อ่าน เมื่อทราบแล้วตอบด้วยนะครับจะได้สบายใจครับ				
comments powered by Disqus
  • Hathaikarn

    8 ธันวาคม 2554 22:10 น. - comment id 1216080

    ขอบคุณค่ะ คุณคนกรุงศรี และ คุณสุนทรวิทย์
    29.gif29.gif29.gif36.gif36.gif36.gif
  • คนกรุงศรี ฯ

    8 ธันวาคม 2554 22:08 น. - comment id 1216205

    งานวรรณกรรมเป็นงานที่ละเอียดอ่อน
    บรรพบุรุษเราคัดสรรมาอย่างดีแล้ว
    เท่าที่ผ่านมายังมีเกร็ดความรู้อีกเยอะที่ทำให้ผลงานออกมาดี  เพื่อนหลายท่านเคยสนทนากันในเรื่องเหล่านี้และได้ข้อคิดและหลักการเขียน มากมาย
       สันผัสเลือน  หลายท่านยังสับสนว่าบางสระ สัมผัสได้หรือไม่ได้ ก็ต้องศึกษาดู
      ชิงสัมผัส ท่านว่านอกจากเส้นโยงที่ขีดไว้แล้ว ไม่ควรมีคำใดที่สระเหมือนกัน ก่อนหน้านั้นแต่ไม่เคยได้ยินว่ามี สัมผัสตาม
      แม้กระทั่งคำที่สามของวรรคแรก ในบทที่สองสระเดียวกับคำสุดท้ายวรรคสี่ของบทแรก ยังเคยมีผู้บอกว่าชิงสัมผัสเหมือนกัน
      การใช้คำศัพท์ ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ท่านก็ว่าไม่ควรใช้  เช่น  ท่องเที่ยวไป ในป่า พนาสัณฑ์ 
      คำที่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ความหมาย  เช่น  
    ว้าเหว่  กับ เหว่ว้า คำที่คนมักเข้าใจความหมายผิดมาก เช่น  จินต์  ดวงจินต์
      ผลงานที่เขียนวกวน ใจความเดิมเดิมเรียกว่ากลอนไม่เดิน
    ทั้งหมดก็มิใช่กฏของฉันทลักษณ์ที่ต้องเคร่งครัดแต่เป็นเกร็ดความรู้
       แม้กระนี้ก็ตามตัวผมเองก็มิใช่ว่าจะเขียนกลอนได้ดีกว่าคนอื่นอื่นเท่าไรนัก
    ขอบพระคุณ คุณสุนทรวิทย์แทนวงวรรณกรรมที่มีความสนใจในสิ่งเหล่านี้
         ทั้งหมดก็คงอยู่ที่ผู้เขียน ว่าจะนึกคิดอย่างไร สนใจมากน้อยแค่ไหนก็อย่างที่เห็นเห็นนั้นแหละ และคงบังคับกันไม่ได้
    เราก็เลยเป็นคนจู้จี้จุกจิกไปเลยครับ
      ด้วยความเคารพ
  • อนงค์นาง

    8 ธันวาคม 2554 15:43 น. - comment id 1217458

    คนร้อยเิ็อ็ดแวะมาอ่านค่ะ 
    คุณสุนทรวิทย์ ดูเป็นคนนิสัยดี มีเหตุผล น่าชื่นชมค่ะ
    
    36.gif36.gif36.gif29.gif
  • สุนทรวิทย์

    8 ธันวาคม 2554 18:03 น. - comment id 1217468

    พูดไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้นครับ29.gif36.gif36.gif36.gif
  • สุนทรวิทย์

    9 ธันวาคม 2554 06:30 น. - comment id 1217481

    โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าภาษาในนร้อยกรองต่างจากร้อยแก้วอยู่หลายอย่าง ตัวอย่างที่ยกมาว่า เที่ยวไปในป่าพนาสัณฑ์ นั้นผมกลับมองว่าเป็นการเรียงภาษาให้ไพเราะ ความหมายไม่เสียอะไรครับ หมายถึงความเห็นส่วนตัวนะครับ รวมทั้งชิงสัมผัสยอมรับว่าไม่ได้เข้มงวดเพราะไม่ได้ศึกษามาครับ จริงๆแล้วความเห็นที่ต่างกันหลายอย่างเกิดจากการพัฒนาไปตามความคิดของแต่ละคนที่เพิ่มพูนขึ้นด้วย อาจไม่ได้บังคับโดยฉันทลักษณ์แต่ดั้งเดิม ผมเองจึงดูตามความไพเราะสละสลวยอย่างหนึ่ง พยายามเคร่งครัดฉันทลักษณ์ทางหนึ่ง ไม่เต็มร้อยครับ แต่ให้พลาดน้อยที่สุด ส่วนความเห็นต่างนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ สุดแต่คนจะพิจารณา แต่ถ้าจะเขียนกลอนให้ได้ดีต้องปรับปรุงเมื่อรู้ว่าผิดพลาด นอกจากไม่เสียหายแล้วยังช่วยให้เราเขียนได้ดีขึ้นเรื่อยๆครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ได้มีเจตนาล่วงเกินใครนะครับ ท่านใดมีความเห็นต่างแย้งได้นะครับเหมือนเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นประโยชน์ต่อวรรณกรรมและคนเขียนเองด้วยครับ
  • แรมฯ

