สวัสดี-วันนี้ จะย่ำวิถีฤดีไฉน ก้าวซ้ายก้าวขวาป่ายบันได หันกลับได้ไหม นะ!ใจเอ๋ย ตรึกตรองทวนทบเอานบนอบ เก็บกอปรรู้สึกสำนึกเอ่ย รั้งเถิดรอหน่อยค่อยค่อยเปรย ผ่านเลยมาแล้วแนวถนน กระซิบค่อยค่อยให้ถอยหนี ผิดที่ผิดทางระหว่างด้น เดินย่ำล้ำเฟืองของเบื้องบน ลองค้นลองคิดหน่อยได้ไหม ถอยกลับหนึ่งก้าว-อีกสักก้าว อะคร้าวดวงจิตนิมิตใกล้ ถอยเถิดเลิศล้ำหนุนนำไทย เริ่มต้นก้าวใหม่ด้วยใจรัก
27 เมษายน 2553 11:11 น. - comment id 1124075
เย้ๆๆที่ 1 จองก่องเด๋วมาอ่าน
27 เมษายน 2553 11:20 น. - comment id 1124077
สวัสดีพรุ่งนี้ หวังว่าสุรีย์จักส่องแสง หลังอึมครึมด้วยเหลือบที่เคลือบแคลง จักแสดงตัวตนบนเพรงกรรม 555 ดำน้ำไปก่องนะจ๊ะหยีจ๋า
27 เมษายน 2553 11:30 น. - comment id 1124079
สวัสดีวันมะรืน ต่างว่าตื่นตาแตกจากฝันร้าย เกิดอาเภทเปรตย่ำปุ่มป่ำปลาย กระพือหายคล่ำห้อง กลางท้องธาร อิอิ หวัดดีคุณก้าว ที่กล้า
27 เมษายน 2553 11:35 น. - comment id 1124083
หวัดดีจร้า....อาคุงก้าว... รับทราบ...ตามนี้...เอย.... (บางทีก็อดไม่ได้....(ส่วนตัว เคยไปยืนฟัง... ที่สนามหลวง....มาแล้วจร้า...ไปเห็นควันไฟโขมงมาแล้ว...จร้า)) แต่ก็ รับทราบตามนี้....ขอรับ...กระผม... ขอบคุณจร้า...ขอรับ....)
27 เมษายน 2553 12:45 น. - comment id 1124101
จุ๊ๆๆ...กาซิบๆ... ดึงกลับมาได้อีก 2 หนอแระจร้า...อิอิ ฝีมือแหมะ...
27 เมษายน 2553 12:47 น. - comment id 1124102
^ ^รายๆกระซิบๆหน่อย
27 เมษายน 2553 13:20 น. - comment id 1124111
สวัสดีเมืองไทย
27 เมษายน 2553 16:33 น. - comment id 1124125
ไข้หวัดใหญ่2009 ระบาดแถวราชประสงค์ ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ตอนนี้ลามไปถึงไหนแล้ว เป็นห่วงสถานการณ์การระบาด ถ้าผู้ชุมนุมีอาการอ่อนเพลียเป็นไข้ขึ้นสูง รีบพบแพทย์โดยด่วน
27 เมษายน 2553 18:10 น. - comment id 1124137
สวัสดีครับมารายงานแล้วครับว่ารักประเทศไทยเหมือนกันครับ
27 เมษายน 2553 19:54 น. - comment id 1124154
สวัสดีเมืองไทย ยามค่ำๆค่ะ เมืองไทยไม่หารอยยิ้มไม่ค่อยจะเจอแล้ว
27 เมษายน 2553 23:07 น. - comment id 1124191
หวัดดี กทก. อย่าเครียดมากนะ แค่ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดก็เท่านั้นแหละ คิดถึง
28 เมษายน 2553 09:28 น. - comment id 1124233
สวัสดีเมืองไทย ตอนสายๆค่ะ
28 เมษายน 2553 10:10 น. - comment id 1124247
สวัสดีเมื่อวาน... สวัสดีวันนี้.... สวัสดีพรุ่งนี้.... สวัสดี...ก้าว...ที่กล้า...จร้า....
28 เมษายน 2553 13:57 น. - comment id 1124284
ขอบคุณจร้า...คุงก้าว...ฯ กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด...อิอิ อ่านแระจร้า....คล้ายๆ...ในภาพนึก.... ผิดกันนิโหน่ยขอรับ...อิอิ ประเด็นสำคัญ.... ต้องไม่ขึ้นกับรัฐ...แต่ใช้เงินรัฐฯสนับสนุน... และต้องไม่ใช่ภาพของจังหวัด อำเภอ... ตำบล.... แต่เป็นกลุ่มองค์กร...ในแต่ละสาขาอาชีพ... ยกตัวอย่าง...เช่น สหภาพ แรงงาน... ซึ่ง...แยกย่อยในกลุ่มอาชีพหลัก...อีกมากมาย... ครรลอง...ของความต้องการ...ต้องได้รับการ วินิจฉัย...พิจารณาตามตรรกะ ถึงความเป็นไปได้...มากน้อย...อย่างไร...เป็นต้นจร้า... รายละเอียดมันเยอะ...ขอรับ... ถ้าจะนำมาคุยกัน... แต่มีประโยชน์ในแง่การติดตามตรวจสอบ... คุมประพฤติ...ข้าราชการประจำอยู่จร้า... ขอบคุณ...มากมายมหาศาลจร้า...อาคุงก้าว...นพพร...อิอิ
28 เมษายน 2553 15:16 น. - comment id 1124296
อย่าพึ่งฝันไปไกลมาจัดระเบียบการปกครอง ใหม่แค่ขัดแย้งเรื่องอำนาจยังตกลงกันไม่ได้ ว่ารัฐบาลขณะนี้มีอำนาจอันชอบธรรมหรือไม่ ตามม.171 รัฐธรรมนูญ ปี2550 วรรคสอง นายกรัฐมนตรีต้องได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนโดยตรงและได้รับคะแนนการเลือก ตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้รับแต่ตั้งตามม.172 ถ้าดูตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายกต้องมาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน จึงจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้ ถือเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งเป็นเสียง ชี้ขาดว่าใครจะได้เป็นนายก การกำหนดตัว นายกรัฐมนตรีในภายหลังจะเป็นการแย้งกับ มาตรานี้หรือไม่ ต้องดูเจตนารมย์ของเสียง ส่วนใหญ่นั้นเลือกใครให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุใดให้บุคคลอื่น เป็นนายกรัฐมนตรีจึงเกิดมีปัญหาตามมาภาย หลังดังนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการขัดแย้งด้านอำนาจ บัญญัติไว้ไม่ชัดเจน ต้องตีความตามเจตนา