** คิดคน ** ๏ คงคาคงคดเคี้ยว เคียงคลอง คำค่าคนใคร่ครอง คิดคว้าง คงแค่คิดเคร่งคล้อง ครวญคร่ำ คำเคย คู้คุดแค่คอนค้าง คลาดแคล้วเคียงครอง ฯ ความคิดคนแค่คล้อง คดคลอน คอยเคร่งค้างคิดค้อน คร่ำแค้น เคียดเคว้งคบคำค่อน คงแค่ คว้างเคย เคลิ้มเคลือบแคลงคล้ายแคว้น คุดคู้โคลงเคลง ฯ คงใคร่ครวญคลาดแคล้ว คุกคาม ครั้นคิดคอยคลายคร้าม คั่งค้าง คิดคดเคี้ยวคล้อยความ คงคลั่ง ค้างเคย ความเคลื่อนคล้อยคอยคว้าง คู่คล้องคงคลาย ฯ ควรครองคิดแค่ค้น คมคาย คืนค่ำแคลงเคลือบคลาย คับแค้น เคลือบเคล้าคิดคลั่งไคล้ คงคร่ำ ครวญแค คงแค่คิดครองแคว้น คลั่งไคล้แคลนคลอน ๚ะ๛ *** แก้วประเสริฐ. ***
11 สิงหาคม 2550 17:56 น. - comment id 737281
เล่นแปลกอย่างนี้บอกไม่ถูกเลยเจ้าค่ะ แต่ต้องบอกว่าเยี่ยมค่ะ ใช้แค่อักษรเดียว ทำได้ยังไงคะ...เก่งที่สุด..
11 สิงหาคม 2550 18:11 น. - comment id 737286
เพระอีกแล้วคะคุณลุงแก้ว อ่านอาจจะงงหน่อยแต่พิมอ่าน2รอบอะ อิอิ...ไม่งั้นไม่เข้าจาย บายนะคะ
11 สิงหาคม 2550 21:07 น. - comment id 737316
สวัสดีค่ะ คุณแก้วประเสริฐ ขอเป็นศิษย์สอนคำโคลงให้บ้างได้รึเปล่าคะ จิตรำพัน หลงใหล คำโคลงนัก ยากจะหัก จิตใจ จากลุ่มหลง แล้วนี่ยัง แก้วประเสริฐ ยังนำลง เล่นคำส่ง อักษร ค ต้องใจ ยากจะแต่ง คำโคลง ส่งหาได้ ตัวเราไซร้ ยากจะแต่ง อย่างใครไหน อีกเหนือหา ต้องจิต คน คนไง หยุดนิ่งไม่ ความคิด คน ช่างสมคน ความคิดของคน ก็คนไปคนอยู่ในอ่าง ไม่เหมือนแอ่งน้ำ ที่ชุ่มเย็นที่นอนนิ่งสงบเงียบ นับถือนับถือ
11 สิงหาคม 2550 21:20 น. - comment id 737319
ด้วยความนับถือจริงๆค่ะ รีณาติดตามอ่านของคุณ แก้วประเสิรฐ ทุกผลงาน แต่อันนี้ประทับใจมากค่ะเล่นคำด้วยอักษรต่ำ เพียงตัวเดียว และมีความหมาย ใจความด้วย รีณาว่าเอาไปใช้เป็นโคลงตัวแม่แบบได้เลยค่ะ ขอแสดงความนับถือจริงๆ เสียดายที่ไม่ได้เรียนทางสายนี้มา..
11 สิงหาคม 2550 22:29 น. - comment id 737335
ครวญคำคนคิดค้น คมคาย ชวนชิดชมชอบชาย ชื่นชู้ มวลมิตรม่ายมากมาย มองแม่ เมินเมย รอยเร่าร้อนรื่นรู้ เริ่มเร้ารักเรียม ลุงแก้วสุดยอดไปเลยค่ะ..อ่านโคลงของคุณลุงแล้ว มันสะกิดต่อมอยากรู้อยากเรียนรพีอย่างจัง.. หลานไม่สามารถแต่งอย่างลุงได้เลยค่ะ...แต่ก็ลองแต่งดูได้แค่นี้แหละค่ะ.. คิดเกือบชั่วโมงเลยค่ะลุงขากว่าจะได้บทนี้.. อ่านไปอ่านมารพีไม่เห็นเข้าใจโคลงที่รพีแต่งเลย..
