21 ธันวาคม 2553 21:35 น.

การศึกษาคือรากฐานปัญญาชีวิต

กระต่ายใต้เงาจันทร์



ในวันนี้เวลาสิบโมงเช้าข้าพเจ้าได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก "พระยอดขุนพลเม็งรายมหาราช" สมโภชเมืองเชียงราย ๗๕๐ ปี ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว อำเภอเมือง ภายใต้การบริหารงานของพระธรรมราชานุวัตรเจ้าคณะภาคุ6 จังหวัดเชียงรายซึ่งตรงกับ วันอังคารที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน ๓ เหนือ)
  สืบเนื่องมาจากคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงราย ได้จัดสร้าง "พระยอดขุนพล" ซึ่งเป็นเนื้อดินหรือเนื้อว่าน อันเป็นวัตถุมงคลประจำกายของนักรบความเหนือ ได้เห็นว่าพ่อขุนเม็งรายมหาราชทรงเป็น "นักรบ" เหนือ "นักรบ" ทรงเป็น "ยอดขุนพล" ที่เหนือ "ยอดขุนพล" พระองค์หนึ่ง จึงได้สร้างพระยอดขุนพลเม็งรายมหาราช ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูป "พระเจ้าล้านทอง" พระประธานในพระอุโบสถ ด้านหลังเป็นพระรูปพ่อขุนเม็งรายมหาราช เพื่อสมโภชเมืองเชียงรายครบ ๗๕๐ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

วัตถุประสงค์เพื่อ
  ๑.เพื่อประกาศพุทธคุณของ "พระเจ้าล้านทอง" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปปาละมีอายุ ๗๐๐ กว่าปีที่ใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดในสกุลศิป์นี้
  ๒.เพื่อยกย่องเชิดชูพระนามของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ยอดขุนพลที่ทรงกล้าหาญ เข้มแข็ง มุ่งมั่น และมีวัสัยทัศน์ที่กว้างไกล ทรงนำทหารกล้าจากน้ำกกไปสยบปัจจามิตรทั่วแดน ทรงสร้างเมืองเชียงราย (พ.ศ.๑๘๐๕) ไชยปราการ (พ.ศ.๑๘๐๙) กุมกาม (พ.ศ. ๑๘๓๔) เชียงใหม่และตั้งราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ. ๑๘๓๙)
 ๑.สร้างวิทยาสงฆ์เชียงราย สถาบันอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของพระภิกษุสามเณร
  ๒.บูรณะอาคารวิทยาลัยสงฆ์ (ศาลากลางหลังเดิม บนดอยจำปี)
 
และที่ข้าพเจ้าชื่นชมและอยากให้ช่วยกันคือนับว่าเป็นทางเลือกใหม่ของสถานศึกษาที่ตอนนี้มีประชาชนทั่วไปมาศึกษาเล่าเรียนและได้สืบทอดพระพุทธศาสนาอีกทั้งค่าใช้จ่ายค่าเทอมยังถูกกว่าวิทยาลัยเอกชนทั่วไป

ประเภทวัตถุมงคลมีจำนวนทั้งสิ้น48000องค์

 ๑. พระเนื้อว่าน ๑๐๘(สีแดง) พุทธคุณ เทพพิทักษ์ ขจัดภัย สัตว์ร้ายหนี นักเสียงเป็นเสี่ยงตาย
๒. พระเนื้อว่านดินกากยายักษ์(สีเทาดำ) พุทธคุณ คงกะพัน แคล้วคลาด อาจหาญ นักเดินทาง
๓.พระเนื้อว่านชานหมาก(สีช็อโกแลต) พุทธคุณ การเจรจา สาลิกาลิ้นทอง ติดต่อประสานงาน นักการตลาด
๔.พระเนื้อว่านมหาเสน่ห์ (สีขาวนวล) พุทธคุณ การต่อรอง ค้าขาย ไหวพริบเยี่ยม นักธุรกิจ
๕.พระเนื้อว่านดอกไม้-ผงธูปจากสถานที่ศักสิทธิ์ (สีตองอ่อน)พุทธคุณ เมตตามหานิยม ทรงเสน่ห์ คนเชื่อถือ นักประชาสัมพันธ์
(บูชาเหรียญละ ๙๙ บาท)
๖.พระเนื้อทองแดงผสมชะนวนและแผ่นทองจารอักขระ พุทธคุณรวมทุกประการ
  - ขนาด ๓ นิ้ว บูชาเหรียญละ ๔๙๙ บาท
 - ขนาด ๒ นิ้ว บูชาเหรียญละ ๓๙๙ บาท