รมย์ของกฎหมายเป็นหลักว่ามีวัตถุประสงค์ อย่างไรในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมา ตาม ม.3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาว ไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทรงใช้ อำาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ กำหนดไว้ชัดเจนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชนชาวไทย นายกรัฐมนตรีก็เป็นส่วน หนึ่งของอำนาจอธิปไตย ฉนั้นตาม ม.171 วรรคข้างต้น ประชาชน เลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรีกฎหมาย รัฐธรรมนูญรับรองบุคคลนั้น ไม่คิดว่า จะรับรองไปถึงบุคคลที่ประชาชนไม่ได้เลือก เป็นความขัดแย้งในเจตนารมย์อย่างเห็นได้ ชัด กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศใช้ ได้มาจากเสียงประชามติสนับสนุน ผิดถูก อย่างไรก็คิดเอาเองว่าทำไมบ้านเมืองถึงเป็น อยู่ในขณะนี้ มีอำนาจตามกฎหมายที่แท้จริง หรือไม่ สวัสดีครับ
28 เมษายน 2553 16:04 น. - comment id 1124304
ดีจร้า...อะเกนท์ พลีสสสส...อิอิ เข้าบท.. ความว่า... "นายกรัฐมนตรีต้องได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนโดยตรงและได้รับคะแนนการเลือก ตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง" ตีความว่า "นับจากเสียงของ ผู้แทนฯ (ที่ได้รับเลือกเข้ามา) ขอรับ..." อนึ่ง...การไล่รายละเอียด...ยกขึ้นสนทนา... คิดว่า...เกินภาระหน้าที่...ขอรับ... ผมมองเฉพาะส่วน...ต้นตอ...ที่แท้ของปัญหา... ภาพปัญหา...ใดๆก็ตาม... ไม่ว่า...เศรษฐกิจ,สังคม.การปกครอง มาจาก...ความล้มเหลว...ในการใช้ระบอบ... ที่ไม่ทั่วถึง...และปราศจาก...การควบคุมที่... อาจเป็นไปได้ว่า....มีข้อบกพร่อง...อยู่มาก หากมีการแทรกแซง...ทุกระบบได้.... (โดยเฉพาะ...ในสภาวะการณ์ที่เรามี...ภาคผู้แทน ที่ไม่คอยมีสำนึก...อย่างมากมาย....) แต่ภาคประชาชน...ในฐานะ...กลุ่มองค์กร.. ใดๆ...ที่จัดตั้งขึ้นจาก...ภาคอาชีพ... เช่น กลุ่มประมง กลุ่มไร่อ้อย กลุ่มราชการ กลุ่มวิชาการ...และอีกเป็นหมื่นๆ...กลุ่ม(แล้วแต่เขาจะเรียกองค์กร...ว่าอย่างไร) ถ้ากลุ่มเขา...มีตรรกะในการมองการพัฒนาใดๆ แล้ว... ยากที่จะมีกลุ่มผลประโยชน์...มาหักล้างตรรกะนั้น... ดังนั้น...การที่กล่าวไว้....มิได้เป็นการพูดเรื่อง ในประเด็นการแก้ไข...ระเบียบการปกครอง... หากแต่เป็นเสมือนการ...เพิ่มจุดตรวจ... ในการบริหารเรื่องต่างๆ...ให้เป็นไปตาม วิถี...ที่ถูกต้อง... เห็นเมนท์ตามหลัง...สองสามครั้ง... คิดว่า...คงประสงค์สื่อถึงผม.... จึงแจ้งไว้...เพื่อเข้าใจ...ขอรับ...
28 เมษายน 2553 16:28 น. - comment id 1124313
ก็ถึงว่าที่ตีความแบบนี้จึงทำให้ประเทศ แบ่งเป็นสองฝ่ายรัฐบาลเสียงข้างน้อย แต่อ้างกฎหมายว่ามีเสียงสนับสนุนตาม ม.ข้างต้น จึงเป็นรัฐบาลได้ แต่แท้ที่จริง แล้วประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกเข้ามา เกิดปัญหาหลายอย่างดังนี้ ปัญหาพรรคนอมินี ถูกต่อต้านจากฝ่ายเหลือง ปัญหาพรรคเสียงข้างน้อย ถูกต่อต้านจาก เจ้าของอำนาจเดิม ถ้ามีการเลือกตั้งอีกก็ต้องมีปัญอีกอย่างแน่นอน หรือชอบให้เป็นอย่างนี้เลยตีความแบบนี้ สมมติว่าประชากรในประเทศนี้ชอบ บริโภคอาหารเนื้อสัตว์ แต่มีกลุ่มหนึ่งชอบ มังสวิรัต แล้วคิดว่ากลุ่มหลังจะควบคุมกลุ่ม แรกได้หรือไม่ เค้าคนส่วนใหญ่ ประเทศไหนก็ตามถ้ามีกฎหมายกำกวมแบบ นี้ตีความเพื่อความอยู่รอดปัญหาไม่จบแน่นอน จะยุติปัญหาลักษณะนี้อย่างไร มันเป็นการยาก ที่จะให้ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้งถ้าออกมา แล้วไม่ถูกใจนี่เป็นปัญหามาก ต้องเกิดขึ้นใน อนาคตแน่นอนและเป็นแบบนี้จะมีผู้ไปใช้สิทธิ เลือกตั้งกันมากอีกหรือไม่ เพราะเลือกไปก็ ทะเลาะกันอยู่เรื่องนี้ไม่ยอมแก้ไข ดังนั้นไม่ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเก็บอำนาจไว้กับตัวดีกว่า มอบให้ไปก็ใช้ไม่ได้ รู้อยู่แล้วว่าอีกฝ่าย ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งแน่นอน เหนือกับใต้ ฝ่ายละครึ่งต่อครึ่งจะว่าอย่างไร จึงสงบ มาตีความกฎหมายแบบนี้ใช้ไม่ได้ หรอก เหลืองมาแน่ พวกนอมินี่ แดงมาแพ้แล้วพาล คิดเอาเอง ตกลงกันก่อนเลือกตั้งให้ทุกฝ่าย ยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งหน้าดีกว่า มิเช่นนั้นจะไม่มีใครไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ห่วยแตกแบบนี้ หาเรื่องทะเลาะกันจน ประเทศชาติเสียหายตะแบงกฎหมายจน ไม่มีอะไรมาตัดสินความผิดอยู่กันได้อย่างไร บอกหน่อย
28 เมษายน 2553 16:32 น. - comment id 1124315
ยังไม่สาย ที่จะเริ่มต้นนะ ปล อย่าอิจฉาจอมบงการ กะจอมเสียบ เขาแว๊บหนีมาเที่ยวลพรีกานนะคนสวย
28 เมษายน 2553 16:38 น. - comment id 1124320
20
28 เมษายน 2553 18:39 น. - comment id 1124333
วันนี้ป็นวันที่เศร้าอีกวัน สวัสดีค่ะคุณก้าวที่...กล้า จะเป็นไปได้ไหม ตอนนี้มีแต่คำถามแล้ว
28 เมษายน 2553 20:54 น. - comment id 1124357
ต่อจากมาตรา 171 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งและรัฐมนตรีอีกไม่เกิดสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหาร ราชการแแผ่นดินตามหลัก ความรับผิดชอบ ร่วมกัน นายกรัฐมนตรีต้องได้รับการเลือกตั้ง จากประชาชนโดยตรง และได้รับคะแนนการ เลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 172 หากมิมีผู้ใดได้รับคะแนนตามวรรค 2 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือก ตั้ง แข่งขันกันระหว่างผู้ที่ได้อันดับหนึ่งและ สองผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม มาตรา 172 ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลง นามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อ กันเกินกว่าแปดปีมิได้ มาตรา 172 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความ เห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่ตั้งเป็น นายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็น ครั้งแรก ตามมาตรา 127 การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่ง ตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ต้องมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งใน ห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎรรับรอง มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วย ในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทำโดยการ ลงคะแนนโดยเปิดเผย การทำนิติกรรมสัญญาใดใด เช่นสัญญาเงินกู้ ต้องมีบุคคลคู่สัญญาและผู้ค้ำประกันสัญญาลง นามพร้อมกันทั้งสามฝ่าย จึงเป็นสัญญาที่ถูก ต้องตามกฎหมาย จากความเห็นข้างต้นเปรียบเทียบกับ ม171 วรรคสอง แบ่งเป็นความหมาย 2 ส่วน นายกรัฐมนตรีต้องได้รับการเลือกตั้งจาก ประชาชนโดยตรง ได้รับคะแนนการเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จึงสามารถเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 172 ได้ คือมีขึ้นตอนดังนี้ มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก ม127 ภายในสามสิบวัน เสนอชื่อบุคคลตามมาตรา171 สมาชิกรับรอง ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนรับรอง มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชองด้วย แต่งตั้งนายกฯ คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา ผู้แทน การดำเนินการขั้นตอนแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ถ้าเป็นไปตามมาตรา 171 คุณสมบัติของนายก รัฐมนตรี เสียงจากประชาชนโดยตรง เกินกึ่งหนึ่งของผู้ใช้สิทธิ เว้นแต่ไม่ถึงพิจารณาจากอันดับหนึ่งและสอง ผู้ได้คะแนนสูงสุดเสนอชื่อตามม. 172 ขั้นตอนการรับรองและลงมติให้เป็นนายก ตามม. 172 จึงถือว่าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความถูกต้องชอบธรรม เรื่องการแต่งตั้ง โดยวิธีอื่นรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจไว้ ต้องทำตาม ม.171 และม .172 เมื่อ ทราบผลการเลือกตั้งแล้วเท่านั้น ตัวอย่างการทำสัญญาที่ยกมา สัญญากู้เงิน ถ้าไม่มีการลงนามผู้ให้กู้และมีการลงนามค้ำ ประกัน สัญญาเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ ผู้กู้ปฏิเสธ การกู้เงินนั่นเอง จากผลการเลือกตั้งปลายปี 2550 พบว่า พรรคพลังประชาชนได้คะแนนพรรค 13.2 ล้านเสียง พรรคประชาธิปัตย์ 12.8 ล้านเสียง พลังเงียบไม่เลือกพรรคไหน 18.8 ล้านเสียง จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 44.8 ล้านเสียง สังเกตุได้ว่าระบบการเลือกนายกรัฐมนตรี ของไทยใช้ระบบคล้ายเป็นการถือคำตัดสิน ของประชาชนส่วนหนึ่งตาม ม 171 popular vote เสียงจากการรับรองและมติของสภาผู้แทน ราษฎรอีกส่วนหนึ่ง electoral vote มีส่วนคล้ายกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี ของอเมริกา แต่ของเขาถือเสียง electoral vote เป็นหลัก มาตรา 106 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลงเมื่อ (1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทน ราษฎรหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีพรรคถูกยุบ ทำให้ตำแหน่งนายก รัฐมนตรีสิ้นสุดลง หรือตัวนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลงก่อนครบวาระ มาตรา 127 ภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัยนิติบัญญัติ ตามมาตรา 172 วรรคแรก ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็น ชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายก รัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับ แต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ตามมาตรา 127 จึงกล่าวได้ว่าเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปจนครบ ของสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้งเลือกนายกฯ ได้เพียงหนเดียวไม่มีครั้งสองหรือสาม ที่แต่งตั้งนายกฯกันทำถูกต้องตาม ม.171 ม.172 หรือเปล่า ที่แน่ๆ ผมขอถอนสิทธิที่ได้เคยลงคะแนน ไว้เมื่อปี 2550 ถ้าใช้สิทธิไปแล้วถือว่า ผมไม่ได้ใช้สิทธิห้ามไม่ให้เอาอำนาจ อธิปไตยที่ผมมีอยู่ส่วนหนึ่งไปใช้โดยเด็ดขาด นี่ก็ตายไปร่วม 30 คนแล้ว สวัสดีครับ
29 เมษายน 2553 10:33 น. - comment id 1124435
สวัสดีค่ะทุกท่านที่เคารพรัก สะโหลสะเหลมาตอบ จะชอบหรือไม่ชอบไม่รู้ แค่อยากให้มองแล้วตรองดู ที่มาช่วยอุ้มชูสัญชาติอื่นล้วน รักชาติ แล้วยังไง? ตราบที่ยังพิรี้พิไรกระสวน ตราบที่ถือสิทธิ์กระบิดกระบวน คงต้องม้วนเสื่อพับประดับประดา เรียงเป็นแถวเป็นแนว ร้างไร้วี่แววตะวันจ้า หลงกลอยู่ในความเย็นชา สุดท้ายถ้าได้มาจะเหลืออะไร? ชอบธรรมไม่ชอบธรรม กฎแห่งกรรมธรรมดาที่มองได้ มองเถิดมองคนดีดีที่ไหน จะปลุกปั่นให้กระจัดกระจายอยู่แบบนี้ สะโหลสะเหลมาตอบ ขอบคุณค่ะ
29 เมษายน 2553 10:42 น. - comment id 1124439
เมื่อหัวขบวนจอดมีแววว่าเศรษฐกิจ โลกจะเปลี่ยนทิศทางไปด้วย กลุ่มสินค้า โภคภัณฑ์ที่คุมเศรษฐกิจมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี จะไร้แววสดใส สถาบันการเงินจะมีความแข็งแกร่งขึ้นมา กุมทิศทางเศรษฐกิจโลกอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการล่มสลายของยักษ์ค้าตลาดทุน สหรัฐ คาดว่าความสูญเสียจากการหนี้ด้วย คุณภาพจะลดลงไปมาก จากมาตรการกำจัด พวกคดโกงออกไปจากโลกนี้ได้แล้ว หัวขบวน จอดเสียแล้ว
30 เมษายน 2553 07:07 น. - comment id 1124550
(ที่สำคัญ) มันเป็นอย่างนั้น....จริงหรือ...ที่คิดง่ะ ขอรับ...มิน่าเล่า....ถึงได้ วุ่นวาย ในหนึ่งประเด็น....นี้นัก.... 1 เสียงของประชาชน รึ เสียงของสมาชิกฯ 2 จริงหรือ...หนึ่งครั้ง...มีได้หนึ่งคน....ต้องค้น อีกหลายมาตรา...ซะหน่อย..แระ...อิอิ ************************************************* ดีจร้า...อาคุงก้าว...ฯ ตอบได้...ละมุน...และน่า(กลับไป) คิดซะหน่อยแระ ... เน๊อะ คิดได้...จะพบกับคำว่า...."ถูกต้องแล้วคร๊าบบบบ....." อิอิ
30 เมษายน 2553 11:09 น. - comment id 1124606
ประเด็นปัญหาเจาะลึกมาตรา 180 รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ 1 ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด ตามมาตรา 182 2 อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบ สภาผู้แทนราษฎร 3 คณะรัฐมนตรีลาออก ในกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงตามมาตรา 182 (1) (2) (3) (4) (5) (7)หรือ (8) ให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยอนุโลม มาตรา 182 ความเป็นรัฐมตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (5) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องตาม มาตรา 174 ม 174 รัฐมตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้อง ห้าม ดังต่อไปนี้ (4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (6) (7) (8) (9) (11) (12) หรือ (14) ม 102 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุลคลต้อง ห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร (3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามม 100 (1) (2) หรือ (4) ม 100 (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง "สมชาย" พร้อม 12 รัฐมตรีปิ๋วทนทีหลังศาล รัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค รักษาการ 21 คน รอตั้ง ครม. ชุดใหม่ หลักจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลัง ประชาชน ชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยและ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด จะทำให้คณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นกรรมการบริหาร พรรคทั้งสามต้องพ้นจากตำแหน่งทันที 13 คน ทำให้ครม. ที่เหลือ 21 คน ต้องรักษาการจน กว่าจะมีการประกาศแต่งตั้งใหม่
30 เมษายน 2553 11:49 น. - comment id 1124614
(ต่อความคิดเห็น 26) เมื่อนายสมชาย นายกฯ พ้นจากตำแหน่งทำให้ คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย รัฐธรรมนูญ ม180(1) แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ม 181 บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ จึงทำให้คณะรัฐมนตรี ทั้งหมดที่มีอยู่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และเรียกประชุมเพื่อลงมติให้รัฐมนตรีคนใด คนหนึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีจน กว่าจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เมื่อมีการดำเนินการตามม.180 วรรคท้าย ในกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐ มนตรีสิ้นสุดลงตาม ม.182(5) ม 102(3) ม.100(2) ให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยอนุโลม ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว เป็นการดำเนินขึ้นตอนใช้เสียง eletoral vote โดยไม่คำนึงถึงเสียง popularvote ตามม 171 โดยให้สภาลงมติแต่งตั้งนายกฯตาม ม.180 วรรคท้าย ได้ ปัญหาคือว่าตำแหน่งนายกฯที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยความเห็นชอบและลงมติยืนยันจากสภา เป็นนายกฯที่ถูกต้องหรือไม่ตาม ม.180 วรรค ท้าย ตอบว่าถูกต้องแต่คงเป็นได้เพียงนายก รักษาการเท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศ สหรัฐที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปลอกเลียนวิธี การเลือกตั้งเขามา เมื่อประธานาธิบดีไม่ สามารถปฏิบัติหน้าที่เพราะขาดคุณสมบัติ ก็จะให้รัฐมนตรีต่างประเทศ หรือลำดับ รัฐมนตรีที่มีความสำคัญลงมาปฏิบัติหน้าที่ แทนไม่ได้เปลี่ยนขั้วแต่ประการใดเพื่อ เป็นการรับรองสิทธิอำนาจของประชากร ทั้งประเทศซึ่งเสียงส่วนใหญ่ได้กำหนด ตัวผู้นำประเทศของเขาแล้วเปลี่ยนให้ ฝ่ายแพ้การเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี หรือเลือกตั้งหรือลงมติเลือกประธานาธิบดี ใหม่ไม่ได้อีกจนกว่าจะครบวาระ ปัญหาในกรณียุบพรรคที่เป็นรัฐบาลและ เป็นเสียงข้างมากมีคุณสมบัติตามม.171 วรรค สอง สาม เมื่อถูกยุบพรรคไปแล้วก็จะสิ้น สุดความเป็นรัฐมนตรีตาม ม.182(5) แต่ที่น่าสังเกตุว่ามาตรา 182(5) อ้างอิงไปถึง มาตรา 100 (2) บัญญัติว่า มาตรา100 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กล่าวได้เลยตามบทบัญญัตินี้ นายสมชาย นายกฯ พรรคพลังประชาชน เป็นบุคคลที่ มีสิทธิเลือกตั้งสมบูรณ์ในขณะที่มีการเลือก ตั้งทั่วไปครั้งหลังสุดและพรรคพลังประชาชน ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งถึงแม้จะ ถึงกึ่งหนึ่งตามม.171 วรรคสอง แต่เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรค เพราะผิดกฎหมายเลือกตั้ง นายกฯในขณะนั้น ก็ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปด้วยตามกฎหมาย เข้าข่ายขาดคุณสมบัติตาม ม.100(2) แต่เป็น การเพิกถอนสิทธิหลังมีการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว จึงไม่เข้าข่ายตามมาตรา 100(2) ที่บัญญัติ บุคคลมีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง (ไม่ใช่หลังวันเลือกตั้ง) เพราะฉะนั้นการดำเนินการตาม ม.180 ในกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐ มนตรีสิ้นสุดลงตาม ม 182(5) จะดำเนินการ ม172 และม 173 โดยอนุโลม นายกฯที่ได้รับการ vote ชื่อคิดว่าเป็นเพียง รักษาการเท่านั้น ถ้านายกฯสมชายไม่มีคุณสมบัติตามม.100(2) ทำไมในวันเลือกตั้งจึงให้นายสมชาย สมัครเข้าชิงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนได้ เป็นสส.ได้อย่างไร คุณสมบัติข้อนี้ต้อง มีอยู่ก่อนวันที่มีการเลือกตั้ง ตามความหมาย ชัดเจน บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง สรุปยังยืนยันว่าเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ฉบับลอกเลียนแบบสหรัฐฉบับนี้ ต้องการให้ มีการเลือกตั้งนายกฯเพียงครั้งเดียวและ เป็นเสียงส่วนใหญ่จาก popular vote กรณียุบพรรคต้องยุบสภาสถานเดียวเท่านั้น คำตอบนี้จึงสามารถทราบได้ว่าวิกฤตการเมือง เกิดจากอะไรนั่นเอง รัฐธรรมนูญต้องการให้ เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนปกครองประเทศ ไม่ใช่เสียงส่วนน้อย แล้วเสียงส่วนใหญ่ จะยอมรับหรือไม่จึงเป็นปริศนา ประเทศ สหรัฐจึงกำหนดตายตัวให้เลือกผู้นำเพียงครั้ง เดียวห้ามเปลี่ยนขั่วในระหว่างวาระดำรง ตำแหน่ง คุณคิดว่าถ้าสหรัฐปฏิบัติแบบ ประเทศไทยจะเกิดอะไรขึ้น ประชาชน ของสหรัฐส่วนใหญ่จะยอมให้บริหารประเทศ ได้หรือไม่
30 เมษายน 2553 13:20 น. - comment id 1124630
รักเมืองไทย...
30 เมษายน 2553 13:48 น. - comment id 1124648
หัวใจ สีนี้ มีด้วยหรอครับ คุงพี่ก้าว คริๆ มาแซวววว ตามสไตล์ๆๆๆ
30 เมษายน 2553 15:18 น. - comment id 1124663