11 สิงหาคม 2550 23:25 น. - comment id 737348
คารวะท่าน...แก้วประเสริฐ.... ข้าน้อยงงงวยแย้วววววววววว นับถือๆๆๆๆๆๆๆ.............. ขอคุกเข่าฝากตัวเป็นศิษย์...........ด้วยเน้อ....
12 สิงหาคม 2550 03:33 น. - comment id 737389
12 สิงหาคม 2550 09:08 น. - comment id 737402
คุณ มณีจันทร์ ฮิฮิ...ก็ผมบอกแล้วว่าเล่นแปลกๆสนุกฝึกสมอง เราได้อย่างดีจ๊ะ ขอบคุณที่ชมครับ ฮ่าๆๆๆ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 09:11 น. - comment id 737403
คุณ พิมญดา ก็ผมบอกว่าผมเล่นแปลกๆโดยใช้อักษร ตัวเดียวห้ามอักษรอื่นปะปนครับฝึกสมองเราได้ อย่างยอดเยี่ยมเชียวครับ ลองเล่นดูซิครับ อิอิ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 09:45 น. - comment id 737408
คุณ จิตรำพัน ผมเองความรู้น้อยนิดแค่งูๆปลาๆหางอึ่งเท่านั้น มิบังอาจเป็นอาจารย์ใครได้ครับ นอกจากจะให้ ความแนะนำเท่าที่ความรู้มีได้ครับ เอาเป็นว่าผม จะให้คำแนะนำก็แล้วกันนะครับ การจะเล่นบทกลอน อะไรไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย หรืออะไรที่แตกแยกกันไปตามแต่ความคิดของ แต่ละบุคคล ก็มักจะมาในทำนองเดียวกันคือ บูรพาจารย์เก่าท่านวางกฏเกณฑ์ไว้ครับ อยู่ที่ ว่าเราจะดัดแปลงอย่างไรเท่านั้นเองแต่ก็ต้อง อยู่ในกฏข้อบังคับของแต่ละอย่างไว้ ส่วนคุณ นั้นต้องการแค่โคลง มีบทบัญญัติไว้ดังนี้ครับ กฏข้อบังคับ กา กา กา ก่า ก้า กากา กากา(คำสร้อย) กา ก่า กา กา กา ก่าก้า กา กา ก่า กา กา กาก่า กากา(คำสร้อย) กา ก่า กา ก่า ก้า ก่าก้ากากา กากา(คำ สร้อย) เขาวางกฏไว้ดังนี้ครับ แต่บาทที่สองคำที่ หกเจ็ด และบาทที่สี่ คำที่ห้าและหก จะสลับกัน ไม่ได้เด็ดขาด ประกอบด้วย เอกเจ็ดโทสี่ เป็นข้อบังคับไว้ ส่วน เอกนั้น จะใช้คำแทนคือคำตายทั้งหมด หรือ ในแม่ ก.กา กก กด กบ แทนคำเอกก็ได้ครับ ส่วนคำสร้อยนั้นต้องไม่เป็นคำตาย ต้องเป็นคำ เป็นเสมอนะครับ การใช้คำสร้อยเพื่อจะขยาย ความในคำที่อาจจะมิต่อเนื่องเน้นให้เข้าใจและ จะได้ความไพเราะมากยิ่งขึ้น กลอนจะไม่กระด้าง หากปราศเสียจากคำสร้อย มักจะลงท้ายด้วย คำ ดังนี้ คือ คำนาม เช่น พ่อ แม่ พี่ ฯลฯ คำกริยานุเคราะห์ เช่น เทอญ คำสันธาน เช่น ฤา แล