    9 ธันวาคม 2554 11:08 น. - comment id 1217532

    ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะครับ ผมเห็นด้วยกับทั้งสองท่าน และ ขอเสนอเสริมเติมออกไปทางข้างๆ (อาจจะ คูๆ ด้วย แหะแหะ) ว่า 
    
    การเขียนกลอนนั้นเป็นศาสตร์ ที่ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ มีทั้งกฎเกณฑ์หลัก ที่ฝ่าฝืนไม่ได้ ทำแล้ว ไม่เป็นกลอน และ กฎเกณฑ์ ในระดับที่อ่อนลงมา ประมาณว่าเป็น ข้อไม่พึงกระทำ ทำแล้ว ไม่สละสลวย ไม่เสนาะหู
    
    แต่ในขณะเดียวกัน การเขียนกลอน ก็เป็นศิลปะ ที่ นักกลอน อาจจะสร้างงานขึ้นมา โดยฝ่าฝืนข้อขนบบางข้อ แล้วกลายเป็นงานที่น่าสนใจขึ้นมาได้ แต่มันจะยากกว่าการเดินตามธรรมเนียมปฏิบัติปกติ ก็ต้องว่ากันไปตามงานแต่ละชิ้น
    
    ในส่วน สระเสียงสั้นกับยาว ดาย กับใด ผมก็เคยหลุดบ่อยๆ พยายามจะไม่หลุดแต่ก็ยังมีหลุด ตามประสา นักกลอนบ้านนอกที่ อาจจะชินกับเพลงพื้นบ้าน ที่อนุโลมกันตามแบบบ้านๆ อย่างเพลงที่ลงท้ายบทด้วยสระ ไอ หรือ ที่เรียกว่ากลอนไล นั้น การลงท้ายด้วยคำว่า อาย ได้ ม่าย หมาย ไว้ คล้าย ไหม ไก่ นั้น เพลงพื้นบ้านเขาใหใช้ได้หมด เพราะ เสียงเอื้อนช่วยได้  แต่พอเป็นกลอนเขียนแล้ว อาจอ่านไม่สละสลวยครับ
    
    ตัวอย่าง ขอการแหวกขนบแล้วดี ก็เช่น วรรคหนึ่งในเรื่อง ขุนช้างขุนแผนที่ใครๆก็ชอบยกตัวอย่าง คือ "ม่านนี้ ฝีมือ วันทองทำ"  ที่แบ่งวรรค เป็น 2 3 3 แหวกขนบ 3 2 3 แต่ก็เก๋ไก๋ไปอีกแบบครับ
  • สุนทรวิทย์

    9 ธันวาคม 2554 16:36 น. - comment id 1217578

    เป็นเหตุผลที่ดีมากครับ เห็นด้วยครับคุณแรมฯ ขอบคุณที่ให้ความเห็นนะครับ มีท่านใดมีความเห็นดีๆอีกอย่าอยู่นิ่งนะครับ ออกมาแนะนำบ้างนะครับ เป็นการแบ่งปันความรู้ครับ36.gif36.gif36.gif
  • วาสุกรี

    10 ธันวาคม 2554 12:17 น. - comment id 1217617

    รู้สึกดีครับได้อ่านหลายๆความเห็น
    มีหลายคำที่อยู่ในหลัก วิธี เขียนกลอน เช่น สัมผัสซ้ำ สัมผัสเกิน ชิงสัมผัส สัมผัสเลือน(อาย-ไอ) การใช้คำเฝือ (เที่ยวไปในป่าพนาสัณฑ์ ) ซึ่งคำเหล่านี้ ครูสมพร จือเหลียง สอนผมว่า ถ้าแข่งกลอนสด เราต้องหลีกเลี่ยงครับ เพราะบังคับด้วยแบบแผน เวลา จำนวนบท และต้องกระชับเนื้อเรื่อง มากที่สุด คมที่สุด ต่างจากคนอื่น เรื่องความคิด แต่คงรูปแบบเดิมบังคับอย่างเคร่งครัด 
    พอรู้งูๆปลาๆครับ ผิด อย่างไรครูผมไม่เกี่ยวครับ ผมอาจจำพลาดเอง ถูก ก็ด้วยคุณอาจารย์คับ ยี่สิบกว่าปีที่ยังไม่ได้ไปกราบครูเลย....
  • สุนทรวิทย์

    10 ธันวาคม 2554 14:01 น. - comment id 1217628

    ยิ่งได้ฟังหลายความเห็นก็จะได้ความรู้มากขึ้นข้อคิดมากขึ้นต่างกันบ้างเหมือนกันบ้างเป็นประโยชน์ทั้งนั้นครับขอบคุณที่ให้ความเห็นครับ36.gif36.gif36.gif

thaipoem ที่สุดกลอนดีๆ

thaipoem บ้านกลอนไทยที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของทุกๆคน เป็นเพื่อนเมื่อยามเหงา คอยปลอบใจเมื่อยามร้องไห้ ที่ที่อยากให้ทุกๆคนรู้ว่าสิ่งดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน