27 มิถุนายน 2553 14:50 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
วันนี้เป็นวันสอบวิชานโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นวิชาแรกที่ลงเรียนต่อปริญญาโท อาจารย์ ผศ.ดร. เพ็ญศรี ฉิรินัง ท่านบอกว่า เปิดหนังสือ ตอบได้ แต่ไม่มีในหนังสือมาออกข้อสอบคะนักศึกษา
แต่เพื่อความมั่นใจ เพื่อนนักศึกษาหลายคนขนหนังสือกันมาเป็นตั้งทีเดียว ซึ่งรวมทั้งตัวเองด้วย นี่ยังไม่นับข้อมูลที่หามาได้จากเวปต่างๆที่มากันถ่ายเอกสารมา แล้วก็เริ่มรู้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์มีจริง แหม คำพูดท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าอะไรในโลกตอนนี้ ข้อสอบไม่มีในหนังสือสักเล่มที่มากันขนมาเพื่อความอุ่นใจ เลยได้แต่นั่งมอง ชำเลืองมอง เอาน่า.... เจ้าหนังสือนึกว่าว่าเที่ยวและนั่งสอบเป็นเพื่อนกันน่ะ
ข้อสอบออกเชิงแนววิเคราะห์ทั้งสี่ข้อ อ่ะ...วิญณาณเริ่มกลับเข้าร่างอีกแล้วทีนี้ ไล่ยังไงก็ไม่ออก ถึงกับกินข้าวกลางวันกันไม่ลงทีเดียว เพราะสั่ง ข้าวกล่องมากินกันที่ห้อง
พอทำข้อสอบเสร็จ หลายคนเพิ่งนั่งทานข้าว รู้สึกถึงความโล่งอกอิสระเสรีเหนืออื่นใด
นักศึกษารุ่นเจ็ดทุกคน หวังว่า จะได้พบ และ เจออาจารย์กลับมาสอนวิชาอื่นในคณะนี้อีกครั้ง คะ
25 มิถุนายน 2553 12:32 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กับ ตัวแบบระบบ
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค กับ ตัวแบบระบบ (The System Model)
บทนำ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วเกี่ยวกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของรัฐบาลทักษิณ ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และสถานพยาบาลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า นโยบายดังกล่าวหากนำมาจัดรูปแบบให้เข้ากับตัวแบบทางด้านนโยบายแล้ว ตัวแบบที่มีความเหมาะสมกับนโยบายนี้ คือ ตัวแบบระบบ (The System Model) ของ David Easton โดยผู้เขียนจะขออธิบายถึงที่มา ความสำคัญของนโยบาย และสุดท้ายจะเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคกับตัวแบบระบบ (The System Model) ดังจะได้กล่าวต่อไป
ประวัติและความสำคัญของนโยบาย
การให้บริการและการเข้าถึงการบริการในการประกันสุขภาพ ถือเป็นภาระกิจหลักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ หากทำการศึกษาแหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน รัฐบาลในยุคที่ผ่านมาล้วนแต่ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้พอสมควร ยกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมื่อ พ.ศ.2518 สมัยรัฐบาล มรว.คึกฤทธิ์ ได้มีโครงการสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย(สปน) ต่อมาเมื่อสมัยของรัฐบาลชวนก็ได้มีการออกแบบโครงการสวัสดิการประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล(สปร) ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2544 พรรคไทยรักไทยซึ่งมีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ก็ได้ชูนโยบายในการหาเสียงในการเลือกตั้งและได้คลอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจและถูกจับจ้องจากประชาชนมาโดยตลอดจนเรียกว่า นโยบายประชานิยม ต่อมาหลังจากที่พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับรัฐบาล โดยที่โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ได้นำเข้ามาสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูป ( conversion process) ออกมาเป็นนโยบายโดยมีเจ้าภาพหลักในการสนองตอบต่อนโยบาย คือ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานในการบังคับบัญชาในการสั่งการ ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ให้กับหน่วยงานที่ร่วมโครงการอันประกอบด้วย โรงพยาบาล และ สถานีอนามัย เป็นต้น โดยเริ่มโครงการนำร่องตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนมิถุนายนและดำเนินการทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 (ยกเว้น กทม.ชั้นในที่เริ่มเมื่อเมษายน 2545)
นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ดังที่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 หรือฉบับที่ 16 หมวดที่ 5 มาตรา ๘๒ รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ซึ่งหากตีความตามหลักกฎหมายคือ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะต้องให้การบริการในด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยที่ไม่มีช่องว่างในการบริการระหว่างคนรวยและคนจน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ในระยะเริ่มแรกได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะคนระดับรากหญ้า แต่ในขณะเดียวกันนโยบายก็ได้สร้างความโกลาหลให้กับโรงพยาบาล ( hospitals) ผู้บริหารระดับสูง ( Strategic Apex) และผู้ปฎิบัติงาน (Operating Core ) เนื่องจากการขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุนในการดำเนินงานผสมกับการเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาโรคไม่ค่อยที่จะมีประสิทธิผลมากนัก สุดท้ายนพมาซึ่งการวิพากวิจารณ์นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ว่าแท้จริงแล้วตัวนโยบายส่งผลในทางบวกหรือทางลบมากกว่ากัน
ตัวแบบระบบ (The System Model)
David Easton ถือเป็นนักรัฐศาสตร์ท่านแรกที่ได้นำเสนอกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์การเมืองอย่างเป็นระบบ (The Political System) เป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมที่ส่งผมกระทบต่อระบบการเมือง โดยอาศัยกระบวนการเรียกร้อง สถานการณ์ต่างๆ สู่กระบวนการนำเข้า(input) ของแหล่งข้อมูลซึ่งมีทั้งส่วนที่สนับสนุนและคัดค้าน เช่นเดียวกันกับนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค หลังจากนั้นเมื่อมีการนำข้อมูลที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมที่น่าจะมีเหตุผลและน่าเชื่อถือได้ก็เข้าสู่กระบวนการทางการเมืองแปรรูป (political system) ให้ออกมาในรูปของนโยบาย(output)โดยมีเจ้าภาพในการดำเนินการหลักคือกระทรวงสาธารณสุข และสุดท้ายก็เป็นการประเมินผล ( feedback)ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียตามมา
ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับตัวแบบระบบ
จากกรอบตัวแบบระบบจะเห็นได้ว่านโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ก่อกำเนิดมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยอาศัยการสนับสนุนในส่วนของประชาชน ข้อเรียกร้อง สภาพทางสังคม และแนวทางพื้นฐานแห่งรัฐ ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจากสถานพยาบาล ผู้บริหารระดับสูง พนักงานสายปฎิบัติ เป็นต้น หลังจากนั้นรัฐบาลได้นำแนวคิดดังกล่าวสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูปออกมาเป็นนโยบาย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวจักรสำคัญในการสนองตอบนโยบาย และสุดท้ายก็นำมาสู่กระบวนการประเมิน
ผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง
การที่จะปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็น
อย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน
ที่มา : http://www.saranair.com httสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจันทบุรีขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้คะ
โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคโดย นายธนธรณ์ จันแปงเงิน
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ได้เริ่มมีแนวคิดนี้ตั้งแต่ในอดีต โครงการ
ในการเขียนครั้งนี้ไม่เวลาเรียบเรียงข้อมูลจากหลายแห่งความรู้ที่หามาได้ ให้
เหมาะสมและสอดคล้อง ขอให้ผู้ที่สนใจ นำไปอ่าน และ วิเคราะห์ประกอบข้อมูลกันเอาเองคะ
ขอขอบคุณเวปทุกเวปที่เรียนความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยคะ
ก็เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จนเมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาก็ได้ผลักดันให้เกิดโครงการ 30 บาทฯ อย่างรวดเร็วภายใต้คำขวัญ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค โดยรัฐบาลได้ออก พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 เพื่อรองรับ โครงการ 30 บาท
โครงการ 30 บาท ไม่ใช่โครงการเดียวที่เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และก่อนหน้านี้แนวคิดนี้ก็ได้มีหลายฝ่ายร่วมกันผลักดัน แต่การเกิดขึ้นของโครงการนี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการสร้างหลักประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้าในไทย
ซึ่งโครงการนี้ยังส่งผลไปยังโครงการอื่นต้องเร่งปฏิรูปให้ดีขึ้น
แต่เนื่องจากโครงการ 30 บาท ถูกผลักดันอย่างรวดเร็วจนคล้ายกับว่ารัฐบาลไม่ได้คิดที่จะปฏิรูประบบประกันสุขภาพทั้งระบบ เป็นแค่การหาเสียงเท่านั้น ทำให้โครงการทั้งหลายยังประสบปัญหาต่างๆ รวมทั้งสิทธิ์ที่ซ้ำซ้อนกัน ยังทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีรูปร่างที่ต่างจากที่หลายฝ่ายเคยวาดฝันไว้
ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบาย
รัฐธรรมนูญ 2517 ( หลังเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 ) เขียนว่า รัฐพึงให้การรักษาแก่ผู้ยากไร้โดยไม่คิดมูลค่า
2518 รัฐบาล มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช จัดเงินสำหรับสงเคราะห์ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้านการรักษาพยาบาล ( สปน. คือ
สิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชน
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำหนดสิทธการรับรู้
ข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชนไว้ ดังนี้ " บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสีย
เกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรอง
ถูกต้องของข้อมูลข่าวสารได้ ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบ
ของคณะกรรมการจะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้
คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะ
บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่
กำหนดโดยกฎกระทรวง "
ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูล
ข่าวสารตามมาตร 7 มาตรา 9 ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู และเผยแพร่
ณ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อมูลตามมาตรา 7 หน่วยงานของรัฐ.ต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงในราชกิจจานุเบกษา
(1). โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
(2). สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3). สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(4). กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มี ขึ้นโดยสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5). ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลตามมาตรา 9 ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
(1). ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(2). นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4)
(3). แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
(4). คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่เอกชน
(5). สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง
(6). สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7). มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(8). ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2532 รัฐมีนโยบายให้การรักษา โดยไม่คิดมูลค่า แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อมาขยายให้ รักษาเด็กแรกเกิด ถึง 12 ปี ผู้พิการ ทหารผ่านศึกและครอบครัว ภิกษุ สามเณร ผู้นำศาสนา
2537 เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล ( สปร. )
. สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ ( สปร เป็นหน่วยงานคือโรงพยาบาลที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลายด้าน เช่น การบริการผู้ป่วย มาตรฐานการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
เม.ย. 2544 เริ่มโครงการ 30 บาท 6 จังหวัดนำร่อง ออกบัตรทองสำหรับประชาชนกลุ่มที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่นๆ ดำเนินการลักษณะเดียวกับ สปร.
ต.ค. 2544 ขยายโครงการ 30 บาท ครบทุกจังหวัด ยุบรวมโครงการ สปร. เป็นบัตรทองหมวด ท ( ไม่ต้องจ่าย 30 บาท ) เลิกขายบัตรสุขภาพ 500 บาท เปลี่ยนเป็นบัตรทองทั้งหมด
สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิบัตรทอง เป็นสิทธิการรักษาของประชากรไทย ที่เป็นสิทธิพื้นฐานเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิการรักษาที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันในการรักษานอกเหนือจากสิทธิอื่นที่มี ซึ่งประชาชนคนไทยทุกมีสิทธิในการเลือกโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ตัวเองสะดวกในการเข้ารับการรักษา สามารถใช้สิทธิเมื่อเจ็บป่วย โดยเงื่อนไขในการใช้บริการในหน่วยบริการนั้นสามารถจำแนกวิธีการใช้บัตรทองออกตามกรณีต่าง ตามลักษณะการเจ็บป่วยของเราได้ดังนี้
เจ็บป่วยทั่วไป
1. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
3. ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้
เจ็บป่วยฉุกเฉิน การวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยฉุกเฉิน แพทย์จะพิจารณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้
1. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
2. โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
3. โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
4. โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด
ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วนในการรักษาประกอบด้วยแนวทางการใช้สิทธิ คือ
1. เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
3. กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปีงบประมาณ
กรณีอุบัติเหตุ ผู้มีสิทธิสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยประจำครอบครัวได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
o กรณีได้ประสบอุบัติเหตุทั่วไป
1. ควรเข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
o กรณีประสบภัยจากรถ ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องต้นที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ หรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย
เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
1. แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
2. หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
1. แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
2. ติดต่อสายด่วน สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพ) 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง
3. หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
o หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย
การส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง
1. เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
3. หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ตามภาวะความจำเป็นของโรค
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ก.ย.นี้ยกเลิกบัตรทอง ใช้บัตรปชช.แทน พร้อมนำร่อง 8 จังหวัด
ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับบัตรประกันสุขภาพ หรือที่รู้จักกันในนาม บัตรทอง 30 บาท วิทยา ประกาศเตรียมยกเลิกใช้บัตรทองไปหาหมอทั่วประเทศปลายเดือนก.ย.นี้ ชี้ใช้แค่บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ในโรงพยาบาลตามสิทธิ ขณะที่ ต.ค.นี้ เริ่มใช้บัตรใบเดียวได้ทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนำร่อง 8 จังหวัด พร้อมศึกษาผลกระทบข้อดี-เสียก่อนขยายผลทั่วประเทศ
วานนี้(22 มิ.ย.) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการให้ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองทั่วประเทศที่มีประมาณ 47 ล้านคน ไม่ต้องนำบัตรทองไปแสดงในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิ แต่สามารถแสดงเพียงบัตรประชาชนใบเดียวก็เข้ารับบริการในสถานบริการแห่งนั้นได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการมากขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นมามีการนำร่องไปแล้วใน 37 จังหวัด และภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้จะดำเนินการให้คลอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ
นายวิทยา กล่าต่อว่า ทั้งนี้ ภายในเดือนตุลาคมนี้ จะดำเนินการให้ผู้ป่วยตามสิทธิดังกล่าวสามารถเข้ารับบริการในโรงพยาบาลใดก็ได้ภายในจังหวัด ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเฉพาะในโรงพยาบาลที่ระบุตามสิทธิเท่านั้น โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวในการขอรับบริการเช่นเดียวกัน ซึ่งจะนำร่องใน 8 จังหวัด ภาคละ 2 จังหวัด ขณะนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)กำลังดำเนินการคัดเลือกจังหวัดที่มีความพร้อม
ผมได้มอบนโยบายให้คัดเลือกจังหวัดที่มีทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการศึกษาข้อดีข้อเสียก่อนที่จะมีการประกาศใช้มาตรการนี้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาให้สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ในประเทศไทยนายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ จะมีการศึกษาผลกระทบทั้งข้อดี ข้อเสียของ โครงการบัตรคนไทยใบเดียว ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่มีการนำร่องใน 8 จังหวัด เพราะอาจเกิดปัญหาช้อปปิ้ง อะราวด์ (Shopping around) คือ มีผู้ป่วยเวียนเข้ารับบริการในโรงพยาบาลหลายแห่งเพื่อนำยามาขาย ซึ่งพบว่ามีปัญหานี้เกิดขึ้นในระบบสวัสดิการราชการแล้ว ดังนั้นคงต้องหาทางแก้ไขปรับปรุง ให้ระบบแต่ละโรงพยาบาลมีการเชื่อมโยงกันและสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ป่วยแต่ละรายไปรับบริการที่โรงพยาบาลใดมาบ้างและได้รับยาไปจำนวนมากน้อยเท่าไหร่ เพื่อที่แพทย์จะได้ไม่สั่งยาหรือให้บริการซ้ำซ้อน
อาจมีความจำเป็นต้องมีการรื้อระบบฐานข้อมูลทั้งหมด ซึ่งสปสช.จะเป็นผู้วางระบบในเรื่องนี้ จนเมื่อระบบลงตัว ก็สามารถที่จะขยายให้ใช้มาตรการนี้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่ คงต้องมีการพัฒนาระบบต่อไปนายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 ซึ่งมีผลบังคับใช้มานานถึง 7 ปี อาจจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุง เนื่องจากเนื้อหาสาระบางส่วนตามพ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เช่น การรวมสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้าด้วยกัน และการให้สปสช.เร่งรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพประชาชนเป็นหลักเพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น ส่วนเรื่องที่จะให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ายาหรือค่ารักษาพยาบาลนั้น ส่วนตัวเป็นว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะการรักษาพยาบาลในบางโรคผู้ป่วยก็ร่วมจ่ายอยู่แล้ว เช่น การฟอกไต ที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่าย 500 บาท แต่สิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการคือการลดจำนวนเงินที่ผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายลง
24 มิถุนายน 2553 16:19 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
นโยบายสาธารณะและการวางแผน (อ.สมบัติ)
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
ความหมายและแนวความคิด
1.1 Ira Sharkansky
นโยบายสาธารณะ คือ กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล
1.2 Thomas R. Dye
นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ ในส่วนที่จะกระทำครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
เราอาจกล่าวได้ว่านโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของระบบการเมืองและนโยบายสาธารณะจะส่งผลกระทบทางใดทางหนึ่งต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน อาทิเช่น สิ่งที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำเกี่ยวกับปัญหาต่างๆเช่นปัญหา มลพิษ ปัญหาเศรษฐกิจ ป็นต้น
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลจะกระทำหรือไม่กระทำ
เป็นการใช้อำนาจของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองค่านิยมของสังคม
ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ประมุขของประเทศ ตัวอย่าง โครงการพระราชดำริ
กิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือ จุดมุ่งหมาย
กิจกรรมที่เลือกกระทำจะต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ปัญหาที่สำคัญของสังคม
เป็นการตัดสินใจที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมากมิใช่การตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล
เป็นกิจกรรมที่คลอบคลุมทั้งภายในและภายนอกประเทศ
เป็นกิจกรรมที่รัฐเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสังคม
สรุป นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมของรัฐบาลที่เลือกจะกระทำหรือไม่กระทำโดยมุ่งถึงค่านิยมและผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญโดยเน้นข้อบัญญัติที่ชอบด้วยกฎหมาย
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
1.ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย
รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชน และสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือ และความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น
2 ความสำคัญต่อประชาชน
นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่างๆเช่น ระบบราชการ นักการเมือง ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ประเภทของนโยบายสาธารณะ
1. นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้านและนโยบายมุ่งเน้นสถาบันกำหนดนโยบาย
นโยบายมุ่งเน้นขอบเขตเฉพาะด้าน เช่น นโยบายด้านการเมือง นโยบายด้านการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม
นโยบายมุ่งเน้นสถาบันที่กำหนดนโยบาย สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
2.นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระและนโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ
นโยบายมุ่งเน้นเนื้อหาสาระ รัฐบาลมีประสงค์ที่จะทำอะไร เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน สิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือต้นทุนต่อประชาชน หรืออาจทำให้ประชาชนกลุ่มใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ เช่น นโยบายการสร้างทางด่วนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล นโยบายการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
นโยบายมุ่งเน้นขั้นตอนการปฏิบัติ ลักษณะ จะจะเกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินการนโยบายว่าจะดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้ดำเนินการดังนั้นนโยบายนี้จะคลอบคลุมองค์การที่จะต้องรับผิดชอบการบังคับใช้นโยบาย เช่น นโยบายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
3. นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐและนโยบายมุ่งเน้นการควบคุมตนเอง
นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมโดยรัฐ ลักษณะโนโยบายประเภทนี้มุ่งเน้นกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นการลดเสรีภาพหรือการใช้ดุลยพินิจที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดของผู้ถูกควบคุม เช่น นโยบายควบคุมอาวุธปืน วัตถุระเบิด นโยบายควบคุมการพนัน นโยบายลดอุบัติเหตุจากการขี่รถจักรยานยนต์
นโยบายมุ่งเน้นการควบคุมกำกับตนเอง ลักษณะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนโยบายเน้นการควบคุมโดยรัฐ แต่แตกต่างกันคือ มีลักษณะของการส่งเสริมการป้องกันผลประโยชน์และความรับผิดชอบของกลุ่มตน เช่น พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พรบ. ทนายความ พ.ศ. 2528
4.นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ และนโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม
นโยบายมุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ การจำแนกโดยการใช้เกณฑ์การรับผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ เป็นนโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรบริการหรือผลประโยชน์ให้กับประชาชน บางส่วนอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้รับผลประโยชน์อาจจะเป็น ปัจเจกบุคคล กลุ่มคน องค์การ เช่น นโยบายการแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
นโยบายมุ่งเน้นการกระจายความเป็นธรรม เป็นความพยายามของรัฐที่จะจัดสรรความมั่นคง รายได้ ทรัพย์สินและสิทธิต่าง ๆให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม เช่น นโยบายพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 12 ปี นโยบายการจัดตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
5. นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ และนโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์
นโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุ เกิดขึ้นเพื่อก่อให้เกิดการจัดหาทรัพยากรหรืออำนาจที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคลกลุ่มต่าง ๆ เช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสงอุทกภัย นโยบายปรับปรุงชุมชนแออัด
นโยบายมุ่งเน้นเชิงสัญลักษณ์ เป็นลักษณะของนโยบายที่ตรงกันข้ามกับนโยบายมุ่งเน้นเชิงวัตถุคือเป็นนโยบายที่มิได้เป็นการจัดสรรเชิงวัตถุหรือสิ่งของที่จับต้องได้แต่เป็นนโยบายมุ่งเสริมสร้างคุณค่าทางจิตใจให้แก่ประชาชน เช่น นโยบายรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย
6. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยมและ นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะเสรีนิยม เป็นนโยบายที่เกิดจากการผลักดันของกลุ่มความคิดก้าวหน้าที่ต้องการจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นความเสมอภาค เช่น นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะอนุรักษ์นิยม แนวความคิดกลุ่มนี้จะอยู่ในกลุ่มชนชั้นของสังคมกลุ่มความคิดเหล่านี้จะเห็นว่าสิ่งที่ดำรงอยู่นั้นดีอยู่แล้วถ้าจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป รักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เช่น นโยบายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการ
7. นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ และนโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าสาธารณะ คือการกำหนดสินค้าที่ไม่สามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกจากนโยบายได้เมื่อรัฐจัดสรรสินค้านั้นแล้วประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนทุกคนไม่จำกัดบุคคล กลุ่ม เช่น นโยบาย ป้องกันประเทศ นโยบายควบคุมจราจร
นโยบายมุ่งเน้นลักษณะสินค้าเอกชน สินค้าเอกชนสามารถแยกกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ออกเป็นหน่วยย่อยๆ ได้และสามารถเก็บค่าใช้จ่ายอันเนื่องจากผุ้ได้รับผลประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การเก็บขยะของเทศบาล การไปรษณีย์โทรเลข
ตัวแบบนโยบายสาธารณะ
1.ตัวแบบชนชั้นนำ
หลักการ
จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายอย่างเด็ดขาด
ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจหรือค่านิยมของตนเองเป็นหลัก
ข้าราชการทำหน้าที่เพียงนำนโยบายที่กำหนดโดยชนชั้นนำไปสู่ประชาชน
ทิศทางการกำหนดนโยบายจึงเน้นทิศทางแบบแนวดิ่ง
คุณลักษณะสำคัญ
คนในสังคมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และคนส่วนมากที่ไม่มีอำนาจ
คนส่วนน้อยมิได้มีลักษณะเช่นเดียวกับคนส่วนมากคือมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า
การเปลี่ยนแปลงฐานะขึ้นไปสู่ชนชั้นนำจะเป็นไปอย่างช้า ๆ
นโยบายสาธารณะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชนแต่สะท้อนความต้องการของชนชั้นนำ
แนวคิดตัวแบบชนชั้นนำยังเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความเฉื่อยชา ไม่สนใจการเมือง ความรู้สึกของประชาชนจึงถูกครอบงำโดยชนชั้นนำ
ต.ย. พรบ. ให้คุ้มครองและห้ามฟ้องร้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวกับมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508
1.ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม
คนในสังคมประกอบด้วยกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล มุ่งเรียกร้องการพิทักษ์ความเป็นธรรมของสังคม กลุ่มผลประโยชน์มุ่งรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของตนเพื่อป้องกันการละเมิด นโยบายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลผลิตของดุลยภาพระกลุ่มโยตรงArther F. Bently การเมืองนั้นเปรียบเสมือนระบบที่มีแรงผลักดันที่กระทำปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
คุณลักษณะสำคัญ
เป็นลักษณะของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในสังคม เรียกว่า กลุ่มแผงเร้น
กลุ่มที่สมาชิกบางส่วนคาบเกี่ยวกัน ลักษณะกลุ่มเช่นนี้จะมีส่วนในการดำรงรักษาดุลยภาพระหว่างกลุ่ม โดยป้องกันมิให้กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเคลื่อนไหวเกินกว่าผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่ม
การตรวจสอบและความสมดุลที่เกิดขึ้นจากกลุ่มที่แข่งขันกันจะมีส่วนช่วยดำรงรักษาความสมดุลระหว่างกลุ่ม
ต.ย. พรบ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
1. ตัวแบบเชิงระบบ
คุณลักษณะที่สำคัญ
กรอบแนวคิดเชิงระบบมีฐานคติที่สำคัญว่า ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตต้องทำงานอย่างเป็นระบบ
David Easton ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือน ชีวิตการเมือง ดังนั้นการเมืองต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและระบบการเมืองที่ก่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ
ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงระบบ นโยบายสาธารณะคือ ผลผลิตของระบอบการเมืองซึ่งเกิดจากอำนาจในการจัดสรรค่านิยมหรืออำนาจในการตัดสินใจนโยบายของระบบการเมือง
- ความต้องการของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น ความต้องการด้านการศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ สวัสดิภาพ การคมนาคม
- การสนับสนุนของประชาชน ที่มีต่อระบบการเมือง เช่น การปฏิบัติตามกฎหมาย การชำระภาษี ระบบการเมืองจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าหากขาดการสนับสนุนจากประชาชน
ต.ย. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
2.ตัวแบบสถาบัน
ฐานคติที่ว่า นโยบายสาธารณะ คือ ผลผลิตของสถาบันทางการเมือง สถาบันทางการเมืองได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ
นโยบายจะถูกกำหนด นำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันหลัก
ความสัมพันธ์ของนโยบายสาธารณะและสถาบันราชการจะดำเนินไปอย่างใกล้ชิด คือ นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะจนกว่านโยบายนั้นจะได้รับความเห็นชอบถูกนำไปปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบ สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะนโยบายสาธารณะ 3 ประการ
1. สถาบันราชการเป็นผุ้รับรองความชอบธรรมของนโยบายกล่าวคือ นโยบายของรัฐถือว่าเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม
2. นโยบายสาธารณะมีลักษณะคลอบคลุมทั้งสังคมทั้งนี้เพราะนโยบายสาธารณะมีผลต่อประชาชนทั้งสังคม
3. รัฐบาลเท่านั้นเป็นผุ้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ในสังคมคือ มีแต่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎหมายของรัฐ
Henry ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและนโยบายสาธารณะตามตัวแบบสถาบันดังภาพนี้
นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหารได้แก่ นโยบายปรับลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์กับดูแล รักษากติกา วางแผน ส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ
นโยบายที่เป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติไดแก่ นโยบายที่รัฐต้องตราเป็นพระราชบัญญัติล้วนมีส่วนเป็นผลผลิตของสถาบันนิติบัญญัติทั้งสิ้นเพราะนโยบายของรัฐจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อได้ผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ
5.ตัวแบบกระบวนการ
a. การจำแนกปัญหา : การพิจารณาปัญหาจากการเรียกร้องของประชาชน ที่ต้องการให้รัฐแก้ไขว่าเป็นลักษณะใด เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ปัญหาชุมชุนแออัดจะต้องนำมาวิเคราะห์ระบุสาเหตุของปัญหา
b. การจัดทำทางเลือกนโยบาย : การกำหนดวาระสำคัญของการอภิปรายนโยบาย เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหานำไปสู่ทางเลืองนโยบายต้องพิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางเลือกนำทำเลือกมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ความคุ้มค่าในด้านต้นทุนผลประโยชน์ต่อประชาชนหรือไม่
c. การให้ความเห็นชอบของนโยบาย : ขั้นตอนสำคัญในการตัดสินใจนโยบายว่าจะเลือกทางใดต้องคำนึงถึงผลที่เกิดและความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนและต้องผ่านความเห็นชอบจากสถาบันนิติบัญญัติ
d. การนำนโยบายปฏิบัติ : การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์
e. การประเมินผลนโยบาย : การศึกษาดำเนินงานของโครงการและการประเมินผล
- สิ่งแวดล้อมของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
- ทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า
- กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
- ผลผลิตของนโยบาย
- ผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย
- ข้อเสนอแนะและข้อปรับปรุง
6. ตัวแบบหลักเหตุผล
ปัจจัยในการใช้ตัวแบบหลักเหตุผล
1. ต้องมีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
2. จะต้องจัดเก็บข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ ให้ครอบคลุมครบถ้วน เที่ยงตรง
3. ต้องมีนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ
4. ต้องมีงบประมาณในการลงทุนเพื่อเป็นต้นทุนจม
ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแบบหลักเหตุผล
1. ต้องกำหนดคุณค่า วัตถุประสงค์ และเกณฑ์การตัดสินใจให้ชัดเจน
2. ต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมทางเลือกที่สร้างสรรค์
3. ประมาณค่าเบื้องต้นในผลที่คาดหวังของการตัดสินใจ และผลของทางเลือกต่าง ๆว่าควรใช้กลยุทธ์เพื่อให้มีความเสี่ยงน้อย
4. ถ้าเลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงน้อยควรใช้กลยุทธ์เปรียบเทียบความสำเร็จที่จำกัด ถ้าเลือกกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรมต้องพิจารณาผลที่เป็นไปได้ของทางเลือกต่าง ๆ
5. ใช้ประโยชน์จากความเห็นของนักวิเคราะห์ที่หลากหลาย
6. วิเคราะห์ความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้กรณีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
กรณีศึกษา โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
7. ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน
ฐานคติ นโยบายสาธารณะที่มีลักษณะการกระทำที่ต่อเนื่องจากอดีตเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงบางส่วนหรือส่วนน้อย
คุณลักษณะของตัวแบบ
เป็นลักษณะอนุรักษ์นิยม ยึดถือนโยบาย โครงการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีอยู่เดิมเป็นเกณฑ์
ให้ความสนใจต่อนโยบายหรือโครงการใหม่ที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมเล็กน้อย
ยอมรับความชอบธรรมของนโยบายที่ดำเนินมาก่อนเพราะความไม่แน่ใจเกี่ยวกับผลลัพธ์ใหม่
ถ้ามีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่อยู่แล้วจะเป็นข้ออ้างสำคัญในการปฏิเสธนโยบายใหม่ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
การเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะทำให้เกิดข้อตกลงระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมได้ง่ายเพราะผลกระทบมีน้อย
ความเหมาะสมของนโยบาย
1. ผลของนโยบายที่เป็นอยู่จะต้องเป็นที่พอใจของผู้กำหนดนโยบายและประชาชนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่
2. ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูง และสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของนโยบายที่ปรากฏอยู่
3. ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูง ในการจัดการกับปัญหาที่ปรากฏอยู่
กรณีศึกษา นโยบายเกี่ยวกับการบริหารองค์การต่าง ๆ ของรัฐ นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณรายปี
การก่อรูปนโยบาย
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการนโยบายสาธารณะ คือ ก่อรูป กำหนดทางเลือก นำไปปฏิบัติ ประเมินผล
ลักษณะและความสำคัญของปัญหานโยบาย
1. ระดับปัจเจกบุคคล
บุคคลจะรับรู้สภาพปัญหานโยบายต้องเผชิญกับเงื่อนไข 2 ประการคือ
- เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างแบบแผนของพฤติกรรมที่คุ้นเคยกับความคาดหมายของสิ่งแวดล้อมของบุคคล
- ข้อมูลของความขัดแย้งถูกนำมาสู่ความสนใจของสถาบัน
2. การรับรู้ระดับสถาบัน
จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการรับรู้สภาพปัญหาของปัจเจกบุคคลดังกล่าว คือ เมื่อปัจเจกบุคคลวิเคราะห์ปัญหาเป็นที่ยอมรับสภาพปัญหาว่ามีอยู่จริงก็นำเข้าสู่การพิจารณาของสถาบัน
การพิจารณาคุณลักษณะและความสำคัญของนโยบายจำแนกได้ดังนี้
1. ความสำคัญของนโยบาย จำแนกได้ 3 ประการ
- การรับรู้สภาพปัญหานโยบาย
- สถาบันที่เกี่ยวข้องกับปัญหานโยบาย
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัญหาและสถาบันที่เกี่ยวข้อง
2. ความแปลกใหม่ของปัญหา
3. การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ของการแก้ปัญหา
4. ความซับซ้อนของนโยบายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
5. ภาพลักษณ์ของผู้ได้รับผลกระทบ
6. ค่านิยมของรัฐบาลในการพิจารณาปัญหา
วงจรประเด็นปัญหาของนโยบาย
1. ขั้นก่อเริ่มต้นปัญหาของนโยบาย
2. สัญญาณเตือนภัยจากปัญหาที่เริ่มก่อตัวขึ้น
3. การระบุต้นทุนในการแก้ปัญหา
4. การเสื่อมถอยของความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อปัญหา
5. ขั้นตอนสุดท้ายของปัญหา
- การกำหนดวาระการพิจารณานโยบาย ผลประโยชน์ทางการเมือง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ความต้องการของประชาชน
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย
การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจในนโยบาย
การกำหนดทางเลือกนโยบายพิจารณาได้จากปัจจัยดังนี้