ก็ดี คำอุทาน เช่น ฮา แฮ เฮย เอย เวย รา อา นอ ฯลฯ จะใช้คำอื่นที่เป็นคำอุทานก็ได้แต่เขา มักไม่นิยมใช้กันครับ คำวิเศษณ์ เช่น บารนี เลย เป็นต้นครับ การเขียนโคลงต้องคำนึงถึงทำนองอ่าน และความหมายทั้งสี่บาทให้สอดคล้องกันเสมอ ส่วนการเล่นของผมนั้นใช้อักษรต่ำตัวเดียว เท่านั้น เช่น ตัว ค ต้องเป็นตัวเดียว ทั้งหมด แต่ใจะใช้คำอื่นก็ได้ เช่น บาทที่หนึ่ง ใช้ ตัว ค ตัวเดียวต้องให้หมด บาทที่สองจะใช้อักษรอื่น ก็ได้แต่ต้องเป็นอักษรตัว เช่นของคุณ bananaleaf เป็นต้นครับถือว่าไม่ผิด หรือว่าจะใช้อักษรเสียงคู่กันคือ อักษรต่ำคู่กับ อักษรสูงก็ได้ คือ อักษรต่ำ คู่กับ อักษรสูง ค ฆ " ข ฑ ฒ ทธ " ฉ พ ภ " ฐ ถ ฟ " ฝ ฮ " ห และยังมีอีกอย่างหนึ่งคือ บาทแรกนั้น คำที่เจ็ด ห้ามใช้ไม้ โท เด็ดขาดครับ หรือจะใช้อักษณสูง ก็ได้ครับแต่ต้องไม่มีตัวสระผัน โอ้ยๆๆๆ ผมรู้มาแค่นี่แหละครับ จากการค้นหา บ้างได้รับการแนะนำจาก คุณอัลมิตราบ้าง ท่าน อื่นๆบ้างครับ ต้องหัดเล่น สำหรับผมนั้นนอกจาก การเกณฑ์กฏข้อบังคับแล้วผมจะถือทำนองเสียง เป็นหลักสำคัญโดยใช้ ใจและอารมณ์ผมเป็น หลักในการเล่นครับ ผมแนะนำเท่านั้น ส่วน คุณ bananaleaf ก็เหมือนกันเป็นคนแรกที่ผม แนะนำให้มากที่สุดรองมาคือคุณครับ การเล่น คำแบบตัวเดียวนั้นยากมากและก็สนุกสนานดี ฝึกสมองเราได้อย่างยอดเยี่ยมครับ ต้องหมั่น ฝึกบ่อยๆจนเกิดชำนาญ ให้คิดว่าเมื่อเขียนแล้ว ต้องถูกใจเรา จะไม่ถูกใจคนอื่นก็ช่างหัวมัน ไม่ ผิดฉันทลักษณ์กฏข้อบังคับเป็นใช้ได้ครับ หาก จะรับการแนะนำจากผมต้องเชื่อฟังหน่อยนะครับ คือต้องทำตัวเราให้สนุกสนานหน่อย ทะลึ้งปึงฮ่า เล็กๆน้อยๆ เพื่ออารมณ์แจ่มใสครับ ขอบคุณ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 09:55 น. - comment id 737409
ลุงแก้วประเสริฐ รพีขอรบกวนถามคุณลุงค่ะ..เมื่องานเขียนแสนรักของลุงน่ะค่ะ..ลุงบอกว่าเป็นกาพย์ยานีขับไม้ห่อโคลง ถ้าหลานจะเอาโคลงขึ้นก่อนกาพย์จะได้มั้ยคะ แล้วถ้าเอาโคลงขึ้นก่อนกาพย์ตำแหน่งคำไหนที่จะต้องนำมาสัมผัสในกาพย์คะ คือลุงเคยบอกว่าคำสุดท้ายของกาพย์นั้น จะต้องสัมผัสกับคำสุดท้ายของโคลงคำที่ห้า แต่ถ้าเอาโคลงขึ้นก่อนจะใช้คำไหนของโคลงมาสัมผัสกับกาพย์คำไหนคะ.....
