โครมครันคะครึกพละคำราม ตละยามอกหวามไหว โชติช่วงสว่างภวประลัย ปฐผืนสะครืนครั่น เดชวายุปัดบ่ละ พิโรธ พฤกษะโคตรสยายสั่น อวลโอย ก็โดยพละวสันต์ ดุจ ขาดออกเป็นสาย ลมเพียงกระโชกอุทกล้าง ศศิลางละเลือนหาย เมฆคลุมดุจดั่งทรุอบาย ฤ สลายสิ้นสังขาร
8 มกราคม 2547 11:31 น. - comment id 199586
แต่งเก่งดีนะค่ะ มาชื่นชมผลงานค่ะ
8 มกราคม 2547 12:36 น. - comment id 199619
อ่านแล้วใจสั่น ตามเสียงพายุ เสียงฟ้าร้องเลยค่ะ มาทักมาทาย
8 มกราคม 2547 13:38 น. - comment id 199643
คุณโอ๋ครับ... มีเกร็ดความรู้...ข้อนิยม...เรื่องเสียงท้ายวรรคมาฝากครับ ในวรรณวิเคราะห์ของคุณคมทวน คันธนู.....แนะนำไว้ว่า ฉันท์ประเภท4วรรค/บท ท้ายวรรค1....ควรเป็นเสียงเต้น (คือไม่ลงเสียงสามัญ) ท้ายวรรค2....จำเป็นต้องเป็นเสียงสามัญ ท้ายวรรค3....ควรอย่างยิ่งเป็นเสียงจัตวา ท้ายวรรค4....ควรส่งด้วยจัตวา ทั้งนี้แลทั้งนั้นให้ถือเรื่องเสียงเป็นเพียงองค์ประกอบรอง....จากเนื้อความ ผมเองก็ยังทำได้เป็นบางบทเท่านั้นครับ....บางทีเนื้อหาที่เราเขียนลงเสียงตามว่าไม่ได้เพราะคำมันไม่มี... ฝากเอาไว้ให้พิจารณาดูครับ
8 มกราคม 2547 13:59 น. - comment id 199649
ขอบคุณมากครับคุณสดายุ แต่ถ้าจะกรุณา ก็ยกตัวอย่างออกมาเลยได้มั้ยครับ วิเคราะห์จากบทด้านบนก็ได้ครับ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ไม่เข้าใจอีกมาอ่ะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
8 มกราคม 2547 14:44 น. - comment id 199669
สวัสดีตอนบ่าย...มาเยี่ยมนะครับ...
8 มกราคม 2547 15:12 น. - comment id 199686
คนบ้านนอก เข้ามาชื่นชมอาหารยามบ่าย อาหารอย่างนี้ ยังทำไม่เป็นเลยครับ คงปรุงยากน่าดูเนอะ...
8 มกราคม 2547 15:24 น. - comment id 199697
คุณโอ๋ครับ... เพ็ญจันทร์- ก็- แจ่ม- รุ- จะ- ข- จ่าง...เอก พิ- ศะ- พร่างอัมพรอินทร์..................สามัญ แลพลิ้ว- ข- บวน- ข- ษ- ณะ- ผิน.......จัตวา ฤ- จะ- สิ้น- จะ- สุดสาย....................จัตวา ท้ายวรรคจะไม่นิยมคำที่มีวรรณยุกต์ครับ
8 มกราคม 2547 15:44 น. - comment id 199708
เอาหละ เข้าใจแล้วครับ น้อมรับพร้อมปรับปรุง และ ยินดีมากที่ช่วยติเตือน นะครับ หวังว่าจะไม่เบื่อก่อนนะครับ