1 คุณลักษณะของทางเลือกนโยบาย ประกอบด้วย การสร้างสรรค์ นวัตกรรม
2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย
3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย
4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย
**ข้อดีของการเปรียบเทียบทางเลือก กระตุ้นให้เกิดความคิดในการดัดแปลงทางเลือกนโยบายเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมยิ่งขึ้น***
ทฤษฏีการตัดสินใจทางเลือกนโยบาย
1. ทฤษฏีหลักการเหตุผล มุ่งเน้นการตัดสินใจที่บรรลุเป้าประสงค์สูงสุด
ประกอบด้วย
1. ผู้ตัดสินใจต้องเผชิญกับปัญหาที่สามารถจำแนกออกจากปัญหาอื่นได้ หรืออย่างน้อยต้องสามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นได้อย่างมีความหมาย
2. ผู้ตัดสินใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าประสงค์(goals) ค่านิยม(values) หรือวัตถุประสงค์ (objectives) ที่ผู้ตัดสินใจต้องคำนึงถึงและสามารถทำให้การพิจารณาปัญหามีความชัดเจนและจัดลำดับตามความสำคัญของแต่ละกรณี
3. การตรวจสอบทางเลือกต่างๆในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน
4. การตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งทางด้านต้นทุน ผลประโยชน์ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
5. การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นของทางเลือกแต่ละทาง
6. ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกและผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะต้องตอบสนองต่อ เป้าประสงค์
2. ทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน
ทฤษฎีนี้ เป็นทฤษฎีที่มีลักษณะของการพรรณนาความเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล
- การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง หรือการเพิ่มเติมจากนโยบายที่มีอยู่อย่างจำกัด
สาระสำคัญของทฤษฎี พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. การพิจารณาในการเลือกเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ จะกระทำโดยพิจารณาร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากกว่าการที่จะแยกพิจารณาในแต่ละประเด็น
2. ผู้ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะทางเลือกบางทางเลือกที่จะใช้ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อย
3. การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือก จะกระทำเฉพาะเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญของทางเลือกบางทางเลือกเท่านั้น
4. สำหรับปัญหาที่ผู้ตัดสินใจกำลังเผชิญอยู่นั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทำการนิยามปัญหาใหม่อย่างต่อเนื่อง
5. ทฤษฎีนี้ถือว่าไม่มีการตัดสินใจเพียงครั้งเดียวหรือทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพียงทางเดียว
6. การตัดสินใจโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากวิธีการอื่นๆ และนำไปสู่สภาพปัจจุบันที่ดีกว่า รวมทั้งช่วยแก้ไขความไม่สมบูรณ์ทางสังคมให้เป็นรูปธรรมมากกว่าการพิจารณาเป้าประสงค์ของสังคมในอนาคต
* Etzionl เห็นว่า การตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนจะสะท้อนให้เห็นผลประโยชน์ของกลุ่มและองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคมแต่กลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนที่ด้อยสิทธิ์และกลุ่มที่ไม่มีบทบาทจะถูกละเลย
3. ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก
ทฤษฏีผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกจะเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ประโยชน์จากทฤษฏีหลักการเหตุผลและทฤษฏีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างทฤษฎีและทฤษฏีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกมีความเหมาะสมสำหรับผู้ตัดสินใจนโยบายที่มีขีดความสามารถต่างกัน
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกนโยบาย
1. ค่านิยม ค่านิยมองค์การ ค่านิยมด้านวิชาชีพ ค่านิยมส่วนบุคคล ค่านิยมด้านอุดมการณ์
2. ความสัมพันธ์กับนักการเมือง
3.ผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้ง
4. มติมหาชน
5.ประโยชน์ของสาธารณะชน
รูปแบบของการตัดสินใจ
1. การต่อรอง
2. การโน้มน้าว
3. คำสั่ง
4. กลยุทธ์ประกาศใช้นโยบาย
การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ความสำคัญของการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1 . ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ตัดสินใจนโยบาย
2. ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อกลุ่มเป้าหมาย
3. ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยปฏิบัติ
4. ความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
5. การพัฒนาประเทศ
6. สำคัญต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1.แหล่งที่มาของนโยบาย
1. แถลงการณ์หรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร
2. เนื้อหาหรือรายละเอียดในกฎหมาย
3. ความร่วมมือระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในการประกาศใช้ กฎหมายที่ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลนั้น
4. ข้าราชการระดับสูง ผู้มีหน้าที่ในการริเริ่มการก่อรูปนโยบายและการพัฒนาทางเลือกนโยบาย
5. การพิจารณาและการวินิจฉัยของศาล คำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุด และคือนโยบายสาธารณะที่สำคัญของทุกสังคม
ขอขอบคุณ แหล่งที่มาจาก http://www.oknation.net/blog/publicpolicyบิสสกิตโรล2
23 มิถุนายน 2553 14:30 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
เริ่มเรียนคณะนี้วันแรก กระต่ายเองถึงกับถอดใจทีเดียว เพราะว่า ไม่มีพื้นฐานวิชาเรียนทางรัฐศาสตร์ เลย มึนงงอาทิตย์แรกนอนไม่หลับ เริ่มคันศรีษะ คงจะเหมือนที่อาจารย์ผู้สอนบอก วิญญาณนักศึกษาป.โทเข้าสิงอีกครั้งเรียนกับ ผศ.ดร. เพ็ญศรี ฉิรินัง เจอกันอาทิตย์แรก ตามท่านไม่ทัน นึกในใจ ตายแน่ อะไรนี่ไม่รู้เรื่องเลย สอนไวมาก กระต่ายเองนั่งงงทั้งวัน นึกในใจ แหม...เราไม่น่ารีบลงทะเบียนเลย..ถอนตัวไม่ทัน เสียรู้ คนที่บ้านแล้วยุให้เรามาเสียเงินลงทะเบียนเรียนตั้งแต่วันแรก เลยมีอาการเสียดายสตางค์ ขึ้นมาฉับพลัน เอ๊า....เรียนก็เรียนว่ะ...
ผศ.ดร. เพ็ญศรี ฉิรินัง เป็นผู้หญิง ที่มีเอกลักษณ์ สไตล์การสอนของตัวเอง ท่าน เป็นธรรมชาติมาก ใจดี สอนสนุกๆ ฮาๆๆแต่วิชาการเพียบ พอเริ่มคุ้น และ ชอบ ในแบบที่ท่านสอน ก็เลยมีความสุขในการเรียนอีกครั้งหนึ่งเรียนมันทั้งเสาร์อาทิตย์ วิชาเดียว เรียนไปฟรีเซนต์ไป ฟังอาจารย์บรรยายไป
รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ตามความโง่เขลาของตัวเอง จนคนที่บ้านแซว จะกลับไปขายวัว ส่งควายเรียน555555555
อ้าว,,สอบแล้วอาทิตย์นี้ ถามรุ่นพี่ ว่าท่านออกสอบแนวไหน เพราะท่านว่า openbook เลยคิดว่า กะจะเหมารถบรรทุกขนหนังสือมาตอบกันเลย รุ่นพี่ว่า เปิดให้ตาย ก็ไม่เจอแหมดีใจที่ยังไม่ทันเหมารถ... ขอนำเอาสิ่งที่ท่านสอนมาลงประกอบเรื่องสั้นแล้วกันคะ เพื่อ จะเป็นประโยชน์ กับบางคนบ้างก็ได้
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
แนวคิดทั่วไป
ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มีระบอบการปกครองแบบใด มนุษย์ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐอยู่ด้วยเสมอ
เป็นผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
ผู้รับผลกระทบ
ผู้สนับสนุน หรือผู้คัดค้าน
จากคำกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้
ทำให้บุคคลหลายคนเข้าใจและให้ความสำคัญต่อนโยบายอย่างมาก
ในขณะที่อีกหลายคนไม่เข้าใจ เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า...
ทำไมจึงต้องกำหนดนโยบายเช่นนี้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ...
ความไม่รู้
ความไม่เข้าใจในเรื่องของนโยบาย
นโยบายเกิดจากอะไร?