12 สิงหาคม 2550 09:57 น. - comment id 737410
คุณ อารีณา ขอบคุณมากครับที่ติดตามผลงานของผมอันด้อย ปัญญาครับ ทนอ่านได้ถือว่ายอดเยี่ยมครับ อิอิ หาก จะสนใจ ก็ย้อนขึ้นไปอ่านแบบแผนที่ผมบอกแก่คุณ จิตรำพึงหรือคุณ bananaleaf ไว้ก็ได้ครับ ทำตามนี้ ไปก่อนส่วนจะใช้อักษรตัวเดียวต้องผ่านการฝึกฝน ให้ชำนาญเสียก่อนครับจึงสามารถทำได้ไม่ติดขัด ตอนแรกก็ทำตามอย่างคุณ bananaleaf ก่อนนะครับ ผมเองก็ไม่เล่าเรียนมาเหมือนกัน เพียงแต่มาฝึกฝนเองครับเพราะนิสัยรักกลอนมาก ขอบคุณมากครับ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 10:02 น. - comment id 737412
คุณ bananaleaf ไม่ผิดครับ บาทแรก บาทสองสามสี่ จะเป็น อักษรคนละตัวก็ได้ แต่ต้องในแต่ละบาทต้องเป็น อักษรตัวเดียวเสมอหรือจะใช้เสียงอักษรต่ำคู่กับ อักษรสูงดังที่พรรณาไว้ให้คุณ จิตรำพึง ไว้ก็ได้ครับ แต่หากจนปัญญาจริงๆ คุณแต่งได้ดีมีความหมาย ซ่อนเร้นไว้ครับ อิอิ ขอบคุณครับ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 10:08 น. - comment id 737413
คุณ สิริน ผมมิกล้าเป็นอาจารย์ใครหรอกครับเพราะความ รู้ต้อยต่ำมากครับ แต่ให้คำแนะนำได้ครับ ให้ย้อน ขึ้นไปอ่านที่ผมลงไว้ให้คุณจิตรำพันนะครับแล้ว หมั่นฝึกฝนทำตาม ตอนแรกเล่นแบบธรรมดาก่อน หลักสำคัญทั้ง สี่บาท ต้องความหมายเดียวกันครับ ส่วนจะเล่นหรือคิดของของเราก็ได้แต่ต้องไม่ผิด หลักเกณฑ์ที่บูรพาจารย์กำหนดไว้นะครับ ขอบคุณ ครับ หมั่นฝึกฝนนะครับอย่าลืม วิธีที่ผมใช้เป็น ประจำไม่ว่าจะ นั่ง ยืน นั่งขี้ และนอนก็ให้นึก ถึงการแต่งไว้จะว่าบ้าก็เฮอะตัวของเราเองนึก ในใจไม่มีใครรู้หรอก จริงๆนะครับผมทำเสมอๆ ได้ทั้งกลอนและสมาธิไปในตัวเองด้วย ฮ่าๆๆๆ นี่ผมพูดความจริงนะครับ เมื่อเกิดชำนาญแล้ว ก็สามารถจะแต่งกลอนใดๆก็ได้ที่เราชอบไม่จำกัด สถานะการณ์เวลา หากนึกจะแต่งย่อมแต่งได้ เสมอๆครับ อิอิ เมื่อฝึกแล้วจะเป็นคน บ้าๆบวมๆ บ๊องส์เช่นผม เรามาเป็นก๊วนบ้าๆเดียวกัน ฮ่าๆๆๆ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 10:11 น. - comment id 737414
คุณ silver snitch ขอบคุณในน้ำใจและกุหลาบแสนสวยที่มอบ ไว้ให้แก่ผมเสมอต้นเสมอปลายเสมอมาขอบคุณ ด้วยน้ำใจแท้จากหัวใจจริงน้อยๆครับ ขอบคุณมาก ครับขอบคุณ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 10:24 น. - comment id 737422