โดยส่วนตัว...ผมคิดเพียงว่า...ประเด็นรายละเอียด... มันเกินหน้าที่...การที่จะต้องมาวิพากษ์...ในรายบท แต่เพื่อขยายความเข้าใจ...ขั้นต้น(ของข้อความที่ผมได้เขียนไว้) ผมจึงต้องเสียมารยาท เขียนตอบในกระทู้(ต่อเนื่อง)ซึ่งเป็นกระทู้... ของมิตรที่ดีของผม...คือ อาคุงก้าวที่กล้า... ซึ่งผมต้อง ขออภัยไว้ ณ ที่นี้... ผมครุ่นคิดและไม่ทราบว่ามีความประสงค์จะชี้แจง... เพื่อการใด.... ถ้าต้องการชี้แจงและยืนยัน...ว่า...เหตุของสถานการณ์...ที่เกิดขึ้น มันเพราะเรื่องประเด็น มาตรา ใน รธน.ที่คุณอธิบายมา.... ผมว่า...ก็น่าจะใช่ (เป็นเพียงหนึ่งสาเหตุที่ยกอ้าง) แต่ถ้าผม...บอกว่า...คิดเห็นต่าง...กับคุณ....แล้ว... จะยังไงต่อล่ะครับ... ต้องเขียนแจงรายละเอียดทั้งหมด...อีก รึไม่.? เพื่อที่จะให้ผมเข้าใจตามนั้น...รึ ...จนกับการตีความนั้นๆ.... ไม่ต้องเขียน...ใดๆ มาแล้วล่ะขอรับ... เนื่องด้วย...ผม...มิใช่นักกฎหมาย การตีความ...รธน.ของผม...อาจจะยังไม่ถูกในแง่...นักกฎหมาย แต่...แม้แต่นักกฎหมาย...ตีความ...ยังไม่เหมือนกัน...ก็เป็นได้ คงเพราะ.... ก่อนที่จะตีความใดๆ... ใจผู้นั้น...จำต้องมี...ความนิ่ง...ถึงขั้น... ***** ไม่เห็นว่า ชอบ รึ ไม่ชอบ ก่อน เพราะ...สรรพสิ่งในโลก...จะถูกในฝั่งหนึ่ง...และผิดในฝั่งหนึ่ง...เสมอ... การเขียน...อักษร...เพื่อแสดงถึงเรื่องใดๆก็ดี...ก็ตามแต่... ถ้าประสงค์เพื่อ...สันติ...สุข...สงบ...แล้วไซร้... ต้องมองที่เจตนัย...ของ...ครรลอง...ตามจิตแห่งผู้เขียน... ถ้ามอง...ตามตัวอักษร...มันอาจผิดไปจาก จิตแห่งปัญญา...นั้นได้ ตัวอักษร...มันดิ้นได้...ขอรับ...แม้ว่า...มันไม่ได้ขยับไปไหนเลย นี่แหละขอรับ...ที่มา(แท้ๆ ของคำว่า...สองมาตรฐาน...) ไม่ได้เกิดจาก...การจารจารึกใดๆหรอกครับ... หากแต่มันเกิดจาก...จิตของผู้มองภาพ...นั้นๆ...ขอรับ... นัยแห่งตัวอักษร... ถ้ามองดี...ก็ดี...ถ้ามองร้าย..ก็ร้ายได้... ผมจึงกำกับ...คำว่า "ขอรับ"...แสดงต่อเพื่อนๆ เสมอๆ...เพราะต้องการให้ผู้ที่พูดคุยกับผม... ทราบว่า...ผมคือผู้เป็นมิตร...เสมอ... ผมไม่ได้ถือสาใดๆ... เพียงแต่...เพราะผมไม่เคยสนทนากับคุณ จึงกลัวว่า...ถ้า...เราสนทนากัน... แล้ว...เกิดคุณหรือผม...ไม่พอใจกับสิ่งใดๆก็ตาม... แล้วลุกลาม...เลยเถิด...เป็นลืมตัว... แสดงความคิดเห็นมากจนเกินไป... อาจเสียโอกาสที่...จะได้แลกเปลี่ยน ทัศนะต่อกันในโอกาสต่อๆไป ในภาพที่คุณมอง...ผมคงไม่ลงในรายละเอียด... ที่เขียนท่อนที่สอง... เพราะคุณใช้คำว่า "นายกฯต้องได้รับการ เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง...และได้รับ คะแนนการเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้ สิทธิ์เลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งตามม.172" ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า...คุณเขียนผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน... เพราะเข้าใจไปว่า...คุณนึกว่า...นายกฯถูก เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน... จึงเขียนเกริ่น เพียงจำกัดนิยาม...ของคำว่า... "คะแนนเสียงข้างมาก"...ว่า...คือ เสียงที่ ปชช.เลือกผู้แทน นั่นคือนิยามของ...การเลือกทั้งประเทศ... แต่คำว่า...เสียงข้างมาก(ผู้แทน)...ในสภาผู้แทนราษฎร... ต่างหากที่...ชี้วัด ความเป็นรัฐบาล...หรือฝ่ายค้าน.... ภาพของคำว่า"พรรค"ไม่ได้มีข้อกำหนด...ว่า พรรคใหญ่จะต้องเป็นรัฐบาลเสมอไป...หากเสียง(ผู้แทน)ในสภาไม่เกินกึ่ง...นั้นคือ ธรรมเนียมปฏิบัติ...ที่นักการเมืองเรียกกันว่า มารยาททางการเมือง....ที่ยกให้พรรคใหญ่ ได้ดำเนินการรวบรวมเสียง(ผู้แทน)ให้เกินกึ่ง...เพื่อจัดตั้ง...ก่อน... หากไม่สามารถดำเนินการได้...พรรครอง...จึงได้สิทธิ์ในการจัดตั้ง...ต่อไป ซึ่งถึงตรงนี้...ต้องถือว่า...ว่ากันไปตามมารยาททางการเมือง...(ซึ่งมันเกือบจะไม่เหลือ)... ถ้ามองว่า...การจัดตั้ง...รัฐบาล...มีนัยที่ต้อง ให้คำว่า"พรรค"เป็นสาระสำคัญในการ จัดการ...ไม่ใช่ เสียง(ผู้แทน) ในสภา พรรคเพื่อไทย...นั้น...ถ้าว่ากันไป...ก็ไม่เคย จัดคนลงสมัครใดๆเลย...เพราะถูกยุบ...พลังประชาชน แล้วคือพรรคเกิดใหม่... สส.พลังปชช.ก็ย้าย...!!! จริงๆ ก็คือการสมัครลงพรรคเพื่อไทย... แล้ววกกลับเข้ามา...ทำหน้าที่แทนพลัง ปชช. ทำไม??? พรรคเพื่อไทยถึง กล้าที่จะวกกลับมานั่งในสภาได้ ทั้งๆที่ พรรคของตนนั้น...ต้องถือว่า... ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งจากประชาชนจริงๆเลย... ทำไม??? พรรค ปชป.ถึงไม่ยกเรื่องนี้เป็นประเด็น ??? คำตอบก็คือ...นักการเมืองเขานับเสียงผู้แทน... เขาไม่ได้นับว่า "พรรค"...ไหน ได้คะแนน มากที่สุด...