รายนามพระมหาเถรระนั่งปรก

1.	ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก(ครูบาราชสิทธินายก  ชื่น) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย  วัดพระสิงห์
2.	ท่านเจ้าคุณพระรัตนรังสี(พระครูบาแสงหล้า  เจ้าคณะจังหวัดวัดท่าขี้เหล็ก  วัดพระธาตุสายเมือง
3.	 ท่านเจ้าคุณพระพุทธิวงศ์วิวัฒน์(พระครูบามานิต)
เจ้าคณะอำเภอแม่สาย วัดพระธาตุ  ดอยตุง
4.พระครูวิกรมสมาธิคุณ  เจ้าอาวาสพระธาตุจอมกิตติ
5.หลวงพ่อพระครูขันติพลาธร(พระครูบาบุญยวง)
สนใจติดต่อเช่าบูชาได้ ณ ห้องวัตถุมงคลวัดพระแก้ว
    ๑.พระครูสิริรัตนสุนทร            โทร.๐๘-๑๙๖๐-๖๘๓๖
   ๒.พระพิทักษ์พงษ์ โชติธมฺโม  โทร ๐๘-๖๑๙๐-๙๒๘๖
   ๓.พระสงพงษ์ วชิรเมธี           โทร. ๐๘-๗๑๘๕-๙๓๒๕
   ๔.นายกฤตวัชร  สาริวาท         โทร. ๐๘-๔๐๒๖-๙๕๑๗

มีคนเคยถามข้าพเจ้าว่า  ทำไมชอบทำอย่างนี้  เดี๊ยวนี้พระไม่ดีมีเยอะ   แต่ข้าพเจ้าก็ตอบไปว่าข้าพเจ้าเลือกจะมองแต่ด้านดีข้าพเจ้าไม่ได้ช่วยพระแต่ช่วยพระศาสนาซึ่งพระท่านเป็นเป็นเสมือนตัวแทนในเมื่อมีพระกระทำกรรมดีแล้วเราก็ต้องสืบสานเจตนารมณ์ถ้าไม่มีสถาบัน    ชาติ   ศาสนา   พระมหากษัตริย์ แล้วชาติไทยเป็นอย่างไรกัน มหาวิทยาลัยสงฆ์มีหลักธรรมคำสอนและหลักการปฎิบัติอยู่ในนั้นขึ้นอยู่กับปัจเจกบุคคลว่าใครจะซึมซับได้แต่อย่างน้อยก็ช่วยขัดเกลาให้มนุษย์รู้จักบาปบุญคุณโทษ  สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การทำบุญที่ไม่มีวันหมดและสืบทอดไปจนถึงคนรุ่นหลังคือการทำบุญกับการศึกษาเพราะการศึกษาช่วย
พัฒนาคนศาสนาช่วยขัดเกลา

ในส่วนรายการประเมินสร้างอาคารเรียนมีดังต่อไปนี้


รายการประมาณราคาปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงรายเป็นอาคารเรียน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ห้องเรียนวัดพระแก้ว เชียงราย
ลำดับ รายการ        พื้นที่/ตร.ม.    หน่วย/บาท   รวม/บาทหมายเหตุ/เจ้าภาพ
1ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในอาคาร                   460,000 
2ขัดผิวสีทางเดินชั้นที่ 1 300  200         60,000 พระเทพสิทธินายก
3ขัดผิวสีทางเดินชั้นที่ 2 225 200 4     5,000 
4ปรับปรุงพื้นผิวและทาสีผนัง
4.1 ห้องเรียน 1 (ชั้น 1 ปีกตะวันตก)60 350   21,000 พระปัญญากรกวี
4.2 ห้องเรียน 2 (ชั้น 1 ปีกตะวันตก)65 350   22,750 
4.3 ห้องเรียน 3 (ชั้น 1 ปีกตะวันออก)48 350  16,800 
4.4 ห้องเรียน 4 (ชั้น 1 ปีกตะวันออก)60 350  21,000 พระครูขันติพลาธร
4.5 ห้องเรียน 5 (ชั้น 1 ปีกตะวันออก)60 350 21,000 พระพุทธิวงศ์วิวัฒน์
4.6 ห้องเรียน 6 (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)60 350 21,000 พระพุทธิญาณมุนี
4.7 ห้องเรียน 7 (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)60 350 21,000 พระครูพิพัฒน์รัตนพงศ์
4.8 ห้องเรียน 8 (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)65 350  22,750 พระครูสังฆรักษ์สมศาสตร 
4.9 ห้องเรียน 9 (ชั้น 1 ปีกตะวันตก)32 350 11,200 
4.10 ห้องเรียน 10 (เรียนรวมชั้น 2 ปีกตะวันออก)90 350 31,500 
4.11 ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ (ชั้น 2 ปีกตะวันตก)90 350  31,500 
4.12 ห้องธุรการ (ชั้น 1 ใกล้ห้องโถง)20 350 7,000 
4.13 ห้องอาจารย์พิเศษ (ชั้น 1 ติดห้องธุรการ)30 350 10,500 
4.14 ห้องสำนักงานหลัก (ชั้น 1 90 350 31,500 
4.14 ห้องวิจัยและพัฒนา (ชั้น 1) 30 350 10,500 
4.15 ห้องบริหาร (ชั้น 1) 32 750  24,000 พระครูสุธีสุตสุนทร
4.16 ห้องสืบค้นข้อมูลและบรรณารักษ์50 350 17,500 พระครูสิริธรรมนิวิฐ
4.17 ห้องสมุด (ชั้น 1 ปีกตะวันออก) 180  350 63,000

4.18 ห้องพยาบาล (ชั้น 2 ปีกตะวันออก) 30 580  7,400  พระครูโสภณศิลปาคม
4.19 ห้องสำนักงานทะเบียนและวัดผล 30 3  50 10,500   
4.20 ห้องกิจการนิสิต (ชั้น 2 ปีกตะวันออก )83 50   2,800  
4.21 ห้องปฏิบัติงานคณะสงฆ์ (ชั้น 2 ปีกตะวันออก)112 750  84,000  
4.22 ห้องรับรอง (ชั้น 2) 40  750 30,000  พ่อปัญญาและแม่วิภาดา คงกระพันธ์พร้อมครอบครัวชื่อห้อง ศเณศวร
4.23 ห้องประชุมกลาง (ชั้น 2) 65  750 48,750 
4.24 ห้องพักคณาจารย์ (ชั้น 2 ปีกตะวันออก) 65   350        22,750 
4.25 ปรับปรุงและทาสีผนังห้องน้ำด้านซ้าย 10  2,000        20,000 
4.26 ปรับปรุงและทาสีผนังห้องน้ำด้านขวา 10  2,000        20,000 
5ปรับปรุงอาคารชั้นสาม ห้องปฏิบัติธรรม150  200     30,000 
6 ปรับปรุงพื้นผิวบันไดชั้นล่าง 60 200        12,000 
  ปรับปรุงพื้นผิวบันไดชั้นบน 2 ด้าน 48 200          9,600 
7 ทำห้องเก็บสัมภาระเครื่องใช้ 2 ห้อง   20,000 
รวมรายการปรับปรุงบูรณะทั้งสิ้น    1,298,300 
8วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน 
8.1 กระดานไวน์บอร์ดแต่ละห้องเรียน 10 ห้อง20 แผ่น 45 0   9,000 
8.2 ชุดโปรเจ็คเตอร์ พร้อมจอ 100 นิ้ว   5      38,000      190,000 
8.3 ชุดสื่อการสอนคอมพิวเตอร์ประจำห้องสอน 10 12,000    120,000 
รวมรายการปรับปรุงวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งสิ้น319,000    
รวมค่าปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น1,617,300

ถ้าท่านใดมีจิตศรัทธาติดต่อขอบริจาคได้ที่ พระธรรมราชานุวัตร  เจ้าอาวาสวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย เจ้าคณะภาค6 โทรศัพท์ 0818831484

สถานที่ตั้ง  วัดพระแก้ว   จังหวัดเชียงราย  ตำบลรอบเวียง  อำเภอเมือง  จังหวัด เชียงราย 
หากท่านใดมีจิตศรัทธาประสงค์มีส่วนร่วมบริจาควิทยาลัยสงฆ์เชียงรายหรือจะเป็นเจ้าภาพบูรณะห้องใดหรือบริจาคตามกำลังศรัทธาก็ได้คะ
บริจาคที่  โอนเข้าบัญชีวัดพระแก้ว(ทุนบูรณะอาคารวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย)ธนาคารกรุงไทย  สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย  หมายเลขบัญชี 539-0-35076-6  ธนาคารกรุงไทย  สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย



				
20 ธันวาคม 2553 20:23 น.