คุณ bananaleaf ไม่ต้องถือเป็นการรบกวนหรอกครับคนเรา รักชอบพอกันมีอะไรก็ถามได้หากรู้ตอบทันทีไม่มี การปิดบังอะไรๆทั้งสิ้นครับ ตอบ....ได้ครับ จะเอาโคลงขึ้นเป็นบทลำนำก่อนก็ได้ แต่คำกาพย์ต้องต่อเนื่องกับคำโคลงในตัวสุดท้าย เสมอเช่นเดียวกับกาพย์นั่นแหละครับ หรือจะเปลี่ยน แปลงอย่างอื่นก็ได้เช่นกันครับ เขาไม่ได้บังคับ ไว้แต่ส่วนใหญ่ครูอาจารย์บอกว่าความไพเราะ นั้นสู้อย่างตอนต้นไม่ได้ครับ เช่น โคลงห่อกลอน กลอนห่อโคลงแต่ต้องทั้งโคลงและกลอนหรือ กาพย์และโคลงต้องยกคำมาเหมือนๆกันครับ อิอิ สบายดีนะครับอย่าเครียดมากเดี๋ยวลูกศิษย์ จะไม่สบายใจ เอาไปเก่งแล้วพยายามแนะนำ ศิษย์ให้ซาบซึ้ง คุณค่าของบูรพาจารย์ไว้ด้วยครับ มิฉะนั้นจะสาบสูญไปเสียดายจังเลยหัดเด็กๆ เอาไว้ให้ซาบซึ้งด้วยนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้มี คนๆหนึ่งเขาคิดเองโดยเลียนแบบจีนและฝรั่ง เป็นกลอนสมัยใหม่ อ่านแล้วมันขัดหูจังเลย คือเรียกว่ากลอนตามใจฉันไม่มีหลักกฏข้อบังคับ นึกจะแต่งก็แต่งแต่ซ้ำเลียนแบบกลอนทั้งหลาย ไว้ จะเป็นกลอนหก เจ็ด แปด เก้า ก็ไม่ใช่ บาง ครับเลยไปโน่นสิบสองสิบสามเลย พวกนี้ใช้ สำหรับการแต่งเพลงที่เลียนแบบฝรั่งเขามาครับ ทำนองยาวขนาดไหนก็แต่งให้ยาวขนาดนั้น บางทีสั้น บางทียาว เขาเรียกว่ากลอนอะไรจำ ไม่ได้เพราะไม่ใส่ใจจำครับ ผุ้ที่นำมาใช้เป็น คนเชียงใหม่ครับเลียนแบบฝรั่งมา อ้อนึกได้ แล้วล่ะเขาเรียกว่า " กลอนเปล่า " ชื่อมันก็บอก ในตัวเองเสร็จแล้วจ้า หากบูรพาจารย์มาเห็น เขาแทบจะผูกคอตายตามเลยล่ะ ฮ่าๆๆๆๆ รักเสมอจ้า แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 10:38 น. - comment id 737424
ลุงแก้วฯ.. ถามอีกค่ะ..หลานด้อยด้วยปัญญา สรุปว่าคำสุดท้ายของโคลงต้องไปสัมผัสกับคำที่ 4 หรือ 8 หรือ 12 ของกาพย์บรรทัดแรกคะ..
12 สิงหาคม 2550 10:57 น. - comment id 737427
คุณ bananaleaf เดี๋ยวจะไม่เข้าใจ คือว่าคำสุดท้ายของโคลงนั้น ต้องมาสัมผัสกับคำสุดท้ายของกาพย์ในวรรคแรก นะจ๊ะ ไม่ใช่สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สามนะ รักเสมอ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 11:22 น. - comment id 737432
โอ้....พระเจ้า...... คอควายทั้งนั้นเลย........ เป็นไปได้ไงเนี่ย.... เอ่อเฮ่อ.... ยอดเยี่ยมมากครับ
12 สิงหาคม 2550 11:35 น. - comment id 737437
ดีจ้า คุณแก้วประเสริฐ....... โคลงดีดีเช่นเดิม ชอบมากมายอ่านแล้วคล้อยตามงัยไม่รู้ เก่งจังจ้า นับถือ
12 สิงหาคม 2550 14:28 น. - comment id 737454
คุณ ก่องกิก ผมก็สนุกสนานไปเรื่อยๆแหละครับแบบคน ที่ไม่มีอะไรจะทำ ก็หาเรื่องเล่นๆครับ ขอบคุณครับ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 14:31 น. - comment id 737455
คุณ เจน_จัดให้ ขอบคุณที่ชมครับ ยังไม่เก่งหรอกครับแค่ งูๆปลาๆและหางอึ่งเท่านั้นครับ แต่ผมชอบเล่น อะไรแปลกพิเรนทร์อย่างนี้แหละครับขอบคุณมากครับ แก้วประเสริฐ.