ขอรับ หวังว่าคงจะพอมองเห็นภาพที่ชี้แจงขอรับ... ผมขอชี้แจง...เฉพาะรายบทที่ คุณวิชัย กล่าวว่า.. "ถ้ามีการเลือกตั้งอีกก็ต้องมีปัญหาอีก อย่างแน่นอน หรือชอบให้เป็นอย่างนี้เลยตีความแบบนี้" การตีความตามนี้...ไม่ได้เป็นประเด็น... ปัญหา (หลัก) ของคนทั้งประเทศ.... หากแต่เป็น...ประเด็นปัญหากับคนเฉพาะกลุ่ม...ไม่ว่ากลุ่มใดๆ.... ฉะนั้น.... ต้องพิจารณาถึงข้อปัญหา...ในสาระสำคัญ...ของกลุ่มนั้นๆ...ว่า.... ทำไม...เขาจึงคิดแบบนั้น.... สาเหตุ เหตุผล...ที่กลุ่มเขายก...ขึ้นอ้างนั้น มีความถูกต้อง...หรือ...มีสิ่งซ่อนเร้นในนัย ใดๆด้วยรึไม่... ดีกว่า...ที่จะโทษลงไปที่ตัว รธน...เพียงอย่างเดียว... เพราะ...มันไม่ใช่ปัญหาในภาพการมอง...แบบกว้างขวางโดยคนหมู่มาก... มันเป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม...คิดเพียงยกอ้าง...ประเด็น...เท่านั้นรึเปล่า... สรุป...เฉพาะข้อแตกต่าง...ที่มอง...เห็น 1 นายกรัฐมนตรี...ไม่ใช่ ปธน. เปรียบกับ US คงจะไม่ได้ เพราะบ้านเรา...เมืองเรา...เสียงส่วนมาก...ยังไม่เข้าใจระบอบ ดีพอ....คงมีเพียงประชาชนเพียงส่วนหนึ่ง...ที่เข้าใจ ดังนั้น...จึงเสมือนว่า...ประเทศไทย...เดินระบอบ...อยู่บน ปัญหา...ด้านคุณภาพของประชากร...มาโดยตลอด...ตั้งแต่เริ่ม ภาพการมอง เช่น...นาย ข.รักประชาธิปปัตย์ นาย ค.ไทยรักไทย ไม่ว่าจะเปลี่ยน...จะเป็น...จะเลว...จะร้าย...อย่างไร... ก็จะเลือกพรรคเดิม.... เหมือน ประชาชน อเมริกัน...ไหมขอรับ... 2 เสียงที่เลือกตั้งนายก...ไม่ใช่...เสียง...ประชาชนส่วนใหญ่ แต่เป็นเสียงส่วนมาก(กว่ากึ่ง) ของสมาชิกสภาฯ โหวตรับรอง ดังนั้น...การนำเสียงของประชาชน...มาเทียบส่วนเพื่อยกประเด็น ผมเข้าใจได้...แต่...อีกนัยหนึ่ง...ก็รับได้เช่นกัน... สรุปข้อนี้...คือ...ผมไม่เห็นข้อขัดแย้ง...เหมือนคุณ 3 ในหนึ่งสมัย...ที่คุณว่า...มี นายกฯได้เพียงคนเดียวนั้น.... ไม่คิดรึขอรับ...ว่า...การเลือกตั้ง...หนึ่งครั้ง...ต้องใช้งบ ประมาณ...ถ้าจะคงไว้ ตามวาระให้ครบ...4 ปี แม้ว่า... ผิดไปจากครรลอง...บ้าง....แต่ถ้า...นักการเมืองเอง...และ ทุกฝ่าย....ยอมรับได้....ก็ไม่เห็นว่า...จะน่าเกิดความเสียหาย อันร้ายแรงได้...(เว้นเสียว่า...มีการยกประเด็นขึ้นถกอย่าง ไม่ลดละ) ซึ่งก็พบว่า...มีการปฏิบัติในก่อนหน้า และมองภาพยอมรับ....กันอยู่ ประเด็นนี้...ผมเชื่อว่า...ต้องมีกำกับ...ไว้ใน รธน. แต่ถ้าไม่มี...ก็ถือได้ว่าเป็น...ธรรมเนียมทางการเมือง...ก็ได้ ซึ่งก็ไม่น่า...จะเป็นประเด็น...ยกอ้าง... อนึ่ง...การเขียนตอบนี้...มิได้มีเจตนา เพื่อเสมือนการ โต้ตอบแต่ประการใด... ผมประสงค์เพียงเพื่อ...เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะ...เท่านั้น...ขอรับ... ส่วนตัวผม... ผมมองข้ามเรื่องทั้งหมดแล้ว... ผมพิจาณาถี่ถ้วนแล้ว... ระบอบ...ไม่ได้เป็นตัวปัญหา... คนที่ใช้มันและที่เกี่ยวข้องกับมันต่างหาก....ที่คือตัวปัญหา... ต้องใช้อคติ...ตรวจจับ...ความทุจริต...ให้ถึงที่สุด จึงจะได้...คนที่สามารถทำงานได้....ถูกต้องตามครรลองที่สุด ขอยกอุปมา... ถนน...ใด ไร้ ด่านตรวจ กับสภาพถนน ที่ไร้ คนดูแล ทุกคน...จะเริ่มออกนอกวิถี ทำทุกวิธี เพื่อไปยังจุดหมาย ทำกันจนชิน... จนไม่นึกว่า...มันคือครรลองที่ผิด ไม่เคยคิด...จะหยุดมอง...ว่า เพราะสาเหตุใด ท่ามกลาง วิกฤติ ที่เลวร้าย.... มองแค่ภาพการตีความในรัฐธรรมนูญ(ไม่ใช่ว่าไม่ต้องมอง) แล้วบอกว่า...คือต้นตอของ ปัญหา...แล้วแก้กันไป... ถ้าจะจบเพียงแค่นั้น... เสียดายโอกาส...ที่ซ่อนตัวอยู่ในวิกฤติ ขอรับ... ทำไม...ถึงเห็นม็อบ...ออกมาประท้วง...กันตลอดมา... ไม่ว่า...จะเป็น ข้าว กระเทียม อ้อยฯลฯ ทั้งๆที่...เขาก็มีองค์กรภาคประชาชน... จัดการให้อยู่... หรือ...พอมีใครที่...ลุกขึ้นพูดชี้แจงได้ ชาวบ้านก็รวมตัวกัน...เป็นม็อบ เดินทางมาเรียกร้องกับภาครัฐฯ เพราะเขาไม่มีใคร จัดการในภาพรวมของประเทศ...ได้ เพราะคนที่จัดการในระดับองค์กร... ไม่สามารถชี้เป็นชี้ตาย ให้รัฐเดินตามครรลองที่ถูกต้อง...ได้... ถ้า...รัฐ ยังจะเพิกเฉย...ซะอย่าง... ก็ต้องมีม็อบกันต่อไป... แต่ในอนาคต... ถ้ามีสภาประชาชน...ชี้เป็นชี้ตาย...เหล่าผู้แทนได้... ลองคิดเล่นๆดูขอรับ... ผู้แทน จะให้ความสำคัญกับ "พรรค" รึ กับ "สภาประชาชน" มากกว่ากัน.... นั่นหมายถึงว่า...ผู้แทนเล่นนอกเกม... ได้ยากขึ้น...ซับซ้อนน้อยลง... และถ้า ผู้แทน...คือ ผู้แทน จริงๆเสียที เราจะได้เห็น...ภาพการขุดเรื่องไร้สาระ มาถกกัน ตอนถ่ายทอด การประชุมสภา รึไม่.... ผมไม่อยากเป็นเจ้าของประชาธิปไตย แค่ 3 วิ อีกต่อไปแล้ว...ขอรับ.... นับถือ... ขอโทด...อีกครั้ง....น้า...อาคุง นพพร....