ขอเชิญพุทธศาสนิกชนส่งท้ายปีเก่าแบบวิถีพุทธ วัดพระแก้ว เชียงราย

กระต่ายใต้เงาจันทร์

ชมรมสวดมนต์วันเสาร์วัดพระแก้วและพุทธศาสนิกชน จังหวัดเชียงรายวัดพระแก้ว ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ตามวิถีพุทธสวดอิติปิโส ๑๐๘ จบ, สวดมหาสันติงหลวง, สวดนวัคคหายุสมธรรมเดินประทักษิณรอบพระอุโบสถ ๙ รอบ บำเพ็ญสมาธิภาวนา เจริญชัยมงคลคาถา รับน้ำพระพุทธมนต์  รับพรปีใหม่(อ่านเรื่องเดิมได้ที่ Count Down แบบวิธีพุทธ)				
20 ธันวาคม 2553 20:16 น.

พิธีพุทธาภิเษกพระยอดขุนพลเม็งรายมหาราช ณ วัดพระแก้ว 21 ธันวาคม 2553)

กระต่ายใต้เงาจันทร์

    ด้วยคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงราย ได้จัดสร้าง "พระยอดขุนพลเม็งรายมหาราช" เนื้อดินและเนื้อว่าน อันเป็นวัตถุมงคลประจำกายนักรบภาคเหนือ ด้วยเห็นว่า พ่อขุนเม็งรายมหาราช ทรงเป็น "นักรบ"เหนือ "นักรบ" ทรงเป็น "ยอดขุนพล" ที่เหนือ "ยอดขุนพล" พระองค์หนึ่ง จึงได้สร้างพระยอดขุนพลเม็งรายมหาราช ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูป "พระเจ้าล้านทอง" พระประธานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว ด้านหลังเป็นพระรูปพ่อขุนเม็งรายมหาราช 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อประกาศพุทธคุณของ พระเจ้าล้านทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะปาละมีอายุกว่า 700 ปี ใหญ่ที่สุดในสกุลนี้
2. เพื่อยกย่องเชิดชูพระนามของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ยอดขุนพลที่ทรงกล้าหาญ เข้มเเข็ง ทรงนำทหารกล้าจากลุ่มน้ำกกไปสยบปัจจามิตรทั่วเเดน ทรงสร้างเมืองเชียงราย (พ.ศ.1805) เมืองไชยปราการ (พ.ศ.1809) เวียงกุมกาม (พ.ศ.1834) และเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ.1839)

เพื่อหาทุนทรัพย์
1. สร้างวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย สถาบันอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ พัฒนาการศึกษาและศักยภาพของพระสงฆ์
2. บูรณะอาคารวิทยาลัยสงฆ์ (ศาลากลางหลังเดิม บนยอดดอยจำปี)

พิธีพุทธาภิเษกจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2553 ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว โดยเกจิอาจารย์ทั้งในประเทศไทยและพม่า

หลังพุทธาภิเษกแล้ว จะประกอบพิธีเสริมพุทธคุณโดยพระสงฆ์ 210 รูปผู้เข้าวิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ วัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน ตั้งแต่วันที่ 8 - 17 ธันวาคม 2554 อีก 10 วัน

พระเนื้อว่าน มีหลายประเภท บูชาเหรียญละ 99 บาท

ท่านที่ประสงค์จะบูชา ติดต่อได้ที่วัดพระแก้ว โทร.081-960-6836, 086-1909286
(พระครูสุธีสุตสุนทร แหล่งข่าว)				
14 ธันวาคม 2553 16:43 น.