12 สิงหาคม 2550 19:38 น. - comment id 737473
เรียนคุณแก้วประเสริฐค่ะ รีณา ขอบพระคุณอย่างสูงเลยค่ะ สำหรับคำแนะนำ อันมีค่า จะแต่งดูค่ะ ต้องขอรบกวนเข้าไปติและ ขัดเกลาด้วยนะคะ..รีณาอยากเรียน สายอักษร แต่ไม่มีวาสนา
12 สิงหาคม 2550 20:09 น. - comment id 737489
ผมเองก็ไม่ได้เรียนอักษรศาสตร์ครับ แต่ใจรัก จึงพยายามค้นคว้าเสมอมาครับ แล้วผมจะแวะไป เยี่ยมเยียนเสมอๆครับ แก้วประเสริฐ.
13 สิงหาคม 2550 00:10 น. - comment id 737516
.. ..
13 สิงหาคม 2550 00:49 น. - comment id 737529
ผลงานโคลงชิ้นนี้เยี่ยมที่สุดเลยครับ ไม่เคยเห็นแนวแบบนี้มาก่อน..ขออนุญาติเก็บผลงานนี้ไว้ด้วยครับ.. ขอบคุณพี่แก้วที่แวะไปเยี่ยมเยียนอีกแล้วครับ..สำหรับคำถามใบชุน เป็นคำผวน..บุญชัยครับ
13 สิงหาคม 2550 12:11 น. - comment id 737557
สวัสดีค่ะคุณแก้วประเสริฐ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ จิตรำพันขอเอาโคลงนี้เป็นโคลงต้นแบบนะคะ คงจะต้องใช้เวลาในการฝึกอีกมาก จะนำมาให้ชมนะคะ ยังไงช่วยแนะนำและติชมให้จิตรำพันด้วยนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะครูแก้ว
13 สิงหาคม 2550 12:57 น. - comment id 737564
คุณ rain ขอบใจมากจ้าหลานรัก เฮ่อะๆๆมอบดอกไม้ ให้ซะด้วยซิ ดีใจจัง รักเสมอ แก้วประเสริฐ.
13 สิงหาคม 2550 13:01 น. - comment id 737567
คุณ ใบชุน สีชมพู นั่นซิครับผมเองนึกๆถึงใบไม้ต่างๆไม่ได้คิด ว่าเป็นคำผวน แสดงถึงอารมณ์คุณแจ่มใสมาก ดีครับดีมากเชียว ไม่เป็นไรครับตามสบายครับ หากว่าเห็นดี ผมเองเป็นคนไม่หวงอะไรมากนัก หรอกครับ อย่างไรแวะมาเยี่ยมบ้างนะครับ ขอบคุณ แก้วประเสริฐ.
13 สิงหาคม 2550 13:05 น. - comment id 737569
คุณ จิตรำพัน ไม่เป็นไรครับผมเองก็ไม่ได้เก่งอะไร รู้ตัวเอง เสมอว่ายังต่ำต้อยมากนัก หากคุณคิดว่าผมพอจะ ให้คำแนะนำได้ ก็บอกมาเลยครับรู้ก็บอกว่ารู้ไม่รู้ ก็จะพยายามค้นหามาให้ครับ เรื่องโคลงนี้ของผม จะทำอย่างไรก็ได้ครับผมไม่เคยหวงเลยครับกลับ ถือว่าเป็นเกียรติ์แก่ผมเสียอีกครับ ขอบคุณครับ แก้วประเสริฐ.
13 สิงหาคม 2550 13:21 น. - comment id 737577
คงต้องบอกเหมือนกับคนอื่นๆน่ะค่ะ ว่าชื่นชมและประทับใจจริงๆ อ่านแล้วอ่านอีก ไม่งง แต่มึนและมึนค่ะ ขอบคุณคุณลุงแก้วนะคะ
13 สิงหาคม 2550 14:06 น. - comment id 737595
คุณ ตังเม อิอิ ผมบอกแล้วว่านิสัยผมชอบสนุกๆ เลย หาวิธีมาเล่นครับ ขอบคุณครับว่างๆแวะมาเยี่ยม บ้างนะครับ ขอบคุณครับ แก้วประเสริฐ.