นโยบายเกิดจากปัญหาและความต้องการของสังคมในประเทศนั้น โดยปัญหาอาจจะเกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลไปกระทำหรือไม่กระทำ หรือไม่ปฏิบัติตามบางอย่าง หรือปัญหาจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ
ความต้องการอาจเป็นของบุคคลหรือกลุ่มชน ซึ่งเสนอต่อรัฐว่าต้องการอะไร ต้องการเรื่องใด ความต้องการเหล่านั้นและความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาเหล่านั้น จะถูกผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐ โดยรัฐจะหาวิธีการแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของสังคม
วิธีการที่รัฐบาลตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการเรียกว่า
นโยบาย (Policy)
ความหมายของนโยบายสาธารณะ
คำว่า นโยบาย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการมาจากศัพท์ว่า นย + อุบาย หมายถึง เค้าความที่สื่อให้เข้าใจเอาเองหรือหมายถึงแนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์
ว่า Policy มีความหมายว่า แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน
มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Polis ซึ่งหมายถึงเมือง รัฐ
นักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่า นโยบายสาธารณะ
(Public Policy) ในหลายมิติตามวัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาของแต่ละคน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
กลุ่มที่ 1: ในมิติที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล
เดวิด อีสตัน (David Euston) (1953)
ให้คำนิยามคำว่านโยบายสาธารณะว่า หมายถึงการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อสังคมเป็นส่วนร่วม
บุคคลและองค์การที่สามารถใช้อำนาจดังกล่าว ได้แก่รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ หรืองดเว้นการกระทำของรัฐบาล ไม่ว่าด้านใด ย่อมก่อให้เกิดผลต่อการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ของสังคม นั้น ๆ
เจส์ม แอนเดอร์สัน (James Anderson) (1970)
นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางการกระทำ (Course of action) ของรัฐ ที่มีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความยากจน เกษตรกรรม เป็นต้น
เป็นแนวทางปฏิบัติที่กำหนดขึ้น เพื่อตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือ แนวทางที่รัฐบาลหรือองค์กรของรัฐกำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
ไอรา ชาร์คานสกี้ (Ira Sharkansky) (1970)
นโยบายสาธารณะ คือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลกระทำ
กิจกรรมดังกล่าวครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ :
1. กิจกรรมเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2. กฎ ข้อบังคับของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วินัยตำรวจ/ทหาร ข้อบังคับของพนักงานควบคุมโรงงาน
3. การควบคุมการกำหนดนโยบายหรือการกระทำทางการเมืองอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเสนอร่างกฎหมาย การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การสถาปนาหรือการตัดสัมพันธภาพการทูตกับประเทศต่าง ๆ
4. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฉลิมฉลองในโอกาสและเทศกาลที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เช่น
วันชาติ วันสำคัญทางศาสนา
ธอมัส ดาย (Thomas R. Dye) (1984)
นโยบายสาธารณะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า รัฐบาลจะต้อง
ทำอะไร ทำไมจึงต้องกระทำเช่นนั้น และอะไรเป็นความแตกต่างที่รัฐบาลกระทำขึ้น นโยบายสาธารณะจึงหมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือเลือกที่จะไม่กระทำ
ลูอิส โคนิก (Louis Koenig) (1986)
นโยบายของรัฐ คือกิจกรรมที่รัฐบาลกระทำหรือไม่กระทำ ซึ่งมีผลต่อความกินดี อยู่ดีของประชาชน นโยบายสาธารณะมีเนื้อหาและผลของนโยบายที่ตามมาในการกำหนดชีวิตและอนาคตของประชาชน
กลุ่มที่ 2 : ในมิติที่เป็นแนวทางเลือกสำหรับการตัดสินใจของรัฐบาล
ลินตัน คอล์ดเวลล์ (Lynton Coldwell)
นโยบายสาธารณะ ได้แก่ บรรดาการตัดสินใจอย่างสัมฤทธิ์ผลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่สังคมอนุญาต หรือห้ามมิให้กระทำการ การตัดสินใจดังกล่าวอาจออกมาในรูปคำแถลงการณ์ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำพิพากษา เป็นต้น และจะต้องปฏิบัติตามนโยบายนั้นในอนาคต
วิลเลี่ยม กรีนวูด (William Greenwood)
นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจขั้นต้น เพื่อที่จะกำหนดแนวทางกว้าง ๆ เพื่อนำไปเป็นแนวทางของการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
อาร์ เจ เอส เบเกอร์ (R.J.S. Baker)
นโยบายสาธารณะ หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลว่าจะทำอะไร
อมร รักษาสัตย์
นโยบายสาธารณะ
ในความหมายอย่างแคบ หมายถึง หลักการและกลวิธีที่นำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
ในความหมายอย่างกว้าง จะครอบคลุมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดตัวเป้าหมายอีกด้วย
Heinz Eulau และ Kenneth Prewitt
นโยบายสาธารณะ เป็นการตัดสินใจที่ไม่ใช่การตัดสินใจชั่วขณะ แต่เป็นการตัดสินใจที่แน่นอน มีลักษณะของการกระทำที่ไม่เปลี่ยนแปลง และกระทำซ้ำ ๆ ทำในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น
กลุ่มที่ 3 : ในมิติที่เป็นแนวทางการกระทำของรัฐบาล
ชาร์ลส์ จาคอป (Charles Jacop)
นโยบายสาธารณะ หมายถึง หลักการ แผนงาน หรือแนวทางการกระทำต่าง ๆ
ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ กับ อับราฮัม แคปแพลน (Harold Lasswell & Abraham Kaplan)
นโยบายสาธารณะ หมายถึง แผนงาน หรือโครงการที่ได้กำหนดขึ้น อันประกอบด้วย เป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ
ทินพันธุ์ นาคะตะ
นโยบายสาธารณะ หมายถึง โครงการที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติในการจัดสรรคุณค่าต่าง ๆ ให้แก่สังคม
กล่าวโดยสรุป
ในความหมายที่แคบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม/การกระทำของรัฐบาล และมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล
ในความหมายที่กว้าง นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางในการกระทำของรัฐบาลอย่างกว้าง ๆ ที่รัฐบาลได้ตัดสินใจเลือก และกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีการวางแผนการจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์
นโยบายระดับชาติมักมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางแต่ขาดความชี้ชัดเฉพาะเจาะจง
นโยบายระดับล่าง จะต้องสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายระดับชาติ จะมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจง เน้นเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
เมื่อมีการกำหนดนโยบายหนึ่ง ๆ ขึ้นมา นโยบายสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ฝ่ายรัฐบาล ความศรัทธา ความเชื่อถือ
ฝ่ายข้าราชการ นโยบายสาธารณะจะเป็นกลไก เครื่องมือที่สำคัญในการกำหนดแนวทางการทำงาน
ฝ่ายประชาชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบาย
ผู้ศึกษานโยบายสาธารณะ เพื่อพัฒนาวิธีการศึกษา
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
Harold D. Lasswell
กล่าวว่า การกำหนดนโยบายสาธารณะ ก็คือการกำหนดว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือของการได้เสียผลประโยชน์ของประชาชนทุกคนในสังคม
ฉะนั้น บุคคลใดมีความรู้ความเข้าใจและมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะได้มากกว่า จะได้เปรียบและหาประโยชน์ได้มากกว่า
นโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญต่อประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม กำหนดผลประโยชน์ของประเทศ กำหนดทิศทางการพัฒนา
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
การพิจารณาเฉพาะความหมายของนโยบายสาธารณะ ซึ่งมีผู้อธิบายไว้แตกต่างกัน อาจจะยังไม่เข้าใจว่า สิ่งใดเป็นนโยบายสาธารณะ และสิ่งใดที่ไม่ใช่ จะดูจากองค์ประกอบ
เงื่อนไขสำคัญที่ทุก ๆ นโยบายจะต้องมีอยู่เสมอ
นโยบายสาธารณะจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน (สอดคล้องหรือสนองความต้องการของประชาชนเป็นส่วนรวม)
ต้องมีลักษณะเป็นแนวทางหรือหลักการที่จะทำให้เป้าหมายที่กำหนดไว้สามารถบรรลุผลสำเร็จ (มีผลเป็นการทั่วไป ไม่เฉพาะกรณีหรือเฉพาะบุคคล)
แนวทางเลือกในการตัดสินใจเพื่อจะกระทำหรืองดเว้นไม่กระทำ
ต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่น่าจะเป็นไปได้ (เมื่อนำไปปฏิบัติ ไม่ใช่เพ้อฝัน)
นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมไปถึงการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อนำเอานโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ :
ต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้แน่นอน
ต้องมีลำดับขั้นตอนของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
ต้องกำหนดการกระทำต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเวลา สถานที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ต้องมีประกาศให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วกัน (แถลงต่อสภา ประกาศผ่านสื่อมวลชน)
ต้องมีการดำเนินการตามที่ได้ตัดสินใจเลือกไว้แล้ว
นโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ของสังคม มีองค์ประกอบดังนี้
ต้องเป็นแผนงานรัฐบาล(ขณะที่อยู่ในตำแหน่ง)
แผนงานดังกล่าว จะต้องมีการกำหนดเป็นโครงการไว้ล่วงหน้า (เพื่อเป็นหลักประกันว่า ได้ผ่านการพิจารณามาอย่างดีแล้ว, เพื่อให้มีเวลาแจ้งให้ประชาชนทราบเพื่อเตรียมตัวและอาจมีการแสดงความคิดเห็น)
แผนงานของรัฐบาลที่ได้กำหนดเป็นโครงการไว้แล้วนั้น จะต้องเกี่ยวกับเป้าหมาย คุณค่า และการปฏิบัติต่าง ๆ ของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
22 มิถุนายน 2553 13:57 น.
