หลักธรรมในการดำรงชีวิต
ทรายกะทะเล
ขออนุญาติ คัดเป็นร้อยแก้วพื่อประโยชน์สุขของคนทั่วไป
พรหมวิหาร4:-
เมตตา-ช่วยเหลือผู้อื่นให้เป็นสุข
กรุณา-ช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
มุทิตา-ยินดีเมื่อผู้อื่นมีสุข
อุเบกขา-การวางเฉยเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ ไม่ซ้ำเติม
สังคหวัตถุ4
ทาน-คือรู้จักการให้ทานนอกจากจะเป็นการฝึก/พัฒนาตนเองไม่ให้เป็นคนเห็นแก่ตัวแล้วยังเป็นการชวยทำให้คนอื่นมีสุขและคลาทุกข์ได้อีกด้วย มีข้อสังเกตให้คิดว่า การให้คือการได้ หรือ ขาดทุนคือกำไร ถ้ามีโยนิโสมนสิการ คือคิดเป็นคิดถูกวิธี เราก็จะมีความสุขจากการให้เสมอ อนึ่งสังคมส่วนรวมจะอยู่ได้ก็ด้วยการที่คนในสังคมมีจิตใจช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน เช่นคนมีมากก็แบ่งให้คนมีน้อยคนเก่งมากก็รู้จักสอนรู้จักฝึกให้คนเก่งน้อย มิใช่ใช้ความเก่งของตนเพื่อเล่ห์เหลี่ยม ตักตวง เอารัดเอาเปรียบคนอื่นหรือดูถูกดูแคลนคนอื่นที่ด้อยกว่า
ปิยะวาจา-รู้จักการพูดดีมีประโยชน์หมายถึง การรู้จักใช้วาจาคำพูดที่ไพเราะเสนาะหู จะพูดจะจากับใคร เมื่อใดและที่ไหนก็เป็นคำพูดที่จริงใจตรงไปตรงมามีความสุภาพอ่อนโยน ทำให้เกิดมิตรไมตรี ผู้ได้รับฟังก็มีความรู้สึกประทับใจ พึงพอใจคล้อยตามและสามารถนำไปคิดพิจารณาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
อัตถจริยา-รู้จักทำตนให้เป็นคนมีคุณประโยชน์ต่อคนอื่นต่อชุมชนสังคมประเทศชาติ คนที่มีจิตสำนึกในการทำตนให้เป็นประโยชน์ เจาจะรู้จักวางแผนจัดแบ่งเวลาของตนที่จะร่วมมือร่วมใจและเต็มใจในการช่วยเหลือคนอื่น และเขายังจะชักชวนส่งเสริมให้คนอื่นเกิดการเรียนรู้ที่จะเสียสละช่วยเหลือสังคมส่วนรวม ตามแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมของจริยธรรมและคุณธรรมอีกด้วย
สมานัตตา-รู้จักวางตนให้เหมาะสม มีความเสมอต้นเสมอปลายและร่วมทุกข์ร่วมสุขคือการวางตนได้อย่างเหมาะสม กลมกลืนเป็นอย่างดีทั้งในหมู่ชนกาละเวลา สถานที่ วัฒนธรรมและ
หิริ คือความละอายต่อความชั่ว
โอตัปปะ คือความเกรงกลัวบาป
พุทธโอวาท
ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ เอหิภิกขุ อุปสัมปทา 1,250 รูป มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายพระพุทธเจ้าได้ทรงให้โอวาทปาฏิโมกข์ มีใจความสำคัญ 3 ข้อคือการ ไม่ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และการทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
1.การไมทำชั่ว
ทางกาย-ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรมานกักขังสัตวไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม ไมทำลายวัตถุสิ่งของอันเป็นที่รักของผู้อื่น
ทางวาจา-ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดโกหก
ทางใจ-ไม่คิดอยากได้ของคนอื่น ไม่คิดพยาบาทปองร้าย คือคิดแก้แค้น ไม่เห็นผิดเป็นชอบ ไม่หลงงมงายกับความคิดที่ผิด 2.ให้ทำความดี
ทางกาย-ให้มีความเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ถือเอาสิ่งของอื่นมาเป็นของตนมความสำรวมกาย
ทางวาจา-ให้พูแต่ความจริง พูดแต่คำที่ช่วยส่งเสริมความสามัคคี พูดแต่ตำที่อ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบ และพูดแต่คำที่มีสารประโยชน์
ทางใจ-พอใจแต่ของที่ได้มาโดยชอบธรรม แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย มีความสุข มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม3.การทำจิตใจให้แจ่มใส คือการทำจิตใจให้หมดจากเรื่องเศร้าหมองหมายถึงการทำใจให้ปราศจากสิ่งต่อไปนี้
ความไม่โลภ คือหมั่นฝึกอบราจิตใจตนเองให้สามารถระงับความอยากได้ คนที่ไม่อยากได้ของของผู้อื่น ย่อมจะไม่กระทำความชั่วทั้งปวง
ความไม่โกรธ ไม่ประทาร้ายคือพยายามฝึกจิตใจของตนให้เป็นคนที่มีเมตตา ปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นทีความสุขเบียดเบียนกัน ผู้ปราศจากโกรธ ย่อมไม่ทำร้ายผู้อื่น มีด่าคำหยาบ และไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
ความไม่หลง รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้บาป บุญคุณโทษ ผู้ปราศจากความหลงย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก มีความเจริญก้าวหน้าไม่มัวเมาอยู่กับอบายมุข
ธรรม5
-เมตตากรุณา
-สัมมาอาชีวะ
-รักครอบครัว
-ซื่อสัตย์
-มีสติสัมปชัญญะ
ฆราวาส4
-สัจจะ-
-ธรรมมะ
-ขันติ
-จาคะ