เหม่อฟ้าหมองมองพร่ำเพ้อเผลอยืนโศก มองไม้โยกโบกบิดใบไหวลอยเลื่อน เสียงน้ำเซาะเลาะเคาะทรายคล้ายใครเตือน อย่าลืมเพื่อนเบือนบ่ายหน้าลาหนีไกล บนทางเหงาเคล้าเงาคล้ำกล้ำกลืนเจ็บ ยากจะเก็บเหน็บร้าวร้อนหลอนโศกซ่อน หวังมีมิตรคิดคอยคลอรอปลอบรอน หวังทุกข์คลอนค่อนคล้อยคลายคล้ายหมดแรง ถนนฝันหวั่นทางนักมักลื่นไหล ฝันในใจได้แค่คิดผิดแสดง มุ่งตรงทางคว้างกลับขวางย่างย้อนแย้ง จิตถูกแกล้งแสร้งให้ร่ายกรายเกินเพ้อ ฟากฝันใฝ่ใกล้อาบทั่วกลัวเกินถัก แม้ใจรักภักดิ์บทกลอนสอนเสนอ แต่อ่อนด้อยร้อยร่ายเรียงเคียงละเมอ กราบเพื่อนเกลอเธออย่าบ่นปนระอา
21 มกราคม 2551 22:04 น. - comment id 813802
เขียนได้อารมณ์มากครับ http://srakaew.tht.i
21 มกราคม 2551 23:37 น. - comment id 813839
ดีจ้า........ เพราะมากจ้ะ........
22 มกราคม 2551 07:37 น. - comment id 813868
ทำไมมีสูตรเยอะจังเลย ( กลบท ) ตอนแรกอยากจะศึกษา มาช่วงนี้ชักมึนแล้วครับ ยากกว่าสูตรเรขาคณิตเสียอีก
22 มกราคม 2551 08:54 น. - comment id 813894
ขอบคุณ คุณต้นกล้าที่แวะมาอ่านและชอบกลบทแบบนี้นะคะ
22 มกราคม 2551 08:57 น. - comment id 813897
ขอบคุณ ค่ะ พี่แจ็ค เลิกเรียนจะตามไปเม้นต์ให้เพื่อนๆ และอ่านของทุกคนนะคะ ช่วงนี้โอเลี้ยงยุ่งทั้งงานและเรียนค่ะ...อิ อิ แอบแว๊บมาตอนพักช่วงเปลี่ยนอาจารย์สอนค่ะ
22 มกราคม 2551 09:00 น. - comment id 813899
โอเลี้ยงเก่งง่า...สอนพิมมั้งจิ... กาแฟไหมคะ
22 มกราคม 2551 09:01 น. - comment id 813902
เป็นความจริงตามที่คุณ คนบนเกาะเข้าใจค่ะ กลบทมีมากจริงๆค่ะถ้าโอเลี้ยงจำไม่ผิดมีถึง 78 แบบมั้งคะ ตอนนี้โอเลี้ยงเรียนแบบไปแต่งกลอนตามไปค่ะ อิ อิ ไม่จำเป็นต้องเรียนทุกแบบนะคะ แค่เรารู้สึกว่าชอบแบบนั้น หัดแบบนั้น มันก็ง่าย..ใช่ไหมคะคุณคนบนเกาะ ................................ กลบท กลบท คือ การประดิษฐ์ คิดแต่งคำประพันธ์ ให้มีลักษณะ แปลกไปจากเดิม โดยลักษณะ บังคับเดิม ของคำประพันธ์นั้น ยังคงใช้อยู่ครบถ้วน แต่แต่งเพิ่มเติมขึ้นให้ต้องตามลักษระของกล คำประพันธ์ ที่แต่งเป็น กลได้มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ซึ่งสามารถแต่งได้เป็น ๒ แบบ คือ แบบกลอักษร และแบบ ซ่อนรูป (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลแบบ) กลบทเป็น เครื่องแสดงสติปัญญา ของกวีในการที่ จะคิดค้น พลิกแพลง กวีนิพนธ์ แบบฉบับ ให้มีลักษณะ เด่นเป็นพิเศษขึ้น โดยการเพิ่ม ลักษณะบังคับต่างๆ และเป็นเครื่อง ลับสมอง ลองปัญญา ในหมู่กวี ด้วยกัน ในการที่จะ พยายาม ถอดรูปกลแบบ ที่ซ่อนไว้ให้สำเร็จ ผลพลอยได้ ก็คือความไพเราะ ของกวีนิพนธ์ แต่ก็มีกลบท อีกจำนวนไม่น้อย ที่ไพเราะสู้ คำประพันธ์ ธรรมดาไม่ได้ เนื่องจาก กวีเพิ่มลักษณะบังคับ ที่ไม่เอื้ออำนวย มีหลักฐาน เป็นที่เชื่อถือได้ว่า กวีไทยได้แบบอย่าง การแต่งกลบท มาจากอินเดีย ในคัมภีร์ สุโพธาลังการ อันเป็นตำรา อลังการศาสตร์ ฉบับบาลี ที่รวบรวมขึ้น โดยพระสังฆรักขิต ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และตำรา อลังการศาสตร์ ฉบับสันสกฤต ของวาคภัฏ ที่รวบรวมขึ้น ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ล้วนปรากฏ กลวิธีการประพันธ์ ที่มีลักษณะ เหมือนกับกลบท ของไทย ตำรากลบทของไทย มีอยู่ด้วยกัน ๓ เรื่องคือ ๑. จินดามณี แต่งขึ้นใน สมัยอยุธยา ตอนกลาง ในรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ผู้แต่งคือ พระโหราธิบดี มีลักษณะ เป็นแบบเรียน ภาษาไทย เนื้อหาประกอบด้วย การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่างๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ ๖๐ ชนิด มีทั้ง กลอักษร และกลแบบ ๒. ศิริวิบุลกิตติ์ แต่งในสมัย อยุธยา ตอนปลาย ผู้แต่งคือ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เนื้อเรื่องนำมาจาก ศิริวิบุลกิตติ์ชาดก แต่งด้วย คำประพันธ์ ประเภทกลอน โดยใช้กลบท ชนิดต่างๆ สลับกันตลอดเรื่อง รวมกลบท ทั้งสิ้น ๘๕ ชนิด มีทั้งที่ซ้ำ และต่างจาก กลบทใน จินดามณี เนื่องจากแต่งโดย ผูกเป็นเรื่องราว กลบทใน ศิริวิบุลกิตติ์ จึงเป็นแบบกลอักษร ทั้งหมด ๓. ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ เกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๗๕ ทรงปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพน ฯ และทรงมี พระราชประสงค์ จะให้เป็น แหล่งเล่าเรียน วิชาความรู้ ของมหาชน ไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ให้รวบรวม เลือกสรร ตำรับตำราต่างๆ โดยตรวจแก้ จากของเดิมบ้าง และประชุม ผู้รู้ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง ทั้งด้าน วรรณคดี โบราณคดี และวิชาอื่นๆ และโปรด ฯ ให้จารึก แผ่นศิลาไว้ ในบริเวณ วัดพระเชตุพน ฯ เมื่อผู้ใดสนใจ วิชาใด ก็สามารถ เล่าเรียนได้จากศิลาจารึกนั้น จารึกวัดพระเชตุพนฯ ได้รับการรวบรวมพิมพ์ เป็นหนังสือขึ้น ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทร้อยแก้ว และประเภทร้อยกรอง ในแต่ละประเภท ยังแบ่งออกเป็น ๕ หมวด มี หมวดประวัติวัด หมวดวรรณคดี หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ และหมวดอนามัย ตำรากลบท อยู่ในหมวดวรรณคดี มีทั้งหมด ๙๗ ชนิด มีทั้งกล อักษร และกลแบบ ส่วนใหญ่ ซ้ำกับกลบทใน ศิริวิบุลกิตติ์ ชนิดของกลบท จำแนกออกเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ ๕ ประเภทคือ ๑. ชนิดบังคับเสียง แบ่งเป็นลักษณะย่อย ๕ อย่างคือ ๑.๑ บังคับเสียงสระ ๑.๒ บังคับเสียงพยัญชนะ ๑.๓ บังคับเสียงสระและพยัญชนะ ๑.๔ บังคับวรรณยุกต์ ๑.๕ บังคับเสียงสั้น-ยาว, หนักเบา ๒. ชนิดบังคับคำ ๒.๑ ซ้ำคำต้นวรรคในลักษณะกระทู้ ๒.๒ ซ้ำคำในวรรคเดียวกัน ๒.๓ ซ้ำคำข้ามวรรค ๒.๔ ซ้ำคำใดคำหนึ่งตลอดบท ๒.๕ ซ้ำคำถอยหลังในวรรคเดียวกัน ๒.๖ ซ้ำคำถอยหลังข้ามวรรค ๓. ชนิดบังคับทั้งเสียงและคำ ๔. ชนิดบังคับอักขรวิธี ๕. ชนิดบังคับฉันทลักษณ์ ๒.กลแบบ กลแบบได้แก่ การนำคำประพันธ์ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มาวางรูปเสียใหม่ ให้ผิดไปจากเดิม เพื่อให้ผู้อ่านถอด ผู้อ่านจะต้องทราบฉันทลักษณ์ ของคำประพันธ์ ชนิดนั้นๆ จึงจะสามารถ ถอดคำอ่านได้ การซ่อนรูป คำประพันธ์นี้ มี ๒ ลักษณะคือ ๑. เปลี่ยนรูปคำประพันธ์ให้ผิดไปจากเดิม ๒. เรียงคำเป็นรูปต่างๆ เช่น เป็นตาราง เป็นรูปดอกไม้ ฯลฯ กลแบบนี้ จะมีเฉพาะคำประพันธ์ ประเภทโคลงสี่เท่านั้น เนื่องจากเป็นคำประพันธ์ ที่จบบทในตัว สามารถ นำมาวางรูปต่างๆ ได้พอเหมาะ ส่วนคำประพันธ์ ชนิดอื่นๆ ฉันทลักษณ์ไม่เอื้ออำนวย ต่อการนำมาบังคับรูป กลแบบชนิดต่างๆ ที่นำมานี้คัดลอกมาจาก หนังสือ จินดามณี และ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ โดยนำมาจัด หมวดหมู่ใหม่ ตามลักษณะร่วม เพื่อง่ายต่อการศึกษา และทำความเข้าใจ
22 มกราคม 2551 09:05 น. - comment id 813905
อิ อิ กาแฟหอมๆถ้วยนี้ค่ะคุณพิมญดา ชื่นใจจัง อิ อิ ต้องขอตัวก่อนนะคะ อาจารย์เข้ามาสอนแล้ว เลิกเรียนมาใหม่ค่ะ
22 มกราคม 2551 13:52 น. - comment id 814027
กลบทหงษ์ทองลีลา(กลอนหก)แต่งไว้เมื่อ นานมาแล้ว ขออนุญาตมาแจมนะคะ คนใด คิดคดปดโป้ คนนั้น ชั่วโช่ฉ้อฉล คนใด คิดผลาญพร่าคน คนนั้น อับจนปัญญา คนใด กินบ้านกินเมือง คนนั้น ต้นเรื่องปัญหา คนใด ไร้ซึ่งธรรมา คนนั้น บาปหนาน่าอาย คนใด ไม่ทำหน้าที่ คนนั้น รู้ดีเมื่อสาย คนใด มักง่ายเกลื่อนกลาย คนนั้น ห่างหายวินัย คนใด ใจใสซัตย์สื่อ คนนั้น ควรยึดถือไว้ คนใด ปกป้องผองไทย คนนั้น ยิ่งใหญ่รุ่งเรือง คนใด รักความสงบ คนนั้น น่าคบปราดเปรื่อง คนใด ฉลาดฟูเฟื่อง คนนั้น ครบเครื่องนำพา คนใด คิดด้วยเหตุผล คนนั้น คือคนคุณค่า คนใด คิดด้วยปัญญา คนนั้น ควรค่าเหนือคน ชอบอ่านกลบทนะคะลูกเล่นแพรวพราวเลยแต่ยากกับการหาคำนี่แหละค่ะ เลยพับโครงการไปดื้อๆ อิอิ
22 มกราคม 2551 17:18 น. - comment id 814162
ไม่ใช่ง่ายเลยนะเนี่ย... นับถือ..นับถือ.. เข้าบ้านนี้...ได้ความรู้แยะเลย..เด๋ววันหลัง..ขอแจมนะ..วันนี้..คิดมะออก..ไปก่องนะ...
22 มกราคม 2551 18:49 น. - comment id 814227
กลอนเพราะค่ะ คุณโคลอน ที่จริงกลบทแบบง่ายก็มีเยอะนะคะ
22 มกราคม 2551 18:53 น. - comment id 814229
ขอบคุณ คุณหมองอิงค่ะ เวลาเขียนกลอนต้องมีอารมณ์สนุกจริงๆค่ะ ไม่งั้นใจมักเบื่อที่จะเขียนกลอนยุ่งยากค่ะ