ความพอดีอยู่ที่ไหน

กระต่ายใต้เงาจันทร์


ในภารกิจของชีวิตประจำวันต้องเดินทางเข้าออกวัดพระแก้วเชียงรายเป็นประจำด้วยภาระกิจเรื่องงานเรื่องส่วนตัวหรือเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลด้านการเรียนที่ห้องสมุดในวัดพระแก้ว
ในบรรยากาศตอนเช้าของทางภาคเหนือที่มีปกคลุมด้วยละออกหมอกโปรยปรายลงมาทักทายต้นไม้ดอกไม้ภายในบริเวณวัดข้าพเจ้ากำลังเพลิดเพลินและดื่มด่ำกับบรรยากาศเผชิญเหลือบไปเห็นชายหนุ่มวัยกลางคนกำลังสนทนาอยู่กับพระภิกษุรูปหนึ่ง

	พระอาจารย์ ช่วยเจิมรถยนต์ให้หน่อยครับ และพระเครื่องไว้บูชาสักองค์ด้วย ชายหนุ่มวัยกลางคนแจ้งความประสงค์กับพระภิกษุรูปหนึ่งที่พบในวัดพระแก้ว
	โยมมาจากไหนกันล่ะ
	ผมมาจากเชียงใหม่ครับ ตั้งใจมาที่วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะเลยครับ
      	ทำให้นึกคำพูดของป้าที่ร้านเสริมสวยแห่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าไปใช้บริการเป็นประจำ 
	
	ใกล้เทศกาลปีใหม่แล้ว ป้าว่าจะทำบุญสักหน่อยเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต   แต่กำลังคิดว่า จะไปทำบุญที่ไหนสะเดาะเคราะห์ที่ไหนดีน่ะ 
	ที่วัดพระแก้วสิคะ  คุณป้าคะมีกันทำกันทุกปีมีคนหลั่งไหลมาจากหลายจังหวัดมีทั้งดาราและนักการเมืองมาเป็นประจำทุกปีหนูว่าเราอยู่เชียงรายยิ่งดีใหญ่เลยทั้งร้านคุณป้ายิ่งตั้งไม่ห่างไกลจากวัดไม่ไกลยิ่งสะดวกสบายกว่าคนอื่นคะ ทางวัดเข้ามีการสวดมนต์สืบสะตา ทั้งคืนเลยนะคะ
	ไม่หรอก ป้าตั้งใจจะไปทำบุญสะเดาะเคราะห์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะไปทุกปี
ข้าพเจ้านึกย้อนไปกับคำสนทนากับคุณป้าและมาเปรียบเทียบกับชายหนุ่มวัยกลางคนผู้นี้  อีกคนอยู่เชียงใหม่เดินทางมาเชียงราย
อีกคนอยู่เชียงรายเดินทางไปเชียงใหม่ด้วยเหตุผลที่ต่างกันในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์แต่สิ่งเดียวเหมือนกันคือวัตถุประสงค์นั้นเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัด
เพราะอะไรหรือ  เพราะความเชื่อ    ความศรัทธา   หรือ    ค่านิยม แต่เพราะเหตุผลอะไรก็ตามแต่ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ทำในด้านกรรมดี   แต่เพราะความชอบและความพึงพอใจต่างกันจึงดำเนินการกระทำไปตามจุดมุ่งหมายที่ตนเองชอบและพอใจ
แต่ถ้ามาเปรียบเทียบบรรทัดฐานเรื่องความพอดี  จะเอาอะไรเป็นตัววัดในเมื่อต้นทุนทรัพยากรมีเหมือนกันแต่ความเชื่อความศรัทธาต่างกัน
รูปแบบค่านิยมในความเชื่อ  ความศรัทธาในแต่ละคน   สร้างขึ้นมาเอง   แตกต่างกัน  ผลการกระทำจึงต่างแม้จุดมุ่งหมายใกล้เคียงกัน
ความพอดีของแต่ละคนจึงมีมาพอใจบวกเข้ามาด้วยในความคิดและการกระทำหรือบางทีโลกนี้ไม่เคยมีความพอดีเลยก็ได้ตราบใดที่มนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด
				
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
Calendar
Lovers  0 คน เลิฟกระต่ายใต้เงาจันทร์
Lovings  กระต่ายใต้เงาจันทร์ เลิฟ 0 คน
ไม่มีข้อความส่งถึงกระต่ายใต้เงาจันทร์