กระต่ายใต้เงาจันทร์
พระพิฆเณศและการสักการะเป็นเทพประจำวันเกิด
ปาง วีระ คณปติ (VEERA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันอาทิตย์ พระคเณศที่กำหนดให้ถือสักการะคือปางเปิดโลกวีระคณะปติ ปางอำนาจดังพระสุริยะทิตย์ มักมี 16 พระกร วรกายสีแดงสด มักประทับยืนหรือนั่ง เสริมให้ผู้บูชามีอำนาจ , เกียรติยศ , ชื่อเสียงและทรัพย์สิน
คาถาบูชาคือ โอม ศรี มหาวีระ คะ ณะ ปะ ติ เย นะ มะ ฮะ
ปาง ทวิมุขติ คณปติ (DWIMUKHA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันจันทร์ พระคเณศที่กำหนด คือ ทวีมูข-คณปติ DWIMUKHA คณปติ 2 พระเศียร บางครั้งจะพบในลักษณะของนริตะยาขคณปติ ปางนาฏราช 4 พระกร , 2 พระกร จะสมบูรณ์ต้องประทับใต้ต้นมะตูม พระวรกายสีทอง หรือ ขมิ้น มักให้เสน่ห์และทรัพย์ บางครั้งจะพบทวีมูข-คณปติในสีวรกายสีเขียว บ้างในตอนใต้ของอินเดีย แต่ปางนาฏราช (HAPPY DANCOR) จะพบทางเหนือหรือทางอีสานของอินเดีย
คาถาบูชาคือ โอม ศรี ทวิ-มูข คะ ณะ ปะ ติ เย นะ มะ ฮะ
ปาง ตรมุขติ คณะปติ (TRIMUKHA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันอังคาร พระคเณศที่กำหนดบูชาปางตรีมูขติ-คณปติ 6 ประการ วรกายสีชมพูสดหรือสีสำริด มักให้อำนาจขจัดอุปสรรคในการทำงาน อำนาจเหนือสามโลก ประทับยืนหรือนั่ง เป็นปรางที่ให้เสน่ห์และทรัพย์ และให้การเดินทางปลอดภัย ด้วย 3 พระเศียร คือ อำนาจของการคุ้มครองของพระอังคาร
คาถาบูชาคือ โอม ศรี ตรี-มูข-ติ คะ ณะ ปะ ติ เย นะ มะ ฮะ
บางครั้งจะพบปางดเณศ-หนุมาน ครึ่งพระคเณศ พระหนุมาน สำหรับผู้ที่ต้องการมีทรัพย์และอำนาจเหนือศัตรู
ปางทวิจา คณปติ (DWIJA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันพุธ กำหนดว่าปางที่เหมาะสมคือ ทวิ-จา-คณปติ คณปติ 4 พระเศียร วรกายสีเขียว หรือปางคเณศวรี ปางครึ่งนารีครึ่งบุรุษ ตามตำนานแห่งพระพุธเทวาที่มี 2 ร่างเป็นพระนางอิลา จากคำสาปของพระศิวะ ปางนี้ให้ทรัพย์มาก พระกล่าวคือพระพรหม 4 พระพักตร์ที่ให้พรพระคเณศให้มีอำนาจคือ พระองค์ ปางคเณศวรีนั้นหาดูยากจะมารูปแกะสลักหิน ปรากฏที่วิหารพระแม่อุมา กามาฉิ เมืองกัลยากุมารีทางใต้ของอินเดีย ปางนี้ถือว่าอวตารเป็นครึ่งพระลักษมี เพื่ออำนวยทรัพย์ และมีความสามารถ ดั่งบุรุษ บวกสตรีเพศ
คาถาบูชาคือ โอม ศรี ทวิ-จา คะ ณะ ปะ ติ เย ยะ นะ ฮะ
ปาง อุฉิตา คณปติ (UCHHISHTA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันราหู(วันพุธกลางคืน) ปางที่ควรบูชา คือ อุณจิสตา คณะปติ
หรือปางเอก-ซารา คณปติ 4 พระกร วรกายสีสำริด หรือ สีนิลประทับบนหลังหนู พาหนะ ส่วนปางอุณจิสตาคณะปติเป็นปางของพวกต้นตระนิกาย มีพระชายาประทับบนตักซ้าย มักให้อำนาจทางด้านการเสี่ยง, การพนัน,อำนาจปกครอง, อำนาจเหนือรักและความลุ่มหลง, การให้ทรัพย์มาก และขจัดทุกข์สำหรับทุกเรื่อง
คาถาบูชาคือ โอม ศรี เอก-ซารา-คณปติ เย ยะ นะ มะ ฮา
ปาง เฮรัมภะ คณปติ (HERAMBA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันพฤหัสบดี ปางที่กำหนดกำหนด คือ เฮรัม ภะ คณปติ 5 พระเศียร 16 พระกร บางครั้งจะพบประทับบนหลังราชสีห์ วรกายสีส้มอ่อน หรือ สีแสงอรุณรุ่ง อาจพบเห็นในปางประทับนั่งบนดอกบัว ปางนั้ให้ทรัพย์มาก และให้อำนาจสำหรับปกครองบริวาร เช่นนักบริหาร นักการเมือง การปกครอง นายธนาคาร ฯลฯ
คาถาบูชาคือ โอม ศรี มหา เฮ-รัม-ภะ คะ ณะ ปะ ติ เย นะ มะ ฮะ
ปาง เอก ทันตะ คณปติ (EKADANTA GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันศุกร์ ปางที่กำหนด คือ เอกทันต์-คณธปติ EKANDANTA หรือ LAKSHMI GANAPATI ลักษมีคณปติ(ความสมบูรณืแห่งโภคทรัพย์ และครอบครัว, ความรัก, บริวารมาก) พระวรกายสีน้ำเงิน,ฟ้า, 8 พระกร บางครั้งจะอุ้มเทวีชายาสิทธิพุธิ , เป็นปางของการให้กิเสศ สมบัติมาก เช่น พระศุกร์เทวา และเสน่ห์แห่งรักของ พระกามเทพ
คาถาบูชาคือ โอม ศรี เอก-ทัน-ตะ คะ ณะ ปะ ติ เย ยะ นะ มะ ฮะ
ปางสิทธิ คณปติ (SIDDHI GANAPATI)
สำหรับผู้เกิดวันเสาร์ ปางควรเคารพ คือ สิทธิ-คะ ณะ ปะ ติ 4 พระกร วรกายสีม่วง หรือ วิกนา คณปติ บางครั้งจะพบในปางปราบนาคราช เช่น พระกฤษณะ ประทับยืนบนหลังนาคราช 5-7 พระเศียร หรือประทับนั่งโดยมีพระยานาคราชปรก ปางนี้จะให้ผลของการเสี่ยงในงานสำคัญ ๆ มาก หรือพนัน อำนาจเหนืออุปสรรคขจัดภูติผีปีศาจ อำนาจในการปกครองคือ การสอน การแพทย์ การพยากรณ์ ปางนี้ถือว่าสำคัญ โดยเฉพาะผู้มีพระเสาร์ แทรก ทำให้รุ่มร้อน
คาถาบูชาคือ โอม ศรี สิทธิ-คะ ณะ ปิ ติ เย ยะ มะ ฮา