30 เมษายน 2553 21:03 น. - comment id 1124781
แนวคิดตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นแนว คิดการเลือกตั้งแบบสหรัฐแต่แตกต่างกัน ที่บ้านเรากำหนดเป็นนายกรัฐมนตรี กำหนดให้พรรคเสียงข้างมากเข้ามาบริหาร ประเทศมากกว่าจะให้พรรคเสียงข้างน้อย ตามบทบัญญัติเขาก็เขียนไว้ชัดเจนแล้ว แต่การจะใช้บังคับกฎหมายได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นเพราะสาเหตุ อันใด ให้พิจารณาดู ผลกระทบจากการรัฐประหาร คดียึดทรัพย์ คดียุบพรรค คดีอดีตนายกฯ อีกหลายคดี รวมทั้งเครือญาติ จึงทำให้ กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับสมบูรณ์ ไม่ได้ เพราะเสียงส่วนใหญ่เป็นเสียงของ พรรคที่มีปัญหาทางกฎหมายดังกล่าวข้างต้น อยู่ในระหว่างกระบวนการยุติธรรมจึงปล่อย ให้บริหารประเทศไม่ได้ พรรคพลังประชาชน บริหารประเทศได้ไม่นานก็ถูกยุบพรรค เพราะเป็นประเด็นทางการเมือง กับเรื่องคดี ยึดทรัพย์ซึ่งศาลฎีกาสามารถตัดสินชี้ขาด ได้ในสมัยรัฐบาลนายก ปชป. แบบหึดขึ้นคอ ก็ดูสีหน้าท่านผู้พิพากษาก็หน้าจะดูออก คดีแบบนี้เป็นคดีชี้อนาคตของประเทศเลย เงินจำนวนมหาศาลลองคิดดูว่ามีผลต่อเศรษฐ กิจขนาดไหน การต่อสู้ทางการเมืองสมัยนี้ ต้องใช้เงินทั้งนั้น ยิ่งมีเงินมากก็ยิ่งยาวนาน เดือดร้อนกันทุกฝ่าย ก็เพราะเงินเหล่านี้เอง ผลการเลือกตั้งครั้งที่แล้วก็ออกมาใกล้เคียงกัน แพ้กันไม่เท่าไหร่สำหรับเสียง popular vote แต่ไม่มีพรรคไหนเกินครึ่ง ปัญหาที่ตามมา ก็คือคะแนนเสียงแบบนี้จะยอมรับผลการเลือก ตั้งกันหรือไม่ ชนะไม่ขาดลอยเกิดปัญหา รัฐบาลใหม่จะมีเสถียรภาพมากเพียงไหน สมัยทักษิณชนะขาดลอยจึงเป็นรัฐบาลที่มี เสถียรภาพมากการแก้ปัญหาต่างๆ ทำได้ง่าย สามารถกำหนดนโยบาย โครงการต่างๆ ได้ อย่างสบาย โดยไม่มีใครคาดคิดว่าจะทำได้ สภาประชาชนจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน ทางการเมืองโดยตรงก็เป็นสิ่งดี ติดแต่ว่า ผู้แทนจะยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญให้หรือเปล่า ผู้แทนสมัยนี้คิดว่าคิดถึงประโยชน์ของชาติ หรือตนเอง คิดดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากการขัดแย้ง เรื่องอำนาจผลประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น ถ้ายอมเจรจายุติปัญหา ไม่มีความขัดแย้ง ต่างฝ่ายต่างยุติก็จบไปนานแล้ว เห็นเจรจาแล้วมีแต่เงื่อนไขต่อไปเรื่อย ๆ และนี่คือจุดอ่อนของรัฐบาลเสียงข้างน้อย เพราะเป็นพรรคฝ่ายค้านมาก่อนก็ย่อมเป็น ธรรมดาที่คะแนนเสียงมีน้อยเมื่อได้เป็น รัฐบาลแต่จะต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆที่ รัฐบาลชุดก่อนวางไว้มากมาย ก็ถือว่าเป็นการ ทดสอบความสามารถอย่างหนึ่งถ้าสามารถ บริหารประเทศสร้างฐานเสียงข้างมากได้ ก็นับว่าเป็นรัฐบาลที่มีความสามารถ ทำสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่ายได้สำเร็จ ก็ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จในการ เป็นนักการเมืองอย่างหนึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังรอคอยความหวัง ที่จะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ดีใช้ในการ ปกครองประเทศ มีผู้แทนที่ดีมาบริหาร ประเทศในอนาคต ทิศทางการเมืองของประเทศไทยจะเป็น เช่นไรก็ต้องเป็นไปตามทิศทางการเปลี่ยน แปลงของประเทศมหาอำนาจ เช่นสหรัฐ เมื่อสหรัฐมีการเปลี่ยนแปลงการเมือง ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงตาม ก็เหมือน กับเศรษฐกิจโลกจะเคลื่อนไหวไปตาม ทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เพราะเงิน ดอลล่าร์ยังมีอิทธิพลเหนือเศรษฐกิจการเมือง ของโลกทุกวันนี้ ให้สังเกตุย้อนหลังดูได้ ว่าเรามีการเปลี่ยนแปลงตามสหรัฐเสมอ การแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิส่วนตัว เรื่องความขัดแย้งไม่เห็นจะมาเกี่ยวอะไร เพราะไม่มีผลประโยชน์ได้เสียอะไรเลย แต่ในฐานะคนไทยก็เป็นห่วงประเทศที่ เราอยู่อาศัยเป็นธรรมดา หรือจะอยู่นิ่ง เฉยให้โจรปล้นประเทศไปอย่างง่ายดาย คนไทยที่รักชาติก็ต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เป็น ธรรมดา ถ้าตราบใดการเมืองสหรัฐยังไม่เปลี่ยนขั้ว คิดว่าเมืองไทยก็ยังเปลี่ยนแปลงยาก